fbpx

สุนทรียะแห่งการพักผ่อนที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความสวยงาม ภายใต้ธีม Au Soleil by Le Méridien

ท่ามกลางย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร แน่นอนว่าชื่อของถนนสุรวงศ์ ต้องมาเป็นอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน  เพราะถนนเส้นนี้เชื่อมต่อกับถนนสายธุรกิจได้หลากหลายเส้นทาง และถึงแม้ว่าจะเป็นถนนสายสั้นๆ แต่ก็มีความสำคัญที่มีประวัติยาวนาน ทั้งยังเป็นที่ตั้งของกิจการร้านค้าทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ ในยุคบุกเบิกรวมถึงอาคารสำนักงานต่าง ๆ และโรงแรมชื่อดังมากมากตลอดแนวถนน ซึ่งก็รวมถึง โรงแรมเลอ เมอริเดียน กรุงเทพ  แห่งนี้ด้วย โรงแรมแห่งนี้มีความโดดเด่นทั้งเรื่องโครงสร้าง การตกแต่ง และการบริการมาอย่างยาวนาน รองรับไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาอย่างยาวนาน  และเมื่อเร็วนี้ได้ปรับรูปโฉมใหม่ให้ทันสมัยในสไตล์ french design ผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทยเพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ที่โดดเด่นภายใต้ธีม Au Soleil เพื่อคอยต้อนรับนักเดินทางจากทั่วโลก ด้วยคอนเซ็ปต์การรีโนเวท โรงแรมเลอ เมอริเดียน กรุงเทพ  ครั้งนี้ หลังจากได้ปรับโฉมใหม่ที่ยกทุกระดับของความมีสไตล์ ให้ความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย เน้นพื้นที่ใช้สอยที่สะดวกสบาย ภายใต้โทนสีขาวนวลตา เติมแต่งด้วยสีสันด้วยโทรสีธรรมชาติทั้งจากของตกแต่งและวัสดุจากเฟอร์นิเจอร์ที่จัดวางได้อย่างลงตัวในทุกพื้นที่ใช้สอยภายในโรงแรม ผลานเข้ากับเส้นสายของโครงสร้าง และ lighting design ความประทับใจแรกเห็นนั้นเริ่มตั้งแต่โถงทางเดินด้านหน้าก่อนเข้าสู่ล็อบบี้โรงแรม มี “ไอ้จุด” งานศิลปะรูปปั้นหมาสีขาวขนาดยักษ์ ผลงานของคุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปิน ผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการออกแบบประจำปี 2553 ยืนต้อนรับอย่างร่าเริง และเมื่อผ่านพ้นเข้าสู่ภายในโถงล็อบบี้สัมผัสได้ถึงความหรูหราทันสมัยด้วยการจัดของตแต่งและภาพประดับตามมุมต่างๆ ซึ่งเป็นงานศิลปะร่วมสมัย ทำให้บรรยากาศดูอบอุ่นเป็นกันเอง […]Read More

Cultural District 2022: แปลงเกาะรัตนโกสินทร์เป็นถิ่นอาร์ต โดยมิวเซียมสยามและ 15 โรงแรมพันธมิตร

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ร่วมกับ 15 โรงแรม และชุมชนรอบเกาะรัตนโกสินทร์ จัดงานเทศกาลศิลปะเปิดเกาะรัตนโกสินทร์ Cultural District 2022: Arts in the Hotel ชวนเปิดประสบการณ์ใหม่ไปกับการท่องโลกงานศิลป์ผ่านการแสดงผลงานของหลากหลายศิลปินมากฝีมือ และหน่วยงานการศึกษาที่มาร่วมออกแบบสร้างสรรค์งานศิลป์บนดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ จัดเต็มทั้งในพื้นที่มิวเซียมสยาม และภายในบริเวณ 15 โรงแรมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ที่จะช่วยบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ และเติมเต็มแรงบันดาลใจให้กับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจ พร้อมเพลิดเพลินไปกับเทศกาลงานศิลปะ เวิร์คชอป และกิจกรรมต่างๆ อีกมาย ตั้งแต่วันที่ 9-15 กรกฎาคม 2565 นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวว่า “การจัดงานเทศกาลศิลปะเปิดเกาะรัตนโกสินทร์ Cultural District 2022: Arts in the Hotel ในครั้งนี้ มิวเซียมสยามต้องการนำเสนอเรื่องราววิถีชีวิต ชุมชน วัฒนธรรมในหลากหลายแง่มุมที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่ประวัติศาสตร์รอบเกาะรัตนโกสินทร์ เพื่อให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์แหล่งใหม่ที่น่าสนใจ และสามารถส่งต่อความรู้ให้กับนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป จนกระทั่งสามารถพลิกฟื้นพื้นที่ให้เป็นย่านวัฒนธรรมที่ล้ำค่า โดยมิวเซียมสยามยินดีเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยง พร้อมจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านโครงการ Cultural […]Read More

ขยล ตันติชาติวัฒน์: AI CCTV อนาคต Smart Security Thailand

เรื่อง: บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา ความเป็น ‘เมืองอัจฉริยะ’ (Smart City) ของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่มีกำเนิดนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579 ) และโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ล่วงมา 5 ปี ความเป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศไทยเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง และค่อยๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมากขึ้นทุกที โดยไม่ได้เป็นแค่แผนในกระดาษ  ยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งเร่งให้ผู้คนใส่ใจการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ใช่แค่พึ่งพาเรื่องความสะดวก แต่ต้องช่วยเรื่องประหยัดพลังงานมากขึ้น ปลอดภัยขึ้น เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  เมื่อเมืองกำลังไปสู่การเปลี่ยนผ่าน คำถามสำคัญที่เกี่ยวโยงโดยตรงกับวิถีชีวิตผู้คนยุคใหม่ คือ ระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อมารองรับเมืองอัจฉริยะจะเป็นอย่างไร? คงไม่มีใครฉายภาพความปลอดภัยแห่งอนาคตนี้ได้ดีไปกว่าหนุ่มGM Club ท่านนี้ ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ICT ผู้นำการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการ Digital Platform และ AI Solutions ซึ่งเชี่ยวชาญเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ […]Read More

สมชาย อัศวปิยานนท์: ความมั่นคงทางอาหาร กับธุรกิจ ‘แช่เย็นพร้อมทาน’ ของเครือ NSL

เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ในชีวิตประจำวันนั้น เรื่องของ ‘อาหาร’ คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในทุกสภาวะ ไม่ว่าสภาพสังคมหรือเศรษฐกิจจะดำเนินไปอย่างไร แต่ความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคก็ยังคงเป็นธุรกิจที่ไม่มีทางที่จะซบเซา ตราบเท่าที่เรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ และในสังคมที่เร่งรีบ ทุกอย่างต้องรวดเร็ว เสร็จได้ในเวลาจำกัด ‘อาหารแช่เย็น’ ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่ทวีบทบาทสำคัญขึ้นไม่น้อย ซึ่ง GM Magazine ได้รับเกียรติจาก คุณสมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NSL Foods ผู้คร่ำหวอดในแวดวงอาหารแช่เย็นพร้อมทาน โดยเฉพาะหมวด ‘เบเกอรี’ มายาวนานกว่าสองทศวรรษ ถึงภาพรวมของธุรกิจ ทิศทางของบริษัทที่จะดำเนินไป รวมถึงเป้าหมายของบริษัทที่พร้อมจะสนับสนุนให้ความมั่นคงทางอาหารนั้น ยั่งยืนและเติบโตอย่างมั่นคงสืบไป GM Magazine: ในส่วนของ NSL เปิดมาประมาณกี่ปีแล้ว ถ้าทำในส่วนของเบเกอรี ก็เปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 มาจนถึงวันนี้ ก็จะครบ 18 ปี ในวันที่ 27 มีนาคม ในช่วงแรกเราเป็นบริษัท Dough-Maker แล้วค่อยมาเป็น […]Read More

เมืองไทยประกันชีวิต เปิดกลยุทธ์ “Health 5.0” เดินหน้าตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยความคุ้มครองสุขภาพที่เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม

เมืองไทยประกันชีวิต ประกาศกลยุทธ์ “Health 5.0” เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรม ความคุ้มครองสุขภาพที่เข้าถึงได้และเท่าเทียมในทุกกลุ่ม พร้อมพยายามเป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทุกคนดีขึ้น ล่าสุดเปิดตัวโฆษณาชุดใหม่ โดยมี “เบลล่า” ราณี แคมเปน ร่วมส่งมอบความสุขและรอยยิ้ม ชูความคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่ายที่ออกแบบได้ และแคมเปญ “A True Story” ถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์จริงจากลูกค้า นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)   เปิดเผยว่า ในยุคปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมของผู้คนหันมาให้ความสำคัญเรื่องของการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการมองหาความคุ้มครองสุขภาพที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ จึงเป็นที่มาของความมุ่งมั่นตั้งใจของเมืองไทยประกันชีวิต ที่พยายามพัฒนาความคุ้มครองสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าแบบ Outside In ซึ่งเป็นหัวใจที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ชีวิตของทุกคนมีรอยยิ้มได้ ล่าสุด เมืองไทยประกันชีวิต จึงได้เปิดตัวกลยุทธ์  “Health 5.0” ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ นวัตกรรมความคุ้มครองด้านสุขภาพ ที่ช่วยขจัดปัญหาที่เป็น Pain Point ของลูกค้า ที่แม้ทุกคนจะมีความแตกต่าง แต่มีความต้องการด้านความคุ้มครองสุขภาพที่เหมือนกัน  ด้วยการออกแบบแบบประกันที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ และมีความเฉพาะตัว (Personalization) ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย […]Read More

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ : วิสัยทัศน์ และพันธกิจแห่งการขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ยุคสมัยแห่ง Digital ของ ‘depa’

ในทุกความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ก่อให้เกิดโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ทั้งในด้านการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ และการยกระดับสังคมไปสู่รูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม แรงงานถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรอุตสาหกรรม ก่อนจะตามมาด้วยการเข้ามาของ ‘ยุคสมัยแห่งข้อมูลข่าวสาร’ หรือ Information Age ที่ความได้เปรียบ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่รวมถึงขนาดกลางและขนาดย่อม ที่สามารถมองเห็นช่องทาง และเติมเต็มให้กับช่องว่างอันเป็นที่ต้องการ และ ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ ก็เป็นเป้าหมายปลายทาง ที่ภาครัฐของประเทศไทย พยายามอย่างยิ่งที่จะส่งเสริม และผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เพิ่มแต้มต่อทางการแข่งขัน และเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตกับรายได้ของประชาชน ให้มากขึ้น ดีขึ้น และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น แต่เช่นเดียวกับทุกการเปลี่ยนผ่าน มันไม่เคยง่าย ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความพร้อมที่จะกระโดดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามา ทั้งปัญหาด้านเงินทุน ความรู้ รวมถึงภาคเอกชนดิจิทัลหรือ Startup ที่ต้องแข่งขันกับตลาดในโลกกว้าง แต่ขาดการสนับสนุนที่เพียงพอ จนหลายครั้ง มันกลายเป็นโอกาสที่หลุดลอยไป และการลดช่องว่างเหล่านี้ให้สั้นลง ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น คือพันธกิจสำคัญของ ‘สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล’ หรือ ‘depa’ ที่ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ให้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของความเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกัน แต่บทบาท หน้าที่ และงานสำคัญของ depa คือสิ่งใด? สังคมไทยมีความตื่นตัวพร้อมรับกับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน? GM […]Read More

MGC-ASIA เดินหน้านโยบายรักษ์โลก ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งเป้าสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก สาเหตุหลักมาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ ฯลฯ ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และนำไปสู่ ‘ภาวะโลกร้อน’ ที่ทั่วโลกพยายามหาทางแก้ปัญหา เช่นเดียวกับ กลุ่มธุรกิจ มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย และบริษัทในเครือ ได้แก่ มิลเลนเนียม ออโต้ กรุ๊ป สาขาลาดพร้าว และ ซัมมิท ฮอนด้า ออโตโมบิล สาขาหัวหมาก มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานขององค์กร รวมทั้งตระหนักในความสำคัญของการบริหารจัดการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นประเด็นท้าทาย และเป็นความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ ที่ต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น บริษัทจึงดำเนินการจัดประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization : CFO) ขึ้น เพื่อรับทราบข้อมูลการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทในปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ และเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มธุรกิจ เอ็มจีซี-เอเชียในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ดำเนินการประเมินและจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร สำหรับปี 2564 […]Read More

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร : ย่างก้าวสู่ปีที่ 70 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยุคสมัยใหม่แห่งการขนส่งทางเรือ

นับเนื่องมาตั้งแต่สมัยครั้งโบราณมา สิ่งที่เป็นความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งมนุษยชาตินั้น คงต้องนับรวม ‘การเดินเรือ’ เข้าไว้ด้วย  เพราะผืนทะเลไม่ใช่อาณาเขตกีดกั้น แต่เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อดินแดนใหม่ๆ นำพาความรู้ วิทยาการ และ ‘สินค้า’ จากภูมิภาคหนึ่ง ไปสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง ก่อให้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ทะยานไปด้วยกระบวนการของผู้กล้าหาญที่นับท้องทะเลเป็นอ้อมอกแห่งมารดา และปวารณาตนเป็นลูกชาวทะเล และสำหรับประเทศไทย มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณกาล ต้องนับว่าได้ประโยชน์และความเจริญจากการเดินเรือค้าขายและการขนส่งสินค้าทางน้ำ พร้อมทั้งพัฒนาและเริ่มจัดตั้ง ‘การท่าเรือแห่งประเทศไทย’ ขึ้น เพื่อดำเนินงานท่าเรือ นโยบาย และกระบวนการขนถ่ายสินค้าอุปโภค-บริโภคอย่างต่อเนื่อง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาเป็นเวลากว่าเจ็ดทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่วิกฤติ COVID-19 เชื้อร้ายได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก และเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนให้ไปสู่แนวทางใหม่ ออกนอกบ้านน้อยลง ติดต่อกันอย่างจำกัด แต่ความต้องการด้านสินค้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่อง เรียกได้ว่าคนนิ่ง แต่สินค้าเคลื่อน ในสภาวการณ์เช่นนี้ นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง สำหรับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการที่จะฝ่านาวาแห่งห้วงเวลาที่ไม่เป็นปกติ เพื่อรักษาสภาพการณ์ของเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นปกติ ทั้งนี้ GM Magazine ได้รับเกียรติจาก เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย คนปัจจุบัน มาร่วมพูดคุย ทั้งแนวคิด วิสัยทัศน์ แนวทาง และแผนงานซึ่งพร้อมจะนำการท่าเรือฯ […]Read More

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดหลักสูตรการออกกำลังกายและปฐมพยาบาล สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด

“กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ประโยคคุ้นหูที่ได้ยินอยู่เสมอ ทราบกันเป็นอย่างดีว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก แต่บ่อยครั้งที่มักได้ยินการเสียชีวิตกระทันหันขณะออกกำลังกาย ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือนักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด แนวทางการประเมินความเสี่ยง และการดูแลให้การช่วยเหลือเมื่อพบผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจและ หลอดเลือด เพื่อความปลอดภัย และลดการเกิดการเสียชีวิตกะทันหันขณะออกกำลังกาย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จึงได้เปิดหลักสูตร ‘การออกกำลังกายในผู้ที่มีความเสี่ยงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด การช่วยชีวิต และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น’ ขึ้น เพื่อฝึกอบรมให้เกิดความเข้าใจในศาสตร์การออกกำลังกาย และการปฐมพยาบาลผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะโรคหัวใจ เนื้อหาสำคัญของหลักสูตรประกอบด้วย – การประเมินความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดการเสียชีวิตกระทันหันขณะออกกำลังกาย และเพื่อความปลอดภัยในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง -การดูแลช่วยเหลือเมื่อเกิดอาการผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดขณะออกกำลังกาย -การช่วยฟื้นคืนชีพผู้หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น Q&A Q: หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร? A: ผู้ที่ดูแลผู้ออกกำลังกาย ผู้สอนการออกกำลังกาย ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือผู้ที่สนใจ Q: หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง? A: เนื้อหาสำคัญของหลักสูตรนี้ประกอบด้วย – การประเมินความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดการเสียชีวิตกระทันหันขณะออกกำลังกาย และเพื่อความปลอดภัยในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง – การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดขณะออกกำลังกาย – การช่วยฟื้นคืนชีพผู้หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น […]Read More

ผศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ กับแนวคิดใหม่เพื่อเมือง

เรื่อง: บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา หลายปีมานี้เมืองไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง (คาดไม่ถึง) รอบด้าน ไม่ว่าความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ประเภทฝนตก-น้ำท่วม-รถติด, โรคระบาดที่เกิดพร้อมกันทั้งโลก (โควิด-19), การขยายตัวของเมืองเนื่องจากการหลั่งไหลเข้ามาของผู้คนตามความเจริญของเมือง นี่ยังไม่รวมปรากฏการณ์ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ที่เป็นตัวเร่งให้ต้องปรับเปลี่ยนก้าวกระโดดในทุกมิติ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก่อให้เกิดประเด็นฉุกคิดถึง ‘ความพร้อมของเมือง’ ที่จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อมารับมือต่อการเปลี่ยนแปลงให้ครบทุกด้าน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพราะที่ผ่านมา อาจไม่ทันนึกมาก่อนเลยว่า ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ l ค่าครองชีพ l การขนส่ง l การพัฒนาเมือง l ผังเมือง l โครงสร้างพื้นฐาน แท้จริงแล้วทั้งหมดนี้เกี่ยวโยงกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม นอกจากหน่วยงานภาครัฐผู้รับผิดชอบโดยตรงแล้ว หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Urban Futures and Policy Research Unit) ยังเป็นฟันเฟื่อนเล็กๆ ที่มาช่วยขับเคลื่อนให้เกิดเมืองพลวัต (Resilient City) โดย ผศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ […]Read More