ประวัติศาสตร์แห่ง ‘เส้น’ เสิร์ฟความอร่อยแห่ง ‘ราเม็ง’ พอดีชาม
พูดถึงอาหารสาย ‘เส้นๆ’ ที่คนไทยมักคุ้นเคยกันดีนั้น นอกเหนือจากก๋วยเตี๋ยวและบะหมี่เหลืองที่มีให้ทานกันทุกหัวมุมเมืองแล้ว อาหารเส้นสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง ‘ราเม็ง’ ก็ดูจะตีขนาบเคียงคู่กันมาไม่แพ้กัน ซึ่งถ้าไม่นับลักษณะที่ต้องใช้ตะเกียบคีบ (หรือส้อมม้วน ตามแต่ละคนจะถนัด~) เป็นวิธีรับประทานแล้วนั้น ราเม็ง ก็มีความแตกต่างจากเพื่อนร่วมประเภทอยู่ไม่น้อย ทั้งเนื้อสัมผัส รสชาติ และวิธีการปรุงที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร
อันที่จริง ราเม็งญี่ปุ่น ก็ไม่ต่างอะไรกับอาหารเส้นๆ ของไทย เพราะมีรากเหง้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เพราะเหตุใด และกรรมวิธีไหน จึงสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้แยกขาดจากต้นทางได้อย่างที่เรียกว่า แทบไม่เหลือเค้าเดิม นี่คือเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และการได้รู้จักกับประวัติศาสตร์ของราเม็ง ก็อาจจะทำให้การคีบเส้นครั้งต่อไป สนุกสนาน และเอร็ดอร่อยยิ่งขึ้น
จากบะหมี่นวดมือ สู่ ‘ราเม็ง’
ถ้าหากจะให้จำเพาะเจาะจงลงไปถึงวันและเวลาที่แน่นอน ที่ ‘ราเม็ง’ ได้เข้ามาที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ ด้วยการไม่มีบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ชัดเจนว่า มีต้นสายธารมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะอักษรจีน (拉麺)อ่านออกเสียงว่า ‘ลาเหมี่ยน’ ที่แปลว่า ‘เส้นที่นวดด้วยมือ’ ซึ่งได้แผลงกลายเป็นคำว่า ‘ราเม็ง’ ในเวลาต่อมา
กระนั้นแล้ว หลักฐานที่มีการบันทึกถึงการแพร่หลายของเส้นราเม็ง เริ่มต้นในศตวรรษที่ 17 ในยุคสมัยของ โทกุกาวะ มิทสึกุนิ (徳川 光圀) ผู้เป็นไดเมียวคนที่สองแห่งยุคเอโดะ อันเป็นยุคสมัยที่มีการค้าขายกับต่างชาติอย่างเสรี รวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่ และมีการสร้างย่านที่อยู่อาศัยของชาวจีนในบริเวณที่จะกลายเป็นโยโกฮามา ฮาโกะดาเทะ และโกเบ ตามลำดับ
เวลาเลยล่วงมาจนถึงยุคศตวรรษที่ 20 เมื่อประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความเจริญ และเปิดรับวัฒนธรรมชาติตะวันตกให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ‘ร้านราเม็ง’ แห่งแรกของญี่ปุ่นในชื่อ ‘ไรไรเคน’ ได้เปิดตัวที่ย่านอาซากุสะ กรุงโตเกียว ที่ภายหลัง ไรไรเคน ได้แพร่ขยายสาขาไปทั่วประเทศ ทำให้ราเม็ง กลายเป็นอาหารที่แพร่หลาย และเกือบจะกลายเป็นอาหารประจำชาติ
โดยเฉพาะภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง มีเพียงเส้นราเม็งที่ทำจากแป้งสาลี ที่สามารถซื้อหาและทำเองได้ง่าย และทหารญี่ปุ่นที่กลับมาจากสงคราม ก็เริ่มเอาสูตรการปรุงจากจีนแผ่นดินใหญ่ มาประยุกต์ให้เกิดรสชาติใหม่ๆ ตามมา
มิโซะและทงคตสึราเม็ง: สิงห์เหนือเสือใต้ บนเส้นสายราเม็ง
หนึ่งในเมนูราเม็งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง และเรียกได้ว่าเป็นเมนู ‘พื้นฐาน’ ที่ทุกร้านในปัจจุบันจะต้องมีและต้องทำให้เป็น คือ ‘มิโซะราเม็ง’ และ ‘ทงคตสึราเม็ง’ ที่มีต้นกำเนิดจากเหนือสุด และใต้สุด แต่กลับกลายเป็นรสชาติประจำชาติ และแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
มิโซะราเม็ง เป็นราเม็งที่ใช้ ‘เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น’ เป็นส่วนผสมในการทำน้ำซุป ซึ่งเป็นเครื่องปรุงสามัญประจำครัว เมนูนี้เริ่มต้นที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด เหนือสุดของประเทศ มีเอกลักษณ์คือความเข้มข้นของน้ำซุปที่ผ่านการเคี่ยวจนเข้ากันได้ดี และมีการใช้ส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เป็นราเม็งง่ายๆ ที่ทานได้อิ่มและอุ่นพอดีๆ
ทงคตสึราเม็ง หรือ ราเม็งซุปกระดูกหมู มาด้วยเอกลักษณ์เข้มจัดเต็มแบบแดนใต้ ฟุกุโอกะ ด้วยการต้มเคี่ยวกระดูกหมูซ้ำๆ จนได้น้ำซุปที่มีรสชาติจากข้างใน ผสมผสานกับเส้นราเม็งแบบบาง เพื่อให้น้ำซุปเข้าไปรวมกับเส้นได้อย่างเต็มที่ พร้อมเครื่องเคียงหมูย่างชิ้นหนา เป็นอีกเมนูที่หลายคนชื่นชอบ
และสำหรับใครที่อยากสัมผัสรสอร่อยของราเม็งต้นตำรับแท้ๆ แบบไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น ล่าสุด “โออิชิ ราเมน” (OISHI RAMEN) เอาใจสายราเมน สร้างสรรค์เมนูใหม่ ในคอนเซ็ปต์ อร่อยเส้น อร่อยซุป พร้อมแนะนำ “อากะ ทงคตสึ ราเมน” (AKA TONKOTSU RAMEN) รวมวัตถุดิบคุณภาพที่คัดสรรมาอย่างดี ตั้งแต่ราเมนญี่ปุ่น เส้นเหนียวนุ่ม เป็นเอกลักษณ์ ตามมาด้วยทงคตสึหรือซุปกระดูกหมู (น้ำข้น) รสชาติเข้มข้น เผ็ดกำลังดี ไปจนถึงสันคอหมูย่าง เนื้อนุ่มฉ่ำ สุกกำลังดี และเครื่องต่าง ๆ ที่ให้มาแบบจัดเต็ม โดยจัดเสิร์ฟพร้อมเครื่องดื่มน้ำชาเขียว โออิชิ กรีนที สูตรต้นตำรับ 1 แก้ว (แบบไม่รีฟิล)
นอกจากนี้ ยังยกขบวนเมนูราเมนญี่ปุ่น ในหมวดทงคตสึ (ซุปกระดูกหมู) มาให้ลิ้มลอง พร้อมโปรฯ ดี ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- -ทงคตสึ ชาชู ราเมน ที่มาพร้อมหมูชาชูย่างไฟอ่อน ๆ ชิ้นใหญ่เต็มคำ
- -ทงคตสึ ทงคัตสึ ราเมน อร่อยจุใจกับทงคัตสึ (หมูชุบแป้งทอดแบบญี่ปุ่น) ที่ทานคู่กับซุปทงคตสึก็ยิ่งอร่อย
- -ทงคตสึ คาคุนิ ราเมน ราเมนชามโต ที่เสิร์ฟพร้อมหมูสามชั้นตุ๋นจนนุ่มเปื่อยละลายในปาก
สัมผัสความอร่อยแบบต้นตำรับแห่งราเม็งแท้ๆ ได้แล้ววันนี้ ที่โออิชิ ราเมนทุกสาขา
//สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่//
- -www.facebook.com/OishiFoodStation
- -www.OISHIFOOD.com