5 ปัจจัย ที่สตาร์ทอัพสาย Edtech ต้องตีโจทย์ให้แตก!!
แม้ทั่วโลกจะกำลังเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดจากไวรัสโควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราในทุกๆ แง่มุม จนส่งผลกระทบต่อธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมอย่างมาก
แต่ในขณะที่หลายธุรกิจประสบปัญหานั้น ในหลายธุรกิจ ก็สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้เช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจและสตาร์ทอัพด้าน Edtech เพราะในวันที่เกิดวิกฤติ Edtech ถูกกระตุ้นให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพื่อที่จะเข้ามาแก้ปัญหาทางการศึกษาที่ไม่สามารถดำเนินการสอนได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนา Edtech ให้กลายเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่จะพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศตลอดจนสร้างมาตรฐานการเรียนรู้ส่วนบุคคลในอนาคตต่อไปได้นั้นต้องพิจารณาถึง 5 ปัจจัย จากมุมมองของ อริญญาเถลิงศรีกรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียนที่เธออยากให้นักพัฒนา Edtech มองให้ออก
1.ต้องทำให้คนทุกคนเข้าถึง: หากจะบอกว่าการศึกษาในบ้านเรามีความเหลื่อมล้ำมายาวนาน ส่วนหนึ่งก็เพราะองค์ความรู้ดีๆ มักจำกัดอยู่ในวงแคบๆ Edtech จะต้องทลายกรอบตรงนี้ และทำให้องค์ความรู้เข้าไปอยู่ได้ในทุกจังหวัดและทุกพื้นที่ของประเทศไทย ผ่านมือถือและเน็ตเวิร์กที่เชื่อมทุกคนเข้าไปถึงแหล่งความรู้เดียวกันได้จริง
2.ต้องมีราคาที่เอื้อมถึงได้: ปัญหาใหญ่ด้านการศึกษาอีกอย่าง คือ ราคา หากมีการนำเทคโนโลยีบางอย่างที่ดึงความรู้มากมายมาสู่คนทุกคน ก็ต้องเป็นองค์ความรู้ที่แตะต้องได้ หากมีมูลค่าหรือราคาก็ต้องอยู่ในระดับที่คนจนหรือรวยไม่กระทบ
3.ต้องโต้ตอบกันได้: เวลาพูดถึง Edtech บางคนก็ตีโจทย์ไปถึงการนั่งเรียนออนไลน์ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่อย่าลืมว่าการเรียนรู้ที่ดี จำเป็นต้องมีการตอบโต้กันได้ ฉะนั้นในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่นำออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องไม่ลืมการสร้างระบบ Interactive learning เข้ามาผสมสานให้ได้มากที่สุด อย่าทำให้การเรียนผ่านเทคโนโลยีกลายเป็นแค่เรื่องน่าเบื่อ
4.ต้องวัดผลได้: คนที่เข้ามาเรียนในระบบการศึกษาแบบใหม่ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน ควรต้องสร้างระบบการตรวจสอบและวัดผลพวกเขาได้ด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เรียนอย่างเดียว และถ้าให้ดีต้องมีการสร้างใบรับรองบางอย่าง เพื่อให้สิ่งที่เขาได้เรียนรู้ไปเกิดการการันตีในคุณภาพรายบุคคลด้วย
5.ต้องจบในที่เดียว: ทุกวันนี้เชื่อว่าทุกคนเข้าถึงสมาร์ทโฟนกันได้ง่ายขึ้น การมอบประสบการณ์ด้านการศึกษาบนสมาร์ทโฟนในรูปแบบของ ‘จบในที่เดียว’ เป็นสิ่งที่ Edtech ต้องตระหนัก เช่น เรียน ส่งการบ้าน สอบวัดผล ปรึกษาครู และอื่นๆ ควรทำให้ทุกอย่างอยู่บนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งที่คนจดจำ และต้องง่ายในการเข้าใช้งานด้วย
@@ STARTUP THAILAND x INNOVATION THAILAND EXPO 2020 มิติใหม่ของการจัดงานในรูปแบบโลกนวัตกรรมเสมือนจริง (Virtual World) ครั้งแรกของประเทศไทยระหว่างวันที่ 1-4 กันยายน 2563พบกับหัวข้ออัพเดทโลกแห่งนวัตกรรมและร่วมการพูดคุยตอบโต้กับสตาร์ทอัพพร้อมทั้งกูรูมากมายที่มารวมตัวอยู่นี้งานนี้แบบเรียลไทม์บน https://stxite2020.nia.or.th
เข้าร่วมงานฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย…
#GMLive #EdTech #อริญญาเถลิงศรี #SEAC #การศึกษา #STARTUPTHAILANDxINNOVATIONTHAILANDEXPO2020 #ST2020 #ITE2020 #NIA