หากจะนับคนที่เป็น ‘ตัวท็อป’ ในแวดวงมวยไทยทุกวันนี้ เชื่อว่า ‘เจ้าฉาย’ หรือ ‘ตะวันฉาย พี.เค. แสนชัยมวยไทยยิม’ จะต้องเป็นชื่อที่โผล่ขึ้นมาบนแถวหน้าอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ด้วยฝีมือการชกที่ไม่เป็นรองใคร การรันตีด้วยการเป็นเจ้าของแชมป์โลกมวยไทยรุ่นเฟเธอร์เวต รวมทั้งรูปร่างหน้าตาที่โดดเด่นสะดุดตา จัดว่าเป็นสีสันของแวดวงมวยไทยในชั่วโมงนี้ได้โดยปริยาย แน่นอนว่า เส้นทางชีวิตของตะวันฉาย ไม่ได้ราบเรียบโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่เป็นเส้นทางแห่งบททดสอบที่เขาจะต้องต่อสู้ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งกว่าจะมายืนอยู่บนจุดอย่างทุกวันนี้ ต้องผ่านอุปสรรคนานัปการ หล่อหลอมให้เขามีความอดทน พร้อมลุยกับทุกปัญหาที่เข้ามาท้าทายได้อย่างเต็มศักยภาพ และจากความพยายามตลอดเส้นทางการเป็นนักมวยของตะวันฉายนี่เองที่สอดคล้องกับดีเอ็นเอ “ทน พร้อม ลุย” ของนิสสัน นาวารา รถกระบะรุ่นใหม่ที่มาพร้อมการดีไซน์ภายในใหม่ในรูปแบบสปอร์ตพรีเมียม ซึ่งนับเป็นอีกก้าวสำคัญของตะวันฉายในการร่วมงานกับนิสสัน (NISSAN) หนึ่งในแบรนด์ยานยนต์ชั้นนำที่ใช้กลยุทธ์สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยแบรนด์ยึดมั่นในการ “Enriching People’s Lives” มาทำความรู้จักตัวตน มุมมอง ความคิด เจ้าของแชมป์โลกมวยไทยรุ่นเฟเธอร์เวต ‘ตะวันฉาย พี.เค. แสนชัยมวยไทยยิม’ ว่าเขามีความ “ทน พร้อม ลุย” บนเส้นทางนักสู้อย่างไร จากเด็กบ้านรวย สู่เส้นทางอาชีพแห่งนักชก ตะวันฉาย หรือ ณรงค์ศักดิ์ แก้วมาลา เกิดมาในครอบครัวฐานะดี […]Read More
เรื่อง: ภัทรพร บุญนำอุดม Photo: พิชญุตม์ คชารักษ์ (คอลัมน์ : Interview จากGM Magazineเล่มที่ 516 เดือนธันวาคม2566) ถ้าจะหาใครสักคนที่ผ่านประสบการณ์การใช้ชีวิตในมหานครต่างๆ ทั่วโลก คงไม่มีใครเคยสัมผัสรสชาติได้หลากหลายเท่าเขาคนนี้อย่างแน่นอน ดร.นน อัครประเสริฐกุล เริ่มต้นจากเนิร์ดเทคโนโลยีผู้ชอบตั้งคำถาม เขาจากเมืองไทยไปร่ำเรียนวิชาสถาปัตย์ การออกแบบชุมชมเมืองและผังเมือง จีนศึกษา มานุษยวิทยา และต่างๆ นานา รวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ดีกรีการศึกษาเรียกได้ว่าระดับตัวท็อป ปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปริญญาโท Master of Science in Architecture Studies in History จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ปริญญาโท Master of Philosophy in Modern […]Read More
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ‘ภาคอุตสาหกรรม’ คือฟันเฟืองหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เปรียบเสมือนรากฐานที่ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่ระดับล่างสุดของห่วงโซ่การผลิตไปจนถึงระดับบนสุดที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและการให้บริการ การดำรงอยู่ของระบบเศรษฐกิจ การซื้อขายสินค้า ล้วนมีภาคอุตสาหกรรมอยู่เบื้องหลังคอยหล่อเลี้ยงและขับเคลื่อน ยิ่งขนาดความต้องการสินค้าอุปโภค-บริโภคภายในประเทศมีมากขึ้น ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมก็จะเติบโตและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย กลไกนี้เปรียบเสมือนแรงจูงใจ ผลักดันให้เกิดการพัฒนาและขยายขนาดของภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งระบบ ในยุคที่การเติบโตอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ภาคอุตสาหกรรมเผชิญความท้าทายใหม่จากมาตรฐานสากลและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การดำเนินงานมีความซับซ้อนมากขึ้น สังคมให้ความสำคัญกับประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และด้วยปัจจัยที่เพิ่มทวีขึ้น แรงงานคนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ อุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเร่งด่วน GM Magazine มีโอกาสสัมภาษณ์ รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ถึงพันธกิจขององค์กรในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล และดำเนินงานด้านภาคอุตสาหกรรมของประเทศ และเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมทั้งโครงการ ‘Digital Twin’ ที่จะพลิกโฉมหน้าภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ความทันสมัยทัดเทียมระดับสากล จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านสู่ ‘Digital Transformation’ รศ.ดร.วีริศ : ช่วงแรกของการเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการ กนอ. ก็ได้รับนโยบายจากคณะกรรมการ กนอ. ในการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ Digital ตามแนวนโยบายที่รัฐบาลได้วางไว้ โดยการนำระบบ Digital เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดค่าใช้จ่าย ประกอบกับช่วงที่ผมเข้ามารับตำแหน่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ […]Read More
Text: สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ เมื่อพูดกันถึงอาหารไทยแล้วนั้น อาจจะไม่เป็นที่ประหลาดใจนักถ้าหากจะกล่าวว่า ในบรรดาอาหารแต่ละภาค อาหาร ‘อีสาน’ คือเมนูที่สามารถหาทานได้เกือบจะทุกที่ ทุกภูมิภาค ด้วยกระบวนการปรุงที่เรียบง่าย ใช้วัตถุดิบจากในท้องถิ่น และสามารถดัดแปลงได้มากมาย ทำให้อาหารอีสานมีความหลากหลาย อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วถ้าหากอาหารอีสานจะ ‘ขึ้นห้าง’ มาอยู่ในระดับเดียวกับอาหารประเภทอื่นๆ บ้าง ก็คงไม่ใช่เรื่องผิดแผกอันใดกระมัง? และด้วยแนวคิดดังกล่าว จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ คุณตู๋ – เลิศรินิญฒ์ ศรีสุคนธ์ GM/CO-Owner บริษัท สะไปซ์ ออฟ เอเชีย จำกัด ผู้ก่อตั้งร้าน ‘Café Chilli’ ร้านอาหารอีสานรสจัดจ้านโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ที่กำลังสร้างสีสันความสนุกแห่งภูมิภาคกับเมนูเด็ดทั้ง 20 เมนูในขณะนี้ ที่ GM Live ได้ร่วมวงสนทนาอย่างสบายๆ ทั้งในหัวข้อความชื่นชอบด้านอาหารอีสาน แนวคิดการทำธุรกิจร้านอาหาร และเส้นทางที่คุณตู๋จะดำเนินต่อไปกับธุรกิจร้านอาหารในอนาคตภายภาคหน้า กับบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ -จุดเริ่มต้นความสนใจในงานด้านอาหาร จากพื้นเพเดิมที่เรียนที่ University of London ในสาขา Management ตั้งใจว่าอยากทำอาชีพเกี่ยวกับโรงแรม […]Read More
Text: สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ เมื่อกล่าวกันถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘ศาสตร์แห่งการทำนายดวงชะตา’ แล้วนั้น เชื่อว่า ปฏิกิริยาของผู้คนต่อสิ่งนี้ ย่อมมีอยู่หลากหลาย กันออกไป บ้างก็รู้สึกกังขา บ้างก็ปิดประตูไม่รับไม่สน บ้างก็เชื่อถืออย่างหมดหัวใจ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่แปลกประหลาดอะไร มนุษย์ทุกคนต่างมีความคิดเห็นต่อสิ่งๆ หนึ่งที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น ก็ต้องยอมรับว่า ศาสตร์แห่งดวงชะตา ก็สามารถช่วยเยียวยา และฟื้นฟูกำลังใจที่หมดหายให้กลับมาอีกครั้ง ผ่านการพูดคุย ผ่านคำแนะนำ และผ่านการขัดเกลาสิ่งที่ ‘ต้องทำ’ กับชีวิตอย่างมีเป้าหมาย และมีสติ อันเป็นจุดประสงค์สำคัญ ในการทำนายดวงของ อภิชาติ มะลิลา หรือ ‘อาจารย์มดดำ ยิปซีคาราวาน’ นักทำนายดวงชะตาชื่อดัง ที่มีประสบการณ์ในอาชีพและการดูดวงชะตามากว่าสองทศวรรษ GM Live ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับอาจารย์มดดำในแง่มุมต่างๆ ทั้งที่มาที่ไปของความสนใจ ความเป็นมาของฉายา ‘ยิปซีคาราวาน’ หัวใจของการดูดวงชะตา และมุมมองที่มีต่อโลกและชีวิต ที่เราพร้อมนำเสนอให้รับทราบในบทความถัดจากนี้ จุดเริ่มต้นที่ทำให้สนใจในศาสตร์ของการดูดวงชะตา ต้องย้อนความกลับไปสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี เรามีความสนใจเกี่ยวกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ การอ่านสัญญะ การตีความในงานศิลป์ ภาพยนตร์ และเป็นคนชอบอ่านตำราและตำนานมหาเทพฮินดูต่างๆ จนได้มาสนทนากับคุณแม่ของเพื่อน ที่เป็นนักทำนายดวงชะตา […]Read More
โลกของการทำธุรกิจในอดีตไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายที่สำคัญเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การสร้าง ‘ผลกำไร’ แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับทั้งปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างรุนแรง ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนทั้งวิถีและวิธีในการทำธุรกิจใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาคธุรกิจไม่สามารถยึดเส้นทางแบบเดิมในการทำธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมี ‘ทางสายใหม่’ ที่ใส่ใจในการสร้างคุณค่าต่อผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กับการสร้างการเติบโตและผลกำไรอย่าง ‘ยั่งยืน’ GM Magazine เล่มนี้ได้รับเกียรติจากคุณปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี CEO, BRANDi and Companies หรือ ‘BRANDi’ ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ระดับองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตและการเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมพูดคุยในเวทีที่สำคัญระดับโลกหลากหลายเวที มาอธิบายพร้อมช่วยบอกวิธีในการติดกระดุมเม็ดแรกอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างการเติบโตของทั้งระบบนิเวศให้เกิดความยั่งยืน เหตุผลหรือแรงบันดาลใจที่ทำให้สนใจเรื่องแบรนด์ จนมาเป็น BRANDi ในทุกวันนี้ ปิยะชาติ : ผมมองว่ามนุษย์สนใจเรื่องธุรกิจโดยธรรมชาติ อย่างตัวผมที่จบด้านวิศวฯ ก็เห็นว่ามีวิศวกรจำนวนมากที่หันมาทำธุรกิจ แต่ตอนก่อนที่จะก่อตั้ง BRANDi ขึ้นมา ก็ใช้เวลาในการสำรวจธุรกิจหลากหลายรูปแบบ และสั่งสมองค์ความรู้ต่างๆ จากนั้นถึงตกผลึกว่าอะไรคือสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจจริงๆ ผมพบว่าธุรกิจในปัจจุบันมีอายุสั้นลงกว่าเดิมมาก มีงานวิจัยว่าธุรกิจจะมีอายุเพียง 2-3 ปี แตกต่างจากแบรนด์ที่เป็นสิ่งที่อยู่ได้นาน […]Read More
บนถนนของแวดวง ‘การเมือง’ นั้น เรียกได้ว่าเป็นเส้นทางที่เดินได้ยากแขนงหนึ่ง เพราะนอกจากประสบการณ์กับความรู้จะต้องถึงพร้อมแล้ว วัยวุฒิและความเจนจัดในสนาม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดให้กันได้ ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือทำ จากความผิดพลาด โดยมีสายตาของประชาชนหกสิบล้านคนคอยเฝ้ามองตรวจสอบอยู่ และยิ่งไม่ต้องกล่าวถึงตำแหน่งข้าราชการการเมืองระดับสูงอย่าง ‘ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา’ ผู้อยู่ข้างกาย ประมุขสภาในการทำงานและการประชุมในแต่ละวาระให้เป็นไปตามระเบียบ และเรียบร้อยลุล่วง แต่สำหรับ ‘ดร. อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ’ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยวัยเพียงสี่สิบปี คุณวุฒิที่ถึงพร้อม และการวางเส้นทางชีวิตที่ชัดเจนมาตั้งแต่แรกเริ่ม ประกอบกับความชื่นชอบในโลกแห่งการเมืองมาตั้งแต่วัยเยาว์ ส่งให้เขาได้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดอย่าง ‘ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา’ ได้อย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่ด้วยโชคช่วย แต่เป็นการเดินอย่างอิสระ มีเป้าหมาย และความมุ่งมั่นแน่วแน่จริงจัง กับหลักคิดที่ชัดเจน ที่ GM Magazine ได้รับเกียรติร่วมพูดคุยในรายละเอียดชีวิตในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้คุณผู้อ่านได้รู้จักผู้ชายคนนี้มากขึ้น สาเหตุที่สนใจในการทำงานในภาคการเมือง ตอบสั้นๆ อย่างไม่ซับซ้อนเลยคือมีความชอบ มีความสนใจมาตั้งแต่วัยเยาว์ครับ จำได้ว่าสมัยนั้น ก็ชอบดูอภิปราย และมีความฝันที่จะเข้ามาทำงานในภาคการเมืองมาตลอด ถ้ามีความชื่นชอบในด้านงานภาคการเมือง เหตุใดจึงไม่ศึกษาตรงด้านรัฐศาสตร์ แต่เรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์แทน ความชอบก็ส่วนหนึ่ง แต่ด้วยความรับผิดชอบในฐานะลูกชายคนโต ที่ต้องสืบทอดธุรกิจของครอบครัวซึ่งเป็นงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ต้องมาก่อนครับ และผมมองว่า การทำงานการเมือง คือการดูแลประชาชน แต่ผมจะไม่สามารถทำได้ดีเลย […]Read More
เป็นเวลาเกือบ 5 ทศวรรษที่ ‘ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย’ เป็นเสาหลักแห่งโลกการลงทุนของไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพร้อมส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ การเงิน และการลงทุนให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับทุกสิ่งที่ต้องมีการปรับตัวตามกาลเวลา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ก็มีการปรับตัวรับความท้าทายพร้อมเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ธุรกิจทุกขนาด การสนับสนุนโอกาสการเติบโตของ SMEs และ สตาร์ทอัป ซึ่งมีลักษณะ แนวคิด และแนวทางการทำธุรกิจที่แตกต่างจากวันวานอย่างสิ้นเชิง สอดคล้องวิสัยทัศน์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone กลุ่มธุรกิจรายเล็กเหล่านี้ที่เป็นอนาคตของประเทศต้องได้รับการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเงินทุน องค์ความรู้ และยุทธปัจจัยด้านต่างๆเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้สูงขึ้น GM ได้รับเกียรติจาก ประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยในวันนี้ มาพร้อมกับตำแหน่ง ‘ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์’ (LiVE Exchange: LiVEx) สำหรับ SMEs และสตาร์ทอัป และการพัฒนาความรู้ของผู้ประกอบการ ผ่าน ‘LiVE […]Read More
มาถึงวันนี้ ไม่อาจปฏิเสธความจริงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโลกที่เกิดขึ้นได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกที่ร้อนขึ้น ชั้นบรรยากาศที่ถูกทำลาย น้ำแข็งขั้วโลกที่ละลาย น้ำท่วม และดินฟ้าอากาศที่เริ่มแปรปรวนจนกลายเป็นภาวะวิกฤติในหลายพื้นที่ หลายสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็ได้ปรากฏออกมาให้เห็น และความเข้าใจที่ว่าอายุขัยของโลกนั้นยังอีกยาวไกล ก็ดูเหมือนจะหดสั้น จนเริ่มมองเห็นอนาคตที่ดูเหมือนสภาพไร้ความหวัง อันที่จริงย้อนหลังกลับไปประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล ล้วนเห็นพ้องต้องกันเรื่องการลด ‘ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์’ ว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และต้องทำให้สัมฤทธิผล ไม่ใช่แค่น้อยลง แต่ต้องให้ติดอยู่ในระดับ ‘ศูนย์’ หรือใกล้เคียง โดยตั้งเป้ากรอบเวลาอีก 5 ทศวรรษ ที่จะมาถึงในการประชุม COP26 ณ กรุงกลาสโกว์ โดยมีการหารือกันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย สำหรับประเทศไทย ภายใต้การให้ปฏิญาณและประกาศจุดยืนโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จะลดปริมาณคาร์บอนฯ ให้เหลือศูนย์ภายในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 คือเป้าหมายที่ท้าทายอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นเรื่องยาก แต่นั่นคือเสียงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายออกมามีส่วนร่วม ซึ่งต้องขับเคลื่อนองคาพยพไปในทางเดียวกัน และกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศอย่าง ‘ปตท.’ ซึ่งเป็นเสาหลักด้านความมั่นคงด้านพลังงาน ก็ได้ขานรับกับแนวทางดังกล่าวในนโยบายและทิศทางที่จะก้าวเข้าสู่ ‘Net Zero’ พร้อมผนึกกำลังไปสู่จุดหมายคาร์บอนฯ […]Read More
เป็นเวลานับร้อยปี ตั้งแต่มีประดิษฐกรรมที่เรียกว่า ‘เครื่องบิน’ จากมันสมองและสองมือของพี่น้องตระกูลไรท์ ผู้ใฝ่ฝันว่ามนุษยชาติจะสามารถโบยบินบนท้องนภาได้อย่างเสรีเยี่ยงนก และทลายขีดจำกัดด้านพรมแดน ย่นระยะเวลาแห่งการเดินทางจากเดือน เหลือเพียงวัน และชั่วโมง มาในปัจจุบัน ประดิษฐกรรมนั้น ถูกพัฒนา ทั้งด้านศักยภาพ ขีดความสามารถ และประสิทธิภาพ จนกลายเป็นอีกหนึ่งวิธีการเดินทางที่เป็นเรื่องสุดแสนจะธรรมดาสามัญ ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างต้องมี เพื่อให้สามารถติดต่อค้าขาย ไปมาหาสู่กันได้อย่างอิสระ และ ‘การบินไทย’ สายการบินแห่งชาติ สายการบินของคนไทย ก็ไม่ต่างกัน เป็นเวลาถึงหกทศวรรษ ที่การบินไทย ได้รับใช้และเป็นหน้าตาให้แก่ประเทศ โบกธงไทยลัดฟ้าไปสร้างความภาคภูมิใจแก่คนไทย ทั้งมาตรฐานการให้บริการ ความสามารถในการขับขี่ จนถึงประสิทธิภาพของเครื่องบินที่ไม่เป็นสองรองใคร หากแต่ในสภาวะวิกฤติ COVID-19 ที่กำลังสุมรุมเร้า ก่อให้เกิดสภาวะชะงักงันทั้งภาคสังคม เศรษฐกิจ และการค้าขาย ธุรกิจการบินคือหนึ่งในภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง และการบินไทยก็กำลังถูกท้าทายด้วยบททดสอบครั้งสำคัญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เมื่อผลประกอบการลดลง ขนาดองค์กรที่มีองคาพยพเกินจะแบกรับ ในเวลาที่เชื้อร้ายยังต้องอยู่กับเราไปอีกโดยไม่รู้เท่าไร การบินไทย จะฝ่าฟันวิกฤตินี้ออกไปอย่างไร และจะผงาดมาเป็นองค์กรแบบไหน หลังเวลาอันยากลำบากสิ้นสุดลง GM Magazine ได้รับเกียรติอย่างสูง ที่ได้ร่วมพูดคุยกับ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร การกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ […]Read More