fbpx

มนุษย์จะอยู่อย่างไรคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ล้านปี

ครั้งสุดท้ายที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกสูงถึงระดับนี้คือราว 5.3 ถึง 2.6 ล้านปีก่อน ซึ่งจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าระดับ CO2 จะสูงถึง 500 ppm ในเวลาเพียง 30 ปีเท่านั้น

Reasons to Read

  • ครั้งสุดท้ายที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกสูงถึงระดับนี้คือช่วงสมัยไพลโอซีน (Pliocene Epoch) หรือราว 5.3 ถึง 2.6 ล้านปีก่อน
  • จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าระดับ CO2 จะสูงถึง 500 ppm ในเวลาเพียง 30 ปี

ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในชั้นบรรยากาศพุ่งสูงถึง 415.39 ส่วนต่อล้านส่วน (Parts Per Million หรือ ppm เป็นหน่วยที่ใช้วัดส่วนของปริมาณก๊าซพิษในปริมาณของอากาศล้านส่วน) ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ล้านปี

นักวิทยาศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟเมา นาโลอา รัฐฮาวาย ของสหรัฐ ชี้ว่าระดับ CO2 เพิ่มขึ้น 3 ppm ในแต่ละปี โดยเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 2.5 ppm ในทศวรรษที่ผ่านมา

‘ราล์ฟ คีลลิง’ (Ralph Keeling) ผู้อำนวยการโครงการ Scripps CO2 กล่าวว่า “มันเกิดขึ้นแบบนี้ทุกปี เราควรตระหนักว่าสิ่งนี้ไม่ควรเกิดขึ้น และมันไม่ใช่เรื่องปกติ โดยการเพิ่มขึ้นอย่างไม่คงที่ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานและสิ่งที่เรากระทำต่อโลก และเป็นไปได้ว่าเราจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ”

ครั้งสุดท้ายที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึงระดับนี้คือช่วงสมัยไพลโอซีน (Pliocene Epoch) หรือราว 5.3 ถึง 2.6 ล้านปีก่อน และจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์น่าจะสูงถึง 500 ppm ในเวลาเพียง 30 ปี

ทั้งนี้ ‘ชาร์ลส เดวิด คีลลิง’ (Charles David Keeling) พ่อของของ ราล์ฟ คีลลิง คือบุคคลสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อวัดปริมาณความเข้มข้นของ COในชั้นบรรยากาศอย่างแม่นยำ โดยริเริ่มในปี 1958 ที่หอดูดาว Mauna Loa และจากประวัติที่ยาวนานถึง 61 ปีนั้นพิสูจน์แล้วว่านี่คือมาตรฐานที่ดีที่สุดในโลกสำหรับการวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น

การแสดงผลของกราฟ ‘Keeling Curve’ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศพุ่งสูงขึ้นมาตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 วูล์ฟกัง ลุชต์ (Wolfgang Lucht) จากสถาบันพอตส์ดัมเพื่อการวิจัยผลกระทบจากภูมิอากาศ (Potsdam Institute for Climate Impact Research: PIK) ซี่งเป็นสถาบันวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนีเพื่อตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในด้านการเปลี่ยนแปลงของโลก ผลกระทบต่อสภาพอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า

ตัวเลข CO2 ที่ตรวจวัดได้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์เราไม่ได้เดินตามแนวทางที่จะปกป้องสภาพภูมิอากาศเอาเสียเลย ตัวเลขของก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นทุกปีๆ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มปริมาณ CO2 ทั้งๆ ที่เราควรจะต้องทำให้ตัวเลขนี้หยุดนิ่งลง

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ