ขึ้นชื่อว่าการสื่อสารแล้วนั้น ไม่อาจปฎิเสธได้เลยว่า มันต้องมีการพัฒนาวิวัฒนาการตามยุคตามสมัย ต่อเนื่องกันไป แน่นอนที่สุดว่าในยุคสมัยปัจจุบัน สิ่งที่เรียกว่า ‘มีม (Meme)’ นั้น ได้แพร่หลายเป็นอย่างมากตามการมาถึงของ Social Media ที่เข้าถึงผู้คนเป็นจำนวนมาก ง่าย และสะดวกรวดเร็ว กระนั้นแล้ว มีม คืออะไร? มันมีความสำคัญต่อโลกของการสื่อสารมากขนาดไหน มันเป็นเพียงเรื่องตลกไร้สาระ หรือมันกำลังกำหนดรูปแบบการสื่อสารของคนยุคใหม่ นี่ต่างหาก ที่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง อันที่จริง หากจะย้อนสืบความกลับไปที่ต้นกำเนิดของคำว่า ‘มีม’ แล้วนั้น มันได้เริ่มต้นเสียตั้งแต่ก่อนการมาถึงของสื่อ Social Media เมื่อ Richard Dawkins นักชีววิทยาวิวัฒนาการ ได้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาในปี 1976 ในหนังสือ ‘Selfish Gene’ โดยได้ระบุว่า มีม (Meme) คือการผสมผสานระหว่างคำว่า Genes ที่แปลว่าพันธุกรรมในภาษากรีก อันแปลว่า การทำซ้ำ การลอกแบบ และแพร่กระจายของ ‘ไอเดีย’ และ ‘ข้อมูลทางวัฒนธรรม’ ส่งต่อๆ กันมา […]Read More
สนามม้านางเลิ้ง…. พื้นที่เพื่อการสันทนาการที่ตั้งตะหง่าน ให้ความบันเทิงด้านม้าแข่งมานับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 ในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่มาในวันนี้ หลังปิดฉากการแข่งขันรอบสุดท้ายในปี 2561 ก็ได้ถูกปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และกลายสภาพมาเป็น ‘อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช’ หรือที่เรียกกันอย่างสั้นๆ ว่า ‘อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 9’ GM Live ขอพาคุณไปรู้จักกับหนึ่งในโครงการพระราชดำริสำคัญ และ ‘ปอดใหม่ของคนกรุงเทพ’ กันในครั้งนี้ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 9’ นี้ เกิดขึ้นจากพระราชดำริของ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชินี ที่ตั้งพระราชหฤทัยเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด แนวคิดกับองค์ความรู้ด้านป่าและน้ำ ที่เป็นแนวทางหลักในการออกแบบสวนแห่งนี้ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 9 มีพื้นที่โดยสังเขปประมาณ 279 ไร่ เป็นที่ดินในพระปรมาภิไธย […]Read More
เรื่อง: กบูร 13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตามที่รัฐบาลได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา และคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี ว่า “วันนวมินทรมหาราช” ซึ่งนับจากวันที่13ตุลาคม 2559 ถึงวันนี้ 13 ตุลาคม 2567 นับเป็นปีที่ 8 แห่งการเสด็จสู่สวรรคาลัย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ถึงหลักการทรงงานและพระราชกรณียกิจในการช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ ผู้เขียนขอนำบทความที่เคยเขียนลงสื่อในเครือของ GM มานำเสนออีกครั้ง เนื่องจากผู้เขียนเคยได้รับเชิญจาก บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ขึ้นไปที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมชมโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รีของเกษตรกร พร้อมฟังเรื่องราว และความมาของ ดอยคำ ที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม ตั้งแต่เริ่มแรก […]Read More
ช่วงนี้มีข่าวธุรกิจขายตรงรายใหญ่กำลังมีประเด็นเรื่องการหลอกลวง มีผู้เสียหายนับหมื่นคน คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาท แม้เรื่องราวจะอยู่ในระหว่างการสืบสวนและหาข้อสรุป แต่สิ่งนี้ ก็ทำให้นึกถึงสมัยที่ผู้เขียนเคยไปวุ่นวายทำธุรกิจประเภทนี้ด้วยตัวเองเป็นเวลาหนึ่งปีไปไม่ได้ เมื่อประมาณสิบกว่าปีก่อน ในตอนที่ผู้เขียนสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยใหม่ๆ แม้ว่าจะทำงานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี แต่ก็ยังไม่ได้มีงานที่มีรายได้ที่คงที่ เป็นเพียงอาชีพนักเขียน Freelance ตามหน้าหนังสือ และอยู่ในสภาวะที่ส่งใบสมัครไปตามแหล่งงานต่างๆ อย่างไม่ค่อยจะมีความหวังมากนัก ในตอนนั้นเอง ที่คนรู้จักของผู้เขียน ได้แวะเวียนเข้ามา และแนะนำให้รู้จัก ‘ธุรกิจขายตรง’ … โดยประสบการณ์ตอนนั้น ผู้เขียนก็พอรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีในการชักชวนคนให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายอยู่บ้าง (เคยเจอคนมาสาธิตสินค้า พูดจาหว่านล้อม) แต่ก็ปฏิเสธไปทั้งหมด แต่ในครั้งนั้น เนื่องด้วยเป็นคนรู้จักที่สนิทสนมกัน จึงยากจะปฏิเสธ และลองซื้อสินค้า และสัญญาว่าจะไปลองฟัง ‘สัมมนา’ อะไรที่ว่านั่นสักที การสัมมนาใหญ่ในห้องโถงของโรงแรม เป็นความรู้สึกที่แปลกประหลาดจนยากจะอธิบายได้ มันดูปลุกเร้า มันเต็มไปด้วยเสียงปรบมือ คำพูดให้กำลังใจ และการเน้นย้ำว่าธุรกิจตัวนี้ ‘ง่าย’ แค่ไหน ในการที่จะมีรายได้ระดับพลิกชีวิต มี ‘ผู้สำเร็จ’ ในธุรกิจเดินขึ้นเวทีเพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาอย่างล้นหลาม ก่อนที่จะจบด้วยการนั่ง ‘After Discussion’ ที่ผู้เขียนก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจ และจบด้วยการสมัครเป็น ‘สมาชิกในสาย’ แบบขอไปที จากครั้งนั้นเอง […]Read More
เรื่อง : สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ ภาพ : สรรค์ภพ จิรวรรณธร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร GM Magazine ฉบับที่ 516) ‘ดนตรี คือหน้าต่างแห่งจิตวิญญาณ คือเสียงสะท้านแห่งตัวตน คือหนทางแห่งชีวิต’ คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงไปนัก เมื่อพิจารณาถึงวิถีทางแห่งดนตรีของศิลปินรุ่นใหญ่หลายต่อหลายคน หลายต่อหลายวงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งผ่านการเคี่ยวกรำ ผ่านการฝึกฝน บ่มเพาะประสบการณ์ นำเสนอในสไตล์และรูปแบบที่ชัดเจน ทั้งยังเป็นตัวเอง โดยตลอดระยะเวลาเกือบสามทศวรรษที่ผ่านมา นับจากปี พ.ศ. 2539 บนเส้นทางซึ่งทั้งสามพี่น้อง ‘ตระกูลสินเจริญ’ บอม-สุทธิศักดิ์, เบิ้ล-ธีรยุทธ และ บอย-ธนัญชัย ได้ฝากฝีมือ ความสนุกสนานเอาไว้ผ่านบทเพลงและเสียงดนตรีคุณภาพ ภายใต้การกำกับนามแห่ง ‘สินเจริญ บราเธอร์ส’ ดนตรีอะคูสติกสบายๆ คือลายเซ็นที่เด่นชัด ประกอบกับเคมีที่เข้ากันได้ดีระหว่างสามพี่น้อง ซึ่งมีดนตรีเป็นแก่นหลักของจิตวิญญาณมาตั้งแต่วัยเยาว์ ผ่านช่วงเวลามาอย่างโชกโชน และนำเสนอทั้งความสนุก ความสุข และการตอบแทนที่มีให้แก่สังคม และในบ่ายอันแสนสงบวันหนึ่ง ณ บ้านสินเจริญ ย่านพระรามเก้า GM Magazine ได้ […]Read More
โดย : ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุลรองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลก ได้ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนะครับ สำหรับวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งได้ถูกกำหนดขึ้นเป็น วันสิ่งแวดล้อมโลก (WORLD ENVIRONMENT DAY) เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเรา ย้อนกลับไปกว่า 50 ปี เพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม มนุษยชาติอย่างเราๆ จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงได้มีการจัดประชุมใหญ่ขึ้นที่กรุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน ในช่วงระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ.2515 เพื่อให้เกิดความร่วมมือและรู้ทันเหตุการณ์วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งนั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ พร้อมเรียกการประชุมนี้ว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” หรือ “UN Conference on the Human Environment” และในการนี้ องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือจากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม และต่อยอดมาสู่ประเด็นความยั่งยืน ประเด็น Climate change […]Read More
‘ไวซ์ไซท์’ ยกทัพแบรนด์และครีเอเตอร์ชื่อดังร่วมงาน ‘Thailand Social Awards ครั้งที่ 12’ (1 มีนาคม 2567 : กรุงเทพฯ) – บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดได้จัดงาน “Thailand Social Awards ครั้งที่ 12” เพื่อเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ กว่า 300 รางวัล! โดยงานนี้ถือเป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศที่ถูกจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 เพื่อส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และให้ความสำคัญกับวงการโซเชียลที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยความพิเศษในปีนี้คือเกณฑ์การตัดสินที่ถูกเพิ่มเติมมุมมองด้านจริยธรรม และความเหมาะสมของผู้รับรางวัลจากคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา (Ethics Mentor) เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาอย่างสมบูรณ์แบบในทุกมิติ อีกทั้งยังได้ปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลในการประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 12 ร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายแวดวง โดยได้แบ่งคณะที่ปรึกษาจำนวน 25 ท่าน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ คุณขจร เจียรนัยพานิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท The […]Read More
ในงานภาคสื่อสารมวลชนระดับสากลนั้น เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอนแล้วว่า ‘สื่อสารมวลชนฝรั่งเศส’ มีรูปแบบและเอกลักษณ์อันเป็นเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ทั้งความแม่นยำในการนำเสนอ ความเสียดเย้ยต่อสถานการณ์ การกล้าได้กล้าเสียในภาคสนาม จนถึงการยึดหลักอุดมการณ์ข่าวสารเสรีอย่างรับผิดชอบ กระนั้นแล้ว ภายใต้กระบวนทัศน์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และสนามเล่นของภาคสื่อสารมวลชนเคลื่อนตัวออกจากสื่อชนิดเก่า ไปสู่สื่อชนิดใหม่อย่าง Social Media การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์แห่งสื่อสารมวลชนฝรั่งเศสจึงถูกท้าทาย และน่าจับตามองอย่างยิ่ง ว่ามันจะคงอยู่ในฐานะ ‘สถาบัน’ ได้อย่างไม่สั่นคลอนมากน้อยเพียงใด เราขอเชิญคุณร่วมศึกษาถึงหลักยึด แก่นการดำรงอยู่ และการดำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์ของภาคสื่อสารมวลชนฝรั่งเศส ในบทความชิ้นนี้ บทคัดย่อ บทความชิ้นนี้เป็นการเรียงเรียงประเด็นจากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานในองค์กรสื่อสารมวลชน และ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสื่อในมิติต่างๆ ในสาธารรัฐฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 12 – 20 พฤษภาคม 2566 โดยการร่วมคณะของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้มีโอกาสได้รับรู้ถึงเหตุผลการดำรงอยู่อยู่ขององค์กรสื่อในภาพรวมของฝรั่งเศสมาจากหลากหลายมิติซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย กล่าวคือ สื่อออนไลน์ และ รูปแบบรายได้แบบใหม่ที่ไปอยู่ที่สื่อออนไลน์มากกว่า แม้ว่าจะกระทบต่อสถานะทางการเงินของสื่ออยู่บ้าง แต่ไม่ได้ส่งผลมากจนทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงกรอบการทำงาน หรือ งดเว้นการใช้จรรยาบรรณบางข้อเพื่อทำให้ได้เงินสนับสนุนมากขึ้น เพราะ ส่วนหนึ่งนั้นความเป็นสื่อบางประเภท มีรัฐเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ ขณะที่สื่อเองก็ยังได้รับความนิยมโดยเฉพาะ สื่อแบบดั้งเดิมที่คนฝรั่งเศสยังเสพ โดยยังสนับสนุนเพราะเชื่อกรอบการทำงานที่ยังคงปราศจากการครอบงำจากรัฐ หรือ อำนาจทุน นอกจากนี้สื่อบางสำนักแม้ว่าอาจจะสุดโต่งในมุมมองการนำเสนอ แต่ก็ยังได้รับการสนับสนุนเพราะ อุดมการณ์เสรีของสังคมที่ต้องเปิดพื้นที่ให้สื่อทำงานอย่างมีเสรีภาพ เช่น […]Read More
เรื่อง: ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองกรรมการผู้อำนวยการ – สำนักกิจการและสื่อสารองค์กร บมจ. บีอีซี เวิลด์ ช่วงนี้มีคนพูดเรื่องนี้เยอะมาก ยิ่งพอรู้ว่าผมเป็นเด็กสวนกุหลาบ ซึ่งเป็นหนึ่งในจตุมิตรสามัคคี ก็มีคนทั้งถามทั้งแหย่เรื่องนี้มากกว่าสิบคนในช่วงไม่กี่วันนี้ งานผมก็ยุ่งมากเสียด้วยแต่คำถามเหล่านั้นก็ทำให้ผมได้ทบทวนเรื่องนี้ เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่มีใครก็ไม่รู้ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเลยพยายามสร้างกระแสให้ยกเลิกบ้างล่ะ ต่อต้านการแปรอักษรบ้างล่ะ ผมได้แต่ใช้เวลาล้มตัวลงนอนก่อนจะหลับ 2-3 คืนที่ผ่านมาคิดเรื่องนี้ หลังจากคิดถึงช่วงเวลาการแปรอักษรทำให้จำได้ว่า 1. การเข้าแปรอักษรเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมสำหรับ เด็กผอม ๆ แห้ง ๆ เตะบอลไม่เก่งอย่างผม ซึ่งอยากทำอะไรให้โรงเรียนบ้าง ที่สำคัญการมีส่วนร่วมไม่ใช่แค่การแปรอักษรนะครับ ผมเข้าร่วมตั้งแต่ “ลงโค๊ด” ลงโค๊ต คือการเขียนลงในช่องว่ารูปที่จะแปรนี้ เพลทอันนี้ต้องใช้สีอะไรบ้าง เป็นงานละเอียดมาก จำได้ใช้เวลาลงโค๊ดกันเป็นเดือน อาสากันมาทำ ทำกันตอนเช้าและเย็น ก่อน-หลังการเรียน และช่วงใกล้วันก็แอบโดดเรียนมาทำ มีคุณครูมาตามนะ แต่ครูก็ไม่ตีที่โดดเรียน … สิ่งที่ทำเป็นกระบวนการซึ่งทำให้เรามีการวางแผนเวลาทำงาน มีความละเอียดแบบไม่สามารถผิดพลาดได้เลย เพราะความผิดพลาดจะทำให้ส่วนรวมเสียหายได้ 2. ในวันงานการแปรอักษร เป็นการเรียนรู้ที่จะทำตามคำสั่งของพี่ ๆ และพี่ ๆ เชียร์ลีดเดอร์ ผมรู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเพื่อน ๆ […]Read More
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนจะลงตัวในทุกบทบาทที่ได้รับในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นบทบาทในด้านชีวิตส่วนหรือในด้านหน้าที่การงาน แต่นั้นไม่ใช่กับผู้หญิงที่ชื่อ กิ๊ฟ – คุณโสภิต สุจริตกุล Managing Director แห่ง Create Great Design บริษัทด้านการออกแบบดีไซน์แถวหน้าของประเทศไทย เพราะสำหรับเธอแล้วหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันในเธอลงตัวในทุกบทบาทโดยเฉพาะบทบาทลูกของแม่ แม่ของลูก ภรรยาคู่ชีวิต และผู้หญิงเก่งในแวดวงนักออกแบบตกแต่งภายในหรือมัณฑนากร “กิ๊ฟและคู่ชีวิต คุณอาทิตย์ เล่าสกุล ทำงานด้วยกันค่ะ โดยเปิดบริษัทชื่อ บริษัท ครีเอท เกรท ดีไซน์ จำกัด (Create Great Design Co.,Ltd) บริษัทด้านการออกแบบ ซึ่งกิ๊ฟจะดูแลในส่วนของงานออกแบบตกแต่งภายในทั้งหมดหรือที่เรียกกันว่ามัณฑนากร ส่วนคุณอาทิตย์ เป็นสถาปนิกจะดูแลในส่วนของงานการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมทั้งหมดค่ะ” บทบาทด้านการทำงาน แรงบันดาลใจในการเลือกสู่เส้นทางในสายอาชีพ Interior Design หรือมัณฑนากรนั้นเป็นความมุ่งมั้นที่เธอตั้งเป้าหมายไว้ด้วยเหตุผลที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย นั่นคือ “เหมาะกับตัวเธอ” และได้วางแนวทางสำคัญในการทำงานที่ต้องในงานออกแบบตกแต่ง และเลือกสิ่งที่เหมาะกับโจทย์ที่ได้รับ ไว้อย่างน่าสนใจจนรับรู้ได้ว่าคุณกิ๊ฟรักในสายอาชีพนี้จริงๆ “กิ๊ฟเริ่มต้นจากการอ่านข้อมูลแต่ละสายอาชีพเพื่อเตรียมตัวเลือกเรียนวิชาในชั้นมัธยมปลาย และคิดว่าอาชีพนี้แหละคือ ตัวเรา เพราะจะได้ “ทำงานอยู่กับสิ่งสวยงามและใช้ความคิดสร้างสรรค์” ซึ่งตลอดการทำงานของ กิ๊ฟสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การใส่ใจในงานทุกงาน […]Read More