fbpx

ฝายแกนดินซีเมนต์ ช่วยวิกฤตน้ำแล้ง-น้ำท่วม จริงหรือ ?

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายในหลายพื้นที่ GM Liveขอส่งกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมทุกคน พร้อมทั้งขอให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้และกลับเข้าสู้สภาพเดิมโดยเร็ว

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะส่งผลต่อภาคกลางเฉกเช่นเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 หรือไม่นั้นคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิดต่อไป

แต่สิ่งหนึ่งที่มีการกล่าวถึงจนเป็นกระแสข่าวว่านั่นคือ ฝายแกนดินซีเมนต์ ซึ่งเป็นดั่งนวตกรรมชาวบ้านที่คุ้นตาตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่ช่วยภาคการเกษตรได้เป็นอย่างดี และเพราะกระแสข่าวทีออกมา GM Liveจึงไปหาข้อมูลว่า ฝายแกนดินซีเมนต์ ช่วยวิกฤตน้ำแล้ง-น้ำท่วม จริงหรือ?

จากข้อมูลของเว็บไซต์ https://www.csdi.or.th/ นั่นนำมาสรุปได้ว่า ฝายแกนดินซีเมนต์เป็นนวัตกรรมสำคัญที่ใช้สู้กับปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม เป็นฝายชะลอน้ำชั่วคราวประเภทหนึ่ง มีความแข็งแรง กักเก็บน้ำได้ดี ที่สำคัญใช้ต้นทุนต่ำ ก่อสร้างได้เร็ว เพราะไม่มีโครงสร้างเหล็ก หิน และคอนกรีตเป็นส่วนประกอบแต่อย่างใด

โดยวัสดุหลักที่ใช้คือดินในบริเวณนั้น นำมาผสมกับปูนปอร์ตแลนด์ ประมาณ 10-30 ต่อ 1 ส่วน จนทำให้กลายเป็นดินดานเทียม นำมาใช้ทำเป็นฝายกั้นลำน้ำขนาดความกว้างในระดับ 20-100 เมตร โดยขุดแกนฝายและหูฝายสองข้างให้ลึกลงไปต่ำกว่าท้องธาร 4 เมตร วัตถุประสงค์เพื่อกักสายน้ำใต้ดิน ส่วนความสูงของฝายจะไม่ให้เกิน 2 เมตร  ปล่อยให้น้ำส่วนที่เกินจากนั้นไหลข้ามไปได้ ลดแรงปะทะจึงคงทน ลดตะกอนทรายหน้าฝายจึงทำให้ไม่ตื้นเขินง่ายสามารถกักเก็บน้ำไว้ในลำธารเดิมได้ตามธรรมชาติ

อีกทั้งฝายแกนดินซีเมนต์ มีต้นทุนต่ำ มีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง สามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนานกว่าฝายชั่วคราวแบบอื่นๆ ที่มีต้นทุนเท่ากัน การซ่อมบำรุงไม่ซับซ้อน สามารถใช้แรงงานในท้องถิ่นได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรเฉพาะ วัสดุหาได้ง่ายในพื้นที่ ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการขนส่ง

และเมื่อมีการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ก็จะมีปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นบริเวณหน้าฝาย สามารถนำไปใช้เพื่อการเกษตรในพื้นที่โดยรอบฝายและหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมแปลงใหญ่ ตลอดจนช่วยให้ปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการปลูกพืชหลายชนิดได้

นอกจากนั้นยังช่วยแก้ปัญหาความขาดแคลนน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาในพื้นที่ได้ด้วย ดั่งเช่นเขตเทศบาลเมืองแพร่ ดูแลประชาชน 70,000 คน 14,000 ครัวเรือน ทั้งยังช่วยกักเก็บน้ำใต้ดินทำให้มีบาดาลน้ำตื้นสำหรับอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี

และยังสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างกว้างขวาง ลดปัญหาการแย่งน้ำทำการเกษตรในฤดูแล้ง ลดการโยกย้ายแรงงานไปทำงานต่างถิ่น  และยังส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนอีด้วย

ทั้งยังเป็นการช่วยรักษาสภาพพื้นที่ต้นน้ำ สภาพลำน้ำ เกิดความชุ่มชื้นของผืนป่า เป็นแหล่งน้ำและอาหารของสัตว์ป่า สามารถชะลอและหน่วงน้ำ ป้องกันและบรรเทาความรุนแรงจากปัญหาอุทกภัย การพังทลายของตลิ่ง ดินโคลนถล่มและน้ำท่วมเฉียบพลัน อีกทั้งลักษณะทางน้ำล้นของฝายแกนดินซีเมนต์ยังคงเป็นทางสัญจรของสัตว์น้ำ โดยปลาชนิดต่างๆ สามารถวางไข่และแพร่พันธุ์ได้

นอกจากนั้นยังช่วยกักเก็บน้ำผิวดิน ลดปัญหาไฟป่าเนื่องจากป่ามีความเปียกชื้น อุ้มน้ำได้นานขึ้น ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงทะเลให้น้อยและช้าลง

และนี่คือคำตอบของคำถามที่ว่า ฝายแกนดินซีเมนต์ ช่วยวิกฤตน้ำแล้ง-น้ำท่วม จริงหรือ?

ข้อมูล : https://www.csdi.or.th/

ภาพ : http://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000033653

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ https://nbtworld.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220222154205921

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ