สุขภาพที่ดี 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ GM Live ให้ความใส่ใจเพราะเป็นเรื่องของสุขภาพที่ส่งผลโดยตรงต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งโรคนี้เป็นโรคยอดนิยมอันดับต้นๆ ของคนไทยเลยก็ว่าได้ ทั้งยังส่งผลต่อการเป็นโรคอื่นๆ ตามมาอีกด้วย การกำหนดวันนี้ขึ้นมาก็เพื่อสร้างความตระหนักและใส่ใจต่อการป้องกันโรคเบาหวาน ซึ่งริเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลกเพื่อสนองต่อการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจของเบาหวานทั่วโลก และวันนี้ยังตรงกับวันเกิดของเฟรเดอริก แบนติง (Frederick Banting) นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดา ผู้ร่วมกับนักศึกษาแพทย์ชาร์ลส์ เบสต์ (Charles H. Best) แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต ซึ่งเป็นคนแรกที่เข้าใจแนวคิดที่นำไปสู่การค้นพบอินซูลินใน พ.ศ. 2465 ทั้งนี้วันเบาหวานโลกยังเป็นการรณรงค์ภายใต้เน้นธีมใหม่ที่เลือกโดยสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติทุกปีเพื่อชี้ให้เห็นปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องเผชิญ โดยธีมในช่วงพ.ศ.2567- พศ.2569 จะเน้นไปที่โรคเบาหวานและความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแลและการสนับสนุนด้านความเป็นอยู่ที่ดีได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันโรคเบาหวานไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงมีอะไรบ้างนั้น GM Live ขอนำบทความ “ใครบ้าง ? เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน” โดย รศ. พญ.ฉัตรประอร งามอุโฆษ สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานได้ง่ายขึ้น […]Read More
ภาวะซึมเศร้า ว้าวุ่นกันเลยทีนี่..เมื่อ GM Liveได้รับข้อมูลว่าจิตแพทย์พบวัยรุ่นเครียดแซงวัยทำงาน 4 เท่า แนะพ่อแม่ต้องเป็นเซฟโซนให้ลูกหลังเด็กรุ่นใหม่เครียดหนัก เพราะความเครียดเป็นภาวะที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนเฉกเช่นการเกิดบาดแผลหรือบาดเจ็บบนร่างกาย และเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ในยุคที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดแรงกดดันในชีวิตประจำวันที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจจนก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่าความเครียด โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่นต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายด้าน ไม่ว่าจะเรียนการเรียน ครอบครัว เพื่อนฝูง และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ จนเกิดเป็นความเครียดสะสม ซึ่งบ่อยครั้งปัญหาเหล่านี้ของวัยรุ่นถูกมองข้ามจากครอบครัว เพราะผู้ใหญ่คิดว่าความเครียดของเด็กเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่รุนแรง ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นรู้สึกโดดเดี่ยวและเครียดมากกว่าเดิม จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ โดยในเรื่องนี้ GM Live มีบทความจากทางแพทย์หญิง เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช ศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุต ที่ได้ชวนผู้ใหญ่ให้มาทำความเข้าใจว่าความเครียดของวัยรุ่นก็เป็นเรื่องสำคัญไม่ต่างกับเรื่องของผู้ใหญ่เช่นกัน พร้อมทั้งแนะนำแนวทางที่ครอบครัวสามารถสนับสนุนวัยรุ่นให้มีสุขภาพจิตที่ดี ก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ความเครียด ปัญหาของวัยรุ่นที่ไม่ได้หายง่าย ๆ หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นคือ ความเครียด ภาวะอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด และไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่ง พญ.เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “บ่อยครั้งเวลาเราเจอปัญหาหรืออุปสรรคที่เข้ามาในชีวิต ก็เป็นเรื่องปกติที่ทำให้เรารู้สึกเครียด ซึ่งหลายคนพอเห็นว่าเด็ก ๆ เครียด ก็มักแนะนำให้ไปฟังเพลง […]Read More
นับว่าเป็นพฤติกรรมความคุ้นชินของหลายคนกับการหักนิ้วมือบ่อยๆ เพราะอาจทำให้รู้สึกว่าช่วยคลายเมื่อยนิ้ว เมื่อยมือได้ แต่ที่จริงแล้วพฤติกรรมเช่นนี้ส่งผลเสียอย่างมากแม้จะไม่ได้ส่งผลในทันที่ก็ตาม ทั้งนี้ GM Live ได้ไปเจอบทความของ ผศ. ดร. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากช่อง Rama Channel และเห็นว่ามีประโยชน์อย่างมาก เลยขอนำมาเผยแพร่ส่งต่อความรู้อีกช่องทางหนึ่ง หักนิ้ว แก้เมื่อย ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่ การหักนิ้วบ่อย ๆ ไม่ได้ส่งผลเสียหรืออันตรายโดยตรงกับข้อนิ้ว แต่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการข้อเสื่อมได้ ในคนที่เป็นโรคข้อเสื่อมอยู่แล้วการหักนิ้วจะทำให้ตัวข้อเสื่อมมากขึ้นหรือบางคนหักนิ้วแรงเกินไปอาจทำให้ข้อนิ้วอักเสบได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความหลวมของข้อทำให้เกิดอาการข้อหลวม เพราะว่าการหักนิ้วแต่ละครั้งมีการถูกยืดของปลอกหุ้มข้อหรือเส้นเอ็นต่าง ๆ ทำไมถึงชอบหักนิ้ว ? การหักนิ้วก่อให้เกิดความสบายและผ่อนคลาย ยิ่งกับคนที่ออกกำลังกายแล้วรู้สึกว่ามีข้อติดการหักนิ้วก็สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ส่วนใหญ่เกิดจากนิสัยและความเคยชิน หักนิ้ว แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ภายในข้อของกระดูกจะมีน้ำใส ๆ ที่มีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นข้อต่อต่าง ๆ ของกระดูกให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไหลลื่น ไม่ฝืดเคืองหรือเกิดการเสียดสีกันระหว่างกระดูก หากไปบิดหรือหักกระดูกนิ้วบ่อย ๆ ก็อาจจะเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างกระดูกให้เพิ่มมากขึ้นจนส่งผลให้แรงดันอากาศต่ำภายในข้อต่อเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้น้ำที่หล่อลื่นข้อต่ออยู่ไหลออกไปอยู่ในพื้นที่ช่องว่างนั้น ซึ่งเสียงที่ดังกร็อบแกร็บที่ได้ยินเป็นเสียงที่เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อไหลออกไปสู่พื้นที่ว่างที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ภายในข้อต่ออย่างรวดเร็ว ไม่ได้เป็นเสียงที่เกิดจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อ หักนิ้ว เสี่ยงนิ้วล็อกจริงหรือ การหักนิ้วบ่อย ๆ […]Read More
เรื่อง : ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์หัวใจ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก วันอัลไซเมอร์โลก เป็นอีกหนึ่งโรคที่ GM Live คิดว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะมีผู้ป่วยมากขึ้นทุกปี สำหรับภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งทางองค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ หรือ Alzheimer’s Disease International (ADI) ได้ประกาศให้วันที่ 21 กันยายน ของทุกปี เป็น‘วันอัลไซเมอร์โลก’ เพื่อรณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจถึงภัยเงียบของโรคนี้ และเพื่อเป็นการเพิ่มความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกต้องของภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ GM Live มีบทความดีๆ เกี่ยวกับ ออกกำลังกายอย่างไร..ในภาวะสมองเสื่อมและเป็นอัลไซเมอร์ จาก ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์หัวใจ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งมีประโยชน์ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย การออกกำลังกายกับภาวะสมองเสื่อม สมองเป็นอวัยวะที่เป็นศูนย์กลางการสั่งการต่างๆ ของชีวิตไว้ ตั้งแต่ควบคุมการ เคลื่อนไหวและความรู้สึกของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ตามแขนขาและลำตัวไปจนถึงกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ในเท้า มือ และใบหน้ารวมถึงการรับรู้ต่าง ๆ เช่นการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส และการสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย […]Read More
เมื่อพูดกันถึงเรื่อง ‘การออกกำลังกาย’ แล้วนั้น แน่นอนว่า เป้าหมายของการมีสุขภาพดี และมีรูปร่างที่สมส่วน คือปลายทางที่หลายคนต่างปรารถนา กระนั้นแล้ว หลายครั้งมักจะมีคำถามสำหรับคนที่ออกกำลังกายมาสักระยะหนึ่งที่ว่า ออกกำลังกายได้ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ หรือถ้าให้เจาะจงลงไปเฉพาะส่วน ก็คือ จะรู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายในตอนนี้ กำลังเผาผลาญไขมัน หรือดึงเอา กล้ามเนื้อ มาใช้? เราต้องมาทำความเข้าใจในเบื้องต้นกันก่อนว่า ทั้งไขมัน และกล้ามเนื้อ ต่างก็มี ‘น้ำหนัก’ ที่ไม่ต่างกัน แต่คุณสมบัติ การใช้งาน และผลลัพธ์ที่เห็นจากตาภายนอก แตกต่างกันอย่างมาก สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า น้ำหนักของเราในขณะนี้ เป็นน้ำหนักของกล้ามเนื้อ หรือไขมัน สามารถทำได้โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้เป็นเกณฑ์ประกอบ -ออกกำลังกายได้มากขึ้นหรือไม่ สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายมาเป็นเวลาระยะหนึ่ง จะเข้าใจได้ว่า การออกกำลังกายมีอยู่สองประเภทหลักๆ นั่นคือ การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน หรือ Weight Training และการออกกำลังกายเพื่อฝึกฝนกล้ามเนื้อหัวใจ หรือ Cardio ซึ่งทั้งสองแบบของการออกกำลังกายนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจขาดหรือละเลยอย่างใดอย่างหนึ่งไป นั่นเพราะการออกกำลังกายแบบแรงต้าน จะเป็นการฝึกฝนกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง และการออกกำลังกายแบบฝึกฝนหัวใจ จะช่วยเผาผลาญไขมันได้เป็นอย่างดีในระดับการเต้นหัวใจที่เหมาะสม คนที่มีกล้ามเนื้ออยู่มาก จะสามารถฝึกฝนทั้งสองรูปแบบได้อย่างเหมาะสม […]Read More
W9 Wellness Center เผยฝุ่นพิษ PM 2.5 ภัยเงียบสะสม คร่าชีวิตประชากรโลก 7 ล้านคนต่อปี พบประเทศไทยเผชิญฝุ่นพิษ อากาศแย่ติดอันดับ 5 ของเอเชีย และอันดับที่ 36 ของโลก ค่า PM 2.5 เฉลี่ย 23.3 ไมโครกรัม สูงกว่าค่าอากาศมาตรฐาน 4.7 เท่า WHO ชี้ค่า PM 2.5 อยู่ในกลุ่มฝุ่นพิษสารก่อมะเร็ง เป็นฉนวนกระตุ้นเกิดโรคภูมิแพ้ และโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ 5 กลุ่มเสี่ยง รับพิษจากฝุ่นจิ๋วเข้าสู่ร่างกาย นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญศึกหนักกับมลภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5 สารโลหะขนาดเล็กที่ลอยปนเปื้อนในอากาศแทบจะครอบคลุมทุกพื้นที่ เป็นภัยเงียบร้ายแรง ข้อมูลจาก IQAir Global ผู้ติดตามคุณภาพอากาศทั่วโลกรายงานว่า […]Read More
และแล้ว ประเทศไทยก็ย่างเข้าสู่เดือนเมษายน ที่อุณหภูมิความร้อน ทำท่าจะร้อนแรงมากยิ่งกว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะทะยานขึ้นไปสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสในหลายพื้นที่ แน่นอนว่า เมื่อสภาพอากาศร้อนแปรปรวนเช่นนี้ โรคภัยไข้เจ็บก็ย่อมถามหา GM Live และ นายแพทย์พงศ์ภากร ศรธนะรัตน์ แพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก จึงขอเชิญคุณให้มาเฝ้าระวัง ‘5 โรคที่มาพร้อมกับอากาศร้อน’ เพื่อให้สามารถป้องกันและดูแลตัวเอง ไม่ล้มหมอนนอนเสื่อในสภาวะอากาศเช่นนี้ไปเสียก่อน //โรคอาหารเป็นพิษ// เมื่อสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร สามารถเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดาย ทำให้อาหารบูดเน่าเสีย พบได้มากในอาหารที่ปรุงอย่างสุกๆ ดิบๆ และอาหารทะเลที่ต้องวางพักในสภาพอากาศปกติ อาการที่พบเห็นส่วนมาก มักจะเป็นอาการท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง หลังจากรับประทานอาหารปนเปื้อนในระยะ 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีอาการมาก จะมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะสีเข้ม หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมเวลาลุกนั่งเปลี่ยนท่า และอาจทำให้หมดสติได้ วิธีการป้องกันสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และอาหารที่ผ่านกระบวนการเก็บรักษาที่เหมาะสม รวมถึงการล้างมืดให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารด้วย //อหิวาตกโรค// เป็นอีกขั้นที่ต่อเนื่องจากอาหารเป็นพิษ เมื่อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่ปนเปื้อนในน้ำ อาหาร เกิดการปนเปื้อนในชุมชน […]Read More
เมื่อพูดกันถึงเรื่องของสุขภาพร่างกายกับ ‘สมรรถภาพทางเพศ’ แล้วนั้น แม้จะไม่ใช่เรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกมาสนทนากันบ่อยครั้ง แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมรรถภาพทางเพศของเพศชาย ที่อายุยิ่งมาก ความเสื่อมถอยก็ยิ่งปรากฏชัด บวกรวมกับการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ‘การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ’ ก็กลายเป็นผลสืบเนื่องที่ตามมา กิตติ สนใจจิตร์ นักกายภาพบำบัด สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ลักษณะอาการ และแนวทางการแก้ไข ซึ่งเราขอนำเสนอให้ทุกท่าน โดยเฉพาะคุณผู้ชาย ได้ทราบในบทความชิ้นนี้ //ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ คืออะไร// ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) คือภาวะที่อวัยวะทางเพศ ไม่สามารถแข็งตัว หรือทำงานได้ตามอย่างเป็นปรกติ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางเพศ หรือปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอหรือจาม (Stress Urinary Incontinence) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมที่มีผลเพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น การออกแรงเบ่ง ไอ จามวิ่ง ยืน หรือเดิน เป็นต้น สาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ คือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง โดยกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะเกี่ยวพันกับการทำงานของกล้ามเนื้อ Ischiocavernosus และ Bulbocavernosus ที่เกี่ยวกับการแข็งตัวขององคชาติ ซึ่งถ้ากล้ามเนื้อส่วนเหล่านี้อ่อนแรง การบังคับให้องคชาติทำงานได้อย่างเป็นปกติ ก็จะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นด้วยเช่นกัน […]Read More
ในปัจจุบัน ที่เราทุกคนต่างเดินทางผ่านความท้าทายของจิตใจและอารมณ์ ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโครงการ The Nook โดย เลิฟ แฟรงกี้ (Love Frankie) องค์กรสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หรือ Social Impact Agency มุ่งมั่นเสริมสร้างพื้นที่ปลอดภัยและเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนได้สำรวจและเชื่อมต่อกับอารมณ์ของตนเองในงาน “เป็น อยู่ คือ (เรา) We’re Being” เทศกาลสุขภาพจิตที่จะเปลี่ยนมุมมองและวิธีการดูแลสุขภาพจิตในสังคมไทย งานเทศกาลสุขภาพจิต “เป็น อยู่ คือ (เรา) We’re Being” ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นมากกว่าแค่พื้นที่สำหรับการเรียนรู้ แต่ยังเป็นเส้นทางสู่การเยียวยาและการสร้างความเข้าใจ เทศกาลซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23-27 และ 30-31 มีนาคม 2567 ที่ Slowcombo นี้ ได้รวมเอาเวิร์กช็อปสุขภาพทางจิตกว่า 80 รายการ ที่นำโดยผู้เชี่ยวชาญ, นิทรรศการ Interactive ที่ให้ความรู้, ตลาดสำหรับสินค้าและบริการที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพดี, รวมถึงการพูดคุยและ Panel ที่จะเปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับสุขภาพจิตมากมาย เทศกาล […]Read More
ถ้าพูดถึงรูปการกินอาหารแบบ ‘คลีน’ แล้วนั้น คุณจะนึกถึงสิ่งใด? อาหารปรุงจืดสนิทไร้รสชาติ? วัตถุดิบแบบออร์แกนิกเต็มร้อย? กระบวนการปรุงที่ยุ่งยาก? หรือว่าการกินแบบมังสวิรัติหรือวีแกน? นั่นอาจจะเป็นภาพที่ผิวเผินและคลาดเคลื่อนจากการกินคลีนที่เป็นจริงพอสมควร เพราะการกินคลีนนั้น หมายถึง การรับประทานอาหารที่มีสภาพใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ผ่านการปรุงหรือ Processed ให้น้อยที่สุด และกำจัด ‘ส่วนเกิน’ ที่ไม่จำเป็นเช่นสารปรุงแต่งต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด แน่นอน การหาวัตถุดิบที่สดใหม่ก็มีความสำคัญ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารแบบที่กินโดยทั่วไปตามสั่งจะเป็น ‘อาหารคลีน’ ไม่ได้ ขอเพียงแค่รู้วิธีที่จะปรุงอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่ค่อนข้างเร่งรีบ กิจวัตรของหลายท่านอาจจะรัดตัวจนการประกอบอาหารทานเองดูจะเป็นสิ่งที่หรูหราและใช้เวลาที่มีอยู่น้อยนิดไปมากกว่าที่ควร การรับประทานอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่ผ่านการปรุงมาแล้วก็จำต้องเกิดขึ้นอย่างช่วยไม่ได้ นั่นสร้างความยุ่งยากสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะทานอาหารคลีนเพื่อสุขภาพอยู่ไม่น้อย ซูซาน บาวเวอร์แมน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการศึกษาและการฝึกอบรมด้านโภชนาการระดับโลก ของบริษัท เฮอร์บาไลฟ์ ได้สรุปเน้นถึงความสำคัญของการกินอาหารคลีนเพื่อสุขภาพ และแนวทางที่จะสามารถทำตามได้โดยสะดวกเหมาะสมกับชีวิตประจำวันโดยทั่วไปเป็นหลัก 4 ข้อใหญ่ด้วยกันดังต่อไปนี้ 1.อ่านฉลากข้างบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดการเติมสารปรุงแต่งที่ไม่จำเป็น ฉลากข้างบรรจุภัณฑ์อาหารในปัจจุบันนั้น มีข้อมูลสำคัญที่บอกถึงส่วนผสมของอาหารนั้นๆ ค่อนข้างที่จะละเอียด การอ่านดูเพื่อให้ทราบว่าอาหารที่คุณกำลังจะทานมีส่วนผสมของน้ำตาล ไขมัน หรือโซเดียม (เกลือ) เท่าไร จะช่วยให้คุณกำหนดสารอาหารที่จะต้องทาน และกำหนดความ ‘คลีน’ ของอาหารได้ง่ายขึ้น เช่น […]Read More