fbpx

TikTok’s Power 15 วิฯ พิชิตใจคนรุ่นใหม่

เรื่อง : Mr.Lens

TikTok เป็น Short Clip แห่งโลกโซเชียลมีเดีย ที่ผู้ใช้สามารถสร้างและรับชมคลิปวิดีโอสั้นได้ในระยะเวลา 15 วินาที (เคยมีคนพยายามจะทำให้มันมากกว่า 15 วินาที แต่ก็ดูจะไม่สำเร็จ)

เสน่ห์ของ TikTok ที่ทำให้เริ่มกลายเป็นอีกกระแสการใช้งานนั้น มาจากฟีเจอร์เพลงและลูกเล่นให้ตกแต่งคลิปอยู่มากมาย โดยเจ้าของแพลตฟอร์มนี้คือ ByteDance บริษัทเทคโนโลยีจากประเทศจีน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2012

แน่นอนว่าจากแนวโน้มของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ที่เปลี่ยนการแชร์เรื่องราวในชีวิต จากตัวหนังสือและรูปภาพ มาเป็นคลิปวิดีโอสั้นมากขึ้น ทำให้ TikTok ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยแอปฯ ตัวนี้ถูกดาวน์โหลดไปแล้วมากกว่า 1,500 ล้านครั้งทั่วโลก และมีผู้ใช้งานประจำ (Active Users) อยู่ราว 800 ล้านบัญชีต่อเดือน

ที่น่าสนใจและเริ่มพูดถึงกันแล้วในแง่ของโอกาสและการสร้างรายได้จาก TikTok มาจากตัวเลขการเติบโตแบบก้าวกระโดด

ปี 2017 รายได้ 76,000 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 217,000 ล้านบาท
ปี 2019 ตั้งเป้ารายได้ 516,000 ล้านบาท

ตัวเลขนี้ส่งให้ตัวธุรกิจ TikTok ถูกประเมินมูลค่าไว้ถึง 2,356,000 ล้านบาท และทำให้ ByteDance ประสบความสำเร็จในธุรกิจโซเชียลมีเดียในระยะเวลาอันสั้น

แล้วทำไมจู่ๆ แอปพลิเคชัน TikTok นี้ ถึงเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้เร็วขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในรูปแบบของวิดีโออยู่ไม่น้อย

เมื่อปีที่แล้ว มีสถิติที่น่าสนใจ มีที่มาจากหัวข้อหนึ่งอย่าง ‘How the 15-second video platform has changed the world and become a destination for your brand’
ในงาน DAAT DAY 2019 ดังนี้

            • ภูมิภาค South East Asia ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน

            • ประเทศไทยใช้อินเทอร์เน็ตสูงถึง 2 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว

            • กลุ่ม Gen Y-Z อยู่กับโทรศัพท์ถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน

            • กลุ่ม Gen Y-Z มีช่วงเวลาในการให้ความสนใจดูวิดีโอทั่วไปอยู่เพียงแค่ 8 วินาที

เนื่องจากข้อมูลสถิติเบื้องต้นเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ เช่น กลุ่ม Gen Y และ Z ที มีอายุระหว่าง 16-35 ปี มีพฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะคนไทย ซึ่งพวกเขาจะมีความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงเวลาน้อยมากๆ

หมายความว่าถ้าใครหรือแบรนด์ไหนคิดจะทำคอนเทนต์ใดๆ ขึ้นมาต้องน่าสนใจและเจ๋งมากพอที่จะทำให้คนดูจนจบได้จะเป็นเรื่องที่ยากมาก หากเนื้อหานั้นๆ ‘ปราศจากความสนุกสนาน’ เพราะนี่คือคอนเทนต์ฮีโร่ที่คนทั่วโลกเขาดูกันนั่นแหละ

ฉะนั้น เมื่อตัวแพลตฟอร์มของ TikTok กำหนดเนื้อหาไว้ในเวลา 15 วินาที จึงกลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีคอนเทนต์เข้าใจง่าย มีความสนุกสนานแบบปนไอเดียสร้างสรรค์อยู่เป็นจำนวนมาก

คนที่เป็นครีเอเตอร์ใน TikTok เรียกว่ามีทั้งคนดัง ดารา ศิลปิน รวมถึงชาวบ้านตาดำๆ ที่ใช้ 15 วินาทีนี้ ถ่ายทอดเนื้อหาที่เกี่ยวกับความสนุกสนาน ภาพตลก ภาพน่ารักๆ และภาพที่ดึงดูดสายตา จนเกิดการนำไปแชร์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ เช่น การเอาหน้ามาวางบนฝ่ามือ หรือแม้แต่การเต้น ‘โอ้ หน่าหน่านา’ ที่หลายคนคงคุ้นตาและคุ้นหู

โอกาสบนข้อกังขาของความเกรียนกาก

ถ้ามองดูตัวเลขการเติบโตนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2019 เจ้าแอปฯ TikTok นี้กวาดผู้ใช้งานทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 500 ล้านคนต่อเดือน และมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่น่าเซอร์ไพรส์มากๆ คือ หนึ่งในผู้ใช้บริการคือคนในสหรัฐอเมริกา ที่มียอดผู้ใช้เฉลี่ยถึง 26 ล้านคน เมื่อพิจารณาถึงอัตราการขยายตัวที่สูงมาก จึงดูว่าคุ้มค่าที่จะพิจารณาใช้ TikTok เป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้

ผู้ใช้งาน Tik Tok ประเทศไทย (กลางปี 2019)
-60% ของผู้ใช้งานคือ Gen Z ผู้หญิง 60% ผู้ชาย 40%
-35 % ใช้งานบน iOS และ 65% บน Android

Monthly Active User 33 ล้านบัญชี ต่อเดือน ใช้เวลาประมาณ 34 นาที ต่อวันเข้าประมาณ 5 ครั้ง ต่อวัน ผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา ชลบุรี นครราชสีมา

ใช้เป็นก็ ‘หาเงิน’ ได้

แต่ยังไงซะ ถ้าใช้ให้เป็น ก็สามารถนำเสนอธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของคุณไปสู่ผู้คนมากมายได้ผ่าน TikTok เช่นกัน เพราะโลกเราก็มีแพลตฟอร์มที่ทำงานในลักษณะคล้ายกันเช่นนี้อยู่มากมาย

เช่น Facebook สื่อสังคมออนไลน์ ที่มีจุดเริ่มต้นเป็นเสมือนชุมชนและพื้นที่ให้ผู้คนได้พูดคุย ทำความรู้จักกัน ต่อยอดมาสู่แฟนเพจ บล็อกสำหรับเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ พื้นที่ให้แบรนด์ต่างๆ ใช้สื่อสารกับผู้บริโภค ที่สุดท้ายกลายมาเป็นพื้นที่ในการสร้างรายได้ให้กับทั้งคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และ Facebook เอง จากการโฆษณา การโปรโมตโพสต์ และอื่นๆ จนกลายเป็นพื้นที่ออนไลน์ที่ทำให้ผู้คนได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ซึ่งกันและกันได้

ล่าสุดทาง Facebook ได้ต่อยอดสู่การพัฒนาสกุลเงิน ‘ลิบรา’ ซึ่งอาจกลายเป็นอีกก้าวสำคัญของระบบเศรษฐกิจในอนาคต

LINE จากแอปฯ แชตธรรมดา ถูกต่อยอดจนกลายมาเป็นแพลตฟอร์มต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น LINE TV, LINE Man, LINE Sim, LINE Sticker, Rabbit LINE Pay, LINE News ฯลฯ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งได้มาจากการต่อยอดข้อมูล Database ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดเป็นแอปพลิเคชันต่างๆ ของไลน์อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีแพลตฟอร์มต่างๆ มากมายที่เราไม่ได้เอ่ยถึง

คราวนี้พอย้อนกลับมามองที่ TikTok แม้จะพูดว่าเป็นช่วงเริ่มต้น และยังคงเป็นแอปฯ ‘ฟรี’ ที่ไม่ได้มีโมเดลธุรกิจหาเงินอย่างชัดเจน จนยังคำนวณผลสำเร็จด้านกำไรในประเทศไทยได้ชัดนัก แต่ก็ต้องยอมรับว่าวันนี้ TikTok เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถสร้างไวรัลได้อย่างมหาศาล และนี่ก็อาจจะเป็นโอกาสของคนที่มองเห็นก่อน

อย่างไรก็ตาม TikTok ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองการสร้างรายได้ โดยโมเดลล่าสุดคือการทำผ่าน ‘Hashtag Challenge’ ให้เหล่าครีเอเตอร์ได้แชร์วิดีโอโดยใช้แฮชแท็กในการโฆษณาหรือ Tie-in สินค้า ซึ่งข้อดีของ Hashtag Challenge ก็คือการสร้างคอนเทนต์ที่ก่อให้เกิดการท้าทาย ส่งผลให้เกิดเป็นไวรัลคอนเทนต์อย่างต่อเนื่องแบบออร์แกนิก

นอกจากนี้ก็กำลังทำการบ้านอย่างหนักเพื่อลบภาพลักษณ์ว่าเป็นแอปฯ ที่มีคอนเทนต์ไม่มีคุณภาพ (แนวกากเกรียนมารวมตัว) ออกไป อย่างล่าสุดได้จัดงาน Open House เปิดบ้านให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับขีดความสามารถ กลุ่มเป้าหมาย และจุดยืนในการเป็นแอปพลิเคชันพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ผ่านคอนเทนต์วิดีโอแบบ One Stop Service

ก้าวข้ามผิด Facebook / Google

ฉะนั้นอย่ามองว่าโลกมีแค่ Facebook กับ Google เพราะแพลตฟอร์มที่แข็งแรง และดึงจำนวนคนเข้าไปไหลเวียนได้มาก ก็มีพลังในการกระชากกำลังเงินจากเจ้าของแบรนด์ได้เหมือนกัน

ยิ่งหากมองดูแนวทางในการหารายได้ของ TikTok ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศแล้วนั้น ก็ดูน่าสนใจด้วย ซึ่งเหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเด็กและวัยรุ่นเป็นอย่างสูง จากรูปแบบโฆษณาที่หลากหลายน่าสนใจ สามารถสร้างสรรค์ไอเดียได้อย่างแปลกใหม่ และมีโอกาสสร้างเป็นกระแสได้ไม่ยาก แถมยังสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมอีกด้วย

หมายความว่า แบรนด์ที่ต้องการความแปลกใหม่ในการสื่อสาร ถ้าหากมีไอเดียแล้ว ไม่ควรปล่อยโอกาสนี้ให้นานจนเกินไป เพราะต่อไป TikTok น่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่หลายแบรนด์หันมาให้ความสำคัญเพิ่มเติมกันอย่างแน่นอน ดังนั้น ใครรีบมาก่อนก็ย่อมได้เปรียบ ณ จุดนี้

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ช่องทาง TikTok ยังเป็นช่องทางการสื่อสารที่ใหม่ในวงการ หากใครสนใจจะทำโฆษณาจริงๆ ก็สามารถติดต่อ บริษัท มีเดีย โดนัทส์ ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์และตัวแทนจำหน่ายโฆษณาอย่างเป็นทางการ (Official Partner) ของ TikTok ในประเทศไทยกันได้

5 ทางลัดสู่ครีเอเตอร์ Tik Tok มือโปร

ทีนี้ถ้าใครที่กำลังจะก้าวสู่เป็นครีเอเตอร์ในคอมมูนิตี้ของ TikTok และหวังว่าอยากจะทะยานคว้าโอกาสในการสร้างรายได้ด้วย TikTok ก็ขอให้ลองมาโฟกัสมุมนี้สักหน่อย โดย TikTok นั้นเหมาะกับการทำโฆษณาเพื่อวัตถุประสงค์หลักๆ อยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ Reach (เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย) และ Engagement (สร้างปฏิสัมพันธ์)

Reach (เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย)

1.Brand Takeover รูปแบบโฆษณาที่สามารถ Reach ได้เยอะที่สุด เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มีแคมเปญอยู่แล้ว และอยากโปรโมตข้อความสั้นๆ เพื่อสร้างการรับรู้ และตอกย้ำก่อนที่ผู้ใช้งานจะเข้าไปยัง Feed

2.Top View รูปแบบโฆษณาในตำแหน่งด้านบนที่สามารถสร้างได้ทั้ง Reach และ Traffic ไปยังหน้าเว็บของแบรนด์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีจำนวนการแสดงผล หรือ Impression เป็นจำนวนมากหลายล้านต่อวันเลยทีเดียว

3.In-Feed Ads รูปแบบโฆษณาที่จะขึ้นระหว่าง Feed VDO Content ต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยในเรื่องของ Reach และยังสามารถใส่ Call to Action ต่างๆ เพื่อเพิ่ม Conversion ได้อีกด้วย

Engagement (สร้างปฏิสัมพันธ์)

1.Hashtag Challenge รูปแบบโฆษณาในลักษณะของการจัดทำแคมเปญ เพื่อท้าให้ผู้ใช้งานร่วมกิจกรรมเพื่อลุ้นรับรางวัลต่างๆ จนกลายเป็นกระแส ซึ่งสามารถสร้าง Engagement กับแบรนด์ได้ในปริมาณมหาศาล

2.รูปแบบโฆษณาที่แบรนด์สามารถเข้ามาสร้างสรรค์ Effect ต่างๆ ทั้งภาพ และเสียงเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ประกอบกับวิดีโอขนาดสั้นของพวกเขาได้ โดยรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ค่อนข้างคุ้มค่าในการลงทุน เพราะเป็นการสร้าง Visibility ในระยะยาวให้อยู่ในแอปฯ และหาก Effect ไหนน่าสนใจ ผู้ใช้งานก็มีโอกาสหยิบไปใช้บ่อยได้

เทคนิคสร้าง Tik Tok ให้โดนใจ

เพื่อให้ภาพชัดยิ่งขึ้น ใครที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นครีเอเตอร์มือใหม่ในโลก TikTok สามารถหยิบทริคนี้ไปพัฒนาดูได้

เน้นบันเทิงจับกลุ่มวัยรุ่น

สิ่งแรกที่ร้านค้าออนไลน์ต้องเข้าใจคือ ผู้ใช้แอปฯ นี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัย 16-24 ปี วิธีการสื่อสาร การทำคอนเทนต์บน TikTok จึงเน้นที่ความสนุกสนาน ซึ่งการทำคอนเทนต์บนแอปฯ นี้ก็ง่าย เพราะจะมีตัวช่วยให้เสร็จสรรพในการทำคลิปยาว 15 วินาที พร้อมดนตรีประกอบ โดยในต่างประเทศเริ่มหันมาใช้แอปฯ นี้ในการโปรโมตสินค้าแล้ว เช่น Lush แบรนด์สบู่ออร์แกนิกจากเกาะอังกฤษ ที่ทำการนำเสนอผลิตภัณฑ์แบบสนุกๆ คลอไปกับเสียงดนตรี

โดยการตลาดแบบนี้จะทำให้สินค้านั้นดูจับต้องได้และดูเป็นจริงมากกว่าการที่แบรนด์หรือธุรกิจพยายามสร้างมีมให้เป็นไวรัลเสียอีก

ดึงลูกค้าจากแฮชแท็กชาเลนจ์

อีกวิธีหนึ่งในการโปรโมตธุรกิจบน TikTok คือ การสร้างแฮชแท็กชาเลนจ์ ที่ท้าให้ผู้ใช้ทำคอนเทนต์ขึ้นมาใหม่หรือรีคอนเทนต์ แล้วติดแฮชแท็กชื่อแบรนด์สินค้าเข้าไป อย่าง GUESS แบรนด์แฟชั่นชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นบริษัทแรกๆ ที่ใช้กลยุทธ์นี้ในการทำการตลาด โดยท้าให้ผู้ใช้ TikTok ถ่ายคลิปตัวเองใส่ยีนส์คอลเลกชันใหม่ของแบรนด์แล้วติดแฮชแท็ก #InMyDenim

หรือล่าสุดกับทางเชนร้านอาหารอย่าง Chipotle ที่ทำแคมเปญ #GuacDance ออกมา ซึ่งถือว่าเป็นชาเลนจ์ของ TikTok ที่ได้รับการตอบรับที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา ทำให้ทางร้านเสิร์ฟเครื่องเคียงในวัน Guacamole Day ไปได้ถึง 800,000 จาน ที่สำคัญการทำแฮชแท็กชาเลนจ์แบบนี้นอกจากจะช่วยโปรโมตธุรกิจได้แล้ว ยังช่วยทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ และเป็นการสร้าง Engagement ที่ดีอีกทางหนึ่ง

จับมือร่วมกับ Influencers

อย่างที่รู้กันว่า Gen Z นั้นไม่อินกับการโฆษณาในรูปแบบเดิมๆ การใช้ Influencers บน TikTok จึงสามารถเป็นตัวกลางช่วยเชื่อมแบรนด์เข้าสู่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ และเพื่อให้การใช้ Influencers บนแพลตฟอร์มนี้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถทำได้โดยการใช้เครื่องมือทางออนไลน์ค้นหาประวัติหรือ Bio บน TikTok เป็นต้น

-หลังจาก TikTok เปิดตัวในเดือนกันยายน 2016 วันนี้ TikTok มีผู้ใช้งาน 500 ล้านคนทั่วโลก
-TikTok ถูกยกเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมอันดับ 9 ของโลก เหนือกว่า LinkedIn,
Twitter, Pinterest และ Snapchat ผู้ใช้ประจำทุกวัน (Active Daily User) 150 ล้านรายอยู่ในประเทศจีน

ยอดดาวน์โหลด TikTok
-TikTok เป็นแอปฯ ที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในไตรมาส ที่ 1 ปี 2019
3 เดือนแรกของปี 2019
-มีผู้ใช้ใหม่ 188 ล้านคนเพิ่มขึ้นมาใน TikTok ยอดดาวน์โหลด TikTok คิดเป็นสัดส่วนเติบโต 70% เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2018
-TikTok มีผู้ใช้บริการใหม่ประมาณ 13.2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาในช่วงไตรมาสที่ 1
ปี 2019
-TikTok มีผู้ใช้บริการใหม่ประมาณ 13.2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาในช่วงไตรมาสที่ 1
ปี 2019

อิทธิพล TikTok บน Apple App Store
-TikTok เป็นแอปฯ ที่ดาวน์โหลดมากที่สุดบน App Store ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2019
-ยอดดาวน์โหลด TikTok บน App Store มีมากกว่า 33 ล้านครั้ง เหนือกว่า YouTube และ Instagram
-TikTok ครองตำแหน่งแชมป์แอปฯ ที่ดาวน์โหลดมากที่สุดใน Apple App Store มากว่า 5 ไตรมาสติดต่อกัน

TikTok ปักหลักวัยรุ่น
-41% ของผู้ใช้ TikTok มีอายุระหว่าง 16-24 ปี
-TikTok ฮิตในกลุ่มวัยรุ่น เพราะช่วยให้ผู้ใช้สร้างและแบ่งปันวิดีโอตลกฮาในขณะที่ร้องเพลง เต้นรำ หรือซิงค์เพลงโปรด

ผู้ชายฮิต TikTok
-ข้อมูลปี 2018 ชี้ชัดว่า Tik Tok เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้เพศชายมากกว่าเพศหญิง
-ผู้ใช้ TikTok ราว 55.6% เป็นเพศชาย
-44.4% ของผู้ใช้ TikTok เป็นเพศหญิง

ดู TikTok เกือบชั่วโมงทุกวัน
-เวลาใช้งาน TikTok โดยเฉลี่ยคือ 52 นาทีต่อวัน
-เวลาเฉลี่ยของ TikTok ถือว่าเทียบเท่ากับ Instagram ที่มีเวลาเฉลี่ย 53 นาที และ
Snapchat ที่เวลาเฉลี่ย 49.5 นาที
-TikTok ยังคงเป็นรองเจ้าตลาดอย่าง Facebook ที่เป็นแชมป์ด้วยเวลาเฉลี่ย 58.5 นาที
ต่อวัน

TikTok คลุมทั่วโลก
-ตั้งแต่ปี 2019 น้องใหม่ TikTok ให้บริการใน 155 ประเทศ
-TikTok รองรับ 75 ภาษา ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่
-TikTok มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 10 ล้านครั้งโดยคนไทย และในอินเดียมีผู้ใช้ TikTok มากกว่า 20 ล้านคน

ผู้ใช้ชมบ่อย
-ผู้ใช้ TikTok กว่า 68% ดูวิดีโอของคนอื่น
-55% ของผู้ใช้ TikTok อัปโหลดวิดีโอของตัวเอง

ชาวอเมริกันชอบ TikTok
-ผู้ใช้กว่า 26.5 ล้านรายจาก 500 ล้านรายของ TikTok มาจากสหรัฐอเมริกา
-สถิติผู้ใช้ TikTok ในสหรัฐฯ นี้รวมการดาวน์โหลด TikTok จากทั้ง Android และ iOS
-TikTok ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ชมรายการ The Tonight Show ที่สนับสนุนให้
ผู้ชมมีส่วนร่วมในแอปฯ

จำนวนยอดชมเฉลี่ยบน TikTok
-วิดีโอบน TikTok มากกว่า 1 ล้านตัว ถูกเปิดชมทุกวันในปีที่ผ่านมา
-สรุปง่ายๆ คือ TikTok มียอดชมกลมๆ 1 ล้านวิวต่อวัน

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ