fbpx

นักวิจัยพบวัคซีนชนิดใหม่ สอนระบบภูมิคุ้มกันให้ฆ่าเซลล์มะเร็ง

กองทัพภูมิคุ้มกันนี้จะเรียนรู้ที่จะจดจำลักษณะของเซลล์เนื้องอกเพื่อให้สามารถค้นหาและทำลายพวกมันทั่วร่างกาย โดยการเปลี่ยนเนื้องอกให้กลายเป็น ‘โรงงานผลิตวัคซีนมะเร็ง’

Reasons to Read

  • กองทัพภูมิคุ้มกันนี้จะเรียนรู้ที่จะจดจำลักษณะของเซลล์เนื้องอกเพื่อให้สามารถค้นหาและทำลายพวกมันทั่วร่างกาย โดยการเปลี่ยนเนื้องอกให้กลายเป็น ‘โรงงานผลิตวัคซีนมะเร็ง’
  • วิธีนี้ยังสามารถเพิ่มความสำเร็จของการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ เช่น การรักษาแบบ ‘Checkpoint Blockade’
  • การรักษาร่วมกันทั้งสองวิธีสามารถบรรเทามะเร็งในหนูได้ดีกว่าเป็นสองเท่า จากร้อยละ 40 ถึงประมาณร้อยละ 80

นักวิจัยที่เมาต์ ซีนาย ได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉีดสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันลงในเนื้องอกโดยตรงเพื่อสอนระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายเซลล์มะเร็ง

ผลการศึกษาดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature Medicine ฉบับเดือนเมษายน 2019 ระบุว่า การฉีดวัคซีนที่แหล่งกำเนิดมะเร็งได้ผลดีมากในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะลุกลาม

การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ประกอบด้วย การให้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยตรงในเนื้องอก โดยการกระตุ้นครั้งแรก เป็นการชักชวนเซลล์ภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่เรียกว่า ‘เซลล์เดนไดรติก’ (Dendritic Cell) ที่ทำหน้าที่เหมือนนายพลของกองทัพภูมิคุ้มกัน และสารกระตุ้นที่สองจะกระตุ้นเซลล์เดนไดรติก ซึ่งจะสั่งให้ทีเซลล์ (T Cell) ซึ่งเป็นทหารของระบบภูมิคุ้มกันไปฆ่าเซลล์มะเร็ง

กองทัพภูมิคุ้มกันนี้จะเรียนรู้ที่จะจดจำลักษณะของเซลล์เนื้องอกเพื่อให้สามารถค้นหาและทำลายพวกมันทั่วร่างกาย โดยการเปลี่ยนเนื้องอกให้กลายเป็น ‘โรงงานผลิตวัคซีนมะเร็ง’

นอกจากนี้ ‘โจชัว โบรดี้’ (Joshua Brody) ผู้อำนวยการโครงการภูมิคุ้มกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่สถาบันมะเร็งทิสช์ (The Tisch Cancer Institute) แห่งโรงเรียนแพทย์ไอคาห์น (Icahn School of Medicine) ที่เมาต์ ซีนาย รัฐนิวยอร์ก กล่าวว่า วิธีนี้ยังสามารถเพิ่มความสำเร็จของการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ เช่น การรักษาแบบ Checkpoint Blockade

หลังจากการทดสอบวัคซีนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในห้องทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วย 11 คน พบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการทุเลาลง ส่วนการทดสอบกับหนูพบว่าหนูก็ตอบสนองต่อการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันแบบ ‘Checkpoint Blockade’ เมื่อรักษาร่วมกับวัคซีน แม้ว่าส่วนนี้ยังไม่ได้ทดสอบในมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงพบว่าการรักษาร่วมกันทั้งสองวิธีสามารถบรรเทามะเร็งในหนูได้ดีกว่าเป็นสองเท่า จากร้อยละ 40 ถึงประมาณร้อยละ 80

ศักยภาพที่น่าประทับใจของการรักษาแบบผสมนี้ กำลังได้รับการประเมินทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม มะเร็งศีรษะและลำคอ ในขณะเดียวกันการทดสอบการรักษาด้วยวัคซีนกำลังดำเนินการกับผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งรังไข่

แม้จะยังเป็นหนทางอันยาวไกลที่ต้องทำการศึกษาค้นคว้า แต่ด้วยสัญญาณที่ดีทั้งหมด เราก็สามารถคาดหวังได้ว่าการรักษาใหม่ที่ค่อยๆ กำลังพัฒนาอยู่นี้อาจเอาชนะโรคร้ายที่ครั้งหนึ่งเคยรักษาไม่หายได้สำเร็จ

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ