2010-2020 โลกยังเป็นเรื่องที่เราคาดเดาไม่ได้
ที่จริงวันนี้ 27 มีนาคม ผมต้องอยู่ที่บ้านโคราช
วาระที่แม่มีอายุ 70 ปี ผมกับน้องสาวคุยกันว่าจะจัดงานนิดๆ หน่อยๆ หาเหตุให้คนในครอบครัวมาเจอกันพร้อมหน้า ชวนเพื่อนสนิทสามสี่คนมาเที่ยว มาล้อมวงกินข้าวกินเหล้าเพื่อนหนุ่ม ธีร์ อันมัย รับปากจะถือกีตาร์ขึ้นรถทัวร์มาจากอุบลฯ เขาสนับสนุนการจัดงานเต็มที่ และยินดีมาช่วยร้องเพลงลูกทุ่งให้แม่ฟัง เพราะรู้ดีว่าตั้งแต่เดินได้ ลูกชายบ้านนี้ก็แทบไม่เคยเดินย้อนกลับภูมิลำเนาเราเลือกเย็นวันที่ 28 มีนาคม เป็นวันงาน น้องสาวต่อเติมบ้านสวน เคลียร์สถานที่ไว้พร้อมต้อนรับ เพื่อนศิลปินเขียนพอร์เทรตแม่ เตรียมมอบให้เป็นของขวัญมันน่าจะเป็นวันที่ดี ทุกคนรอคอยวันนี้ โดยเฉพาะแม่ น้องสาวส่งข่าวมาเป็นระยะว่าแม่ดีใจอย่างออกนอกหน้า ถามถึงเพื่อนคนนั้นคนนี้ของผม ถามถึงหลานสาวคนเดียวที่อยู่กรุงเทพฯ ฟังว่าเธอน่าจะมางานนี้ด้วย ถาม และนับวันรอโควิด-19 ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างประเมินสถานการณ์แล้ว ผมบอกทุกคนว่ายกเลิก อย่างน้อยก็เลื่อนออกไปก่อน ยามนี้เราทำได้เท่านี้จริงๆไม่มีใครสักคนคัดค้าน คะยั้นคะยอ หรือดื้อรั้นให้เดินหน้า มันเป็นภาวะที่เราต้องหยุดและยอมอย่างแท้จริงบินหลา สันกาลาคีรี ส่งเสียงเศร้าๆ บอกว่าเข้าใจ ขอให้ทุกคนแข็งแรง ปลอดภัยนอกจากแม่ผม เขาน่าจะอกหักที่สุด เพราะตามแพลน จบงานที่โคราชแล้วรุ่งขึ้นเราจะขับรถล่องใต้ เป็นทริปยาวราวหนึ่งสัปดาห์ เป้าหมายอยู่ที่ชายทะเลสงขลา บ้านของนักเขียน ‘เจ้าหงิญ’ แพลนพัง สิ่งที่คิดคาดหวัง มันเป็นเพียงแค่ความคิด
เมื่อสิบปีที่แล้ว
แสวงหาความจริง จดจำเพียงสิ่งที่ผู้ยิ่งใหญ่ต้องการให้จดจำขณะที่อีกฟากฝั่ง เสียงตะโกน ‘เหี้ยสั่งฆ่า ห่าสั่งยิง’ เสียงตะโกนแห่งความเจ็บแค้นก้องดังสวนสื่อกระแสหลักออกไปดูเหมือนจะดังอยู่แต่ในหมู่คนเสื้อแดงอย่างไรก็ตาม นี่แสดงหลักฐานว่าเริ่มมีคนมองเห็นตัวละครที่พรางซ่อนอยู่ข้างหลัง เป็นผู้บงการที่มีอำนาจเหนือ เกมมิใช่มีเพียงผู้เล่นอยู่ในสนาม ณ เวลานั้นเอง ‘ตาสว่าง’ เกิดเป็นคำใหม่ ความหมายใหม่ ที่ใช้กันในท่ามกลางความเงียบงันอันแสบแก้วหูคนเริ่มเรียนรู้แล้วว่านักการเมืองตัวใหญ่ที่สุดคือใคร มีคนเข้าใจแล้วว่าทำไมรัฐประหารกี่ครั้งๆ ก็ไม่เคยต้องรับผิด และแท้จริง ‘ตุลาการภิวัตน์’ ถ้อยคำประดิษฐ์ของ ธีรยุทธ บุญมี คือบ่อนทำลายเวทีแล้วเวทีเล่า หนังสือเล่มแล้วเล่มเล่า น้ำตาจากผู้ถูกกระทำคนแล้วคนเล่า รักและศรัทธาของผมมลายสลายลง ด้วยจำนนต่อหลักฐานสิ่งที่เคยคิด มันผิด สิ่งที่เคยรัก มันไม่ใช่ สิ่งที่เคยละเว้นไว้ร่วงหล่นลง
19.09.2010
4 ปี ให้หลังรัฐประหาร 4 เดือน หลังเหตุการณ์ฆ่าที่ราชประสงค์ เกิดการรวมตัวของ 7 คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้ชื่อ ‘นิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร’ ผมคิดว่านี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นจุดเปลี่ยนของการมองโลกแบบเดิมๆ แบบเชื่อมั่นคนดี ให้คนดีปกครอง มาสู่การทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างอำนาจ หลักสิทธิเสรีภาพ นิติรัฐ และเสรีประชาธิปไตยสังคมของเรามีข้อขัดแย้งรุนแรงอันสืบเนื่องเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายมาโดยตลอด (บางครั้งใช้กฎหมายห่อปืน) แต่ไม่เคยมีใคร และไม่เคยมีครั้งไหนที่กฎหมายถูกอธิบายอย่างกระจ่างแจ้งต่อหน้าสาธารณะได้เรียบง่ายเท่าครั้งนี้ผู้พูด พูดเคลียร์ มีหลักการ เป็นเหตุเป็นผลผู้ฟัง เข้าใจ เข้าถึง “กฎหมายคืออำนาจ มันสามารถทำลายล้าง ช่วงชิง และสร้างความชอบธรรมให้ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ เมื่อนักกฎหมายรับใช้คณะรัฐประหาร ให้อำนาจคณะรัฐประหาร ก็เท่ากับว่ากำลังทำลายราษฎร ทั้งที่อำนาจทั้งหลายเป็นของราษฎร และต้องเป็นไปเพื่อราษฎร สังคมไทยกำลังขัดแย้งกันอย่างรุนแรงก็เพราะว่าอำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของราษฎรอย่างแท้จริง” วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าว ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวว่า โดยตัวของมันเอง คณะรัฐประหารหาได้มีน้ำยาอันใด แต่ที่มีก็เนื่องจากการใช้กระบวนการทางกฎหมาย มีศาลรับรอง รวมทั้งมีบุคคลมากบารมีรัฐประหารที่ปิยบุตรพูด หมายถึงกันยายน 2006 เขาคงนึกไม่ถึงหรอกว่า พฤษภาคม 2014 จะมีรัฐประหารอีกครั้ง และเว็บไซต์ www.enlightened-jurists.com ที่เปิดขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ข่าวสารทางกฎหมาย มีบทความ บทสัมภาษณ์ ทั้งจากคณาจารย์และนักศึกษา เป็นพื้นที่ของการเรียนรู้เพื่อนิติรัฐอย่างแท้จริง จะถูกสั่งปิดใช่–เมื่อเสียงปืนดัง ทุกอย่างก็เงียบไม่ว่าจะอย่างไร ความรู้มันถูกเปิดออกไปแล้ว ข้อเสนอต่างๆ ไม่ว่าการโต้แย้งคำพิพากษาเรื่องการยึดทรัพย์ 3.6 หมื่นล้าน, คดีที่ดินรัชดาฯ, กระทั่งการลบล้างผลพวงรัฐประหาร และการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งสิ้นทั้งปวงล้วนถูกเผยแพร่ไปแล้ว กรงขังพังพินาศ ข้อมูลแสดงตัวอยู่ในที่แจ้ง ถัดจากนี้ย่อมเป็นเสรีภาพของดุลพินิจส่วนบุคคล
ทศวรรษแห่งกฎหมาย
ผมเรียนมาทางอักษรศาสตร์ ใครคนอื่นก็คงมีพื้นฐานที่มาแตกต่างกันไป อาจจะบัญชี บริหาร แพทย์ เภสัช วิศวะ สถาปัตย์ ฯลฯ เราเชี่ยวชาญกันคนละเรื่อง และทั้งหมดทั้งมวลนั้นเราต่างมืดบอดเรื่องกฎหมาย ด้วยว่าไม่ได้ร่ำเรียนมาปัญหาก็คือ นี่เป็นวันเวลาของกฎหมาย กล่าวอย่างสั้นและง่ายที่สุด เราไม่มีวันเข้าใจสังคมไทยได้อย่างถ่องแท้เลย ถ้าไม่ขยับขยายพื้นที่ภูมิความรู้เดิมของเราไปยังโลกของกฎหมายนาทีนี้ ความเชื่อไม่มีประโยชน์ นาทีนี้ ประสบการณ์เก่าเป็นเรื่องไร้สาระ ถ้าไม่เปิดใจ ให้เวลาตัวเองศึกษาข้อกฎหมาย ไม่มีทางที่เราจะตาสว่าง 2010-2020 เมืองไทยเดินอยู่ในทศวรรษแห่งกฎหมาย โดยเนติบริกรหน้าเก่าที่สังวาสและสยบยอมอยู่ในนิทานเจ้าชายเจ้าหญิงเรื่องเก่า พวกเขาเขียนรัฐธรรมนูญให้ไดโนเสาร์ปกครอง ส่งเก้าอี้ให้ ส.ว. ทาส สมคบกันจ่ายงบประมาณบริหารแผ่นดินโดยไม่เห็นหัวประชาชนมองสัดส่วนการใช้เงิน เราจะรู้ว่าที่นี่ใครใหญ่มองรายละเอียดกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ เราจะเห็นว่ามันไม่เป็นธรรมนิติราษฎร์ลุกขึ้นมาบอกเราหลายครั้ง จนภายหลังยุติบทบาทไปวรเจตน์ ภาคีรัตน์ พยายามส่องทางฉายไฟครั้งแล้วครั้งเล่าจนถูกทำร้ายร่างกาย จนถูก คสช. ยัดคดีความซึ่งเป็นตลกร้ายอย่างยิ่งว่า คสช. หมดอำนาจไปแล้ว (ในชื่อเดิม) แต่คดีความนั้นก็ยังอยู่ เช่นเดียวกับที่วรเจตน์ยังคงทำหน้าที่นักกฎหมายมหาชนอย่างแน่วแน่ แม้มีชนักปักหลังถ้าจะมีใครสักคน สมควรถูกยกย่องเชิดชูให้เป็นบุคคลของทศวรรษนี้ ผมเห็นว่า ศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เหมาะสมที่สุดเพราะเขาคือผู้ให้แสงสว่าง
ทศวรรษต่อไป
จากเวทมนตร์ศักดิ์สิทธิ์และความรักที่แปรเปลี่ยน ลดลง กระทั่งเลือนหายอย่างเหลือเชื่อ จากความขัดแย้งอันฝังรากลึก และข้อกฎหมายซึ่งมีผู้เล่นหลักฝ่ายเดียว คุกคามกระทำย่ำยีอยู่ข้างเดียว ยังไม่ต้องพูดว่ายังหาทางออกจากหลุมไม่เจอ เมืองไทยและโลกทั้งใบกำลังเผชิญศึกหนักกับโควิด-19 และไม่รู้เลยว่าจะถึงวันสิ้นสุดได้อย่างไรโดยทั่วไป ความไม่รู้มักมีเสน่ห์บางอย่างแต่นั่นไม่ใช่ครั้งนี้ โควิด-19 มีแต่ความสูญเสียและทำลายล้างเหมือนเช่นที่ผ่านมา–โลกยังคงเป็นเรื่องที่เราคาดเดาไม่ได