ซีรีส์เรื่อง The Glory บอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่จิตวิญญาณแตกสลายจากเหตุความรุนแรงในอดีต และอุทิศทั้งชีวิตเพื่อการแก้แค้นบรรดาคนที่เคยรังแกและทำลายชีวิตของเธอ จนกลายเป็นฝันร้ายที่ฝังรากลึกนับตั้งแต่นั้นมา และนี่คือประเด็นสำคัญบางส่วนที่ไม่ควรพลาดจากตัวอย่างอย่างเป็นทางการที่ปล่อยออกมาให้รับชมกันล่าสุด ตัวอย่างเริ่มต้นด้วยฉากงานแต่งงานของ ยอนจิน (รับบทโดย อิมจียอน) ผู้มีสีหน้าเปื้อนรอยยิ้มเพราะเสียงชื่นชมยินดีจากบรรดาแขกเหรื่อภายในงานของตน ตามมาด้วยคำบรรยายอันเยือกเย็นของ ดงอึน (นำแสดงโดย ซงฮเยคโย) ว่า “นับจากวันนี้ ทุกๆ วันจะน่าหวาดผวา มันจะน่าตื่นเต้นและสยดสยอง” ดงอึน เผยให้ผู้ชมได้เห็นถึงแผนการของเธอที่คิดคำนวนมาอย่างละเอียดรอบคอบ ด้วยแผนปั่นประสาทที่จะมอบความกดดันถึงขีดสุดแก่บรรดาผู้ที่เคยกระทำผิดต่อเธอในสมัยเรียนไม่ว่าจะเป็น ยอนจิน, แจจุน (นำแสดงโดย พัคซองฮุน), ซารา (นำแสดงโดย คิมฮีออรา), ฮเยจอง (นำแสดงโดย ชาจูยอง), มยองโอ (นำแสดงโดย คิมกึนอู) และ โดยอง (นำแสดงโดย จองซองอิล) สามีของ ยอนจิน เหล่าผู้กระทำความผิดต่างนำไฟแห่งความโกรธเกรี้ยวมาสู่ผู้ชมด้วยคำพูดที่ไร้สำนึก ไม่ว่าจะเป็น “เธอก็ควรตายตั้งแต่ตอนนั้นสิ!” (อิมจียอน), “ฉันได้ไถ่บาปทุกอย่างที่ทำกับเธอแล้ว” (คิมฮีออรา), “ใครๆ ก็เคยทำพลาดกันทั้งนั้น” (ชาจูยอง) ช่วยกระตุ้นความสงสัยใคร่รู้ของผู้ชมให้คอยติดตามว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในเส้นทางการแก้แค้นสุดแยบยล ที่มีตัวละครอย่าง ฮยอนนัม […]Read More
เรื่อง: นรวัชร์ พันธ์บุญเกิด แม้ว่า “สุนทราภรณ์ เพลงรักเพลงแผ่นดิน โดยเพลงเอก Restage” เรื่องราวของวงดนตรีระดับตำนานที่ คนไทยทุกคนต่างรู้สึกผูกพัน ได้ถูกนำมาเล่าและถ่ายทอดผ่านบทเพลง ผ่านเรื่องราวความรัก ความผูกพันของจิตวิญญาณนักดนตรี รวมแล้วกว่า 83 ปีของวงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยเหล่าศิลปินเพลงเอกจากซีชั่น 1และ2 จะจบการแสดงไปแล้ว แต่เรื่องระดับตำนานของ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งวงดนตรีไทยสากลยังอยู่ และจะถูกเล่าขานต่อๆ ไป บทแล้ว บทเล่า ไม่สิ้นสุด …. เอื้อ สุนทรสนาน (21 มกราคม พ.ศ. 2453 – 1 เมษายน พ.ศ. 2524) เกิดที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และกว่าจะลงตัวในชื่อของเอื้อ สุนทรสนาน นั้น ท่านเปลี่ยนชื่อมาถึง 3 ครั้ง จาก “ละออ” เป็น “บุญเอื้อ” และ “เอื้อ” ในยุคจอมพล […]Read More
เพลงฮิตที่หลายคนนำมาเต้นตามบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ นั้นเกิดขึ้นใหม่อยู่ทุกวัน จนได้รับยอดเอ็นเกจเมนต์อย่างถล่มทลาย เช่น ในปีที่ผ่านมามีเพลงยอดฮิตอย่าง ‘โกโกวา’ โดย Tongtang Family ชาวโซเชียลหลายคนก็ไม่น้อยหน้า วาดลวดลาย ออกท่าเต้นตามเพลงดังกล่าวใน TikTok และใช้ประกอบวิดีโอกันจนกลายเป็นเทรนด์ฮิตติดชาร์ตทั่วบ้านทั่วเมืองเลยทีเดียวบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 สิงหาคม 2565 พบว่า มีการพูดถึงทั้งหมดเกือบ 30,000 ข้อความจาก 15,000 แอคเคาท์ ช่องทางที่มีการพูดถึงเพลงฮิตโซเชียลมากที่สุด คือ Twitter คิดเป็น 33.95% รองลงมา ได้แก่ Instagram คิดเป็น 20.12%, Facebook คิดเป็น 17.55%, TikTok 17.36% และอื่นๆ คิดเป็น 11.02% แบ่งออกเป็นการพูดถึงโดยผู้ใช้เพศหญิง 64.42% และเพศชาย 35.58%หากลองวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อเข้าไปดูความรู้สึก […]Read More
ไวซ์ไซท์ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ Disney+ Hotstar มาวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองต่างๆ ซึ่งมีคนพูดถึงเรื่องดังกล่าวทั้งหมด 91,263 ข้อความ มีเอ็นเกจเมนต์ รวมสูงถึง 12 ล้านครั้ง จาก 25,517 แอคเคาท์ และมีการพูดถึงตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมRead More
ในยุคที่ศิลปินอินดี้ทั่วโลกก้าวเท้าออกจากประเทศของตัวเองสู่ตลาดเพลงที่เป็นสากล ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราได้ฟังเพลงเท่ๆ จากทุกมุมโลกมากขึ้นในแบบที่พรมแดนของภาษาค่อยๆ พร่าเลือน ซึ่งเราคงต้องขอยกความดีความชอบให้กับโลกออนไลน์ ที่ทำให้เพลงจากมุมโลกอื่นๆ ได้ไหลผ่านไทม์ไลน์เข้ามาสู่หูของคนรักเสียงเพลงกันแบบง่ายดาย และที่กำลังก่อตัวเป็นกระแสขึ้นมาในไทยช่วงปีที่ผ่านมา คือผลงานเพลงจากศิลปินอินดี้ฝั่งเกาหลี ที่ได้พิสูจน์ให้หลายคนได้สัมผัสกันมาแล้วว่า วงการเพลงเกาหลีมีดีมากกว่า K-Pop และยังมีศิลปินดีๆ หลากหลายแนวหลากหลายสไตล์ให้ได้ตามค้นหา ทำความรู้จักกับสุ้มเสียง เอกลักษณ์ที่มาจากการตกผลึกทางวัฒนธรรมของวัยรุ่นเกาหลีที่ถูกยกให้เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญของศิลปะ แฟชั่น และการออกแบบในยุคสมัยใหม่ แต่กว่าที่ทุกอย่างจะเดินทางมาถึงปี 2020 วงการเพลงอินดี้เกาหลีเองก็ได้ผ่านทั้งยุครุ่งเรือง (ถ้าเทียบในไทยก็น่าจะใกล้กันกับยุคที่เราเรียกกันว่า ‘ยุคล้านตลับ’) และยุคยากลำบากที่ผลงานเพลงถูกฉกฉวยผลประโยชน์ไปจากการละเมิดลิขสิทธิ์ สำหรับใครที่กำลังจะอินเข้าไปสู่กระแสเพลงอินดี้จากฝั่งเกาหลี ขอเชิญมานั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปสัก 3 ทศวรรษ เพื่อทำความรู้จักกันไปถึงรุ่น 1 ของวงการ ว่าของเขาดีขนาดไหนในรุ่นที่ถูกเรียกว่ายุคบุกเบิกของวงการอินดี้เกาหลี ย้อนกลับไปยุค 90s ฉากแรกของวงการศิลปินอินดี้เกาหลีเริ่มต้นขึ้นด้วยดนตรีพังก์ร็อคที่สานต่อแนวความคิดของวัยรุ่นในยุคหลังการเคลื่อนไหว เพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารในปี 1987 และก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ร่วมสมัยในเกาหลี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ก่อให้เกิดอิสรภาพทางความคิด การสื่อสาร และทำให้เกิดวงดนตรีพังก์ร็อคที่ได้รับอิทธิพลดนตรีจากฝั่งอเมริกาเกิดขึ้น และหนึ่งในวงที่ประสบความสำเร็จจากยุคแรกคือ Crying Nut และ No Brain ที่ถูกยกให้เป็น 2 วงอินดี้ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคนั้น และเป็นต้นแบบของศิลปินอินดี้ที่ทำงานเพลงด้วยตัวเอง โปรโมตด้วยวิธีของตัวเอง พร้อมกับนิยามแนวเพลงของพวกเขาว่า ‘โชซอนพังก์’ ที่มีดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของเหล่าศิลปินอินดี้ตั้งอยู่ที่ย่านฮงแด ใกล้กับมหาวิทยาลัยฮงอิก อันเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี […]Read More
ชาร์จพลังให้เต็มเติมบลัดให้พร้อม แล้วเตรียมไปตีป้อมกันใน “Mother Gamer เกมเมอร์เกมแม่” ภาพยนตร์แอคชั่นอีสปอร์ตสุดมัน ที่บอกเล่าเรื่องราวการฟอร์มทีมเพื่อโค่นลูกด้วยแผนสุดทึ่งสะเทือนวงการ จากฝีมือมนุษย์แม่จอมเฮี้ยบ ในเมื่อลูกอยากไปแข่งเกมนักละก็….งานนี้ “เกมเมอร์” ก็ต้องเจอ “เกมแม่” ก่อนเป็นไง! ตอกย้ำให้ทุกคนไม่ควรพลาดชมกับไฮไลต์เด็ดอุ่นเครื่องความมันส์ ลุ้นสุดตัวไปกับการแบตเทิลของเหล่าเกมเมอร์ ที่ครั้งนี้ว่าใครจะเป็นนัมเบอร์วัน! บอกเลยว่า “ต้องดูในโรงภาพยนตร์เท่านั้น”Read More
ถ้าหากจะกล่าวกันถึงศิลปินไทยที่มีฝีมือ เอกลักษณ์ และสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปได้ไกล เป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้วนั้น ชื่อของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี จะต้องปรากฏขึ้นมาอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยงานที่มีลักษณะที่เป็นนามธรรม อิงแอบและสอดประสานกับความเชื่อทางพุทธ ไปจนถึงการใช้ชีวิตที่ทุกลมหายใจ ตราบจนสิ้นชีวิต แต่ผลงานที่ได้รับการสร้างสรรค์ ก็ยังคงตอกย้ำว่า อาจารย์ถวัลย์ ยังคงความเป็น ‘อมตะ’ เฉกเช่นที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรีกล่าวเอาไว้ว่า ชีวิตสั้น ศิลปะนั้น ยืนยาว และในยุคสมัยที่ทุกสิ่งเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็ว งานของอาจารย์ถวัลย์ จะได้รับการชุบชูให้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง นำเสนอมันออกมาอย่างร่วมสมัย ในงาน Immersive Art of Thawan Duchanee ที่จะเป็นปรากฏการณ์สำคัญครั้งสำคัญของแวดวงศิลปะไทย ณ ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM ซึ่งได้มีพิธีเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยได้รับเกียรติจาก อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มาเป็นประธาน โดยมี ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดำ, ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด, มยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายส่งเสริมการตลาดและองค์กรสัมพันธ์ […]Read More
ลาซาด้า ประเทศไทย ยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งขึ้นอีกขั้นกับงาน Lazada Un(Expected) Boxเนรมิตพื้นที่กว่า 700 ตารางเมตร บนชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ ให้กลายเป็นนิทรรศการ Pop Upสุดอินเทอร์แอกทีฟที่ผสานอีคอมเมิร์ซเข้ากับศิลปะได้อย่างลงตัว ยกขบวนดารา นำโดย เบลล่า-ราณี แคมเปน แบรนด์แอมบาสเดอร์ ลาซาด้า ประเทศไทย แอลลี่-อชิรญา นิติพน ก็อต อิทธิพัทธ์ ฐานิตย์ และเหล่าเซเลบริตี้ชื่อดัง อาทิ จรสพรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา หฤทัย ไชยันต์ ณ อยุธยา และพิมพ์พยัพ ศรีกาญจนา สัมผัสบรรยากาศงานศิลป์และค้นหาแรงบันดาลใจจากแบรนด์ดังที่ลาซาด้ารวบรวมมาจากทั่วโลก เพิ่มความสุขคูณสองด้วยกิจกรรมเฉลิมฉลองท้ายปีกับมหกรรมช้อปปิ้ง 12.12 Grand Year-End Sale ครั้งแรกในไทยกับ Lazada Un(Expected) Box จากลาซาด้า Pop up Art Exhibition ที่ออกแบบด้านนอกเหมือนตู้คอนเทนเนอร์ โดยภายในแบ่งเป็น 15 กล่องเพื่อโชว์เคสสินค้าแบรนด์ฮิตหลากหลายสไตล์ ทั้งแฟชั่น ความงาม แกดเจ็ต และของตกแต่งบ้านจากทั่วโลกมาให้นักช้อปได้สัมผัสผ่านงานศิลปะ ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ไม่ซ้ำกัน […]Read More
เมื่อ 2 ปีที่แล้วทั่วโลกโซเชียลต่างพูดถึงหนังที่มีพล็อตไอเดียสดใหม่ น่าสนใจ ชวนติดตาม ผ่านวิธีการเล่าเรื่องที่เหนือชั้น ถึงขั้นถูกยกให้เป็นหนึ่งในหนังที่ต้องดูแห่งปีกันเลยทีเดียว สำหรับ “Searching” ผลงานการกำกับเต็มตัวครั้งแรกของ “อานีช ชาแกนตี้” โดย “Searching” ถ่ายทอดเรื่องราวของลูกสาววัยรุ่นที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ผู้เป็นพ่อ (รับบทโดย จอห์น โช) จึงเริ่มต้นสืบหาผ่านโน้ตบุ๊ก และไปต่อยังข้อมูลทางโซเชียลต่าง ๆ เพื่อค้นเบาะแสตามตัวเธอให้เจอ แต่ยิ่งค้นกลับยิ่งเจอความลับบางอย่างที่ซ่อนไว้ ไฮไลต์ของหนังนอกจากพล็อตเจ๋งแล้ว การเล่าเรื่องนั้นเจ๋งยิ่งกว่า เขาเปิดประสบการณ์ใหม่ของคนดูหนัง ด้วยการเล่าผ่านหน้าจอ ไปพร้อมกับการคุยผ่านเฟซไทม์ หรือค้นข้อมูลผ่านโซเชียลต่าง ๆ ราวกับว่าคนดูกำลังอยู่หน้าจอไปตามติดเรื่องราวแบบก้าวต่อก้าวเลยจริง ๆ ได้ตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งกระตุ้นให้รู้สึกตามไปกับตัวละคร พร้อมบิลด์ความระทึกขึ้นแบบไม่หยุดพัก ส่งผลให้ “Searching” นั้นหยิบเอาความแปลกใหม่ใส่ไปในวงการหนังได้อย่างลงตัว ทาง “อนีช ชาแกนตี้” เองก็เคยให้สัมภาษณ์ถึงจุดเริ่มต้นการทำหนังไอเดียแหวกแนวนี้ไว้ว่า “ผมเคยถ่ายหนังด้วย ‘กูเกิลกลาส’ (Google Glass) อย่างเดียวจนมันกลายเป็นไวรัล ต่อมาในปี 2014 หนังสยองขวัญเรื่อง Unfriended ที่เล่าเรื่องผ่านคอมพิวเตอร์อย่างเดียวกลับดังเป็นพลุแตก ทางค่ายหนังต้องการความสดใหม่แบบนี้ พวกเขาติดต่อผมมาจนผมเริ่มทำ Searching เดิมทีมันเป็นหนังสั้นยาว 8 นาที ผมไม่คิดหรอกว่า ค่ายจะชอบมันจนถึงขนาดจะดันมันเป็นหนังใหญ่ ตอนแรกผมเกือบสละเรือแล้ว […]Read More
เรื่อง : Fullscape ในตอนนี้ ดูเหมือนว่าคดีทายาทกระทิงแดง บอส วรยุทธ อยู่วิทยา จะเริ่มซับซ้อนซ่อนเงื่อนและมีตัวละครพร้อมผู้เกี่ยวข้องโยงใยกันเป็นเครือข่าย พร้อมความกังขาของสังคมต่อ ‘กระบวนการยุติธรรม’ ที่สั่นคลอนตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ ในระดับที่อาจจะเอามาเขียนเป็นนวนิยายสืบสวนเล่มหนาๆ ได้หนึ่งเล่ม แต่ในระหว่างที่อารมณ์ของผู้คนยังคงคุกรุ่นและร้องเรียกหาความยุติธรรมนั้น โลกแห่งภาพยนตร์ก็ได้เอาความรู้สึกดังกล่าวมาเป็นวัตถุดิบ สร้างชิ้นงานคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับ ‘การทวงความยุติธรรม’ ที่เรา GM Live ขอหยิบยกมา 5 เรื่องที่น่าสนใจ ให้ได้ไปหามารับชมกัน -Erin Brockovich (2000) สร้างจากเรื่องจริงของผู้หญิงแกร่งชื่อเดียวกับภาพยนตร์ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสามที่ทุ่มสุดตัว ในการทวงความยุติธรรมให้กับชาวเมืองเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบต่อการปล่อยน้ำเสียและสารเคมีของบรรษัทขนาดใหญ่ ที่แต้มต่อในตอนแรกแทบจะเป็นศูนย์ งานนี้ ได้ Julia Roberts นักแสดงสาวมากดีกรีมารับบทสาวแกร่งแรงเกินร้อย และกำกับโดย Steven Soderbergh ที่มีความถนัดในการสร้างภาพยนตร์แนวกึ่งสารคดีมาถ่ายทอดออกมาได้อย่างสนุกสนาน บันเทิง และน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง –The Firm (1993) สร้างจากนวนิยายสืบสวนของเจ้าพ่อแห่งแวดวง John Grisham กับการตีแผ่ขบวนการย้อมดำเป็นขาวของ ‘สำนักงานทนายความ’ ที่รับงานให้กับผู้มากลากมี และกลุ่มอาชญากรรม ที่ตัวเอกหนุ่มทนายหน้าใหม่ ต้องเข้าไปมีส่วนพัวพัน และร่วมมือกับทางการเพื่อ […]Read More