fbpx

เขตพัฒนาเศรษฐกิจอีอีซีแห่งระยอง: อนาคตแห่งนิเวศ การท่องเที่ยว และการลงทุน

ถ้ากล่าวกันถึงจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทยแล้วนั้น ชื่อหนึ่งที่หลายคนจะต้องนึกถึง และปรากฏอยู่ในความคิดขึ้นมาเป็นจังหวัดแรก เชื่อว่าน่าจะเป็นจังหวัด ‘ระยอง’ อย่างไม่ต้องสงสัย อาจจะด้วยการเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ รวมถึงการเป็นนิคมที่กลุ่มอุตสาหกรรมได้ปักหลัก วางรากฐาน และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพลังงานมาอย่างยาวนานในฐานะแหล่งก๊าซธรรมชาติ

แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด จังหวัดระยอง ถือได้ว่าเป็นหัวเมืองที่สำคัญ ไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ ในละแวกเดียวกันเลยก็ว่าได้

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมและนิคมโรงงาน ตลอดจนการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อพันธุ์พืชและสัตว์อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้แนวทางการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น จำต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน รอบคอบ และมองให้ครบด้าน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยไม่ทอดทิ้งสิ่งใดไว้เบื้องหลัง

จึงกลายเป็นที่มาของการพัฒนาพื้นที่ ‘สวนพฤกษศาสตร์ระยอง’ แหล่งศึกษาระบบนิเวศอีอีซี ที่ได้ออกดอกผล และพุ่งเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการลงทุนที่จะตามมา

สวนพฤกษศาสตร์ระยอง แหล่งศึกษาระบบนิเวศอีอีซี เกิดขึ้นจากพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานเมื่อครั้งทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานกล้วยไม้เอเชียแปชิฟิก ครั้งที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2535

จากการน้อมนำพระราชเสาวนีย์ สู่การพัฒนาและการนำไปปรับปรุงให้เกิดผล โดยกรมป่าไม้ ได้จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ขึ้น ที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้โอนมาดำเนินงานโดย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อสพ.) อันเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในความดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จนกระทั่งกลายเป็นผลสำเร็จ ในปี 2537 กับสวนพฤกษศาสตร์สากลแห่งแรกของไทยในภาคเหนือ ‘สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้า (Queen Sirikit Botanic Garden)’ ซึ่งเป็นแม่แบบในการพัฒนาของ สวนพฤกษศาสตร์ระยอง แหล่งศึกษาระบบนิเวศอีอีซี ที่เกิดขึ้นในวันนี้

สวนพฤกษศาสตร์ระยอง มีความพิเศษในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์ไม้ และระบบนิเวศน์ ด้วยแหล่งที่ตั้งบน ‘บึงสำนักใหญ่’ พื้นที่กว่า 3000 ไร่ มีพันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครอง รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาแนวกั้นคันดินด้วยพันธุ์ไม้ ที่ป้องกันการทลายของแนวชายฝั่ง

นอกจากนั้น ในปี 2565 นี้ สวนพฤกษศาสตร์ระยอง ยังมีโครงการที่จะพัฒนาให้เป็น ‘เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)’ ที่จะผนวกภาคการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

และหนึ่งในโครงการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ที่พร้อมจะร่วมลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ล่าสุดนี้ คือ ‘แกรนด์ แอสเสท โฮเทลล์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้’ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ที่ร่วมมือกับ ‘อมาธารา เวลเนส รีสอร์ท’ แบรนด์ธุรกิจด้านสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Wellness) เปิดตัวโครงการ ‘อมาธารา เรสซิเดนเซส ระยอง’ ที่จะมอบประสบการณ์สุขภาพดีแบบ Holistic Wellness

นี่เป็นโครงการครั้งสำคัญของ แกรนด์ แอสเสท โฮเทลล์ พรอพเพอร์ตี้ เลยก็ว่าได้ เพราะสถานที่แห่งนี้ พร้อมยกระดับไลฟ์สไตล์ สู่อีกขั้นของการพักอาศัยรูปแบบใหม่ด้วยบริการระดับลักชัวรี่ กับพูลวิลล่าระดับ 5 ดาว ตั้งตระหง่านริมทะเล ท่ามกลางธรรมชาติ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย้ำจุดแข็งที่ตั้งโครงการในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ “อีอีซี” พร้อมก้าวสู่ “จุดหมายปลายทาง” ที่พักอาศัยด้านสุขภาพระดับเวิลด์คลาสแห่งใหม่ในอนาคต

จุดเด่นของโครงการ ยังเป็นเรื่องของทำเลที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค รวมถึงมีมาตรการเพื่อยกระดับโครงข่ายคมนาคม เพื่อพัฒนาพื้นที่อีอีซีให้กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีทั้งของไทยและภูมิภาคอาเซียนในอนาคต ซึ่งจะทำให้ระยอง กลายเป็นไพร์มโลเคชั่นที่ดึงดูดลูกค้าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาดำเนินธุรกิจและพักอาศัย ซึ่งจะส่งผลดีต่อโครงการ “อมาธารา เรสซิเดนเซส ระยอง” มากยิ่งขึ้น

เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองไม่น้อย เมื่อแนวทางการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ กับแวดวงอสังหาริมทรัพย์ จะมาผสานรวมกัน สิ่งที่เคยถูกมองว่าไปกันไม่ได้ จะสามารถจรดตัวตนอย่างลงตัวได้หรือไม่ ผลลัพธ์สุดท้าย คือสิ่งที่ต้องติดตามอย่างยิ่ง แต่ก็เชื่อว่า น่าจะส่งผลดี ต่อทั้งภาคเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และเหนือสิ่งอื่นใด ภาคการอนุรักษ์อย่างแน่นอน

.

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ