จากการที่ไวซ์ไซท์ ขยายธุรกิจไปในประเทศมาเลเซียมากว่า 3 ปี ทำให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เข้าถึงวัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย รวมทั้งได้เข้าถึงข้อมูลโซเชียลจำนวนมหาศาล จากการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ จนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้หลายรูปแบบเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจต่างๆ จึงได้พัฒนา RESEARCH ใหม่เพื่อช่วยธุรกิจให้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ขยายธุรกิจในต่างประเทศ ที่เรียกว่า CROSS-BORDER CONSUMER INSIGHTS RESEARCH โดยวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆ ดังนี้ วิเคราะห์คู่แข่งในตลาด วิเคราะห์ pain points ของลูกค้าในบริการต่างๆ วิเคราะห์ช่องทางสื่อสาร และการใช้งานโซเชียลมีเดียของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ วิเคราะห์ Influencer ในแต่ละกลุ่มธุรกิจ ลูกค้าพูดถึงแบรนด์ สินค้า หรือบริการต่างๆ ในกลุ่มธุรกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลง RESEARCH รองรับพฤติกรรมผู้บริโภค 21 ประเทศ ดังนี้ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ เมียนมาร์ รัสเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ไต้หวัน ศรีลังกา กัมพูชา นิวซีแลนด์ บรูไน ปากีสถาน บังคลาเทศ […]Read More
นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย ก็ได้รับผลกระทบจากการที่ยอดโอนกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนที่ลดลงอย่างมาก แน่นอนว่าเศรษฐกิจที่ซบเพราะผลกระทบจากโควิด-19 ย่อมส่งผลต่อตลาดอสังหาฯ แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยรายงานจาก Economic Intelligence Center หรือ EIC ของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประเมินเศรษฐกิจโลกปี 2563 ว่าจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และ GDP น่าจะหดตัวจนถึงขั้นติดลบที่ 5.6% ซึ่งมาจาก 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1. เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย 2. จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงมากกว่าคาด 3. ผลกระทบต่อการบริโภคจากการประกาศปิดเมือง 4. ผลจากมาตรการการเงินและการคลังล่าสุด รวมถึงมาตรการอัดฉีดเพิ่มเติมของภาครัฐผ่าน พ.ร.ก. กู้ฉุกเฉิน ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินเพิ่มเติมอีกประมาณ 2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากการแพร่ระบาดจบเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จีดีพีของไทย มีโอกาสหดตัวลดลงอยู่ที่ 3.2% แต่ถ้าหากสถานการณ์รุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าที่คาดไว้ ก็อาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวและภาคส่งออกของไทยปรับลดลงมากกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน จึงมีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2563 หดตัวได้มากถึง […]Read More
อุตสาหกรรมรถยนต์ นับเป็นอีกหนึ่งในตลาดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 พอสมควร โดยข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนเม.ย. 2563 พบว่า… ยอดการผลิตรถยนต์ทั้งหมดอยู่ที่ 24,711 คัน ลดลงจากเดือนเม.ย.2562 ราว 83.55% เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กันแบบทั่วถึง ส่วนหนึ่งก็เพราะโรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ตอนนี้ปิดทำการ และส่งผลให้ยอดการผลิตรถยนต์ตอนนี้ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2530 ซึ่งน่าจะพลาดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ที่วางไว้ 2 ล้านคัน ขณะที่ ‘ยอดขาย’ รถยนต์ภายในประเทศเดือนเม.ย. มีจำนวน 30,109 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 65.02% และลดลงจากเดือนมี.ค. 49.91% ซึ่งยอดขายภายในประเทศลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนอยู่บ้านและไม่อยากใช้เงินเพราะรายได้และความเชื่อมั่นลดลง จากการสอบถามโชว์รูมรถยนต์ พบว่าไม่มีลูกค้าในช่วงที่ผ่านมา ด้านการผลิตเพื่อส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป เดือนเม.ย. 2563 ส่งออกได้ 20,326 คัน ลดลง 69.71% จากเดือนเม.ย.2562 โดยส่งออกลดลงในทุกตลาด เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 12,389.07 ล้านบาท […]Read More
เรื่อง : Clarence Chuan – ในระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา เราเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ผ่านการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และการกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) อยู่กับที่พักอาศัย และการทำงานจากบ้าน หรือ Work From Home (WFH) เพื่อหลีกเลี่ยงการรับเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปสู่ผู้อื่น หลายคนอาจเกิดอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้ และสิ้นหวังในการใช้ชีวิตให้พ้นผ่านไปในแต่ละวัน ทว่าในช่วงเวลาแห่งวิกฤตินี้กลับกลายเป็นโอกาสที่หลายคนจะได้ค้นพบทักษะใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต เมื่อต้องพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถอาศัยไหว้วานผู้อื่นทำภารกิจบางอย่างได้เหมือนเช่นในสภาวการณ์ปกติ จนกระทั่งค้นพบแพสชั่นใหม่ๆ จากงานอดิเรก (แก้เซ็ง) จนบางคนอาจสามารถต่อยอดทักษะนั้น สร้างเป็นอาชีพเสริมหลังผ่านวิกฤติการณ์นี้ไปได้ หรือศึกษาต่อเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ในอนาคต– ต่อไปนี้คือวิธีการรับมือกับ COVID-19 แบบคูลๆ ที่ GM รวบรวมมาเป็นไกด์ไลน์เพื่อให้ช่วงกักตัวและ WFH ของคุณเต็มไปด้วยความสนุกและมีสีสันมากกว่าเดิม – เฮ้ย! เดี๋ยวนะ จะให้แต่งตัวเหมือนโอปปาเกาหลีแล้วทำงานจากที่บ้านเนี่ยนะ…ว่าแต่มันจะเข้าท่าเหรอ? หลายคนอาจตั้งคำถามนี้เมื่อเห็นหัวข้อ แต่เชื่อเราเถิดว่า หลังคุณผ่านการกักตัวมาเป็นเวลา 2 เดือนเศษๆ และคุณได้ฆ่าเวลาในยามว่างอันแสนเบื่อหน่ายนี้ ด้วยการตะลุยดูซีรีส์ทาง Netflix, Viu […]Read More
อยากจะคิดว่าโควิด-19 ก็แค่เรื่องที่ผ่านมาแล้วก็จะผ่านไป แต่ดูเหมือนว่าเจ้าเชื้อตัวนี้จะอยู่กับเราไปเช่นเดียวกันเชื้อ ‘HIV’ ตามที่ WHO บอก ที่สำคัญถึงจะผ่านไปยังไง แต่เค้าลางของผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ที่บางนักวิเคราะห์ประเมินว่ารุนแรงหนักสุดในรอบหลาย 10 ปีคงยังเป็น ‘โจทย์’ ที่ผู้ใหญ่ในหลายๆ ประเทศต้องคิดต่อไป แต่ว่ากันตามจริง เรื่องเศรษฐกิจก็ไม่ใช่แค่ประเทศไทยประเทศเดียว แต่ขยายวงกว้างแบบทั่วทั้งโลก เพราะเกือบทุกประเทศมีการปิดสนามบินไปจนถึงปิดเมืองล็อคดาวน์พื้นที่และประกาศเคอร์ฟิว เพื่อควบคุมการสัญจรเดินทางของผู้คน สิ่งที่เกิดขึ้น คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบทุกห่วงโซ่ ต้องหยุดหมด ไม่ว่าจะภาคขนส่ง, ค้าส่ง, ค้าปลีก, การผลิต, การบริการ, โลจิสติกส์ รวมถึงภาคท่องเที่ยวและการลงทุน เมื่อทุกอย่างหยุด ผลลัพธ์ที่น่ากลัวสุดในตอนนี้ จึงมาตกที่เรื่องปากท้องของ ‘คน’ ใช่เลย ‘คนตกงาน’ ทั่วโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้น อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาตอนนี้ มีคนยื่นขอสิทธิประโยชน์ว่างงานมากกว่า 22 ล้านคน รวมไปถึงยุโรป, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อาเซียน, อินเดีย และคาดกันว่าปัญหาการตกงานทั่วโลกจะถึงขั้นทุกๆ 10 คนจะมีคนตกงาน 1 คนกันเลยทีเดียว ในส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยประเทศไทยรวมอยู่ในนี้ คาดว่ามีความเสี่ยงต่อการตกงานถึง […]Read More
ถึงตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดูจะเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี ซึ่งอาจจะทำให้หนึ่งในกิจกรรมที่หลายคนรอคอย อย่างการเดินทางท่องเที่ยว โดยเฉพาะในประเทศของเราเอง น่าจะค่อยๆ กลับคืนมาลีละน้อย อย่างไรเสีย ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ตลาดท่องเที่ยวอาจยังไม่พลิกกลับมาเป็นบวกได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยลบหลายด้าน เช่น ความกังวลของนักท่องเที่ยว เพราะยังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจากความเชื่อมั่นต่อการมีงานทำ และกำลังซื้อที่อ่อนแอของประชาชน หลังกิจกรรมเศรษฐกิจส่วนใหญ่หยุดชะงัก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่า ตลาดไทยเที่ยวไทยในปี 2563 อาจหดตัวประมาณ 52.3% ถึง 46.4% โดยคาดว่าจะมีคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศราว 79.5-89.5 ล้านคน/ครั้ง ส่วนรายได้การท่องเที่ยวในประเทศน่าจะมีมูลค่า 4.85-5.45 แสนล้านบาท หดตัวราว 55.1% ถึง 49.4% จากปีก่อน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางภาพเชิงลบของตลาด ก็ยังมองโอกาสจากกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับบนได้ เพราะเชื่อว่ากลุ่มนี้จะฟื้นตัวและกลับมาท่องเที่ยวได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ฉะนั้นหลังโควิด-19 ซาลง บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว ก็น่าจะยังต้องเจอความท้าทายต่อไป โดยเฉพาะกับการปรับวิถีการดำเนินธุรกิจใหม่ (New Business Norms) จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เช่น ต้องปรับรูปแบบการให้บริการโดยคำนึงถึงระยะห่างทางสังคม ต้องปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมการตลาดโดยใช้ช่องทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ ต้องร่วมเป็นพันธมิตรกับธุรกิจท่องเที่ยวหรือร้านค้าในชุมชน เพื่อลดต้นทุนและช่วยฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนให้เข้มแข็งเร็วขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรต้องระวังเรื่องการบริหารจัดการสภาพคล่องในธุรกิจของตนให้ดีด้วย […]Read More
เรื่อง : วรพจน์ พันธุ์พงศ์ – อาจจะชั่วคราว หรือบางทีคงอีกยาวนาน ที่แน่ๆ วิกฤติโรคภัยรอบนี้เปลี่ยนโฉมหน้าโลกและสังคมไทยไปอย่างสิ้นเชิง– ผมเห็นว่าแบบนั้น ใครๆ ก็เห็นว่าแบบนั้น แต่พอมาคิดดูอีกที โลกคงเปลี่ยนไปมากน่ะใช่ คนตายมหาศาลขนาดนี้ เศรษฐกิจพังพินาศขนาดนี้ กับความสูญเสียอันหาที่สิ้นสุดมิได้ มันก็ต้องตั้งคำถาม ปรับประยุกต์ ตั้งหลักตั้งตัวกันใหม่ว่าจะกินอยู่อย่างไร จะเอายังไงกับชีวิต ความฉิบหายยืนอยู่ตรงหน้าโจ่งแจ้งแบบนี้หากจะยังยืนยัน ดันทุรังทำแบบเดิม คิดแบบเดิม คงประหลาดไปหน่อย มากบ้างน้อยบ้าง โรคภัยรอบนี้เปลี่ยนโลกแน่ๆ แต่กับเมืองไทย พูดในฐานะคนอยู่กับข่าวสาร คนอายุย่างเข้าวัยห้าสิบที่เห็นความผิดเพี้ยนคลั่งบ้ามาหลายครั้ง เอาเข้าจริงมันยากเหมือนกันที่จะจินตนาการ สิ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่คาดคิดว่าจะได้เห็น แอร์เอเชีย สายการบินเดียวตอนนี้ที่ปกติบินไป-กลับกรุงเทพฯ-น่าน ประกาศหยุดให้บริการ ด้านหน้าแอร์พอร์ตที่เคยมีรถตู้ รถสองแถว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง วิ่งเข้าวิ่งออก หายไปทันที เช่นเดียวกับสถานีขนส่งจังหวัดน่าน ที่ร้างไร้คนสัญจร เมื่อรถโดยสารประจำทางหยุดเดินรถ โรงแรม ผับบาร์ สวนอาหาร ร้านกาแฟ ที่เคยมีชีวิตชีวา เป็นจุดพักผ่อน พบปะ กินดื่ม ท่องเที่ยว บันเทิง ทุกแห่งทุกที่แขวนป้ายหน้าร้าน–หยุดบริการ จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เมืองเล็กๆ […]Read More
แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยตอนนี้ จะพอเบาใจขึ้นมาได้หน่อย เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อมีตัวเลขเฉลี่ยเหลือวันละแค่หลักหน่วย จนทำให้เกิดการเรียกร้องให้ออกมาขายของกันได้เสียที ตรงจุดนี้แหละที่ทำให้แอบกังวลพอควรว่า ‘ภาวะอัดอั้น’ ของคนที่ ‘ร้าง’ กิจกรรมทางสังคมไปนานๆ จะก่อให้เกิดความประมาทในการดูแลตัวเองเมื่อได้กลับสู่สังคมที่รอคอยอีกครั้งหรือไม่? ตัวอย่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็มีการโชว์ให้เห็นแล้วว่า แค่ ‘ประมาท’ หรือ ‘เผลอ’ ผ่อนคลายสิ่งที่เคยทำมาจากช่วงหลายเดือนที่แสนขมขื่นนั้นเป็นอย่างไร เพราะแค่เพียงแว่บเดียว!! ก็มีผู้ติดเชื้อพุ่งจากหลักพันไปเป็นหลักหมื่นกว่าๆ ได้เลย ลองดูได้จากจำนวนตัวเลขของประเทศที่ใครๆ ก็ชื่นชมในตอนแรกว่ารับมือกับโควิด-19 ได้ดีมากๆ อย่าง สิงคโปร์ และรัสเซีย แต่พอคลายมาตรการผ่อนปรน ปล่อยให้เดินทางเข้าออกประเทศ และพื้นที่ต่างๆ อย่างอิสระ รวมถึงยังเปิดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสบาย ก็ทำให้เกิดตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้น จนไม่รู้จะรับมือไหวได้แค่ไหน? …อย่าพยายามคิดว่าทุกอย่างมันผ่านไปแล้ว ผ่านไปเลย และหลงมั่นใจว่ากิจกรรมมันกล้าเปิด ก็ต้องเพลิดเพลินกันให้สุด แน่นอนว่า การที่ไทยเราสามารถผ่อนปรนมาตรการได้นั้น มันก็ต้องสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ที่ออกมาเตือนประเทศที่อยากผ่อนปรนการล็อกดาวน์ให้มีการพิจารณาคุณสมบัติของประเทศได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งไทยเราก็เข้าข่ายนั่นแหละ!! ไม่ว่าจะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในประเทศได้แล้ว สามารถระบบสุขภาพต้องสามารถตรวจหาผู้มีอาการของโรค ตรวจหาเชื้อ แยกตัวและทำการรักษา พร้อมทั้งทำการสอบสวนโรค ความเสี่ยงระดับน้อยที่สุดในสถานที่เสี่ยงภัยมากที่สุด เช่น บ้านพักคนชรา โรงเรียน สำนักงาน […]Read More
เคยมีคำกล่าวโบราณบอกไว้ว่า ‘นักรบไม่ควรเปลี่ยนม้ากลางศึก’ เพราะจะทำให้พ่ายแพ้ต่อสงคราม และทำให้กลยุทธ์ที่วางไว้เกิดความเสียหาย แต่กับปัญหาไวรัสโควิด-19 ระบาดที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้ความหมายนี้ต้องกลับตาลปัตรไป เพราะช่วงที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ภาวการณ์ระบาดขั้นรุนแรงนั้น บิ๊กตู่ ก็ต้องตัดสินใจไปขอคำปรึกษา…เอ…จะเรียกว่าอัญเชิญปรมาจารย์หมอของประเทศเข้าร่วมประชุมเครียดเลยดีกว่า เพราะในที่ประชุมก่อนสถานะการระบาดจะลามไปถึงขั้น 3 นั้น เต็มไปด้วยบุคลากรทางแพทย์ขั้นเทพที่ระดับโลกต่างยอมรับ เข้ามาระดมหัวคิด จนบรรดาแพทย์หน้าสนามศึกต่างเป่าปากแบบโล่งอก เพราะมีทั้ง… ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทรช : อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร : สมาชิกวุฒิสภาไทย, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ : หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. นพ.อมร ลีลารัศมี อดีตประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และอดีตคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ศ. พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ : นายกแพทยสภา และอดีตหัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ […]Read More
หากจะกล่าวกันถึงประวัติศาสตร์ของ ‘วันแรงงาน’ ของประเทศไทยแล้วนั้น สามารถสืบย้อนกลับไปได้เกือบร้อยปี เกี่ยวเนื่องกับการมีอยู่ของแรงงานในระดับสากล แต่กว่าที่สภาพการทำงานของเหล่าชนชั้น ‘แรงงาน’ ทั้งหลายจะเข้าที่เข้าทาง ก็ต้องอาศัยเวลาอยู่อีกไม่น้อยเช่นกัน ในการก่อร่างสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น ชนชั้นแรงงาน เป็นชนชั้นที่ถูกกดขี่และบีบบังคับจากเจ้าของกิจการในทุกมิติ การมีกฎหมายแรงงาน สร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ เป็นขั้นเป็นตอน และให้สิทธิ์อันพึงมีพึงได้แก่ชนชั้นที่เป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญของประเทศ ที่อาจจะถูกมองข้ามไป สิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ที่กล่าวไปนั้น อาจจะมาในรูปแบบของค่าจ้างล่วงเวลาทำงาน, จำนวนวันลา, สิทธิ์การลาคลอด, เงินประกันสังคม และวันหยุดตามประเพณีต่างๆ และถือว่าวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี คือวันที่เฉลิมฉลองความสำคัญของชนชั้นแรงงานทั้งหลาย หากแต่ ท่ามกลางวิกฤติของเชื้อร้าย COVID-19 ที่กำลังระบาดและแพร่กระจาย สร้างความเสียหายอย่างเป็นวงกว้างในทุกภาคส่วนนั้น กำลังก่อเป็นปัญหาสำคัญ ไม่เพียงแต่เฉพาะชนชั้นที่เหนือขึ้นไป แต่กระทบถึงภาคแรงงานส่วนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อภาคการผลิตจำต้องปิดตัว ภาคการบริการไม่สามารถดำเนินต่อไปท่ามกลางนโยบายการ Lockdown เมือง อันเป็นวิสัยทัศน์ของกลุ่มผู้นำประเทศ เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อร้าย นั่นส่งผลกระทบต่อเนื่องกันอย่างเป็นลูกโซ่ต่อภาคแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามไปด้วย เพราะเมื่อภาคการผลิตปิดตัวลง ความต้องการแรงงานก็ลดน้อยตาม นั่นทำให้ภาพของการต่อคิวรับข้าวสารอาหารแห้ง สิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องอุปโภคบริโภค กลายเป็นสิ่งที่เริ่มเห็นได้อย่างชินตา และความกดดันจากการขาดรายได้ ก็ตามมาด้วยอัตราการฆ่าตัวตายของภาคแรงงานที่เริ่มสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ซ้ำร้าย นโยบายของภาครัฐนั้น เกิดขึ้นเพียงมิติเดียวในการสกัดกั้น แต่ในมิติของการ […]Read More