fbpx

รู้ยัง ‘ตัวเคย’ ย่อยพลาสติกได้?แต่นั่นไม่ใช่ข่าวดีหรอกนะ

พลาสติกนั้นสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมได้มากขนาดไหน เพราะกว่าจะย่อยสลายไปเองได้ต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆ ปีเลย แต่อาจจะใช้เวลาน้อยกว่านั้นถ้า ‘เคย’ มาช่วยทำหน้าที่ย่อยสลาย

ทุกวันนี้นับว่าเป็นเรื่องดีที่กระแสรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกในบ้านเราเริ่มมีความตื่นตัวมามากกว่าแต่ก่อน เพราะหากยังไม่เริ่มทำอะไรตั้งแต่วันนี้หลายคนคงรู้ดีว่าพลาสติกนั้นสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมได้มากขนาดไหน เพราะกว่าจะย่อยสลายไปเองได้ต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆ ปีเลย แต่อาจจะใช้เวลาน้อยกว่านั้นถ้า ‘เคย’ มาช่วยทำหน้าที่ย่อยสลาย

‘เคย’ ที่ว่าก็คือตัวเคยที่ใช้มาทำกะปินั่นแหละ โดยเมื่อเร็วๆ นี้คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ของออสเตรเลีย ได้ทำการทดลองในห้องแล็บ โดยให้ตัวเคยย่อยเม็ดพลาสติกที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่ ก่อนจะค้นพบว่าตัวเคยแอนตาร์กติกา ที่พบในมหาสมุทรแอนตาร์กติก  สามารถกลืนกินและย่อยสลายเม็ดไมโครพลาสติกขนาดจิ๋ว ซึ่งเกิดจากขยะในท้องทะเลให้มีขนาดเล็กลงจนมีขนาดเล็กระดับนาโนได้

และนักวิจัยคาดว่าการย่อยเม็ดพลาสติกของตัวเคยจะยิ่งมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นหลายเท่าหากพวกมันได้อยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพราะว่าขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลจะถูกรังสียูวีจากแสงแดดทำให้เสื่อมสภาพลงก่อนที่จะมาถึงมือตัวเคยเหล่านี้

แต่อย่าเพิ่งคิดว่านี่เป็นข่าวดี เพราะพลาสติกที่ถูกตัวเคยย่อยให้เล็กจนเหลือแค่ระดับนาโนนั้นไม่ได้หายไปไหนเลย แต่จะถูกตัวเคยขับออกจากร่างกายคืนสู่ท้องทะเลดังเดิม และสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือเมื่อพลาสติกมีขนาดเล็กลงก็จะแพร่กระจายเข้าถึงส่วนลึกของมหาสมุทรได้ง่ายขึ้นไปกว่าเดิม และแน่นอนว่ามันจะถูกตรวจพบได้ยากขึ้นด้วย

และนอกจากตัวเคยแอนตาร์กติกาแล้ว นักวิจัยเชื่อว่าสัตว์ทะเลจำพวกแพลงก์ตอนที่มีเปลือกแข็งหุ้มอีกหลายชนิดก็น่าจะมีความสามารถในการย่อยเม็ดพลาสติกได้เหมือนกัน

ตอนแรกก็คาดว่านี่จะเป็นความหวังใหม่ในการกำจัดขยะพลาสติก แต่ไปๆ มาๆ กลับเป็นการสร้างปัญหาใหม่ซะอย่างนั้น สรุปแล้วการแก้ปัญหาจากต้นทางด้วยการลดใช้ถุงพลาสติกน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ