fbpx

5 Perspectives on URBANIZATION

เปิดวิสัยทัศน์ 5 นักธุรกิจรุ่นใหม่กับมุมมองใน ภูเก็ต

1. วิศรุต แซ่เต้ง

2. พบไชยส์ จิวะวิศิษฎ์นนท์

3. ชนัดดา อติเศรษฐ์

4. ศึกษิต สุวรรณดิษฐกุล

5. ปกรณ์ นิยมอดุลย์

ชนัดดา อติเศรษฐ์

‘ไข่มุกอันดามัน’ คือสมญานามอันลือเลื่องของภูเก็ต ที่ทุกวันนี้ยังคงเนื้อหอม มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งจากผู้ประกอบการท้องถิ่น ส่วนกลาง และต่างชาติ ภายใต้บริบทของการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการขยายตัวของเมืองภูเก็ต จากเทรนด์ Urbanization หรือปรากฏการณ์การขยายตัวของความเป็นเมืองไปสู่หัวเมืองต่างจังหวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็นมาก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ช่วงเวลานี้เป็นจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมในการที่จะผลักดันและส่งเสริมเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้นักธุรกิจไทยสามารถยืนหยัด แข่งขัน และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแข็งแกร่งลองฟังความคิดเห็นของ 5 นักธุรกิจเลือดใหม่ เจเนอเรชั่นที่ 2 ของธุรกิจโรงแรมดังในภูเก็ต ซึ่งมีธนาคารกสิกรไทยเป็นพันธมิตรทางการเงิน ที่มาล้อมวงให้ GM สัมภาษณ์เกี่ยวกับเทรนด์ Urbanization ดังกล่าว เริ่มต้นที่ วิศรุต แซ่เต้ง ผู้บริหารโรงแรมกะตะปาล์ม และตัวแทนจำหน่ายของเอสซีจี, พบไชยส์

จิวะวิศิษฎ์นนท์ ผู้บริหารโรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต วินเทจ พาร์ค,โรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต รีสอร์ท และวังไข่มุก ธุรกิจร้านจิวเวลรี่ที่กรุงเทพฯ, ชนัดดา อติเศรษฐ์ ผู้บริหารกลุ่มโรงแรมกะตะธานี

(โรงแรมกะตะธานี ภูเก็ต บีช รีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต, โรงแรม เดอะ ชอร์ แอท กะตะธานี จังหวัดภูเก็ต, โรงแรมเดอะแซนด์ เขาหลัก บายกะตะธานี จังหวัดพังงา, โรงแรมอันดาบุรี บาย

กะตะธานี จังหวัดพังงา) และธุรกิจโรงงานเกี่ยวกับไม้ยางพารา (บริษัท พังงา ทิมเบอร์ อินดัสทรีส์ จำกัด และบริษัท พังงา พาราวู้ด อินดัสทรีส์ จำกัด) ศึกษิต สุวรรณดิษฐกุล ผู้บริหาร

ดีวาน่า กรุ๊ป (เมอร์เคียว ภูเก็ต ดีวาน่า, เมอร์เคียว กระบี่ ดีวาน่า, ดีวาน่า ป่าตอง) โอเรียนทารา สปา รวมถึงเป็นแฟรนไชส์ของคอฟฟี่เวิลด์ แฟรนไชส์ฮานาโกะ และ ปกรณ์ นิยมอดุลย์

ผู้บริหารคาลิมา รีสอร์ท แอนด์ สปา และภัตตาคารแหลมทอง อันเก่าแก่ของภูเก็ต

พวกเขาและเธอล้วนมีมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขยายธุรกิจในภูเก็ตซึ่งยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก และต่างเห็นพ้องต้องกัน ว่าเมื่อภาคเอกชนมีความพร้อมที่จะลงทุน แถมยังมีพันธมิตรทางการเงินที่มั่นคงและมีความเชี่ยวชาญอย่างธนาคารกสิกรไทย ด้วยแล้ว ภาครัฐก็ควรให้การสนับสนุนในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การขยายตัวของเมืองภูเก็ตเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบและเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อันจะส่งผลให้ภูเก็ตเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกปรารถนาจะมาเยือนหรือเป็น World Class Destination อย่างแท้จริง

GM : มองโอกาสของภาคธุรกิจในภูเก็ตจาก AEC ในอีก 3 ปีข้างหน้าอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม

วิศรุต : การเกิดขึ้นของ AEC ทำให้มีการลงทุนมากขึ้น มีการก่อสร้างมากขึ้น เพราะมีการลงทุนอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น แต่จริงๆ แล้ว ภูเก็ตมีการลงทุนจากชาวต่างชาติเยอะมากอยู่แล้ว ส่วนในด้านโรงแรมก็คาดว่าจะดีขึ้น เพราะภูเก็ตมีทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่ยังสวยงามอยู่ อยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวอย่างไรให้แข่งขันได้

พบไชยส์ : ผมว่า AEC เป็นเรื่องที่ดีมากที่ไทยและอีก 9 ประเทศ จะสามารถทำธุรกิจภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน ส่วนเรื่องเงินทุนต่างชาติที่เข้ามาในภูเก็ตไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะภูเก็ตมีความเป็นนานาชาติอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อดีคือ บุคลากรต่างชาติจะเข้ามาทำงานมากขึ้น จากเดิมก็มากอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสที่เราจะได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน ในเชิงการบริหารจัดการ ผมหวังว่าการเข้ามาของบุคลากรต่างชาติจะเข้ามาทดแทนแรงงานที่เราขาดแคลน เพราะปัจจุบันโรงแรมต้องจ้างบุคลากรในราคาที่แพงกว่าทักษะที่เขามี และอีกเรื่องหนึ่งคือ ในเมื่อจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเยอะมากกว่าเดิม ผมต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการในการจัดระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย แท็กซี่ และการออกใบอนุญาตต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น

ชนัดดา : มองว่า AEC เป็นโอกาสทางธุรกิจ เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนธุรกิจใหม่ๆ ทั้งในด้านสาธารณูปโภค พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แหล่งช้อปปิ้ง ที่จะมาเติมเต็มศักยภาพการท่องเที่ยวภูเก็ตให้แข็งแกร่งขึ้น สำหรับผู้ประกอบการเดิมในภูเก็ตมองว่าจะไม่กระทบมากนัก เนื่องจากลงทุนมานานจนผ่านจุดคุ้มทุนแล้ว มีต้นทุนในการดำเนินการ

ต่ำกว่า แต่ยังคงเป็นกังวลด้านการเปิดตลาดแรงงานเสรี หลัง AEC อาจเป็นแรงผลักดันให้เกิดปัญหาด้านแรงงาน แรงงานที่มีความรู้ ทักษะความชำนาญ จะหลั่งไหลออกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย มากขึ้น เพราะค่าตอบแทนสูงกว่า และไปได้ง่าย แต่เราอาจดึงดูดแรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะความชำนาญมากให้เข้ามาทำงานได้ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว มีค่าแรงต่ำกว่า

ศึกษิต : ตอนนี้ตลาดอาเซียนยังไม่ใช่ตลาดใหญ่ของภูเก็ต แต่ถ้ารวมกัน 600 ล้านคน ก็มองว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และน่าจะมีโอกาส

จากปัจจุบันที่ตลาดสิงคโปร์และมาเลเซียค่อนข้างแน่นในภูเก็ตอยู่แล้ว เพราะเป็น Short-haul ใช้ระยะเวลาในการบินไม่นาน ต่อไปเราอาจจะไปเจาะตลาดเวียดนามและอินโดนีเซียได้มากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากตลาดภูมิภาคอื่นๆ เพราะกว่าครึ่งของธุรกิจโรงแรมในภูเก็ตจะขึ้นอยู่กับตลาด Long-haul โดยเฉพาะพวกยุโรป สแกนดิเนเวีย ส่วนเรื่องแรงงานอย่างพนักงานสปาก็ต้องการทักษะและฝีมือของคนไทยซึ่งขึ้นชื่อ

ในเรื่องนี้ แม้จะไม่มี AEC แต่แรงงานเหล่านี้ก็จะไหลออกไปทำงานต่างประเทศอยู่แล้ว เพราะผลตอบแทนดีกว่า และเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน ผู้ประกอบการท้องถิ่นแต่ละรายก็พยายามฝึกอบรมพนักงานให้สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมือนเป็นการ Pre AEC อยู่แล้ว

ปกรณ์ : ผมมองว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือการท่องเที่ยวของภูเก็ตโดดเด่นอยู่แล้วในประเทศไทย การเกิดขึ้นของ AEC อาจทำให้มีนักท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่เคยมาเที่ยวภูเก็ต หลั่งไหลเข้ามามากขึ้น เนื่องจากการเปิดการค้าเสรี อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้อาจส่งผลให้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจในท้องถิ่นมีอัตราการแข่งขัน เพิ่ม และอีกสิ่งหนึ่งคือนักท่องเที่ยวอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งปัจจุบันเดินทางมาประเทศไทยในช่วงวันหยุดอาจมีการมองหาสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ

GM : จากการที่ภูเก็ตมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการท้องถิ่นก็ลงหลักปักฐานมายาวนาน ในทรรศนะของแต่ละท่าน คิดว่าอะไรเป็นข้อได้เปรียบที่จะสามารถแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติได้ในพื้นที่ของเราเอง

วิศรุต : อย่างแรกคือ การที่เราเป็นคนท้องถิ่นทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของคนท้องถิ่น สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของภูเก็ตได้เร็วกว่า

อีกประเด็นหนึ่งคือ พอเราเป็นนักธุรกิจท้องถิ่น เรามีการจับมือกันมากขึ้น รวมพลังกันเป็นกระบอกเสียงเพื่อพูดกับหน่วยงานราชการท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการทำให้ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

พบไชยส์ : คนท้องถิ่นหรือคนที่คลุกคลีกับภูเก็ตมานาน จะมีความเข้าใจในสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำตลาด ทำให้การขยายการลงทุนทำได้ง่ายกว่า รวมถึงเราเข้าใจวัฒนธรรมอุปนิสัยใจคอของพนักงานซึ่งเป็นคนไทยด้วยกันเอง มีถ้อยทีถ้อยอาศัย ทำให้การทำงานประสานกันดีกว่า รวดเร็วกว่า มีความใกล้ชิดแบบครอบครัว บริหารแบบใจถึงใจมากกว่า

ชนัดดา : คล้ายกับทั้งสองท่าน เพราะมองว่าตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความเข้มแข็งของภูเก็ตเกิดจากผู้ประกอบการท้องถิ่น เมื่อหมดยุคเหมืองแร่ก็หันมาทำธุรกิจท่องเที่ยว ตั้งแต่สมัยคุณพ่อ (สมบัติ อติเศรษฐ์) หรือว่าคุณวิจิตร ณ ระนอง เริ่มมีการรวมตัวกันของผู้ประกอบการภาคเอกชน ทำการประชาสัมพันธ์และร่วมกันผลักดันให้ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องนานกว่า 40 ปี ความได้เปรียบของคนท้องถิ่น คือการเข้าใจถึงจุดขายของภูเก็ต เข้าใจวัฒนธรรมชุมชน มีโอกาสสัมผัสกับลูกค้าในแต่ละตลาดมานาน มีการบริหารจัดการอย่างมีระบบ ส่งผลให้มาตรฐานการให้บริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

ศึกษิต : ผู้ประกอบการท้องถิ่นจะเข้าใจคาแร็กเตอร์ของพนักงานได้ดี เพราะพนักงานที่มาจากแต่ละภูมิภาคจะมีคาแร็กเตอร์ต่างกัน อย่างคนใต้การพูดจาอาจจะกระโชกโฮกฮาก ต้องใช้เวลาในการปรับตัว เราเชื่อว่าเราสามารถสื่อสารกับพนักงานได้ดี นอกจากนี้ปัจจุบันภูเก็ตมีความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งแผ่นดินไหว สึนามิ และน้ำท่วม ผู้ประกอบการท้องถิ่นจะมีเซนส์ในการจัดการที่รวดเร็ว มีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการท้องถิ่นด้วยกันเอง มีอะไรจะปรึกษากันตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงาน และความเสี่ยงของภัยธรรมชาติ

ปกรณ์ : มีการเข้าถึงทางด้านข่าวสาร สังคม และการสื่อสารซึ่งต่างชาติไม่มี ยิ่งไปกว่านั้นจังหวัดภูเก็ตก็มีกฎหมายคุ้มครองผู้ประกอบการท้องถิ่น และกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองสิทธิ์ที่ดินจังหวัด จึงทำให้การเข้ามาลงทุนของต่างชาติค่อนข้างมีข้อจำกัด

GM : ภูเก็ตคลาคล่ำไปด้วยโรงแรม ‘เชน’ อินเตอร์เป็นจำนวนมาก มองว่า เชนกับไม่เชนแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย อุปสรรค และโอกาสอย่างไรบ้าง

วิศรุต : ถ้าในเรื่องการตลาด เชนก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเข้าพักของนักท่องเที่ยว แต่การที่เราบริหารงานเอง ก็ทำให้ใกล้ชิดกับลูกค้า ตอบสนองความต้องการได้เร็ว แต่โดยรวมผมมองว่าไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

พบไชยส์ : ก่อนหน้าที่จะทำโนโวเทล วินเทจ พาร์ค ผมก็ทำเองไม่มีเชน แต่ที่ต้องยอมรับคือนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งจะเลือกเชนที่มีชื่อเสียง เพราะมีมาตรฐานการันตีได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องเป็นเชนที่ไม่โนเนม ที่ต้องเข้าใจคือเชนจะมีต้นทุนที่สูงกว่าปกติ หลังจากเปิดแล้วก็จะมีค่าบริหารจัดการที่จะต้องจ่ายซึ่งแพงมาก รวมถึงค่าการตลาดต่างๆ ที่จะเรียกเก็บทุกปี แต่เราก็สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของเขาที่ใหญ่มากได้เต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าหัวใจหลักในการบริหารก็อยู่ที่ตัวเราเองซึ่งเป็นเจ้าของที่จะทำให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้ ไม่ใช่ว่าจะพึ่งแต่จีเอ็มที่แอคคอร์ส่งมา ส่วนโรงแรมที่ไม่ได้เป็นเชนจะได้เปรียบในเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่า ไม่มีค่าบริหารจัดการ และหากสามารถสร้างแบรนด์ได้จนเป็นที่ยอมรับก็จะแข็งแกร่งไม่แพ้กัน

ชนัดดา : ด้วยความหลากหลายของโรงแรมในภูเก็ต ทำให้การตัดสินใจของลูกค้าไม่ใช่ความเป็นเชนหรือไม่เชน นักท่องเที่ยวของภูเก็ตเลือกที่พักจากโลเกชั่นเป็นหลัก หากผู้ประกอบการโรงแรมสามารถสร้างความรับรู้และพัฒนาแบรนด์ของตนเองเป็นอย่างดี วางโพซิชั่นนิ่งถูกต้อง สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าและคู่ค้า (เอเยนต์) ได้ ก็สามารถแข่งขันกับเชนได้ ปัจจุบันนี้มาตรฐานและเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่พัฒนาให้เท่าเทียมกันได้ จึงไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคแต่อย่างใด นอกจากนี้ โรงแรมที่ไม่ใช่เชนมีต้นทุนการจัดการที่ต่ำกว่า และสามารถยืดหยุ่นตามความต้องการของลูกค้าที่ง่ายกว่าเชน

ศึกษิต : หากมองในแง่ผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการได้รับไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเชนหรือไม่ใช่เชน ขึ้นอยู่กับว่าทีมงานเก่งหรือไม่เก่ง เพราะเป็นธุรกิจบริการ ถึงจะไม่ใช่เชน แต่ละโรงแรมก็มีเทรนนิ่งของตัวเองอยู่แล้ว ส่วนเชนจะมีข้อได้เปรียบ คือ มีดิสทริบิวชั่นและลอยัลตี้ โปรแกรมที่แข็งแกร่งกว่า มีรูมเรทที่สูงกว่า สุดท้ายก็อยู่ที่สไตล์ของผู้ประกอบการแต่ละรายมากกว่าว่าอยากจะทำงานสไตล์ไหน

ปกรณ์ : ผมคิดว่ามีข้อดีที่แตกต่างกัน การไม่ใช่เชนจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องของการบริหารที่ยืดหยุ่น โดยทางทีมบริหารที่มีประสบการณ์สามารถระดมแนวคิดและปรับเปลี่ยนนโยบายให้เข้ากับสภาพพื้นที่ สถานที่ตั้ง ตลอดจนกลุ่มลูกค้าของโรงแรม เพื่อให้ได้นโยบายเหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับโรงแรม แต่ในกรณีที่ไม่ใช้เชนอาจลำบากสำหรับโรงแรม

เปิดใหม่ ในแง่ของการประชาสัมพันธ์และการตลาด เพราะข้อได้เปรียบของเชนคือช่องทางการตลาด และชื่อเสียงของโรงแรมซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกอยู่แล้ว

GM : มองทิศทางการขยายตัวของเมือง หรือ Urbanization ในภูเก็ตเป็นอย่างไรบ้าง

วิศรุต : การขยายตัวของเมืองภูเก็ตมีให้เห็นอย่างเด่นชัดมาสัก 2-3 ปีแล้ว โดยเฉพาะการลงทุนจากส่วนกลาง หรือนักธุรกิจจากกรุงเทพฯ แต่ส่วนใหญ่ การลงทุนจะกระจุกตัวอยู่บริเวณ Prime Area ยังไม่ขยายตัวไปทั้งเกาะ เพราะระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคมยังเป็นปัญหา การลงทุนจึงยังคงลงทุนในพื้นที่ที่บูมอยู่แล้ว ยังไม่กระจายไปทั้งเกาะ ซึ่งต้องฝากภาครัฐ

ในการดูแล โดยเฉพาะรถตุ๊กตุ๊กที่เก็บค่าโดยสารจากหาดป่าตองไปหาดกะตะ 500-700 บาท ซึ่งไม่ใช่ราคาที่รับได้ จึงเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การลงทุนยังอยู่เป็นกลุ่มก้อน ถ้าขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ ภูเก็ตยังมีโอกาสเติบโตอีกเยอะ

พบไชยส์ : ภูเก็ตยังมีโอกาสอีกมากมาย เพียงแต่นักลงทุนต้องศึกษาให้ดี เพราะการแข่งขันสูงมาก ที่ผ่านมาภูเก็ตมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง เพราะมีสนามบินนานาชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่สามารถรองรับตลาดหลายรูปแบบ สังเกตว่ามีเชนโรงแรมจากทั่วโลกมาเปิด เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่หลากหลายและแตกต่าง กำลังซื้อของภูเก็ตสูง รูมเรตโดยเฉลี่ยของโรงแรมที่ภูเก็ตโดยเฉลี่ยสูงกว่ากรุงเทพฯ ทำให้การลงทุนคุ้มค่ากว่า

ด้วยความที่ภูเก็ตมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเยอะ ไม่ว่าพนักงานที่เป็นคนในพื้นที่หรือมาจากที่อื่น ก็จะมีเซอร์วิสมายด์อยู่ในสายเลือด เพราะเขาคุ้นเคยกับธุรกิจนี้อยู่แล้ว ทำให้สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแล้วอยากจะกลับมาอีก แต่ภาครัฐควรมีมาตรการที่จะทำให้ภูเก็ตออร์แกไนซ์มากกว่านี้ ไม่ใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับการเมือง

ท้องถิ่น ทั้งๆ ที่เราก็จ่ายภาษีกันเยอะ เรามีเจตนาที่จะทำให้ภูเก็ตดีถึงลงทุนสร้างโรงแรมกัน ไม่อยากจะมานั่งเจอปัญหาเล็กๆ น้อยๆ พวกร่มชายหาด มาเฟีย อยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที

ชนัดดา : ภูเก็ตเป็นเมืองนานาชาติไปแล้ว มีผู้คนจากทั่วโลกย้ายถิ่นฐานมาพักอาศัยและทำธุรกิจมานานแล้ว ทุกวันนี้เราสามารถหาอาหารนานาชาติไม่ว่าจะเป็นอาหารรัสเซีย เยอรมัน เกาหลี ได้ที่ภูเก็ต ชาวต่างชาติ ที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่เป็นระยะเวลานาน ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกระดับมีอัตราการเจริญเติบโตขึ้น ตั้งแต่วิลล่าระดับหลายล้านดอลลาร์ คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยวในแบบต่างๆ การขยายตัวของเมืองภูเก็ตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เส้นทางการเติบโตไม่ได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบพื้นฐานหลักต่างๆ ที่จะมารองรับ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบขนส่งมวลชน การจัดการผังเมือง การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของเมืองถูกนำไปเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าการดูแลให้เป็นประโยชน์ของส่วนรวม จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนให้การขยายตัวของภูเก็ตเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีทิศทางชัดเจน โดยมุ่งให้ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ เน้นการยกระดับมาตรฐานในการให้บริการแบบสากลในทุกระดับ

แม้ภูเก็ตจะมีเสน่ห์ที่ไม่เหมือนใคร ทำให้แหล่งท่องเที่ยวอื่นแข่งขันได้ยาก แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่ภูเก็ตจะต้องปรับตัว เพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเราควรเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย เช่น มีแหล่งรวมสินค้าโอท็อปขนาดใหญ่ ซึ่งยังไม่มีในภูเก็ต เพราะต่อไปจะมีคู่แข่งเยอะมาก

โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ น่าค้นหาและมีความสดใหม่กว่า

ศึกษิต : ภูเก็ตค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปเยอะจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เพราะภูเก็ตเนื้อหอมขึ้นมาก ราคาที่ดินก็พุ่งสูงตามไปด้วย เช่น ที่ดินบริเวณถนนสาย 2 หาดป่าตอง จากราคาไม่ถึง 10 ล้านบาทต่อไร่ ปัจจุบันอยู่ที่ 100 กว่าล้านบาทต่อไร่ เมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น รูปแบบโครงการก็จะเปลี่ยนไป

แม้ก่อนหน้านี้รัฐมีการถมทะเลก็ไม่สามารถทำได้มาก จากที่ดินที่มีอยู่จำกัดทำให้รูปแบบการก่อสร้างเปลี่ยนไป จากเดิมการขยายตัวของเมืองส่วนใหญ่ เป็นไปในแนวราบ ก็เริ่มเปลี่ยนไป นักลงทุนต้องวิเคราะห์การสร้างโครงการในรูปแบบอาคารสูงมากขึ้น อสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนแนวมาเป็นคอนโด-มิเนียมมากขึ้น เพราะต้องใช้ Land use ให้คุ้มค่า แต่กฎหมายก่อสร้าง กฎหมายพื้นที่สีเขียว ก็อาจเป็นข้อจำกัดในเรื่องของการขยายตัวในแนวตั้ง

ปกรณ์ : ปัจจุบันภูเก็ตมีการเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งการ ดำรงชีวิตของชาวภูเก็ตที่มีต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อาศัยอยู่ทุกหนแห่งดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องปกติแล้ว และด้วยค่าครองชีพที่พุ่งสูงเป็นอันดับต้นๆก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเมืองที่พัฒนาแล้ว ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ภูเก็ตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ปัจจุบันธุรกิจเหล่านี้มีการแข่งขันที่สูงมาก และเนื่องจากภูเก็ตเป็นจุดศูนย์กลางการค้าและการท่องเที่ยว จึงทำให้แนวโน้มของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

GM : ตอนนี้คนภูเก็ตมี Cosmopolitan Lifestyle แบบคนกรุงเทพฯ แล้วหรือยัง

พบไชยส์ : คนจบจากเมืองนอกมาเยอะขึ้น เห็นอะไรมาเยอะ ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ได้ ไลฟ์สไตล์ก็เป็นเหมือนคนกรุงเทพฯ มากขึ้น

ชนัดดา : คิดว่ายังไม่เหมือนซะทีเดียว

GM : ทำไมนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ภูเก็ตจึงเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ

พบไชยส์ : ถ้าได้ยินภาษาไทยในโรงแรมนี่ ต้องหันขวับเลย เพราะคนไทยมาเที่ยวภูเก็ตกันน้อย เขาคิดว่าถ้าต้องจ่ายราคาขนาดนี้ไปสิงคโปร์ ไปฮ่องกงได้ เดินทางสะดวกกว่าอีกต่างหาก

วิศรุต : คนไทยติดภาพว่าภูเก็ตแพง

ชนัดดา : แต่มันก็แพงจริงนะ

ศึกษิต : นักท่องเที่ยวเดินทางลำบาก ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดีพอ และค่าครองชีพสูง

ปกรณ์ : ค่าใช้จ่ายในการเดินทางภายในจังหวัดสูงมาก สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาภูเก็ต ผมแนะนำให้เช่ารถถูกกว่า

GM : ด้วยสภาพภูมิประเทศของภูเก็ตที่เป็นเกาะ พื้นที่การลงทุนส่วนใหญ่ยังอยู่หน้าหาดซึ่งเป็น Prime Area อาจมีการขยายตัวไปยังโซนอื่นๆ ไม่มากนัก ทำให้ Urbanization ส่งอานิสงส์ต่อจังหวัดใกล้เคียงอย่างพังงา กระบี่ จากประเด็นนี้มองว่าจะส่งผลดี ผลเสียอย่างไรบ้างต่อภูเก็ต

วิศรุต : ภูเก็ตเป็นศูนย์รวมของการเดินทางอยู่แล้ว มีการขยายสนามบินให้ใหญ่ขึ้น มีไฟลท์บินตรงจากรัสเซีย เกาหลี สแกนดิเนเวียมากขึ้น ไม่ว่าเขาจะไปพัฒนาที่กระบี่หรือพังงา ยังไงก็ต้องบินมาลงที่ภูเก็ต ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยเกิดขึ้นที่ภูเก็ตแน่นอน

พบไชยส์ : เสน่ห์ของภูเก็ตคือความเป็นเกาะ มีอ่าวมากมาย ทั้งนี้การขยายตัวไปพังงาหรือกระบี่ มีมาต่อเนื่องใน 7-8 ปีที่ผ่านมา เป็นการขยายตัว แบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ไม่ใช่ก้าวกระโดด ทำให้จังหวัดเหล่านี้ มีความพร้อมในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากลมากขึ้น ขณะเดียวกัน สนามบินภูเก็ตก็มีความหนาแน่นสูง การระบายออกไปพื้นที่ใกล้เคียง

เป็นผลประโยชน์โดยรวมของชาติ ถ้าเกิดการพัฒนาขึ้นก็ย่อมมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่แล้ว อย่างเขาหลักที่กำลังบูม ก็ช่วยทำให้ธรรมชาติของภูเก็ตได้พักหายใจด้วย

ชนัดดา : เป็นเรื่องที่ดี เราอย่ามองว่าพัฒนาภูเก็ตอย่างเดียว ควรมองภาพรวมของอันดามันด้วย ไม่ว่าจะเป็นเขาหลัก พังงา กระบี่ อาจมองไปถึงระนอง ตรัง ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพให้จังหวัดใกล้เคียง สร้างอาชีพ กระจายรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เพิ่มขึ้น ทำให้คนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ประกอบสัมมาอาชีพ เลี้ยงครอบครัวได้อย่างพอเพียง ช่วยลดจำนวนประชากรแฝงของภูเก็ต เป็นการสร้างฐานรองรับการขยายตัวของเมืองภูเก็ต โดยยังมีภูเก็ตเป็นศูนย์กลาง และด้วยภูมิทัศน์ที่แตกต่างกัน จึงอาจถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว ลูกค้าที่ไปเขาหลักอาจต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ และแสวงหาความสงบมากกว่าลูกค้าของภูเก็ต ถ้าไปกระบี่ก็สามารถชมวิวทิวทัศน์ของภูเขาที่มีรูปทรงแปลกตา และเกาะต่างๆ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่มาภูเก็ต ก็ไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ อยู่แล้ว ซึ่งก็ไม่ใช่เกาะของภูเก็ต

ศึกษิต : นักลงทุนภูเก็ตเห็นโอกาสนี้ ก็เริ่มไปลงทุนในกระบี่และพังงามากขึ้น คุณชนัดดาก็จะเปิดโรงแรมที่เขาหลักในปีนี้ เมอร์เคียว กระบี่ ของผมก็เปิดมาได้ 1 ปี ที่อ่าวนาง อย่างที่บอกก่อนหน้านี้ว่า Land use ที่ภูเก็ตเริ่มหนาแน่น นักลงทุนจากภูเก็ตส่วนหนึ่งก็ต้องการไปลงทุนในที่ใหม่ๆ ที่มีต้นทุนค่าที่ดินต่ำกว่าภูเก็ต ตอนนี้พังงาและกระบี่เป็นเหมือนภูเก็ตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คือทุกคนคาดหวังตลาดยุโรป สแกนดิเนเวียมากในช่วงไฮซีซั่น แต่ตลาดภูเก็ตจะมิกซ์ มีทุกตลาดให้จับ ส่วนกระบี่และพังงาในช่วงโลว์ซีซั่นอาจต่ำกว่าภูเก็ตเล็กน้อย แต่ด้วยธรรมชาติที่สวยงาม

ในช่วงไฮซีซั่น ราคาก็จะแพงขึ้นมาก ส่วนการทำการตลาดก็จะขายแบบ Greater Phuket ว่าเขาหลักอยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตเพียง 45 นาทีเท่านั้น

ชนัดดา : ใช้เวลาเดินทางพอๆ กับจากสนามบินภูเก็ตไปหาดกะตะ เพราะรถติด

ปกรณ์ : การขยายตัวของภูเก็ตไปยังจังหวัดใกล้เคียงถือเป็นข้อดีต่อจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากการที่จังหวัดใกล้เคียงอย่างพังงาและกระบี่มีการพัฒนา ก็จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้จะช่วยให้ธุรกิจท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัดมีช่องทางการตลาด

ที่กว้างขึ้น เพราะกลุ่มตลาดของแต่ละจังหวัดอาจจะแตกต่างกัน แต่การที่เรารวมการท่องเที่ยวของ 3 จังหวัดกลุ่มอันดามันเข้าด้วยกัน ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้พบกับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ

GM : โดยเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยวใช้เวลาที่ภูเก็ตนานเท่าไหร่

ชนัดดา : หน้าไฮซีซั่นโดยเฉลี่ย 7 วัน

พบไชยส์ : โดยเฉลี่ยทั้งปีจากนักท่องเที่ยวทุกชาติอยู่ที่ 4-5 วัน และสิ่งที่ภูเก็ตแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ คือ ไฮซีซั่นกับโลว์ซีซั่น จำนวนแขกใกล้เคียงกัน ที่แตกต่างกันคือราคาเท่านั้นเอง ไม่ใช่ว่านักท่องเที่ยวจะน้อยลงนะ

ศึกษิต : ถ้าเป็นป่าตองจะแข็งแกร่งในตลาด Short-haul อาจจะมา 2-3 คืน ทำให้อัตราเฉลี่ยของการพักอาศัยสั้นลง

GM : ในฐานะพันธมิตรทางการเงินของกสิกรไทย หรือเคแบงก์ มีมุมมองและความประทับใจในแง่ใดบ้าง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

วิศรุต : ผมเพิ่งสัมผัสกับเคแบงก์ได้ไม่นาน แต่เห็นได้ชัดว่า 4-5 ปีหลังนี้ เคแบงก์มีการทำรีเลชั่นกับลูกค้าดีขึ้นกว่าเดิมมาก บุกตลาดและจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับลูกค้าเยอะมาก ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้ากับธนาคาร และเคแบงก์เข้ามาในรูปแบบของที่ปรึกษาในการลงทุน การกู้เงิน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจผมเป็นอย่างดี

พบไชยส์ : ผมเป็นลูกค้าเคแบงก์มาประมาณ 2 ปี ซึ่งเหตุผลที่ผมใช้เคแบงก์ สรุปง่ายๆ เป็น 3 R คือ Resource เคแบงก์ผนวกทั้งทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทำให้เป็นองค์กรที่ทรงคุณค่ามาก เพราะนอกจากผมจะต้องการสนับสนุนทางการเงินแล้ว ผมยังต้องการคำปรึกษาจากบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถ ซึ่งจะช่วยให้ผมสามารถประเมินสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรอบคอบและรอบด้าน ต่อมาคือ Revolution เพราะเคแบงก์เป็นธนาคารที่เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา พร้อมที่จะตอบโจทย์ทุก Business Model เข้าใจสภาพการแข่งขันของธุรกิจ และความสำเร็จของเคแบงก์ก็ทำให้สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งหยิบยกเคแบงก์ไปเป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียนด้วย สุดท้ายคือ Relation ที่ทำให้เคแบงก์โดดเด่นกว่าธนาคารอื่น เพราะให้คำปรึกษากับพันธมิตรในทุกๆ ด้าน และอาจด้วยเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ อายุใกล้เคียงกันกับผม ทำให้การประสานงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและเข้าใจกันมากขึ้น

ชนัดดา : คุณพ่อใช้บริการเคแบงก์นานกว่า 40 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่ธุรกิจโรงไม้ พอมาทำธุรกิจโรงแรมก็ได้รับการสนับสนุนมาตลอด เคแบงก์เป็นธนาคารไทยที่มีความมั่นคง และเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ เคแบงก์มีความยืดหยุ่น เข้าใจในความต้องการของลูกค้า สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ หากเคแบงก์ศึกษาแล้วว่าน่าทำการลงทุน เราก็เชื่อมั่นว่าจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุนครั้งนี้ ที่สำคัญยังสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น K-Cash Connect ทำให้เราสั่งจ่ายเช็ค

ณ จุดจ่ายเช็คของธนาคาร แทนที่เราจะจ่ายเช็คและให้ลูกค้าหรือซัพพลาย-เออร์มารับเช็คที่เรา ด้วยบริการนี้ทำให้ช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้ นอกจากนี้เคแบงก์ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คอยใส่ใจ สอบถามความต้องการและปัญหาของลูกค้าตลอดเวลา พยายามช่วยแก้ปัญหาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และตอนนี้ก็ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆของเคแบงก์เกือบหมดแล้ว

ศึกษิต : จากการใช้บริการเคแบงก์มา รู้สึกว่าสิ่งที่แตกต่างจากธนาคารอื่น คือ เคแบงก์พยายามเข้าใจคาแร็กเตอร์ของลูกค้า เพราะแค่งบการเงินทุกคนดูปุ๊บก็เข้าใจ แต่การศึกษาลูกค้าว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนกว่า เคแบงก์เองก็มีกิจกรรมที่จะให้ลูกค้าได้แสดงตัวตน ที่สำคัญผมประทับใจในเรื่อง One Stop Service ถ้าเรามี

โปรเจ็กต์ใหม่ ก็ดีลกับพนักงานเพียงคนเดียว เขาก็จะช่วยประสานงานให้ สะดวก รวดเร็ว และได้ผลิตภัณฑ์ที่ครบครัน

นอกจากนี้ก็จะมีที่ปรึกษาคอยแนะนำข้อดีข้อเสียของระบบอิเล็ก-ทรอนิกส์ทางการเงินต่างๆ ว่าเหมาะกับกิจการเราหรือเปล่า ตอนนี้ไม่ได้มองเคแบงก์ว่าจะคอยสนับสนุนเรื่องเงินกู้เพียงอย่างเดียว แต่คิดว่าเคแบงก์เหมือนที่ปรึกษาที่คอยแนะนำเราทำธุรกิจ ข้อมูลหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ก็ได้จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เพราะเขามีข้อมูลที่แน่นและลึก บางครั้งรู้เยอะและรู้ดีกว่าเราซึ่งอยู่ในพื้นที่ คอยให้คำแนะนำเราได้เป็นอย่างดี มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และความคิดเห็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น เช่น ให้คำแนะนำในเรื่องการรีโนเวทโรงแรม เพื่อปรับราคาขายให้สูงขึ้น

ปกรณ์ : เคแบงก์มีการพัฒนาด้านเครือข่ายเทคโนโลยีและพนักงานอย่างต่อเนื่องชัดเจนเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ถึงขีดสุด ซึ่งแนวทางในการทำธุรกิจของผมก็จะยึดหลักตามแนวของเคแบงก์ที่เน้นความทันสมัย ตลอดจนการบริการที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผมบอกได้เลยว่าไม่รู้สึกผิดหวังเลยที่เลือกเคแบงก์

จะเห็นได้ว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ในภูเก็ตทั้ง 5 คน มีความพร้อมที่จะพัฒนาภูเก็ตอย่างเต็มที่อยู่แล้ว เช่นเดียวกับผู้ประกอบการท้องถิ่นรายอื่นที่เพียรสร้างและวางรากฐานธุรกิจในภูเก็ตมาอย่างยาวนาน ยิ่งมีพันธมิตรทางการเงินที่แข็งแกร่งอย่างธนาคารกสิกรไทยพร้อมให้การสนับสนุน กอปรกับการกระตุ้นให้ภาครัฐลงมาดูแลและจัดการกับปัญหาต่างๆ อย่างจริงจัง ก็น่าจะทำให้ภูเก็ตสามารถขยายขอบเขตความเป็นเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมกันพัฒนาภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย และสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวให้กลับมาเยือนครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่รู้เบื่อ

FYI

องค์การอนามัยโลกรายงานว่าภายในปี 2030 ประชากร 6 คน จากทุก 10 คน จะอาศัยอยู่ในเมือง

และภายในปี 2050 สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 คน ในทุกๆ 10 คน ในปัจจุบัน

ปกรณ์ นิยมอดุลย์

ศึกษิต : หากมองในแง่ผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการได้รับไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเชนหรือไม่ใช่เชน ขึ้นอยู่กับว่าทีมงานเก่งหรือไม่เก่ง เพราะเป็นธุรกิจบริการ ถึงจะไม่ใช่เชน แต่ละโรงแรมก็มีเทรนนิ่งของตัวเองอยู่แล้ว ส่วนเชนจะมีข้อได้เปรียบ คือ มีดิสทริบิวชั่นและลอยัลตี้ โปรแกรมที่แข็งแกร่งกว่า มีรูมเรทที่สูงกว่า สุดท้ายก็อยู่ที่สไตล์ของผู้ประกอบการแต่ละรายมากกว่าว่าอยากจะทำงานสไตล์ไหน

ปกรณ์ : ผมคิดว่ามีข้อดีที่แตกต่างกัน การไม่ใช่เชนจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องของการบริหารที่ยืดหยุ่น โดยทางทีมบริหารที่มีประสบการณ์สามารถระดมแนวคิดและปรับเปลี่ยนนโยบายให้เข้ากับสภาพพื้นที่ สถานที่ตั้ง ตลอดจนกลุ่มลูกค้าของโรงแรม เพื่อให้ได้นโยบายเหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับโรงแรม แต่ในกรณีที่ไม่ใช้เชนอาจลำบากสำหรับโรงแรม

เปิดใหม่ ในแง่ของการประชาสัมพันธ์และการตลาด เพราะข้อได้เปรียบของเชนคือช่องทางการตลาด และชื่อเสียงของโรงแรมซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกอยู่แล้ว

GM : มองทิศทางการขยายตัวของเมือง หรือ Urbanization ในภูเก็ตเป็นอย่างไรบ้าง

วิศรุต : การขยายตัวของเมืองภูเก็ตมีให้เห็นอย่างเด่นชัดมาสัก 2-3 ปีแล้ว โดยเฉพาะการลงทุนจากส่วนกลาง หรือนักธุรกิจจากกรุงเทพฯ แต่ส่วนใหญ่ การลงทุนจะกระจุกตัวอยู่บริเวณ Prime Area ยังไม่ขยายตัวไปทั้งเกาะ

ปัจจุบัน โรงแรมระดับบนในภูเก็ตมีทั้งสิ้น 13,171 ห้อจากโรงแรม 83 แห่ง และอีก 5,471 ห้อง จากโรงแรม 30 แห่งที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2557

ภูเก็ตสุดฮอต ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า โดยรวมตลอดทั้งปี 2555 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังภูเก็ตรวมทั้งสิ้นประมาณ 7.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 86 เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ บูมนักท่องเที่ยวต่างชาติ ปี 2555 คาดว่ารายได้ท่องเที่ยวภูเก็ตจะมีมูลค่าประมาณ 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เม็ดเงินรายได้ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 94มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ทิศทางการขยายตัวของภูเก็ต

– พื้นที่แนวพัฒนาตะวันออก-ใต้ (ป่าตอง-กะทู้-เทศบาลเมืองภูเก็ต-รัษฎา) เป็นศูนย์บริหาร และบริการหลัก

– พื้นที่แนวพัฒนาเหนือ-ใต้ (เกาะแก้ว-เทศบาลเมืองภูเก็ต-วิชิต-ฉลอง-ราไวย์) เป็นย่านรองรับการขยายตัวของชุมชน ศูนย์บริการด้านการท่องเที่ยว การเดินเรือ และการวิจัยทางทะเล

– กลุ่มพื้นที่พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชายทะเล (กะตะ-กะรน)

รัสเซียมาเที่ยวภูเก็ตมากที่สุด จากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ที่ส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวในกลุ่มยุโรป อาทิ สวีเดน เยอรมนี ฟินแลนด์ อังกฤษ และเดนมาร์ก เดินทาง

เข้ามาน้อยลง ในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามากที่สุด ได้แก่ รัสเซีย จีน สวีเดนออสเตรเลียและเกาหลีใต้ ซึ่งนักท่องเที่ยวจากจีน และรัสเซีย ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 46 และร้อยละ 45 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มเที่ยวบินแบบประจำและเช่าเหมาลำ เพิ่มศักยภาพสนามบิน รัฐบาลอนุมัติงบขยายท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต 5.1 พันล้านบาท เพื่อขยายลานจอดอากาศยานเพิ่มเติมให้สามารถรองรับอากาศยานได้ทั้งหมด 21 หลุมจอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 6.5 ล้านคน เป็น 12.5 ล้านคนต่อปี พร้อมทั้งปรับปรุงขยายระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อ การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ รวมทั้งปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิมเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และการก่อสร้างอาคารทดแทน ตลอดจนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค

ศึกษิต สุวรรณดิษฐกุล

เพราะระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคมยังเป็นปัญหา การลงทุนจึงยังคงลงทุนในพื้นที่ที่บูมอยู่แล้ว ยังไม่กระจายไปทั้งเกาะ ซึ่งต้องฝากภาครัฐในการดูแล โดยเฉพาะรถตุ๊กตุ๊กที่เก็บค่าโดยสารจากหาดป่าตองไปหาดกะตะ 500-700 บาท ซึ่งไม่ใช่ราคาที่รับได้ จึงเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การลงทุนยังอยู่เป็นกลุ่มก้อน ถ้าขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ ภูเก็ตยังมีโอกาสเติบโตอีกเยอะ

พบไชยส์ : ภูเก็ตยังมีโอกาสอีกมากมาย เพียงแต่นักลงทุนต้องศึกษาให้ดี เพราะการแข่งขันสูงมาก ที่ผ่านมาภูเก็ตมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง เพราะมีสนามบินนานาชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่สามารถรองรับตลาดหลายรูปแบบ สังเกตว่ามีเชนโรงแรมจากทั่วโลกมาเปิด เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่หลากหลายและแตกต่าง กำลังซื้อของภูเก็ตสูง รูมเรตโดยเฉลี่ยของโรงแรมที่ภูเก็ตโดยเฉลี่ยสูงกว่ากรุงเทพฯ ทำให้การลงทุนคุ้มค่ากว่าด้วยความที่ภูเก็ตมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเยอะ ไม่ว่าพนักงานที่เป็นคนในพื้นที่หรือมาจากที่อื่น ก็จะมีเซอร์วิสมายด์อยู่ในสายเลือด เพราะเขาคุ้นเคยกับธุรกิจนี้อยู่แล้ว ทำให้สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแล้วอยากจะกลับมาอีก แต่ภาครัฐควรมีมาตรการที่จะทำให้ภูเก็ตออร์แกไนซ์มากกว่านี้ ไม่ใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับการเมืองท้องถิ่น ทั้งๆ ที่เราก็จ่ายภาษีกันเยอะ เรามีเจตนาที่จะทำให้ภูเก็ตดีถึงลงทุนสร้างโรงแรมกัน ไม่อยากจะมานั่งเจอปัญหาเล็กๆ น้อยๆ พวกร่มชายหาด มาเฟีย อยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที

ชนัดดา : ภูเก็ตเป็นเมืองนานาชาติไปแล้ว มีผู้คนจากทั่วโลกย้ายถิ่นฐานมาพักอาศัยและทำธุรกิจมานานแล้ว ทุกวันนี้เราสามารถหาอาหารนานาชาติไม่ว่าจะเป็นอาหารรัสเซีย เยอรมัน เกาหลี ได้ที่ภูเก็ต ชาวต่างชาติ ที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่เป็นระยะเวลานาน ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกระดับมีอัตราการเจริญเติบโตขึ้น ตั้งแต่วิลล่าระดับหลายล้านดอลลาร์ คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยวในแบบต่างๆ การขยายตัวของเมืองภูเก็ตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เส้นทางการเติบโตไม่ได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบพื้นฐานหลักต่างๆ ที่จะมารองรับ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบขนส่งมวลชน การจัดการผังเมือง การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของเมืองถูกนำไปเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าการดูแลให้เป็นประโยชน์ของส่วนรวม จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนให้การขยายตัวของภูเก็ตเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีทิศทางชัดเจน โดยมุ่งให้ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ เน้นการยกระดับมาตรฐานในการให้บริการแบบสากลในทุกระดับ

แม้ภูเก็ตจะมีเสน่ห์ที่ไม่เหมือนใคร ทำให้แหล่งท่องเที่ยวอื่นแข่งขันได้ยาก แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่ภูเก็ตจะต้องปรับตัว เพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเราควรเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย เช่น มีแหล่งรวมสินค้าโอท็อปขนาดใหญ่ ซึ่งยังไม่มีในภูเก็ต เพราะต่อไปจะมีคู่แข่งเยอะมาก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ น่าค้นหาและมีความสดใหม่กว่า

ศึกษิต : ภูเก็ตค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปเยอะจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เพราะภูเก็ตเนื้อหอมขึ้นมาก ราคาที่ดินก็พุ่งสูงตามไปด้วย เช่น ที่ดินบริเวณถนนสาย 2 หาดป่าตอง จากราคาไม่ถึง 10 ล้านบาทต่อไร่ ปัจจุบันอยู่ที่ 100 กว่าล้านบาทต่อไร่ เมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น รูปแบบโครงการก็จะเปลี่ยนไป

แม้ก่อนหน้านี้รัฐมีการถมทะเลก็ไม่สามารถทำได้มาก จากที่ดินที่มีอยู่จำกัดทำให้รูปแบบการก่อสร้างเปลี่ยนไป จากเดิมการขยายตัวของเมืองส่วนใหญ่ เป็นไปในแนวราบ ก็เริ่มเปลี่ยนไป นักลงทุนต้องวิเคราะห์การสร้างโครงการในรูปแบบอาคารสูงมากขึ้น อสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนแนวมาเป็นคอนโด-มิเนียมมากขึ้น เพราะต้องใช้ Land use ให้คุ้มค่า แต่กฎหมายก่อสร้าง กฎหมายพื้นที่สีเขียว ก็อาจเป็นข้อจำกัดในเรื่องของการขยายตัวในแนวตั้ง

ปกรณ์ : ปัจจุบันภูเก็ตมีการเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งการ ดำรงชีวิตของชาวภูเก็ตที่มีต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อาศัยอยู่ทุกหนแห่งดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องปกติแล้ว และด้วยค่าครองชีพที่พุ่งสูงเป็นอันดับต้นๆก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเมืองที่พัฒนาแล้ว ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ภูเก็ตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ปัจจุบันธุรกิจเหล่านี้มีการแข่งขันที่สูงมาก และเนื่องจากภูเก็ตเป็นจุดศูนย์กลางการค้าและการท่องเที่ยว จึงทำให้แนวโน้มของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

GM : ตอนนี้คนภูเก็ตมี Cosmopolitan Lifestyle แบบคนกรุงเทพฯ แล้วหรือยัง

พบไชยส์ : คนจบจากเมืองนอกมาเยอะขึ้น เห็นอะไรมาเยอะ ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ได้ ไลฟ์สไตล์ก็เป็นเหมือนคนกรุงเทพฯ มากขึ้น

ชนัดดา : คิดว่ายังไม่เหมือนซะทีเดียว

GM : ทำไมนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ภูเก็ตจึงเป็นนักท่องเที่ยว=ต่างชาติ

พบไชยส์ : ถ้าได้ยินภาษาไทยในโรงแรมนี่ ต้องหันขวับเลย เพราะคนไทยมาเที่ยวภูเก็ตกันน้อย เขาคิดว่าถ้าต้องจ่ายราคาขนาดนี้ไปสิงคโปร์ ไปฮ่องกงได้ เดินทางสะดวกกว่าอีกต่างหาก

วิศรุต : คนไทยติดภาพว่าภูเก็ตแพง

ชนัดดา : แต่มันก็แพงจริงนะ

ศึกษิต : นักท่องเที่ยวเดินทางลำบาก ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดีพอ และค่าครองชีพสูง

พบไชยส์ จิวะวิิศิษฎ์นนท์

กรณ์ : ค่าใช้จ่ายในการเดินทางภายในจังหวัดสูงมาก สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาภูเก็ต ผมแนะนำให้เช่ารถถูกกว่า

GM : ด้วยสภาพภูมิประเทศของภูเก็ตที่เป็นเกาะ พื้นที่การลงทุนส่วนใหญ่ยังอยู่หน้าหาดซึ่งเป็น Prime Area อาจมีการขยายตัวไปยังโซนอื่นๆ ไม่มากนัก ทำให้ Urbanization ส่งอานิสงส์ต่อจังหวัดใกล้เคียงอย่างพังงา กระบี่ จากประเด็นนี้มองว่าจะส่งผลดี ผลเสียอย่างไรบ้างต่อภูเก็ต

วิศรุต : ภูเก็ตเป็นศูนย์รวมของการเดินทางอยู่แล้ว มีการขยายสนามบินให้ใหญ่ขึ้น มีไฟลท์บินตรงจากรัสเซีย เกาหลี สแกนดิเนเวียมากขึ้น ไม่ว่าเขาจะไปพัฒนาที่กระบี่หรือพังงา ยังไงก็ต้องบินมาลงที่ภูเก็ต ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยเกิดขึ้นที่ภูเก็ตแน่นอน

พบไชยส์ : เสน่ห์ของภูเก็ตคือความเป็นเกาะ มีอ่าวมากมาย ทั้งนี้การขยายตัวไปพังงาหรือกระบี่ มีมาต่อเนื่องใน 7-8 ปีที่ผ่านมา เป็นการขยายตัว แบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ไม่ใช่ก้าวกระโดด ทำให้จังหวัดเหล่านี้ มีความพร้อมในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากลมากขึ้น ขณะเดียวกัน สนามบินภูเก็ตก็มีความหนาแน่นสูง การระบายออกไปพื้นที่ใกล้เคียง

เป็นผลประโยชน์โดยรวมของชาติ ถ้าเกิดการพัฒนาขึ้นก็ย่อมมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่แล้ว อย่างเขาหลักที่กำลังบูม ก็ช่วยทำให้ธรรมชาติของภูเก็ตได้พักหายใจด้วย

ชนัดดา : เป็นเรื่องที่ดี เราอย่ามองว่าพัฒนาภูเก็ตอย่างเดียว ควรมองภาพรวมของอันดามันด้วย ไม่ว่าจะเป็นเขาหลัก พังงา กระบี่ อาจมองไปถึงระนอง ตรัง ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพให้จังหวัดใกล้เคียง สร้างอาชีพ กระจายรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เพิ่มขึ้น ทำให้คนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ประกอบสัมมาอาชีพ เลี้ยงครอบครัวได้อย่างพอเพียง ช่วยลดจำนวนประชากรแฝงของภูเก็ต เป็นการสร้างฐานรองรับการขยายตัวของเมืองภูเก็ต โดยยังมีภูเก็ตเป็นศูนย์กลาง และด้วยภูมิทัศน์ที่แตกต่างกัน จึงอาจถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว ลูกค้าที่ไปเขาหลักอาจต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ และแสวงหาความสงบมากกว่าลูกค้าของภูเก็ต ถ้าไปกระบี่ก็สามารถชมวิวทิวทัศน์ของภูเขาที่มีรูปทรงแปลกตา และเกาะต่างๆ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่มาภูเก็ต ก็ไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ อยู่แล้ว ซึ่งก็ไม่ใช่เกาะของภูเก็ต

ศึกษิต : นักลงทุนภูเก็ตเห็นโอกาสนี้ ก็เริ่มไปลงทุนในกระบี่และพังงามากขึ้น คุณชนัดดาก็จะเปิดโรงแรมที่เขาหลักในปีนี้ เมอร์เคียว กระบี่ ของผมก็เปิดมาได้ 1 ปี ที่อ่าวนาง อย่างที่บอกก่อนหน้านี้ว่า Land use ที่ภูเก็ตเริ่มหนาแน่น นักลงทุนจากภูเก็ตส่วนหนึ่งก็ต้องการไปลงทุนในที่ใหม่ๆ ที่มีต้นทุนค่าที่ดินต่ำกว่าภูเก็ต ตอนนี้พังงาและกระบี่เป็นเหมือนภูเก็ตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คือทุกคนคาดหวังตลาดยุโรป สแกนดิเนเวียมากในช่วงไฮซีซั่น แต่ตลาดภูเก็ตจะมิกซ์ มีทุกตลาดให้จับ ส่วนกระบี่และพังงาในช่วงโลว์ซีซั่นอาจต่ำกว่าภูเก็ตเล็กน้อย แต่ด้วยธรรมชาติที่สวยงาม

ในช่วงไฮซีซั่น ราคาก็จะแพงขึ้นมาก ส่วนการทำการตลาดก็จะขายแบบ Greater Phuket ว่าเขาหลักอยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตเพียง 45 นาทีเท่านั้น

ชนัดดา : ใช้เวลาเดินทางพอๆ กับจากสนามบินภูเก็ตไปหาดกะตะ เพราะรถติด

ปกรณ์ : การขยายตัวของภูเก็ตไปยังจังหวัดใกล้เคียงถือเป็นข้อดีต่อจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากการที่จังหวัดใกล้เคียงอย่างพังงาและกระบี่มีการพัฒนา ก็จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้จะช่วยให้ธุรกิจท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัดมีช่องทางการตลาด

ที่กว้างขึ้น เพราะกลุ่มตลาดของแต่ละจังหวัดอาจจะแตกต่างกัน แต่การที่เรารวมการท่องเที่ยวของ 3 จังหวัดกลุ่มอันดามันเข้าด้วยกัน ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้พบกับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ

GM : โดยเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยวใช้เวลาที่ภูเก็ตนานเท่าไหร่

ชนัดดา : หน้าไฮซีซั่นโดยเฉลี่ย 7 วัน

พบไชยส์ : โดยเฉลี่ยทั้งปีจากนักท่องเที่ยวทุกชาติอยู่ที่ 4-5 วัน และสิ่งที่ภูเก็ตแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ คือ ไฮซีซั่นกับโลว์ซีซั่น จำนวนแขกใกล้เคียงกัน ที่แตกต่างกันคือราคาเท่านั้นเอง ไม่ใช่ว่านักท่องเที่ยวจะb ถ้าเป็นป่าตองจะแข็งแกร่งในตลาด Short-haul อาจจะมา 2-3 คืน ทำให้อัตราเฉลี่ยของการพักอาศัยสั้นลง

GM : ในฐานะพันธมิตรทางการเงินของกสิกรไทย หรือเคแบงก์

วิศรุต : ผมเพิ่งสัมผัสกับเคแบงก์ได้ไม่นาน แต่เห็นได้ชัดว่า 4-5 ปีหลังนี้

เคแบงก์มีการทำรีเลชั่นกับลูกค้าดีขึ้นกว่าเดิมมาก บุกตลาดและจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับลูกค้าเยอะมาก ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้ากับธนาคาร และเคแบงก์เข้ามาในรูปแบบของที่ปรึกษาในการลงทุน การกู้เงิน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจผมเป็นอย่างดี

พบไชยส์ : ผมเป็นลูกค้าเคแบงก์มาประมาณ 2 ปี ซึ่งเหตุผลที่ผมใช้

เคแบงก์ สรุปง่ายๆ เป็น 3 R คือ Resource เคแบงก์ผนวกทั้งทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทำให้เป็นองค์กรที่ทรงคุณค่ามาก เพราะนอกจากผมจะต้องการสนับสนุนทางการเงินแล้ว ผมยังต้องการคำปรึกษาจากบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถ

วิศรุต แซ่เต้ง

ซึ่งจะช่วยให้ผมสามารถประเมินสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรอบคอบและรอบด้าน ต่อมาคือ Revolution เพราะเคแบงก์เป็นธนาคารที่เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา พร้อมที่จะตอบโจทย์ทุก Business Model เข้าใจสภาพการแข่งขันของธุรกิจ และความสำเร็จของเคแบงก์ก็ทำให้สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งหยิบยกเคแบงก์ไปเป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียนด้วย สุดท้ายคือ Relation ที่ทำให้เคแบงก์โดดเด่นกว่าธนาคารอื่น เพราะให้คำปรึกษากับพันธมิตรในทุกๆ ด้าน และอาจด้วยเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ อายุใกล้เคียงกันกับผม ทำให้การประสานงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและเข้าใจกันมากขึ้น

ชนัดดา : คุณพ่อใช้บริการเคแบงก์นานกว่า 40 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่ธุรกิจโรงไม้ พอมาทำธุรกิจโรงแรมก็ได้รับการสนับสนุนมาตลอด เคแบงก์เป็นธนาคารไทยที่มีความมั่นคง และเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ เคแบงก์มีความยืดหยุ่น เข้าใจในความต้องการของลูกค้า สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ หากเคแบงก์ศึกษาแล้วว่าน่าทำการลงทุน เราก็เชื่อมั่นว่าจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุนครั้งนี้ ที่สำคัญยังสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น K-Cash Connect ทำให้เราสั่งจ่ายเช็ค

ณ จุดจ่ายเช็คของธนาคาร แทนที่เราจะจ่ายเช็คและให้ลูกค้าหรือซัพพลาย-เออร์มารับเช็คที่เรา ด้วยบริการนี้ทำให้ช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้ นอกจากนี้เคแบงก์ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คอยใส่ใจ สอบถามความต้องการและปัญหาของลูกค้าตลอดเวลา พยายามช่วยแก้ปัญหาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และตอนนี้ก็ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆของเคแบงก์เกือบหมดแล้ว

ศึกษิต : จากการใช้บริการเคแบงก์มา รู้สึกว่าสิ่งที่แตกต่างจากธนาคารอื่น คือ เคแบงก์พยายามเข้าใจคาแร็กเตอร์ของลูกค้า เพราะแค่งบการเงินทุกคนดูปุ๊บก็เข้าใจ แต่การศึกษาลูกค้าว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนกว่า เคแบงก์เองก็มีกิจกรรมที่จะให้ลูกค้าได้แสดงตัวตน ที่สำคัญผมประทับใจในเรื่อง One Stop Service ถ้าเรามีโปรเจ็กต์ใหม่ ก็ดีลกับพนักงานเพียงคนเดียว เขาก็จะช่วยประสานงานให้ สะดวก รวดเร็ว และได้ผลิตภัณฑ์ที่ครบครัน

นอกจากนี้ก็จะมีที่ปรึกษาคอยแนะนำข้อดีข้อเสียของระบบอิเล็ก-ทรอนิกส์ทางการเงินต่างๆ ว่าเหมาะกับกิจการเราหรือเปล่า ตอนนี้ไม่ได้มองเคแบงก์ว่าจะคอยสนับสนุนเรื่องเงินกู้เพียงอย่างเดียว แต่คิดว่าเคแบงก์เหมือนที่ปรึกษาที่คอยแนะนำเราทำธุรกิจ ข้อมูลหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ก็ได้จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เพราะเขามีข้อมูลที่แน่นและลึก บางครั้งรู้เยอะและรู้ดีกว่าเราซึ่งอยู่ในพื้นที่ คอยให้คำแนะนำเราได้เป็นอย่างดี มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และความคิดเห็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น เช่น ให้คำแนะนำในเรื่องการรีโนเวทโรงแรม เพื่อปรับราคาขายให้สูงขึ้น

ปกรณ์ : เคแบงก์มีการพัฒนาด้านเครือข่ายเทคโนโลยีและพนักงานอย่างต่อเนื่องชัดเจนเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ถึงขีดสุด ซึ่งแนวทางในการทำธุรกิจของผมก็จะยึดหลักตามแนวของเคแบงก์ที่เน้นความทันสมัย ตลอดจนการบริการที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผมบอกได้เลยว่าไม่รู้สึกผิดหวังเลยที่เลือกเคแบงก์

จะเห็นได้ว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ในภูเก็ตทั้ง 5 คน มีความพร้อมที่จะพัฒนาภูเก็ตอย่างเต็มที่อยู่แล้ว เช่นเดียวกับผู้ประกอบการท้องถิ่นรายอื่นที่เพียรสร้างและวางรากฐานธุรกิจในภูเก็ตมาอย่างยาวนาน ยิ่งมีพันธมิตรทางการเงินที่แข็งแกร่งอย่างธนาคารกสิกรไทยพร้อมให้การสนับสนุน กอปรกับการกระตุ้นให้ภาครัฐลงมาดูแลและจัดการกับปัญหาต่างๆ อย่างจริงจัง ก็น่าจะทำให้ภูเก็ตสามารถขยายขอบเขตความเป็นเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมกันพัฒนาภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย และสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวให้กลับมาเยือนครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่รู้เบื่อ

DID YOU KNOW ?

จากการจัดอันดับของ www.tripadvisor.com เพื่อมอบรางวัล Travel Choice Award 2012 ประเภท Beach Destinations หาดกะตะ จังหวัดภูเก็ต ติดอันดับ 6

ภูเก็ตในฝัน

1. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคม โดยเฉพาะในเส้นทางหลักและรอง และปรับโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้มีมาตรฐานเพียงพอต่อความต้องการ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก และลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ

2. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก และรองรับการขยายตัวทางด้านการท่องเที่ยวให้สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น

ในแต่ละปี

3. พัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้น้ำ

4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผสมผสาน แนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตในทุกภาคการผลิต

และทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างฐานการผลิตอย่างยั่งยืนและเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ

5. เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการ การพัฒนาทักษะ ให้ตรงความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ