ยีนที่หายไปเมื่อ 3 ล้านปีก่อน คือต้นเหตุทำให้มนุษย์เป็นโรคหัวใจง่ายขึ้น
สาเหตุที่ยีนนี้หายไปก็เพราะมนุษย์เกิดการกลายพันธุ์หรือมีวิวัฒนาการ เพราะหากเป็นบรรพบุรุษของเราเมื่อ 2-3 ล้านปีก่อนจะยังคงพบยีนชนิดนี้อยู่ และในยีนจะมีโมเลกุลน้ำตาลกรดไซอะลิกที่เป็นตัวแปรสำคัญซึ่งทำให้โอกาสเกิดโรคหัวใจน้อยลง
Reason to Read
- สาเหตุที่ยีนนี้หายไปก็เพราะมนุษย์เกิดการกลายพันธุ์หรือมีวิวัฒนาการ เพราะหากเป็นบรรพบุรุษของเราเมื่อ 2-3 ล้านปีก่อนจะยังคงพบยีนชนิดนี้อยู่ และในยีนจะมีโมเลกุลน้ำตาลกรดไซอะลิกที่เป็นตัวแปรสำคัญซึ่งทำให้โอกาสเกิดโรคหัวใจน้อยลง
โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโลก โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือนกันยายน 2561 ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหัวใจประมาณ 430,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วโลก ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มขึ้นก็อาจไม่ใช่เรื่องปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะยีนที่หายไปจากร่างกายมนุษย์เมื่อ 3 ล้านปีก่อน
สิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้นก็คือ อายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต การสูบบุหรี่ โรคอ้วน หรือนิสัยการกินอาหาร ฯลฯ ทว่ามีผู้ป่วยโรคหัวใจครั้งแรกจำนวน 15% ที่ไม่มีความเสี่ยงดังที่กล่าวมาเลย กลุ่มนักวิจัยจึงทำการศึกษา โดยเทียบดูกับลิงชิมแปนซีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์และมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นเดียวกัน ทว่าลิงเหล่านั้นกลับพบโรคหัวใจได้น้อยมาก แม้บางตัวจะมีปัจจัยเสี่ยงอย่างคอเรสเตอรอลหรือความดันด้วยก็ตาม ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เชื่อว่าเนื่องจากยีน CMAH ที่ยังคงอยู่ในร่างกายลิง แต่ไม่พบในร่างกายของมนุษย์ปัจจุบัน
สาเหตุที่ทำให้ยีนนี้หายไปเนื่องจากมนุษย์เกิดการกลายพันธุ์หรือมีวิวัฒนาการ หากเป็นบรรพบุรุษของเราเมื่อ 2-3 ล้านปีก่อนจะยังคงมียีนชนิดนี้อยู่ และในยีนก็จะมีโมเลกุลน้ำตาลกรดไซอะลิกที่ชื่อว่า Neu5Gc ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้โอกาสเกิดโรคหัวใจลดน้อยลง โดยนักวิจัยได้คำตอบจากการดัดแปลงหนูทดลองให้มียีนใกล้เคียงกับมนุษย์ ด้วยการนำโมเลกุลน้ำตาลดังกล่าวออก ผลลัพธ์ที่ได้คือ หนูดัดแปลงมีโอกาสเกิดโรคหัวใจมากกว่าหนูปกติถึง 2 เท่า ซึ่งนี่อาจเป็นคำตอบได้ว่าทำไมคนสุขภาพดีบางคนจึงป่วยเป็นโรคหัวใจได้แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงให้เห็น
ทีมวิจัยสรุปการศึกษานี้ว่า วิวัฒนาการของมนุษย์ที่ทำให้ยีน CMAH หายไป เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกอย่างอาหาร ที่ทีมศึกษาทดลองให้หนูดัดแปลงกินเนื้อสัตว์แดงเหมือนกับคน ก่อนจะพบว่าหนูมีโอกาสเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้นมาอีก 2.4 เท่า