fbpx

URWERK UR-100 Gold Edition เตรียมเปิดประมูลเรือน No.1สู้ Covid-19

อูร์แวร์ก (URWERK) เปิดตัวนาฬิการุ่นใหม่ของคอลเลกชัน UR-100 ในเวอร์ชันตัวเรือนทองเยลโลโกลด์เป็นครั้งแรก ถ่ายทอดแรงบันดาลใจที่ได้มาจากกาแลกซี แสง เวลา และอวกาศ ไปจนถึง C-3PO หุ่นดรอยด์จากภาพยนตร์ Star Wars มาสู่เครื่องบอกเวลาจักรกลบนข้อมือของนาฬิการุ่น UR-100 Gold Edition  โดย UR-100 Gold Edition ผลิตจำนวนจำกัด 25 เรือนนี้ถือเป็นผลงานรุ่นที่ 4 ของมหากาพย์นาฬิกาสไตล์อวกาศอย่าง UR-100 ซึ่งยังคงคอนเซปต์ของการแสดงออกถึงการผจญภัยและการสร้างสรรค์อุปกรณ์บอกเวลาที่เขียน ผลิต และควบคุมโดยสตูดิโอเครื่องบอกเวลาแห่ง URWERK ผลงานนี้จึงโดดเด่นทั้งเรื่องราวของเทคโนโลยี งานออกแบบ การแสดง และฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ แถมยังนับเป็นนาฬิกาโครงสร้างแบบ 3 มิติที่มีความบางพิเศษ จากการออกแบบองค์ประกอบและชิ้นส่วนสุดอัจฉริยะ  ขณะที่จุดเด่นของตัวเรือนซึ่งทำจากทองเยลโลโกลด์ 18K 2N เป็นการตัดจากบล็อกของทองอย่างแม่นยำ พร้อมทั้งการขัดตกแต่งพื้นผิวแบบซาตินและการขัดเงา ส่วนด้านบนของตัวเรือนติดตั้งด้วยกระจกคริสตัลแซฟไฟร์รูปทรงแบบฟองอากาศที่ชวนให้นึกถึงรูปทรงของนาฬิการุ่นแรกๆ ของ URWERK กับทรงโดมของยานที่ภายในเป็นฐานควบคุมการเดินทางแห่งจักรวาล ในแง่ของฟังก์ชันยังคงเป็นการแสดงชั่วโมงและนาทีแบบ satellite และแสดงการเดินทางโคจรของโลกและดวงอาทิตย์ ตัวแทนของเวลาแห่งอวกาศ  นาฬิกาแนวไซไฟด้วยตัวเรือนทองรุ่นแรกนี้ยังเตรียมเปิดตัวรุ่นพิเศษ UR-100 […]Read More

ชีวิตที่มากกว่าแปดบรรทัดครึ่ง

ในปัจจุบัน การ Disruption ของโลกดิจิทัลก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และหลายหน่วยงานก็ต้องการคนที่จะมาช่วย ‘ปรับโครงสร้าง’ เพื่อรับกับความเคลื่อนไหวเหล่านี้ กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ผู้ดำรงตำแหน่ง Head of Venture Builder แห่ง SCB10X และเจ้าของ Podcast ‘ธุรกิจแปดบรรทัดครึ่ง’ เป็นอีกหนึ่งคนหนุ่มที่มาพร้อมกับแนวคิดที่น่าสนใจ ชายหนุ่มสำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท MBA จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก่อนจะกลับมารับงานผลักดันด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้ง Design Thinking จนถึง SCB10X ที่เขาใช้ความสนใจด้านธุรกิจและนวัตกรรมเพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรับกับกระแส Disruption ที่กำลังถาโถมเข้ามาในปัจจุบัน ด้วยการที่เป็นคนไม่หยุดนิ่งและมีไอเดียที่สดใหม่อยู่ตลอดเวลา กวีวุฒิสนุกกับการนำเสนอนวัตกรรม ช่วยเหลือองค์กรให้ปรับตัว ดึงศักยภาพของคนในหน่วยงานให้ไปถึงจุดสูงสุด รวมถึงร่วมสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ในสถาบันการศึกษาให้มี Mindset ที่พร้อมออกไปสู้กับทุกความท้าทายอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ซึ่งเขาก็ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่ายังมีอยู่หลายสิ่งที่เขาไม่รู้ และพร้อมจะเรียนรู้มันได้ตลอดเวลา ด้านวัฒนธรรมองค์กร กวีวุฒิมองว่า การให้ความสำคัญกับ ‘แก่น’ ความคิด คือสิ่งที่พึงปฏิบัติ เน้นการลงมือทำเพื่อให้เห็นผลลัพธ์ และต้องยอมรับกับความผิดพลาด ล้มได้ พลาดได้ เพื่อนำมาเป็นบทเรียนที่จะช่วยปรับปรุงให้งานชิ้นถัดๆ ไปนั้นดีขึ้น […]Read More

ความสำเร็จยังเดินต่อ

“ครอบครัวคือส่วนสำคัญในสมการชีวิตผม ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ระหว่างทาง และปลายทาง” คำตอบนี้เคลียร์ชัดว่าเขาให้ความสำคัญกับครอบครัวมากน้อยแค่ไหน จากหนังสืออัตชีวประวัติ ‘สุธรรม โตทับเที่ยง’ เขาพูดถึงบุตรชายคนรองซึ่งทำให้เราเห็นวิสัยทัศน์ของชายหนุ่มชัดเจนขึ้น “ที่ผ่านมาเราปรับในเรื่องของผลิตภัณฑ์ แต่ทุกอย่างคือใช้แบรนด์ปุ้มปุ้ยทั้งหมด ไม่ว่าจะขายในไทยหรือต่างประเทศ เพราะเราอยากให้คำไทยๆ ไปอยู่ในใจชาวต่างชาติบ้าง ซึ่งความคิดของไกรเสริม เขาพูดไว้ดีมาก ‘ป่าป๊า เสริมไม่อยากใช้คำว่า Rebranding เหมือนแบรนด์ในตำนานอื่นๆ แต่เสริมอยากใช้คำว่า Refreshing Brand เพื่อให้แบรนด์มันดูสดใส น่ารักขึ้น’ “ไกรเสริมเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด เขาเข้าใจความหมายของปุ้มปุ้ย ลูกคนนี้บอกว่าความน่ารักของปุ้มปุ้ยสมัยก่อนกับสมัยนี้ย่อมแตกต่างกัน วัตถุประสงค์หลักของเราจึงมุ่งเน้นการเข้าถึงลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น” เห็นนามสกุล ‘โตทับเที่ยง’ แล้วคิดถึงผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง ‘ปุ้มปุ้ย’ อันโด่งดัง อยู่คู่ครัว คู่บ้าน ของคนไทยมานานหลายทศวรรษ ดร.ไกรเสริม โตทับเที่ยง คือหนึ่งในทายาทของปุ้มปุ้ย ที่วันนี้หันมาเติบโตบนเส้นทางที่สามารถทำประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองได้อีกทางหนึ่ง ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรี “ผมสนใจหลายเรื่อง ส่วนมากคือเรื่องรอบตัวเรา เรื่องธุรกิจ เรื่อง Business Model และเรื่องฉลาดๆ ที่มีประโยชน์ต่อสิ่งที่ทำ โดยเฉพาะเรื่องนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ และแก้ Pain Point […]Read More

หัวใจหลักของนักการตลาดดิจิทัล

อาจจะสร้างความแปลกใจในทีแรกเมื่อรู้ว่าคนจบสาขาศิลปะการละคร ผันตัวมาเป็นนักการตลาดดิจิทัลมืออาชีพ ทว่าศาสตร์ที่ ‘ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง’ ได้เล่าเรียนมาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยให้เขาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างดี “พื้นเพผมเรียนมาด้านศิลปะมากกว่าสายธุรกิจด้วยซ้ำ แต่ถ้าถามเรื่องความสนใจ ผมเหมือนคนสองขั้วในคนเดียว คือด้านหนึ่งก็ชอบเทคโนโลยี Gadget เป็นคนชอบคอมพิวเตอร์ เล่นเกม ฝึกเขียนโปรแกรม ทำเว็บไซต์ เรียกได้ว่ามุมหนึ่งเป็น Geek เลย แต่ในอีกมุมหนึ่งผมก็เป็นคนชอบศิลปะ ผมชอบดูหนัง ดูละครเวที อ่านหนังสือประเภทต่างๆ” ณัฐพัชญ์เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านการจัดการวัฒนธรรม จากบัณฑิตวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานทั้งสายครีเอทีฟรายการ สายการตลาดและเข้าสู่วงการดิจิทัลเอเจนซี่ จนกระทั่งเปิดบริษัทบริการให้คำปรึกษาและเทรนนิ่งด้านการตลาดดิจิทัล เขาพิสูจน์ให้เห็นว่าทุกเส้นทางในชีวิตขึ้นอยู่กับการเลือกของเราเอง และนิยาม ‘ความสำเร็จ’ ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน เป็นเรื่องยากที่เราจะหาไม้บรรทัดสักอันมาขีดเส้นมาตรฐานของคำคำนี้ “แต่ถ้าจะบอกว่าความสำเร็จที่ดีเป็นอย่างไร ผมมักใช้แนวคิดว่ามันควรเป็นความสำเร็จที่ส่งผลดีให้กับตัวเอง และส่งผลดีให้กับสังคม หากความสำเร็จนั้นมาจากการเบียดเบียนสังคม ก็คงไม่ใช่ความสำเร็จที่ดีอย่างแน่นอน” การเป็นนักการตลาดที่มีบทบาทผู้นำภายในองค์กรควบคู่ไปด้วยนั้น ทำให้เขาต้องเรียนรู้และปรับตัวฝ่ากระแส Digital Disruption ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมหัวใจหลักสำคัญที่เขาใช้ในการบริหารคนภายในองค์กร “บริบทในปัจจุบันเรามักจะเห็นการลดกฎและกรอบต่างๆ ที่ไม่จำเป็นเพื่อให้บริษัทคล่องตัวมากขึ้น เช่นเดียวกับการทำงานที่เปลี่ยนวิถีและสไตล์อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เกิดภาพว่าการบริหารยุคใหม่นั้นจะทันสมัยกว่าแต่ก่อน ไม่มีกฎระเบียบหรือเจ้ายศเจ้าอย่าง กลไกจึงแตกต่างจากในอดีตมาก เช่น โครงสร้างทีม วิธีการบริหารคน และการกำกับดูแล […]Read More

พลังบวก เปลี่ยนสังคม

เรื่อง : ตติยา แก้วจันทร์ หากถามคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยต้องรู้จักชื่อของ ‘ฌอน บูรณะหิรัญ’ นักคิด นักเขียน เจ้าของหนังสือ Best Seller ‘51 ศาสตราวุธสู่จุดสูงสุดของชีวิต’ และ ‘อิทธิพล’ ชายผู้เป็นอินฟลูเอนเซอร์คนสำคัญบนโลกออนไลน์ที่มักจุดประกายมุมมองใหม่ๆ ให้สังคมอยู่เสมอ จากเด็กหนุ่มที่กำลังศึกษาด้านปรัชญาและจิตวิทยาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ตัดสินใจพักการเรียนในระบบเพื่อออกมาค้นหาตนเองและทำตามความฝันในการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยมีความเชื่อว่าต้องเป็นคนมี ‘ชื่อเสียง’ เสียก่อน คำพูดจึงจะมีน้ำหนักและมีคนฟัง ฌอนกลายเป็นคนหนุ่มที่มีบทบาทในการส่งต่อแนวคิดพลังบวกผ่านโลกออนไลน์ รวมถึงการทำรายการสัมภาษณ์คนมีชื่อเสียงเพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจ จนกลายเป็นแบบอย่างที่วัยรุ่นหลายคนชื่นชม ส่วนเคล็ดลับความสำเร็จของเขาอยู่ที่การสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ สุขภาพ การเงิน และการมีเวลาได้ทำในสิ่งที่รัก หากถามว่าชีวิตของเขาประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง ฌอนตอบว่าสำเร็จตามความมุ่งหวังแล้วทั้ง 100% ส่วนที่เหลือในวันนี้คือของแถมที่ล้ำค่า “หลายคลิปที่ผมทำ มีทั้งกษัตริย์ดูไบ ภูฏาน นักแสดงฮอลลีวูด และบุคคลที่มีอิทธิพลของโลกอีกมากมายที่แชร์ออกไป ถูกแปลเป็นร้อยภาษา ความฝันที่ผมมีตั้งแต่เด็กคือการได้กล่าวปราศรัยหรือให้ข้อมูลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ผมมีมาร์ติน ลูเธอร์ คิง และมหาตมะ คานธี เป็นต้นแบบ ในวันนี้ความรู้สึกแบบนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีผู้ที่มีอิทธิพลมากมายเข้าถึงคำพูดและความคิดของผม พร้อมทั้งได้ช่วยกันกระจายออกไปทั่วโลก” นอกจากนี้ ฌอนยังดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ต๊อท […]Read More

ความสำเร็จที่มาพร้อมความสุข

เรื่อง : ตติยา แก้วจันทร์ ‘ปลาวาฬ-วรสิทธิ อิสสระ’ ทายาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งเครือชาญอิสสระ เจ้าของโรงแรมศรีพันวา ภูเก็ต และบาบา บีช คลับ คือผู้บริหารหนุ่มที่เคยตัดสินใจทิ้งงานด้าน Business Development ที่โรงแรมหรูในไอร์แลนด์ เพื่อกลับมารับหน้าที่ดูแลโรงแรมซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวอย่างเต็มตัว นอกจาก ‘สงกรานต์ อิสสระ’ คุณพ่อซึ่งเป็นไอดอลคนสำคัญแล้ว เขายังมี ‘Robert H. Burns’ ผู้ก่อตั้งโรงแรมรีเจ้นท์นานาชาติ และเป็นผู้ก่อตั้งพัฒนาโรงแรมหรู Grand Villa Feltrinelli ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในอิตาลี เป็นโรลโมเดลด้านการบริหารงาน “ผมให้ความสำคัญมากกับการสร้างทีมงานให้แข็งแกร่ง เพื่อที่จะมาเป็นแขนเป็นขาให้กับบริษัท การมายืนในจุดนี้ต้องถือว่าโชคดีที่ได้ทีมงานที่ดี ความสำเร็จมันวัดกันด้วยยอดขายไม่ได้ เมื่อผมมีความสุขกับงาน มันจะถูกถ่ายทอดความสุขต่อไปยังทีมงาน ทีมงานก็จะมีความสุขและความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท” การบริหารงานภายใต้บังเหียนของผู้บริหารหนุ่มคนนี้เน้นความรวดเร็ว เพราะโดยส่วนตัวเขาเป็นคนไม่ชอบพูดอะไรซ้ำๆ ดังนั้น คนที่ทำงานด้วยต้องวิ่งให้ทันยุคสมัย โดยเฉพาะงานบริการซึ่งเป็นงานที่ละเอียด ชายหนุ่มยืนยันว่าความสำเร็จไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเรื่องของการวางแผนและลงมือทำ “หากเราใช้เวลาสิ้นเปลืองไป เราอาจจะด้อยกว่าคู่แข่ง หมั่นศึกษาทั้งคู่แข่งและคู่ค้าเพื่อให้ตัวเองได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในภาพรวม หากรู้เขารู้เราจะช่วยในเรื่องกระบวนความคิดในการทำแผนกลยุทธ์ต่างๆ และจะช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจลงได้หากมีข้อมูลรอบด้าน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อองค์กรที่บริหารดูแลอยู่ให้เดินไปในทิศทางที่วางเป้าหมายไว้ “เนื่องจากเศรษฐกิจทุกวันนี้ไม่แน่นอน ผมและทีมงานจะค่อนข้างเปิดกว้างและมองตลาดในภาพรวม ข้อดีของเราคือผมและทีมงานวางแผนการตลาดกันแบบไม่หยุดนิ่ง […]Read More

ท่องไว้ 1 คน 1 ล้านบาท!!อย่าประมาทการเล่นทีเผลอของโควิด-19

แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยตอนนี้ จะพอเบาใจขึ้นมาได้หน่อย เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อมีตัวเลขเฉลี่ยเหลือวันละแค่หลักหน่วย  จนทำให้เกิดการเรียกร้องให้ออกมาขายของกันได้เสียที  ตรงจุดนี้แหละที่ทำให้แอบกังวลพอควรว่า ‘ภาวะอัดอั้น’ ของคนที่ ‘ร้าง’ กิจกรรมทางสังคมไปนานๆ จะก่อให้เกิดความประมาทในการดูแลตัวเองเมื่อได้กลับสู่สังคมที่รอคอยอีกครั้งหรือไม่?  ตัวอย่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็มีการโชว์ให้เห็นแล้วว่า แค่ ‘ประมาท’ หรือ ‘เผลอ’ ผ่อนคลายสิ่งที่เคยทำมาจากช่วงหลายเดือนที่แสนขมขื่นนั้นเป็นอย่างไร เพราะแค่เพียงแว่บเดียว!! ก็มีผู้ติดเชื้อพุ่งจากหลักพันไปเป็นหลักหมื่นกว่าๆ ได้เลย  ลองดูได้จากจำนวนตัวเลขของประเทศที่ใครๆ ก็ชื่นชมในตอนแรกว่ารับมือกับโควิด-19 ได้ดีมากๆ อย่าง สิงคโปร์ และรัสเซีย แต่พอคลายมาตรการผ่อนปรน ปล่อยให้เดินทางเข้าออกประเทศ และพื้นที่ต่างๆ อย่างอิสระ รวมถึงยังเปิดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสบาย ก็ทำให้เกิดตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้น จนไม่รู้จะรับมือไหวได้แค่ไหน?  …อย่าพยายามคิดว่าทุกอย่างมันผ่านไปแล้ว ผ่านไปเลย และหลงมั่นใจว่ากิจกรรมมันกล้าเปิด ก็ต้องเพลิดเพลินกันให้สุด  แน่นอนว่า การที่ไทยเราสามารถผ่อนปรนมาตรการได้นั้น มันก็ต้องสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ที่ออกมาเตือนประเทศที่อยากผ่อนปรนการล็อกดาวน์ให้มีการพิจารณาคุณสมบัติของประเทศได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งไทยเราก็เข้าข่ายนั่นแหละ!!  ไม่ว่าจะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในประเทศได้แล้ว สามารถระบบสุขภาพต้องสามารถตรวจหาผู้มีอาการของโรค ตรวจหาเชื้อ แยกตัวและทำการรักษา พร้อมทั้งทำการสอบสวนโรค  ความเสี่ยงระดับน้อยที่สุดในสถานที่เสี่ยงภัยมากที่สุด เช่น บ้านพักคนชรา  โรงเรียน สำนักงาน […]Read More

ชีวิตที่สมดุล กับ ‘หมวก’ หลายใบ

เรื่อง : สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ สำหรับโลกแห่งการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจ เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับทฤษฎี ‘หมวก 6 ใบ’ ของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน กันมาบ้าง เพราะเป็นหลักคิดที่ช่วยปรับสมดุลชีวิตและหน้าที่การงานในบทบาทที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างลงตัว ซึ่ง กุลวัชร ภูริชยวโรดม CEO หนุ่มแห่งบริษัท โชนัน จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหาร Chounan ยึดถือและปฏิบัติอย่างแน่วแน่มั่นคงมาโดยตลอด แม้จะมาด้วยดีกรีการศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัรามคำแหง และปริญญาโทจาก University of Illinois at Urbana-Champaign สหรัฐอเมริกา แต่กุลวัชรก็ยังเป็นคนหนุ่มที่มุ่งแสวงหาความรู้ พัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง และมีความใฝ่ใจในการทำธุรกิจมาตั้งแต่แรกเริ่ม จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารโชนัน (Chounan) ด้วยวัยเพียง 40 ปี ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดา แน่นอนว่าหลักคิดสำคัญที่เขายึดถือและปรับใช้ตลอดมา คือการหาสมดุลระหว่างการทำงานอย่างชาญฉลาด (Work Smart) ควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตที่ถึงพร้อมให้กับครอบครัวและสังคม เป็น ‘การสลับเปลี่ยนหมวก’ ที่เขาพร้อมจะทำให้ดีในทุกด้านอย่างจริงจัง เรียนรู้จากความผิดพลาด แก้ไขและปรับปรุง เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการภายใต้การดูแล […]Read More

‘ปรัชญา’ สูตรลับ ของอาหารเมือง

เรื่อง : ตติยา แก้วจันทร์ จากเชฟอาหารญี่ปุ่นของโรงแรม 5 ดาวชื่อดัง ผันตัวมาเป็นเจ้าของร้านสไตล์ Chef’s Table แห่งเดียวในจังหวัดเชียงราย เขาคัดสรรวัตถุดิบพื้นเมืองของดินแดนล้านนามาเนรมิตให้กลายเป็นเมนูเลิศรสร่วมสมัย ปรุงอาหารด้วยหัวใจ อาจเป็นกลเม็ดเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ร้านอาหาร ‘Locus Native Food Lab’ มีลูกค้าอยากมาลิ้มรส แม้จะต้องจองคิวล่วงหน้านานนับเดือนก็ตาม ‘อย่าเฮ็ดก้อยๆ กั๊กๆ’ คือรอยสักบนข้อมือของ ‘เชฟก้อง-ก้องวุฒิ ชัยวงศ์ขจร’ หนุ่มกรุงเทพฯ ดีกรีศิษย์เก่าหลักสูตร Grand Diploma จากสถาบันเลอ กอร์ดอง เบลอ ดุสิต ที่เขาใช้เตือนใจตัวเองว่าอย่าทำอะไรแบบครึ่งๆ กลางๆ เช่นเดียวกับการบุกเบิกทำธุรกิจร้านอาหารแห่งนี้ เชฟก้องบอกเราอย่างถ่อมตัวว่า Locus Native Food Lab เป็นเพียงร้านอาหารเล็กๆ ที่เขาดูแลและบริหารจัดการเองอย่างใส่ใจ แต่ในวันนี้ธุรกิจแห่งรสชาติของเขาไม่ได้เล็กตามขนาดร้าน ทว่ายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องและถูกพูดถึงในวงกว้าง ‘ผลประกอบการ’ อาจเป็นความสำเร็จเพียงส่วนหนึ่งที่คนภายนอกมองเห็นได้ ซึ่งถือเป็นผลตอบแทนให้กับครอบครัวและคุณภาพชีวิตของบุคลากรภายในร้าน แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปกว่านั้น คนหนุ่มรุ่นใหม่เช่นเขากลับมองว่าสิ่งที่ชี้วัดความสำเร็จจริงๆ แล้วคือ ‘ความสุขทางใจ’ มากกว่า “ต้องคำนึงถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมด้วยครับ ว่าเราต้องสามารถสร้างประโยชน์อะไรจากสัมมาชีพของตัวเองได้บ้าง […]Read More

ลูกไม้ใกล้ต้น ของคนกรุงเทพฯ

เรื่อง : สุกฤษฎิ์ บูรณสรรค์ ภาพ : กิตติชัย เล็กสุวรรณ์ ขึ้นชื่อว่าตำแหน่งงาน ‘โฆษก’ แล้ว การประสานงานระหว่างภาคส่วนต่างๆ คือสิ่งที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะ ‘โฆษกกรุงเทพมหานคร’ ที่มีหน้าที่ผลักดันและสร้างความเข้าใจเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี ย่อมเป็นภาระที่หนักหนาสาหัส GM มีโอกาสพูดคุยกับ ร้อยตำรวจเอก พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร ลูกชายคนเล็กของ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คนปัจจุบัน ที่ฉายให้เห็นมุมมอง ความคิด และทัศนคติที่น่าสนใจ พงศกร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อย เข้ารับราชการตำรวจอยู่พักหนึ่ง ก่อนตัดสินใจทำตามความปรารถนาในด้านการเมือง ศึกษาต่อที่อังกฤษที่ University College London ในคณะประศาสนศาสตร์ โดยได้รับทุนจากทางรัฐบาล เข้าศึกษาต่อที่ Oxford University ด้านนโยบายสาธารณะ แน่นอนว่าการตัดสินใจเหล่านี้ ห่างไกลจากที่บ้านขวัญเมืองคิดไว้ เพราะเส้นทางการเมืองคือตัวเลือกสุดท้ายที่ทางบ้านอยากให้เป็น หลังสำเร็จการศึกษา เขาเข้ารับตำแหน่งโฆษกแห่งกรุงเทพมหานคร ทำงานสำคัญในการประสานหน่วยงานต่างๆ ของกรุงเทพฯ รวมทั้งผลักดันนโยบายสำคัญให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม […]Read More