ที่จริงวันนี้ 27 มีนาคม ผมต้องอยู่ที่บ้านโคราช วาระที่แม่มีอายุ 70 ปี ผมกับน้องสาวคุยกันว่าจะจัดงานนิดๆ หน่อยๆ หาเหตุให้คนในครอบครัวมาเจอกันพร้อมหน้า ชวนเพื่อนสนิทสามสี่คนมาเที่ยว มาล้อมวงกินข้าวกินเหล้าเพื่อนหนุ่ม ธีร์ อันมัย รับปากจะถือกีตาร์ขึ้นรถทัวร์มาจากอุบลฯ เขาสนับสนุนการจัดงานเต็มที่ และยินดีมาช่วยร้องเพลงลูกทุ่งให้แม่ฟัง เพราะรู้ดีว่าตั้งแต่เดินได้ ลูกชายบ้านนี้ก็แทบไม่เคยเดินย้อนกลับภูมิลำเนาเราเลือกเย็นวันที่ 28 มีนาคม เป็นวันงาน น้องสาวต่อเติมบ้านสวน เคลียร์สถานที่ไว้พร้อมต้อนรับ เพื่อนศิลปินเขียนพอร์เทรตแม่ เตรียมมอบให้เป็นของขวัญมันน่าจะเป็นวันที่ดี ทุกคนรอคอยวันนี้ โดยเฉพาะแม่ น้องสาวส่งข่าวมาเป็นระยะว่าแม่ดีใจอย่างออกนอกหน้า ถามถึงเพื่อนคนนั้นคนนี้ของผม ถามถึงหลานสาวคนเดียวที่อยู่กรุงเทพฯ ฟังว่าเธอน่าจะมางานนี้ด้วย ถาม และนับวันรอโควิด-19 ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างประเมินสถานการณ์แล้ว ผมบอกทุกคนว่ายกเลิก อย่างน้อยก็เลื่อนออกไปก่อน ยามนี้เราทำได้เท่านี้จริงๆไม่มีใครสักคนคัดค้าน คะยั้นคะยอ หรือดื้อรั้นให้เดินหน้า มันเป็นภาวะที่เราต้องหยุดและยอมอย่างแท้จริงบินหลา สันกาลาคีรี ส่งเสียงเศร้าๆ บอกว่าเข้าใจ ขอให้ทุกคนแข็งแรง ปลอดภัยนอกจากแม่ผม เขาน่าจะอกหักที่สุด เพราะตามแพลน จบงานที่โคราชแล้วรุ่งขึ้นเราจะขับรถล่องใต้ เป็นทริปยาวราวหนึ่งสัปดาห์ เป้าหมายอยู่ที่ชายทะเลสงขลา บ้านของนักเขียน ‘เจ้าหงิญ’ แพลนพัง สิ่งที่คิดคาดหวัง […]Read More
วิกฤติวัยกลางคน หรือ Midlife Crisis ที่กำลังเกิดขึ้นกับผม ทำให้ผมเริ่มรู้สึกถึงเวลาที่เหลือน้อยลงบนโลกใบนี้ เริ่มรู้สึกถึงสุขภาพที่เสื่อมถอยลงไปตามวัย เริ่มกังวลใจกับเป้าหมายหรือความสำเร็จในชีวิตที่มีเวลาเหลือให้ไล่ล่าน้อยลงท่ามกลางคู่แข่งคลื่นลูกใหม่ใน Generation หลังที่เต็มไปด้วยพลังและฮอร์โมนที่เข้าใจเทคโนโลยีโดยสายเลือด อย่างไรก็ตาม โชคดีที่คนเกิด Gen X อย่างผมเป็นกลุ่มคนที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างโลกใบเก่าแห่งความลำบาก กับโลกใบใหม่แห่งความสะดวกสบายภายใต้เทคโนโลยี คุ้นเคยกับการฟังเพลงผ่านเทปคาสเซต แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเองตะเกียกตะกายมาฟังเพลงผ่าน MP3 และแอปฯ ฟังเพลงอย่าง Joox หรือ Spotify วิกฤติวัยกลางคนนี้ทำให้ผมต้องลุกขึ้นมาริเริ่มทำสิ่งใหม่ เปลี่ยนแปลงตัวเองให้รู้เท่าทันโลกในยุคปัจจุบัน เพื่อทำให้ชีวิตยังสามารถเดินทางไปต่อได้ในรอบนักษัตรสุดท้ายของการทำงาน คนคุ้นเคย hi5 อย่างผมที่ครั้งหนึ่งต้องมาเรียนรู้ Facebook เพื่อพร่ำเพ้อพรรณนาเวิ่นเว้อเรื่องราวในชีวิตของตนเองให้ใครต่อใครในโลกนี้ร่วมรับฟังเป็นหน้าๆ วันนี้ก็ต้องมาเรียนรู้ว่าผู้คนในยุคที่มีข้อมูลข่าวสารไหลผ่านรอบตัวเป็นจำนวนมากย่อมมีความสนใจรับฟังเรื่องราวต่างๆ ในเวลาสั้นลง แพลตฟอร์มการติดต่อสื่อสารของเด็กวัยรุ่นทุกวันนี้จึงมีข้อจำกัดในการเรียกร้องความสนใจด้วยความยาวของข้อความเพียงแค่ 15 วินาที ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสั้นใน Snapchat หรือ TikTok เพราะยังไม่อยากตกยุค ยังไม่อยากรู้สึกแปลกแยกแตกต่างกับเด็กวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน ลุงอย่างผมที่ยังไม่อยากเป็นมนุษย์ลุงจึงต้องพยายามเรียนรู้วิถีชีวิตของวัยรุ่นในยุคนี้คงไม่มีวิธีไหนที่จะเข้าใจเด็กรุ่นใหม่ได้ง่ายเท่ากับการค้นว่าวัยรุ่นยุคปัจจุบันนิยมใช้ Social Media ช่องทางไหนบ้าง และนั่นเองที่ทำให้ผมตระหนักในความจริงที่ซ่อนไว้อีกด้านว่า ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันที่เข้มข้นก็ยังมีโอกาสใหม่ๆ เสมอ จากที่ใครหลายๆ คนที่อยู่ในวัยเดียวกันกับผมอาจไม่เคยคิดว่าจะมี Social Media รายใหม่ใดเข้ามาเบียดแทรก […]Read More
มาถึงวันนี้ ดูเหมือนว่าการรักษาระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing จะกลายเป็นสิ่งที่กลายเป็นความคุ้นชินของผู้คนในสังคมไปเสียแล้ว… รักษาระยะห่าง เว้นว่างทางสังคม งดเว้นกิจกรรมในที่แจ้ง และหยุดพักสถานบริการร้านค้า เป็นอันสภาวะที่เกิดจากวิกฤติโรคระบาด COVID-19 ที่ทำให้เราต้องกลับมาพึ่งพาตนเองมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าหมายรวมถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันที่ลดน้อยลงตามไปด้วย … ระยะที่ถูกเว้นว่าง การเยี่ยมเยียนที่ไม่อาจทำได้อย่างที่เคยเป็นในสภาวะปกติ เป็นภาวะแปลกใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงวาระแห่งสงกรานต์ ที่ที่ผู้คนจากกรุงเทพฯ จะไหลบ่าออกจากตัวเมือง กลับไปบ้านเกิด เยี่ยมเยียนญาติและผู้หลักผู้ใหญ่ ใช้เวลาพักผ่อนและดูแลซึ่งกันและกัน มีหลายส่วนเลือกที่จะกลับไป (อาจจะด้วยความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจเป็นตัวบังคับ และค่าครองชีพในเมืองหลวงก็สูงเกินกว่าที่จะเลือกอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำอะไร) แต่ก็มีไม่น้อย ที่เลือกจะไม่นำพาความเสี่ยงกลับไปสู่จังหวัดบ้านเกิด มันเป็นสภาวะแปลกใหม่ เมื่อพิจารณาว่า สังคมไทย ยังเชื่อมโยงและผูกพันกับความเป็นเครือญาติ การไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน และการมีปฏิสัมพันธ์กันตามช่วงเวลาและฤดูกาลมานับตั้งแต่ยุคสมัยโบราณนานมา เรามีประเพณีที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอยู่มากมาย เรามีวัฒนธรรมที่ต้องพึงกระทำกันเป็นหมู่คณะอยู่หลากหลาย เช่นนั้น เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ ถึงการ ‘รวมหมู่’ ที่ต้องอยู่ร่วมกันของสังคมไทย แต่การมาถึงของ COVID-19 นั้น ทำให้หลายอย่างต้องเปลี่ยนแปลงไป และการรวมหมู่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อันเนื่องจากปัจจัยและความจำเป็นดังที่กล่าวมา อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารที่รุดหน้า ก็ช่วงให้ช่องว่างระหว่างกันนั้น ลดน้อยลงไปได้บ้าง แม้ตัวจะอยู่ห่างไกล แต่ก็ยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ผ่านช่องทางต่างๆ […]Read More
ในช่วงเวลาที่งานอีเวนต์ ประชุม สัมมนา ถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะสถานการณ์ COVID-19 ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการรวมตัวกันนั้น ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Live Streaming หรือการประชุมออนไลน์ผ่านซอฟต์แวร์ต่างๆ ทุกกิจกรรมสามารถทำผ่านออนไลน์ได้ แต่ปัญหาคือระบบต่างๆ ที่ว่ามานั้น ขาดการเชื่อมต่อของระบบ ไม่สามารถทราบข้อมูลและพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย การนำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ แถมยังไม่มีพื้นที่ให้แบรนด์ได้ใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์และเป็นที่จดจำ จึงเป็นที่มาให้ Happenn ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบการจัดการงานอีเวนต์ ขยับตัวเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดงานอีเวนต์ออนไลน์หรืออีเวนต์เสมือนจริง (Virtual Event) โดยใช้ชื่อเรียกว่า Happenn Virtual โดยคุณอภิรดี ศิริสมบูรณ์ ประธานบริหารบริษัทได้กล่าวว่า “ ทีมงานตั้งใจทำ Happenn Virtual เพื่อตอบสนองความต้องการให้คนสามารถเข้าร่วมงานได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก พร้อมยังไม่ลืมเสน่ห์ของงานอีเวนต์คือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน การสร้างสังคมของคนที่มีความสนใจเหมือนกัน ด้วยการพัฒนาเครื่องมือในการสื่อสาร การเล่มเกมส์ การถามตอบ และอีกมากมายในอนาคตที่ตามมา เพื่อจุดประสงค์ในการให้เชื่อมโยงคนเข้าหากันเสมือนไปงานอีเวนต์จริงๆ” เนื่องจาก Happenn เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีงานอีเวนต์อยู่แล้ว ทำให้ระบบ Happenn Virtual เกิดขึ้นมาได้ไม่ยาก เพราะระบบเดิมที่มีอยู่ก็เน้นความเป็นออนไลน์เป็นทุนเดิม […]Read More
เราได้เก็บข้อมูลที่น่าสนใจจาก ZOCIAL EYE ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา มาฝากกัน ซึ่งเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 25 ม.ค.- 15 เม.ย. 63 โดยเหตุการณ์ที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงสุดคือ วันที่ 16 มี.ค 63 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลประกาศว่าสงกรานต์นี้ (13-15 เม.ย.) ไม่ใช่วันหยุด ถือว่าเป็นปีแรกที่คนไทยไม่ได้หยุดยาวในวันสงกรานต์ ต้องลุกไปทำงานแบบวันปกติ มีเอนเกจเมนต์สูงสูดถึง 38,530,866 เอนเกจเมนต์ ส่วนเอ็นเกจเมนต์ที่รองลงมาคือ วันที่ 13 เม.ย. 63 ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์พอดี ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในวันนี้คือ ผู้มีชื่อเสียง ดารา นำรูปถ่ายเก่ามาโพสต์ในเทศกาลสงกรานต์ และ มี #สงกรานต์ทิพย์2020 เกิดขึ้น อาจเป็นเพราะว่าปีนี้สงกรานต์ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผู้คนไม่สามารถออกมาทำกิจกรรมข้างนอกได้ เพราะต้อง #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ แต่ชาวโซเชียลน่าจะต้องมีกิจกรรมต่างๆ ที่จะสนุกสนานไปกับประเพณีสงกรานต์อย่างแน่นอน ทำให้ทีมงานสนใจที่จะหาอินไซท์จากประเด็นนี้ โดยดึงข้อมูลจาก ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 13-15 เม.ย. ซึ่งตรงกับช่วงสงกรานต์ของทุกปีพบว่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงก็ได้พบกับเทรนด์ใหม่ของชาวโซเชียลเกิดเป็น #สงกรานทิพย์2020 […]Read More
มาถึงวันนี้ ก็เป็นเวลาเกือบเดือนแล้ว ที่กรุงเทพฯ ติดชะงักอยู่ในสภาวะ ‘Lockdown’ ในเชิงปฏิบัติ (แม้จะไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการก็ตาม…) และเราก็คงจะได้เห็นแล้วว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทางสังคมและเศรษฐกิจนั้น มีมากแค่ไหน และร้ายแรงอย่างไร แน่นอนว่าด้วยสิ่งที่เกิดขึ้น เสียงเรียกร้องจากหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดการ ‘คลาย’ ล็อคนี้ จึงเริ่มดังถี่ขึ้นตามมาเป็นลำดับ ก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายมากไปกว่านี้ อันที่จริง สถานการณ์ Lockdown ปิดเมืองเพื่อตรวจสอบและจำกัดจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องตีวงให้แคบที่สุด เพื่อให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื้อร้ายไม่ลุกลามออกไป แต่ในทางกลับกัน ก็ต้องยอมรับด้วยว่า ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ก็เป็น ‘ผลพลอยได้’ ที่ไม่มีใครอยากได้ ที่ตามมาอย่างช่วยไม่ได้ด้วยเช่นกัน สำหรับประเทศไทย แม้จะไม่มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ แต่การ Lockdown ก็ดำเนินไปแล้วเกือบเดือน และเราก็ได้เห็นแล้วว่า ผลกระทบนั้น ขยายตัวเป็นวงกว้างมากแค่ไหน จากมาตรการเยียวยาที่ไม่ได้ประสิทธิภาพของภาครัฐ และทิศทางที่ไม่ชัดเจน ไปจนถึงข้อมูลทั้งจริงลวงปะปนกันอย่างแยกไม่ออก ผู้คนเริ่มอดอยาก และไร้ทางไป เป็นปฏิกิริยาช่วยเร่งให้การคลาย Lockdown นั้น เกิดขึ้นอย่างจริงจัง แต่ในทางหนึ่ง เราพร้อมมากแค่ไหนสำหรับการคลาย Lockdown? ต้องยอมรับว่า […]Read More
ฟูจิฟิล์มได้รับรางวัล Red Dot Design Award 2020 ซึ่งในปีนี้กล้อง FUJIFILM instax คว้ารางวัลไปถึง 3 รุ่น ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฟูจิฟิล์มในการออกแบบดีไชน์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และฟังก์ชั่นการใช้งานที่ลงตัวเหมาะกับผู้บริโภค รางวัล Red Dot Award เป็นหนึ่งในการประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ของประเทศเยอรมัน โดยมีสินค้ากว่า 6,500 ชิ้นร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ และมีกรรมการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมาร่วมตัดสิน โดยยึดเอาเกณฑ์การตัดสินจากด้านนวัตกรรม การใช้งาน คุณภาพ ความคงทน และการออกแบบดีไซน์ที่ลงตัวเหมาะในการทำงาน กล้อง FUJIFILM instax ได้รับรางวัล ถึง 3 รุ่นได้แก่ instax mini LiPlay, instax mini Link และ instax mini9 รวมไปถึงinstax mini LiPlay “accessory set ตอกย้ำว่าฟูจิฟิล์มไม่เพียงแค่คิดค้นนวัตกรรม และฟังก์ชั่นการใช้งานและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เท่านั้น ฟูจิฟิล์มยังคงมุ่งมั่นและพัฒนาการออกแบบดีไซน์ให้มีความสวยงามลงตัว เหมาะสำหรับการใช้งานที่ลงตัว แต่ยังคงเน้นคุณภาพของไฟล์ภาพ ทั้งในเรื่องภาพสวยคมชัด ใช้งานง่าย ตอบโจทย์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ต้องการชอบถ่ายรูปฟิล์ม สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัท ฟูจิฟิล์ม […]Read More
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนการผลิตตู้พ่นฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัส (CoviClear) คิดค้นโดยทีมวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อ เตรียมมอบให้แก่โรงพยาบาลรัฐในต่างจังหวัด 5 แห่ง เพื่อร่วมป้องกันแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมี ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้มอบเงินสนับสนุนให้แก่ ดร.สมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา กรรมการบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมวิจัย อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทRead More
ขอขอบคุณภาพจาก : Internet สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น อย่างที่เราทราบกันดี ว่าส่งผลกระทบรอบด้านต่อทุกภาคส่วนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง นั่นรวมไปถึงการค้าขายและการตลาดที่รูปแบบเก่าๆ ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ ตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปและยังไม่มีความแน่นอนชัดเจนว่าปลายทางนั้นจะไปสิ้นสุดลงที่ไหน และเมื่อใด หลายธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทัน ต่างต้องล้มหายตายจากไปในชั่วข้ามคืน ธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดเล็กที่สายป่านยาวไม่เพียงพอ ยังรอการช่วยเหลือจากภาครัฐท่ามกลางเข็มที่นับถอยหลังลงไปทุกขณะ ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่เช่นห้างสรรพสินค้าที่ต้องปิดตัวลงสนองต่อนโยบาย Social Distancing ที่มีรายจ่ายออกไปในทุกวัน (ท่ามกลางรายรับที่เกือบจะติดศูนย์) เหล่านี้ เป็นสถานการณ์จำเพาะที่ทุกภาคส่วนจะต้องปรับตัว รับมือ และทำความเข้าใจต่อ Insight ของผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่แค่ในสถานการณ์ COVID-19 หากแต่เป็นภาพรวม แม้วิกฤติดังกล่าวนี้จะผ่านพ้นไปแล้ว (เพราะขึ้นชื่อว่า ‘พฤติกรรม’ นั้น เมื่อมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ยากนักที่จะย้อนกลับไปสู่วงจรและความคุ้นชินแบบเดิมๆ อีก…) ในด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น จากเดิมที่ผู้บริโภคนิยมการเลือกซื้อสินค้าหน้าร้านแบบจับต้องได้ ก็เริ่มหันไปสู่การซื้อและขายผ่านช่องทางออนไลน์และแพลทฟอร์มเฉพาะ ตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือยบางชนิด ดังที่เราจะเห็นได้จากการเติบโตของบรรดาบริการรับส่งเช่น Grab และ Food Panda ที่ผู้คนต่างเก็บตัวอยู่ในบ้าน และใช้บริการดังกล่าวมากขึ้นตามเวลาที่ผันผ่านไป รวมไปถึงปัจจัยด้าน ‘ปริมาณ’ ที่มากขึ้นต่อหนึ่งการซื้อ เพื่อความคุ้มค่าทั้งรายจ่ายและเวลาที่ต้องเสียไป สำหรับสินค้าขนาดใหญ่ และสินค้าที่ยังไม่มีความจำเป็นมากนักเช่นรถยนต์หรือโทรศัพท์มือถือ รูปแบบการซื้อนั้นมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในระหว่างสถานการณ์ […]Read More
เรื่อง : สุชา “คนรุ่นแรกสร้างมันขึ้นมา รุ่นที่สองเก็บรักษามันไว้ ส่วนรุ่นที่สาม…ถลุงมันซะ!” ใครคนหนึ่งกล่าวถึงการส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นไว้อย่างนั้น ซึ่งมันมีส่วนทั้งที่จริงและไม่จริงไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่คนทั้งโลกกำลังประสบกับวาระเรื่องจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่า จำนวนผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ภายในปี 2564 หรืออีกเพียงแค่ 1 ปี จะแตะระดับ 20% ของจำนวนประชากรทั้งโลก และในปี 2578 จะแตะระดับ 30% สถิติดังกล่าวกำลังบอกอะไรเรา? การบริโภคนิยมที่บ้าคลั่งในทศวรรษที่ผ่านมา โดยคน Generation ก่อนหน้ากำลังจะหมดสิ้นไปตามอายุวัย แล้วถูกแทนที่โดยคนรุ่นใหม่ ซึ่งตอนนี้พวกเขากำลังเดินหน้าเพื่อยึดครองความมั่งคั่งต่อจากคนรุ่นปู่ย่าตาทวด และ/หรือรวบตึงความมั่งคั่งในรุ่นพ่อกับแม่มาด้วยทั้งหมด แต่จะถลุงหรือทำให้มันยิ่งมั่งคั่งมากขึ้นนี่สิ…น่าสนใจ แน่นอน, คนทุกรุ่นต่างมีวิธีการเฉพาะของตัวเองเพื่อเสาะแสวงหาเงินทอง ความมั่งคั่ง แต่ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงเข้าใกล้มันอย่างง่ายดาย แถมพวกเขายังหาเงินเก่งอีกต่างหาก และหามันด้วยวิธีการที่ต่างไปจากคนรุ่นก่อน ย้อนระลึกความโชคดีหลังความโชคร้ายของ Gen B หรือเบบี้บูมเมอร์ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การมีอยู่ของทรัพยากรอันอุดมมีมากมายให้พวกเขาฉกฉวย ช่วงชิงทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะ ‘ที่ดิน’ มาเป็นของตัวเอง ขณะที่รุ่นลูก ได้แก่ คน Gen X ได้รับผลพลอยได้จากการช่วงชิงดังกล่าว แต่โชคร้ายชะมัดที่หลายคนต้องประสบกับความยากลำบากผ่านความผันผวนของเศรษฐกิจระลอกแล้วระลอกเล่า โดยเฉพาะในยุคหนึ่งที่เศรษฐกิจโลกล้มครืนแบบระเนระนาด ศึกครั้งนั้นส่งผลแทบไม่ต่างจากคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ที่เคยผ่านยุคหลังสงคราม ทว่าโชคชะตายังเข้าข้างคน Gen X ตรงที่พวกเขาดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังภาวะถดถอย นั่นถือเป็นการกู้คืนความมั่งคั่งในคน […]Read More