ความทรงจำวัยเด็กของเราหายไปไหน?
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมพอโตขึ้นมาแล้ว เราถึงจำเรื่องในวัยเด็กไม่ได้ ซึ่งต่อไปนี้คือสมมุติฐานอยู่สองสามข้อที่อาจอธิบายได้ว่าทำไมคุณถึงจำช่วงเวลานั้นไม่ได้
คำตอบคือ…
เมื่อลองนึกถึงความทรงจำในวัยเด็กคุณอาจจะจำอะไรไม่ได้เลยหรือจำได้เพียงเลือนลางเท่านั้น แม้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม ‘ภาวะเสียความจำในวัยทารก’ (Childhood Amnesia) แต่สาเหตุของมันกลับยังเป็นปริศนาอยู่ มีเพียงการตั้งสมมุติฐานไปต่างๆ นานา และนี่คือสมมุติฐานอยู่สองสามข้อที่อาจอธิบายได้ว่าทำไมคุณถึงจำช่วงเวลานั้นไม่ได้
สมมุติฐานแรก มีนักประสาทวิทยาหลายคนว่ากันว่าเป็นเพราะ ‘สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่’ แต่ในความเป็นจริงทารกสามารถสร้างความทรงจำบางประเภทได้อย่างแน่นอน เพราะระบบสมองที่จำเป็นต่อการสร้างความทรงจำของมนุษย์มีสองระบบคือ ‘ฮิบโปแคมปัสง และ ‘สมองกลีบขมับส่วนใน’ และทั้งสองระบบนี้จะได้รับการพัฒนาค่อนข้างดีเมื่อเรามีอายุหนึ่งปี
อย่างไรก็ตาม มีสมองส่วนหนึ่งที่จะไม่โตเต็มที่จนกว่าจะถึงวัยยี่สิบต้นๆ นั่นคือสมองส่วนหน้า (พัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 25 ปี) นักประสาทวิทยาจึงเชื่อว่าสมองส่วนนี้แหละที่สร้างความทรงจำที่เป็นฉากๆ เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเราก่อนที่สมองส่วนหน้าจะได้รับการพัฒนา เราอาจสามารถเรียกคืนทักษะบางอย่างหรือจดจำเรื่องราวได้บ้างแต่เราไม่ใช่รายละเอียดทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีสมมุติฐานที่ว่าเป็นเพราะทารกไม่มีความรู้สึกถึงตนเอง (Sense of Self) โดยนักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่าทารกจำเป็นต้องพัฒนาความรู้สึกของตัวเองก่อนถึงจะสามารถพัฒนาความทรงจำได้ หรือเรียกว่า ‘ความทรงจำเกี่ยวกับอัตชีวประวัติ’ (Autobiographical memories) ทารกที่ไม่เข้าใจว่าตนเองเป็นใครก็จำสิ่งต่างๆ ได้ตัวเองพบเจอได้ยากขึ้น
สมมุติฐานข้อนี้มีการทดลองหนึ่งเกี่ยวกับการจดจำตนเองและหน่วยความจำ มาสนับสนุน โดยขั้นแรกนักจิตวิทยาได้ทำการทดสอบว่าทารกคนไหนสามารถจดจำตนเองในกระจกได้บ้าง จากนั้นก็ปล่อยให้เด็กเล่นกับตุ๊กตาสัตว์และบอกให้เด็กๆ นำไปใส่ไว้ในลิ้นชัก
สองอาทิตย์ต่อมากนักจิตวิทยาก็นำเด็กๆ กลับมาในอีกครั้งและให้ไปหยิบตุ๊กตาที่ตัวเองเก็บไว้ในลิ้นชัก ซึ่งพบว่ามีเพียงทารกที่จำตัวเองในกระจกได้เท่านั้นที่สามารถจำได้ว่าพวกเขาเก็บของเล่นไว้ที่ไหน
ส่วนสมมุติฐานสุดท้ายบอกว่าเป็นเพราะทารกไม่มีตัวกระตุ้นให้ระลึกถึง (Retrieval Cues) โดยแย้งว่าจริงๆ แล้ว เราไม่ได้มีปัญหากับการสร้างความทรงจำแต่เรามีปัญหากับการระลึกถึงความทรงจำเมื่อเราอายุมากขึ้นต่างหาก
นั่นหมายความว่า เป็นไปได้ที่เราจะหลงลืมความทรงจำวัยเด็กไปเพราะเราไม่มีบริบทที่จะช่วยกระตุ้นความทรงจำเหล่านั้น และแม้ว่าคุณจะอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมมาตลอดชีวิต แต่โลกก็ดูแตกต่างจากตอนที่คุณยังเป็นเด็ก
ลองจินตนาการดูสิว่าคุณจะมองงานวันเกิดขวบปีแรกของคุณยังไง อาจจะเป็นงานเลี้ยงในบ้านหลังเดิมที่ตอนนั้นเฟอร์นิเจอร์ดูใหญ่ยักษ์กว่าคุณหลายเท่า บนโต๊ะเต็มไปด้วยอาหารที่คุณกินไม่ได้ และยังมีแขกที่คุณไม่ได้เชิญมา แถมพูดคุยกันด้วยภาษาแปลกๆ ที่คุณยังไม่เข้าใจ น่าจะเป็นอะไรประมาณนี้
แต่ในฐานะผู้ใหญ่การที่คุณจะอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นมันค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก ดังนั้น จึงไม่มีอะไรที่จะกระตุ้นความทรงจำวัยเด็กของคุณ หรืออาจะพูดได้ว่าเราอาจลืมวัยเด็กไปเพราะมุมมองที่เปลี่ยนไปของเราก็ได้