เรื่อง: ดร. วิชยุตม์ ทัพวงษ์ ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “รวย” ผู้คนส่วนใหญ่มักนึกถึงคนที่มีทรัพย์สินมาก หรือพูดง่ายๆ คือคนที่มีเงินหรือมีทรัพย์สินเยอะ ในขณะที่ความมั่งคั่งนั้น ถ้ามองกันให้ลึก ๆ แล้ว จะเป็นภาพที่กว้างกว่าและครอบคลุมมากกว่าเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง หลายครั้งมุมมองที่เกี่ยวข้องกับความมั่งคั่ง ผนวกรวมไปทั้งเรื่องทรัพย์สิน สุขภาพ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือครอบครัว คุณค่าของตัวเรา และทัศนคติของผู้นั้น ที่มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีความสุข ดังนั้น หากกล่าวรวม ๆ แล้วจะเห็นว่าคนที่มั่งคั่งนอกจากเป็นคนที่มีทรัพย์สินมากพอที่จะใช้ได้อย่างไม่ขัดสนแล้วยังรวมถึงการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง เป็นคนที่ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นเสมอ และมีเวลามากพอที่จะทำอะไรก็ได้อย่างที่อยากทำโดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งความมั่งคั่งนี่เองอาจมองได้ว่าเป็นภาพรวมของชีวิตที่มีความสุข แม้ว่าเงินจะเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยตั้งคำถาม หรือวางแผนว่า เมื่อถึงชวงอายุหนึ่งแล้วจะต้องมีเงินทองหรือทรัพย์สินเท่าไรในการเลี้ยงชีพ เช่น เมื่ออายุเข้าสู่สัย 50 ปี 60 ปี 70 ปี จนเลยไปถึง80 ปี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดแผนงานหรือแนวทางในการสร้างการออมให้กับตัวเอง สุขภาพ…. ปัจจัยสำคัญแห่งความมั่งคั่ง ธรรมชาติได้ออกแบบมาให้ร่างกายของมนุษย์ มีการเคลื่อนไหวในหลากหลายอิริยาบถอย่างสม่ำเสมอ การขยับร่างกายน้อยเกินไป ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เช่น […]Read More
ในสถานการณ์ต่างๆ ของชีวิต ย่อมหลีกหนีไม่พ้นความยากลำบาก ปัญหา หรืออุปสรรคที่ผ่านเข้ามา แน่นอนว่า ‘การมองโลกในแง่บวก’ ที่พร้อมเชื่อว่า ทุกสิ่งสามารถเป็นไปได้ สามารถคลี่คลายได้ และยิ้มรับกับมันโดยไม่หลีกหนี นับเป็นสิ่งที่ดี ทั้งกับตัวเอง และคนรอบข้าง สร้างบรรยากาศแห่งความเป็นหนึ่งเดียว การมุ่งไปข้างหน้า และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีตามมา แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากการมองโลกในแง่บวกดังกล่าว มันกลายเป็น ‘ธรรมเนียมปฏิบัติ’ ที่จำต้องทำ? ถ้าการยิ้มรับกับปัญหา ไม่ได้มาจากทัศนคติภายใน แต่เป็นสิ่งที่ถูกบังคับโดยวัฒนธรรมองค์กรและคนหมู่มาก ถ้าหากการที่จะ ‘ไม่ยิ้ม’ แม้เพียงนิด มีราคาที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะในมุมมองของคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน หรือสังคมโดยรวม? ความขุ่นมัวที่ตกค้างอยู่ในใจที่ไม่สามารถหาทางออก จึงกลายเป็นปัญหาที่ถูกซุกซ่อนเอาไว้ ไม่สามารถสลัดหลุดพ้นไปได้ ความเป็น ‘พิษ’ ของการมอง ‘จำต้องมองแง่บวก’ นั้น จึงเป็นสาเหตุสำคัญของกลุ่มอาการ ‘Toxic Positivity’ ที่กำลังถูกให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ ทำไมการมองในแง่บวก ถึงกลายเป็นพิษ และนำไปสู่อาการของ Toxic Positivity? ในจุดนี้ ในทางการแพทย์ ไม่ได้มีบันทึกเอาไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นผลพวงจากการซุกซ่อนปัญหาที่เกิดขึ้นไว้กับตนเอง วัฒนธรรมการมองบวกที่แพร่หลายอย่างมากที่ตอกย้ำว่าเป็นทางออกของทุกปัญหา ผลักภาระให้คนคนหนึ่งแบกรับทุกความรับผิดชอบไว้บนสองบ่า […]Read More