fbpx

‘Medical 3.0: สร้างเสริมสุขภาพก่อนโรคภัยถามหา’

ในประเทศไทยขณะนี้ กับแวดวงการแพทย์ ข่าวคราวของการขยายขอบเขตหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ ’30 บาทรักษาทุกโรค’ ให้ได้อีก 31 จังหวัดที่เหลือ ที่จะครบถ้วนทั้งประเทศ เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง

แน่นอนว่า การเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างครอบคลุมนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งนำมาถึงการพูดคุยในประเด็น ‘การแพทย์ 3.0’ ที่เป็นนโยบายเชิงรุกครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น

ก่อนจะกล่าวกันถึงเรื่องการแพทย์ 3.0 นั้น อาจจะต้องอธิบายถึงรูปแบบและลักษณะการรักษาพยาบาลในยุคก่อนหน้า นั่นคือ

-การแพทย์ 1.0: สังเกตลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

-การแพทย์ 2.0: การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น

ซึ่งการแพทย์ 3.0 นั้น กล่าวโดยสรุป คือการรักษาในแบบเชิงรุก สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และป้องกันก่อนการเกิดโรค เน้นการดูแลสุขภาพจาก ‘การรักษาผู้ป่วยแบบเฉพาะโรค’ ไปสู่ ‘การป้องกันและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม’ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสองประการ คือ

-ช่วยเวลาที่มีสุขภาพที่ดี (Healthspan)

-อายุขัยที่ยืนยาว (Lifespan)

สองประเด็นนี้แตกต่างกันอย่างมาก นั่นเพราะในการแพทย์ยุคก่อนที่รักษาตามอาการ ได้ขยายอายุขัยให้ยืนยาว แต่หลายครั้ง ช่วงเวลาที่มีสุขภาพที่ดี กลับไม่ยั่งยืนหรือยืนยาว เป็นรูปแบบของคุณภาพชีวิตที่ไม่เหมาะสม

นอกจากนั้น แนวคิดนี้ยังให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่ละคน แทนที่จะใช้แนวทางเดียวกันสำหรับทุกคน ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงใช้ข้อมูลส่วนบุคคลรายคนเพื่อสร้างแผนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยอิงจากข้อมูลทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

การแพทย์ 3.0 จึงเป็นอะไรที่มากกว่าการรักษาตามสาเหตุและอาการ แต่เป็นการดูแลสุขภาพองค์รวมที่ต้นทาง ผสมผสานวิทยาการทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่อง ‘สุขภาพ’ เช่น การดูแลรักษาร่างกาย การทำให้ร่างกายแข็งแรงจากการออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพที่ครอบคลุม การดูแลโภชนาการที่เหมาะสม และปรับให้สอดคล้องกับแต่ละบุคคล

ข้อดีของการแพทย์ 3.0 นั้น นอกจากจะช่วยเพิ่ม Span ของอายุขัยและช่วงเวลาของสุขภาพที่ดีแล้ว ยังส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการพทย์ในระดับบุคคลและระดับประเทศ ลดงบประมาณด้านสาธารณะสุข สดต้นทุนการดูแลสุขภาพขององค์กรและบริษัท และเหนือสิ่งอื่นใด ช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชากรในรายบุคคลและองค์รวมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

แต่ทั้งนี้ การแพทย์ 3.0 คือการทำงานประสานกันของหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ไปจนถึงผู้ออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงเป็นสิ่งที่มีระดับของการเริ่มต้นที่ยากในช่วงแรก เพราะต้องพิจารณาจากหลายเหตุปัจจัย

ท้ายที่สุดนี้ การแพทย์ 3.0 ที่เน้นเชิงรุกด้านสาธารณสุข ก็ถือได้ว่าเป็นย่างก้าวสำคัญสำหรับการแพทย์ ในการสร้างเสริมสุขลักษณะและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร และช่วยให้กระบวนการทำงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมความต้องการของประชากร จึงอาจเรียกได้ว่า นี่คืออนาคตสำคัญทางด้านการแพทย์ที่จะต้องมุ่งหน้าไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อเป้าหมายของการมีสุขภาวะที่ดี

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ