อย่าเพิ่งหอบหนี้หนีโควิด…รัฐบาลพร้อมช่วยแล้ว
เรื่อง: Mr. Brandon
ตั้งแต่ต้นปี 2020 ชีวิตพวกเรานี้ช่างเข้มข้นเสียเหลือเกิน หลายเรื่องมักไกลตัวตั้งแต่ข่าวไฟป่าออสเตรเลีย จนมาถึงบ้านเราเองข่าวน่าเศร้าสลดที่เราไม่ควรพูดถึงก็มีเป็นระลอกเรื่อยมา กระทั่งถึงวันที่เรากำลังเผชิญวิกฤติพร้อมกันทั่วโลกอย่างโรคระบาด COVID-19 ไม่ใช่เรื่องกลตัวอีกต่อไป แล้วพายุที่กำลังถาโถมอีกระลอก 2 นั่นคือ ปัญหาทางการเงินที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่าง ‘หนี้สิน’ ที่กำลังส่งบิลมาถึงบ้านคุณรวดเร็วกว่าถุงยังชีพเสียอีกอ่านครับ
ในขณะที่ทำกคนกำลังได้รับผลกระทบทุกภาคส่วน ตั้งแต่ กลุ่มธุรกิจ ผู้ประกอบการ ลูกจ้าง พนักงาน จากผลกระทบการปิดเมือง บางคนตกงานขาดรายได้ และสัญญาณว่ากำลังจะตกงานในเวลาอันใกล้นี้ ใช่ครับ ผลที่ตามมาอย่างหนักคือ หนี้สิน นั่นเอง
ทั้งนี้ ‘คุณสุรพล โอภาสเสถียร’ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ได้กล่าวถึง วิธีจัดการกับหนี้สินในช่วงวิกฤต COVID-19 ทาง Facebook Page มนุษย์ต่างวัย ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
1.สำรวจรายได้ – ก่อนเกิดวิกฤตเรามีรายได้เท่าใด และหลังวิกฤตเรามีรายได้เท่าใด 2.สำรวจหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็น ค่าบ้าน ค่าบัตรเครดิต ค่าผ่อนรถ รวมเบ็ดเสร็จทุกอย่างเป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นให้เข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้
2 ใช้เงินเท่าที่จำเป็น – เตรียมอาหาร สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ลดใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และท่องเที่ยว นับเป็นการช่วยเราแบ่งแยกการใช้เงินได้เป็นอย่างดี
3 ออมเงิน – เมื่อถึงคราววิกฤติเช่นนี้แล้ว ต้องรู้จัก อดออม อดทน ไม่กิน ไม่ใช้ในยามที่ไม่จำเป็น จนถึงวันนี้แล้วสามารถพิสูจน์ได้ว่า คนที่มีเงินออมกับคนที่ไม่มีเงินออม แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คนที่มีการวางแผนทางการเงินที่ดี จะมีเงินอยู่ได้อย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการช่วยเหลือประชาชน ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ระบาด จึงต้องมีมาตรการดูแลเยียวยาประชาชนเพราะมีบางส่วนเริ่มตกงาน ถูกเลิกจ้าง โดยหลักแล้วจะเน้นไปที่กลุ่มกลุ่มลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมก่อนเพื่อนการช่วยเหลือเยียวยาอย่างเต็มที่ หลักๆ คือรัฐบาลจะช่วย 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับลูกจ้างที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
1.เงินเดือนละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ส่วนผู้อยู่ในระบบประกันสังคม จะได้ในส่วนสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน
2.มีสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน
3. สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน แต่ต้องมีหลักประกัน
4.โรงรับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้เย อัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน
5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็น ส.ค. 2563
6.เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็นเวลา 25,000 บาท
7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรการแพทย์
8.ฝึกอบรมมีเงินใช้ รวมทั้งนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้
ส่วนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโควิด-19
1.สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย3% 2 ปีแรก
2.ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ
4.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ
5.ยืดภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำมัน
6.ยกเว้นอากรขาเข้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโควิด
7. ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้เจ้าหน้าหนี้ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง ตั้งแต่ 1 ม.ค.63-31 ธ.ค.64 เพื่อไม่ต้องไปยึดรถ
…โรคก็ต้องหนี…หนี้ก็สำคัญนะครับ