fbpx

ทำความรู้จักกับ AQI ที่ไม่ได้มีแค่ PM2.5

มลพิษทางอากาศ

ในโลกที่เต็มไปด้วยความเจริญวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้คนรอบด้าน แต่ในขณะเดียวกัน GM Liveบอกได้เลยว่าคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมกลับส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนอย่างมาก โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศที่นับวันมีแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบทางเดินหายใจและโรคอื่นๆ อย่างยิ่ง

ด้วยเพราะ “อากาศ” คือสิ่งจำเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยก็ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างที่คุ้นชินกันดีว่า “แพ้อากาศ” นั่นเอง ซึ่งแต่ละคนก็แสดงอาการออกมาแตกต่างกัน

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าในแต่ละวันมลพิษในอากาศมีมากน้อยแค่ไหน ต่อคำถามนี้ GM Live ขออาสาพาไปทำความรู้จักกับ AQI ที่ไม่ได้มีแค่ PM2.5ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ก่อปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจอยู่ในขณะนี้ และช่องทางการเช็คค่า  AQI ก็ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส เพราะเป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือมือถือของเรานั่นเองแถมมีแอปพลิเคชันมากมายที่ให้บริการตรวจสอบค่า AQI ฟรี เช่น AirVisual, Air4Thai

สำหรับค่า AQI หรือAir Quality Indexคือ ดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่

  1. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
  2. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
  3. ก๊าซโอโซน (O3)
  4. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
  5. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
  6. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

โดยกรมควบคุมมลพิษเป็นแหล่งข้อมูลและกำหนดมาตรฐาน AQI ของประเทศไทย ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป และใช้สีในการแบ่งระดับของผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งหาก AQI เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าสูงกว่า 100 ก็จัดเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ซึ่งดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง มากกว่า 300 ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป แต่หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 นั้นแสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นๆ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราแล้ว

การแบ่งระดับค่า AQI และความหมาย

ค่า AQI แบ่งออกเป็นหลายระดับ แต่ละระดับมีสีและคำอธิบายที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจที่ง่ายขึ้น ดังนี้

  • ดี (Good) : ค่า AQI ต่ำ (0-50)  – อากาศสะอาด เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
  • ปานกลาง (Moderate) : ค่า AQI ปานกลาง (51-100)  – อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
  • ไม่ดีต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มที่ละเอียดอ่อน (Unhealthy for Sensitive Groups) : ค่า AQI เริ่มสูงขึ้น (101-150)  –  กลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  • ไม่ดีต่อสุขภาพ (Unhealthy) : ค่า AQI สูง (151-200) – ทุกคนควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  • ไม่ดีต่อสุขภาพมาก (Very Unhealthy) : ค่า AQI สูงมาก (201-300) – ทุกคนควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน
  • อันตราย (Hazardous) : ค่า AQI สูงสุด (300+) –  ทุกคนควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน และควรใช้มาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด

ตารางเปรียบเทียบค่า AQI และผลกระทบต่อสุขภาพ (ตัวอย่าง)

ค่า AQIระดับผลกระทบต่อสุขภาพคำแนะนำ
0-50ดีไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
51-100ปานกลางกลุ่มเสี่ยงอาจมีอาการระคายเคืองควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
101-150ไม่ดีต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มที่ละเอียดอ่อนกลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเด็กและผู้สูงอายุควรอยู่ภายในอาคาร
151-200ไม่ดีต่อสุขภาพทุกคนอาจมีอาการระคายเคืองควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
201-300ไม่ดีต่อสุขภาพมากทุกคนควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านควรใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น
300+อันตรายทุกคนควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด

หมายเหตุ : ตารางข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง ค่า AQI และผลกระทบต่อสุขภาพอาจแตกต่างกันไปตามมาตรฐานของแต่ละประเทศ

ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ

ช่วงเวลาเฉลี่ย และหน่วยสารมลพิษทางอากาศที่ใช้ในการคำนวณ

• PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ มคก./ลบ.ม. หรือ µg./m3

• PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ มคก./ลบ.ม. หรือ µg./m3

• O3 เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ส่วนในพันล้านส่วน หรือ ppb หรือ 1/1,000,000,000

• CO เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ส่วนในล้านส่วน หรือ ppm หรือ 1/1,000,000

• NO2 เฉลี่ย 1 ชั่วโมง : ส่วนในพันล้านส่วน หรือ ppb หรือ 1/1,000,000,000

• SO2 เฉลี่ย 1 ชั่วโมง : ส่วนในพันล้านส่วน หรือ ppb หรือ 1/1,000,000,000

ทั้งนี้ส่วนค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 นั้นเป็นคนละตัวกับค่า AQI โดยกรมควบคุมมลพิษกำหนดค่ามาตรฐานของประเทศไทย โดยใช้ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ซึ่งหากค่า PM2.5 สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

แต่ไม่ว่าค่าเฉลี่ยของดัชชีคุณภาพอากาศจะอยู่ในระดับใดก็ต้องดูแลสุขภาพตัวเองซึ่งการใส่หน้ากากอยามัยยังคงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญในการดูแล ปัองกันตัวเอง

ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

        : กรมประชาสัมพันธ์

ภาพ : https://www.istockphoto.com

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ