fbpx

ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ A LADY- MAN IN THE BACKYAR D

ผู้ทำศพแมลงชั่ว-ผู้ไม่อยู่ในศีลธรรมอันดี

คำเตือน : บทสัมภาษณ์นี้ ไม่เหมาะกับผู้มีศีลธรรมอันดี ตามนิยามที่เข้าใจกันทั้วไป และอาจเข้าข่าย เรด ห (ห้ามอ่าน​​​ !)  เหมือนกับภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard

– เปิดฉาก –

ซากแมลง

คำไว้อาลัยของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เมื่อ Insects in the Backyard ถูกสั่งห้ามฉายในงานเสวนาเชิงวิชาการเรื่อง พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์กับรัฐธรรมนูญไทย10 ธันวาคม 2553 ณ หอภาพยนตร์

– องก์ที่หนึ่ง –

แมลงหำ

สถานที่ : บาร์บาหลี ถนนพระอาทิตย์ ในสภาพร้านที่ว่างโล่งไร้ผู้คน มีเคาน์เตอร์ใหญ่กลางร้าน

เวลา : บ่ายต้นๆ

สถานการณ์ : บทพูดสองสามคน (Tri-Dialogue)

ตัวละคร : เป็นผู้กำกับที่กำลังเศร้าสร้อย ผู้กำกับผู้นี้มีเพศตามกำเนิดเป็นชาย แต่แต่งกายเป็นหญิงสาว หนังของเธอถูกสั่งห้ามฉายในราช-อาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ด้วย ‘เรต ห’

Character Description

ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ (ชื่อเดิม ชุมพล ทองทาบ) ชื่อเล่น กอล์ฟ เป็นชาวจังหวัดนครราชสีมา เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มีน้องสาว 1 คน เป็นคนที่สนใจเรื่องการแสดงมาตั้งแต่เริ่มเข้าวัยรุ่น หลังจากที่ได้ทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษอยู่พักใหญ่ ก็ได้เริ่มทำงานในวงการบันเทิงควบคู่กันไป จนในที่สุดก็ลาออกจากราชการแล้วเบนเข็มเข้าสู่วงการบันเทิงเต็มตัว (ข้อมูลจาก th.wikipedia.org) เธอไม่ได้ทำเฉพาะหนังสั้นหรือหนังอาร์ต แต่ยังรับกำกับหนังหลากหลายประเภท เข้าไปดูรายชื่อหนังได้ในเว็บไซต์เดียวกัน

Glossary

เรต ห หมายถึง ‘ห้ามฉายในราชอาณาจักร’ เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำหรับ Insects in the Backyard ในตอนแรกได้เหตุผลว่าเนื่องจาก ‘มีเนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน’ แต่ต่อมาตัด ‘ขัดต่อความสงบเรียบร้อย’ ออก

GM : คิดว่าอะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้หนังของคุณเรื่องนี้ต้องโดนเซ็นเซอร์ถึงขั้นห้ามฉายในราชอาณาจักรไทย

ธัญญ์วาริน : อย่างแรกเลย เขาบอกว่าหนังมีฉากผิดกฎหมาย เป็นฉากร่วมเพศที่เห็นอวัยวะ เราก็พยายามนึกว่ามันคือฉากไหนนะ ปรากฏว่ามันกลายเป็นฉาก 3 วินาทีที่เราถ่ายให้เห็นภาพในวิดีโอโป๊ ฉากผิดกฎหมายคือฉากนั้นฉากเดียว เป็นฉากที่ตัวละครนั่งดูหนังโป๊ 3 วินาที แล้วเขาก็ถามเราว่าทำไมถึงไม่ถ่ายให้เห็นแค่ตัวละครถือปกวีซีดีหนังโป๊ขึ้นมา แค่นี้เขาก็รู้กันแล้ว เราก็บอกว่ามันไม่ใช่แค่นั้น คือภาพนั้นที่เราให้เห็นในหนังมันมีความหมาย มันมีผลกับตัวละครที่นั่งดูอยู่ตรงนั้น แต่เขากลับมองว่ามันผิดกฎหมาย คือมันก็ตรงกับสิ่งที่พวกเขาเกลียดพอดี คือเขามองว่าการเอาตูดกันมันผิด ดังนั้น การให้เห็นภาพคนเอาตูดกันเลยกลายเป็นเรื่องที่ผิดไปด้วย แล้วเขาก็ยกฉากที่มีเด็กขายตัว

ในชุดนักเรียน กับฉากลูกฆ่าพ่อขึ้นมา ซึ่งเราสามารถอธิบายฉากเหล่านี้ ได้ อย่างฉากลูกฆ่าพ่อ มันก็เกิดขึ้นในความฝัน ไม่ใช่เรื่องจริง แล้วนักเรียนขายตัว เขาบอกว่ามันผิดศีลธรรม เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้คนต่างประเทศเห็น แล้วเขาก็กลัวเด็กจะเอาเยี่ยงอย่าง นี่คือสิ่งที่เขาบอกมา แต่เด็กมันจะไปเอาเยี่ยงอย่างได้ยังไง ในเมื่อคนที่จะดูหนังเรื่องนี้ได้ อย่างน้อยก็ต้องอายุเกิน 20 ปี และมีวุฒิภาวะในระดับหนึ่งแล้ว

คือจะบอกว่าคนอื่นๆ ไม่รู้ไม่เห็นเลยก็คงไม่ได้ เพราะเราอยู่ในประเทศไทย เราต่างก็รู้ว่ามันมีเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว แต่เขาไม่พยายามยอมรับในสิ่งที่หนังต้องการจะบอกมากกว่า เขาพยายามปฏิเสธว่าประเทศนี้ไม่มีสิ่งเหล่านี้ ซึ่งยิ่งการที่หนังเรื่องนี้ไม่ผ่านเซ็นเซอร์ มันก็ยิ่งตอกย้ำถึงสิ่งที่เราต้องการจะบอกในหนัง ว่าคนไทยพยายามทำเป็นไม่เห็นมัน แล้วก็พยายามจะเขี่ยมันออกไป คิดว่ามันไม่มีอยู่ แม้กระทั่งกับตัวหนังก็ยังโดนทำแบบนั้นเลย

GM : เข้าใจว่า หนังขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ?

ธัญญ์วาริน : เขาระบุเอาไว้เลยว่าหนังเราขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน พอเราไปออกสื่อมากๆ แล้วถามเขาว่ามันเกี่ยวอะไรกับความมั่นคงหนักหนาเหรอ เขาก็เลยตัดคำว่าความสงบเรียบร้อยออก เขาจะได้ไม่ต้องมานั่งตอบคำถามเรา ว่าที่เขาตัดออกมันเป็นเพราะตรงนี้มากกว่า

ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงอุทธรณ์ ซึ่งเขาบอกว่าต้องรอผลภายใน 30 วัน เรายื่นเรื่องไปเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน เราก็น่าจะได้รู้ภายใน 24 ธันวาคม 2553 ตอนยื่นเราก็ยื่นของเราคนเดียว เพราะเราเป็นเจ้าของหนัง เพียงแต่สมาคมผู้กำกับฯ เขาได้ดูหนังและรู้ว่าหนังเราโดนแบน เขาก็เลยมีมติว่าเขาจะไปยื่นอุทธรณ์ด้วย ในฐานะของสมาคมผู้กำกับฯ เพราะด้วยวิชาชีพอย่างเรา ไม่ควรถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ

ในการนำเสนอเรื่องแบบนี้ เพราะฉะนั้น สมาคมผู้กำกับฯก็เลยยื่นหนังสืออุทธรณ์ด้วย แล้วก็มีเครือข่ายคนดูหนังซึ่งเขาก็ไปรวบรวมรายชื่อกันมาเอง ก็เอาหนังสือมายื่นด้วยเหมือนกัน

GM : หนังเรื่องนี้แรงมากเลยหรือ

ธัญญ์วาริน : เอาจริงๆ เราว่าหนังเรามันไม่ได้มีอะไรขนาดนั้น มันพูดเรื่องของมนุษย์ แล้วเราก็ไม่ได้ไปพาดพิงถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จริงอยู่ว่าสิ่งที่เราต้องการจะพูดถึงมันค่อนข้างกว้าง แต่ในหนังเราพูดผ่านหน่วยเล็กๆ ของสังคมอย่างครอบครัว ซึ่งก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้เสียทั้งหมด แต่เราแค่นำเสนอปัญหาที่มันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองเห็นมัน ผ่านครอบครัวนี้เท่านั้นเอง เราก็ไม่เคยคิดว่ามันจะมาถึงขนาดนี้นะ

ตอนรู้ว่าถูกห้ามฉาย ก็รู้สึกแย่ คือถ้าเป็นการห้ามฉายอย่างมีเหตุผล เราจะไม่รู้สึกแย่เท่านี้ แต่นี่เป็นการห้ามฉายโดยไม่มีเหตุผล ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของชาติ หรือผิดศีล-ธรรมจนกระทั่งรับไม่ได้ แล้วไม่ออกมาชี้แจงอะไรเลย ตอนแรกเรารู้สึกเหมือนเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะข้อหามันฟังดูรุนแรง แต่พอผ่านไปสักพัก เรากลับรู้สึกขำ ขำกับระบบเรตติ้งของเมืองไทย เรารู้สึกว่ามันไม่สามารถแยกแยะอะไรได้เลย พอตัดสินรวมๆ แบบนี้ แล้วประกาศออกไป เขาไม่คิดบ้างเหรอว่าคนอื่นๆ เขาจะมองคำตัดสินที่ไม่ค่อยมีดุลยพินิจนี้ว่ายังไง เราก็เลยนึกขำว่า เออ…ประเทศเรานี่มันก็ตลกดีนะ

มันสะท้อนถึงการขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของคนที่เขาเอามาพิจารณา คนเหล่านี้มีความรู้ทางด้านภาพยนตร์มากแค่ไหนหรือ เขาถึงสามารถให้คนเหล่านี้ ทั้งข้าราชการเกษียณอายุ หรือคนที่บอกว่าตัวเองมีประสบการณ์การดูหนังกันมามากมาย มา Classify ว่าหนังเรื่องนี้เรื่องนั้นต้องได้เรตนี้ หรือเหมาะสม ไม่เหมาะสม ทุกคนห้ามดูคือมันตลกไปหมดทั้งระบบ อยากรู้ว่าเขาคัดเลือกคนแบบนี้ให้เข้ามาทำงานตรงนี้ได้ยังไง

GM : คณะกรรมการที่พิจารณาหนังเรื่องนี้มีกี่คน เป็นใครกันบ้าง คุณรู้ไหม

ธัญญ์วาริน : รู้ค่ะ เพราะเขาให้รายชื่อมาด้วย มีทั้งหมด 7 คน จะมีทั้งอัยการ มีอดีตรองอธิบดีกรมศาสนา มีปลัดของกระทรวงวัฒนธรรม แต่คนที่เกี่ยวกับสายหนังก็จะมี อาจารย์รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม

ซึ่งเป็นหัวหน้าภาคภาพยนตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก็พี่นคร วีระประวัติ ที่เป็นสมาชิกชมรมวิจารณ์บันเทิง

GM : ถามจริงๆ ลึกๆ แล้วคุณคิดว่าเหตุผลของการถูกสั่งห้ามฉายของคณะกรรมการเหล่านี้คืออะไร

ธัญญ์วาริน : ไม่รู้เหมือนกัน เขาคงดูหนังเราไม่เข้าใจมั้ง เขาคงไม่เข้าใจว่าแต่ละภาพในหนังมันต้องการจะบอกอะไร คือเราก็ไม่อยากจะมองโลกในแง่ร้ายว่าเขาโง่หรือคับแคบ แต่เรารู้สึกว่าเขาอาจจะไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง ด้วยความที่ประเทศเราไม่ได้ Educate คนในเรื่องนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไร แล้วจู่ๆ ก็ไปมอบเครื่องมือนี้ให้เขา ก็เลยเหมือนลิงได้เครื่องปั่นผลไม้ แต่ใช้ไม่เป็น ซึ่งเขาก็ไม่ได้ผิดหรอก เพียงแต่เขาคงไม่เข้าใจว่าเขากำลังทำอะไรอยู่มากกว่า นี่ความรู้สึกเรานะ เราไม่ได้โทษว่าเป็นความผิดของเขาแบบเต็มๆ เพราะของแบบนี้มันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานในการทำความเข้าใจ ทำให้มันเข้าที่ ลงตัว แต่ปัญหาตอนนี้ มันเหมือนกับเขาคัดเลือกคนมาได้ไม่เหมาะกับงาน ที่เราทำหนังเรื่องนี้ขึ้นมา อย่างหนึ่งก็เพราะคิดว่ามันมีระบบเรตติ้งแล้ว อย่างมากเราก็คงได้สัก ฉ 20 แหละ

GM : ถ้าสามารถบอกกับคณะกรรมการได้หนึ่งอย่าง คุณอยากบอกอะไร

ธัญญ์วาริน : อยากบอกเขาว่า กลับไปทำงานที่ตัวเองถนัดและรู้เรื่องดีกว่าไหม อย่ามาทำสิ่งที่ตัวเองไม่รู้เลย เพราะหนึ่ง, มันทำให้ตัวเองดูแย่ และสอง, มันทำให้ประเทศชาติไม่เจริญ

GM : ขนาดนั้นเลย ?

ธัญญ์วาริน : ใช่ค่ะ รู้สึกขนาดนั้นเลย อย่างข้าราชการบางคน เขาก็ไม่ได้อยากเข้ามาทำนะ แต่ด้วยความที่มีตำแหน่งแบบนี้ เลยต้องเข้ามาทำ เคยได้ยินมาเหมือนกันว่า มีเพื่อนทำงานอยู่กองนี้ ปกติไม่ดูหนัง แต่ต้องมานั่งดูหนัง มาเซ็นเซอร์หนัง ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้อยากดู เพราะฉะนั้นเอาคนที่เขามีศักยภาพดีกว่าไหม ประเทศจะได้พัฒนา แต่เราเป็นแบบนี้กันเยอะนะ ไม่ใช่แค่กองพิจารณาภาพยนตร์ บางคนก็ใช้คนตามคนรู้จัก ตามอายุ ตามขั้น ตามปี แล้วก็ไม่ได้ถนัดกับงานที่ตัวเองทำอยู่ แล้วประเทศชาติมันก็ไม่เจริญ เพราะไม่ได้เอาคนที่รู้ลึกรู้จริงมาทำ

GM : คุณไม่คิดจะประนีประนอมบ้างหรือ อย่างถ้ากรรมการบอกให้ตัดตรงนี้ ทำเบลอตรงนั้น คุณจะยอมไหม

ธัญญ์วาริน : ทำไม่ได้ เพราะเรากำลังพูดถึงสิ่งเหล่านี้อยู่ พูดถึงสิ่งที่มันต้องเห็นชัดๆ อยู่ แล้วมันมีอยู่แล้ว จะให้ไปยอมตัด คัต เบลออะไรก็ตาม ถ้าเราไปทำตาม เราก็เป็นอะไรไม่ต่างจากเขา เราไม่ทำอยู่แล้ว แล้วอย่างที่บอกว่าเราได้เลือกภาพที่เราอยากจะเล่ามาแล้ว เราไม่มีทางที่จะยอมตัดมันออกได้ เราอยากให้คน Concentrate แล้วคิดกับสิ่งที่เราเอามาให้ดู คุณจะเชื่อ ไม่เชื่อ ชอบ ไม่ชอบ มันก็เป็นสิทธิ์ของคุณ แต่นี่คือสิ่งที่เราเลือกมาแล้วว่าเราจะพูด

GM : แล้วต้นสายปลายเหตุเป็นอย่างไร ถึงได้กลายมาเป็นงานฌาปนกิจหนังของตัวเองในวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา

ธัญญ์วาริน : ตอนแรกเลยก็คือ มูลนิธิหนังไทยกับหอภาพยนตร์เขาจะจัดเป็นเสวนา เพราะว่ามันเป็นทั้งวันรัฐธรรมนูญและวันสิทธิมนุษยชนโลก เราก็เลยอยากจัดคุยเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ภาพยนตร์ฉบับนี้ว่าตั้งแต่เริ่มใช้มาปีกว่าๆ มันมีปัญหาอะไรบ้าง เราอยากเอาหนัง Insects มาฉายเพื่อประกอบเป็น Case Study ว่าทำไมถึงถูกแบน น่าจะมาจากสาเหตุไหน แล้ว พ.ร.บ. ที่ใช้อยู่นี้มันสมบูรณ์แล้วจริงหรือเปล่า คือเป็นการคุยเพื่อศึกษา พ.ร.บ. ฉบับนี้น่ะค่ะ โดยที่เราก็ไม่ได้ตั้งใจจะให้หนังของเราเป็น Main หลักของงานนี้เลย เพราะเราเชิญวิทยากรมาทั้งจากสภาทนายความ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วก็มีคุณสุภิญญา กลางณรงค์ ที่ทำเรื่องสื่ออยู่ด้วย

GM : คนที่สั่งห้ามฉายหนังในงานนี้คือใคร เป็นคณะกรรมการชุดเดิมหรือเปล่า

ธัญญ์วาริน : สมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมค่ะ เขาโทรฯ หาคุณโดม สุขวงศ์ เลย บอกว่าห้าม แล้วกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเขาก็มีจดหมายมาเตือนว่า ห้ามฉาย เพราะหนังเรื่องนี้ผิดกฎหมาย ถ้าฉายเขาจะดำเนินคดีตามกฎหมาย แล้วจดหมายนี้มันก็มาถึงหนึ่งวันก่อนที่จะฉาย เราก็ตกใจ ทั้งเศร้า ทั้งเครียดว่ามันจะอะไรกันนักหนา

จริงๆ งานศพนี่ไม่ใช่ไอเดียเรานะคะ แต่เป็นไอเดียของหอภาพยนตร์ เพราะตอนนั้นทุกคนกำลังตั้งคำถามเหมือนๆ กัน ว่าทำไมประเทศนี้ถึงเป็นแบบนี้ แค่หนังเรื่องเดียวเขาถึงกับต้องมาบี้ให้มันตาย ไม่อยากให้มันมีชีวิตอยู่บนโลกขนาดนี้เลยเหรอ คุณโดม สุขวงศ์ บอกเอาไว้ว่าหนังเรื่องนี้ได้โดนประหารชีวิตอย่างถูกกฎหมาย (นิ่งคิด) เรียกว่าโดนทำแท้งอย่างถูกกฎหมายน่าจะตรงกว่า เพราะหนังเรื่องนี้ถูกทำให้ตายตั้งแต่มันยังไม่เกิด ก็เลยคิดกันว่า โอเค ไหนๆ เขาอยากให้มันตายแล้ว เราก็เผามันเลยละกัน จัดเป็นงานศพให้หนังเรื่องนี้ไปเลย ด้วยการเผาดีวีดี แล้วเก็บเถ้าไว้ในผอบที่หอภาพยนตร์ เพื่อบันทึกเอาไว้ว่า ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย หนังเรื่องนี้โดนฆ่าโดยถูกกฎหมาย

เมื่อก่อนไม่เคยคิดเรื่องพวกนี้เลยนะคะ เพราะมันไม่เคยมากระทบเรา มันคงไม่มีอะไรเกิดขึ้นในประเทศนี้หรอก แต่พอเจอแบบนี้แล้วเรารู้สึกเลยว่า เฮ้ย! นี่เรากำลังอยู่ในประเทศแบบไหน สิ่งที่เราพูดในหนังกำลังโดนทำให้ไม่มีตัวตน หายไปจากสารบบ มันเกินไป มันทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้กำลังอยู่ในประเทศประชาธิปไตย ขนาดหนังเราเป็นแค่ส่วนเล็กๆ เขาก็ยังต้องพยายามทำกันถึงขนาดนี้ มาบี้แบนมัน มาฆ่ามัน ทั้งๆ ที่เราก็เป็นแค่คนตัวเล็กๆ ที่ไม่ได้มีผลอะไรกับทั้งประเทศขนาดนั้น แปลว่าเขาคงรู้สึกอะไรกับหนังมาก เรารู้สึกได้เลยว่าหนังที่กระตุ้นให้คนคิด เขาไม่ส่งเสริมแน่นอน ตอนที่เราไปพูดชี้แจงกับอนุกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติ เขายังพูดเลยว่าทำไมเราถึงไม่ทำหนังแบบ ‘สตรีเหล็ก’ ถ้าจะทำหนังกะเทยทำไมถึงไม่ทำหนังในแบบ Positive Impact ทำไมต้องทำเป็น Negative Impact พอเขาพูดแบบนี้ ก็เหมือนยิ่งตอกย้ำว่า เขาพยายามทำให้คนในประเทศนี้ดูแต่อะไรที่ไม่ต้องคิด เขาจะได้ปกครองง่ายๆ อีกอย่างหนึ่งมันเหมือนเป็นการตอกย้ำว่า ถ้าจะทำหนังกะเทย ก็ต้องทำออกมาในรูปแบบตลกโปกฮาเท่านั้น กะเทยต้องเป็นแค่ตัวตลก เป็นแฟนตาซี ไม่ได้มีชีวิตอยู่จริงจัง

ถ้าเราอยากจะบอกอะไรกับใครเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราอยากบอกกับประเทศนี้มากกว่า ว่ามันถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนอะไรได้แล้ว เลิกโกหกตอแหลว่าเป็นประชาธิปไตยเสียที บอกออกมาตรงๆ เลยว่าเรากำลังอยู่ในประเทศเผด็จการ มีอะไรบ้างที่ประเทศนี้ไม่ต้องการให้เกิด จะได้ปรับตัวและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข แต่พอเป็นแบบนี้เรารู้สึกเหมือนกับอยู่ในประเทศตอแหล โกหกเราตลอด พอเราทำในสิ่งที่เป็นสิทธิเสรีภาพที่คุณบอกว่าส่งเสริมตามรัฐธรรมนูญ คุณก็บอกว่ามันผิด เพราะไปขัดกับกฎหมายอีกอัน แบบนี้เราถือว่ามันเป็นการสับขาหลอก โกหกกูเห็นๆ เพราะฉะนั้น เราไม่โทษใครหรอก เขาก็ทำตามหน้าที่ เพราะว่าประเทศเราสอนให้คนที่มีอำนาจต้องแสดงอำนาจออกมาในลักษณะนี้ เขาก็น่าสงสารนะ เพราะเขาต้องเกิดมาในระบอบประชาธิปไตยไทยแลนด์แบบนี้

เรารู้แต่ว่าเมื่อถึงเวลา วันหนึ่งมันคงต้องเปลี่ยน จะช้าจะเร็ว ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน และเราเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้แหละ เพราะว่าสิ่งที่เขาทำทุกวันนี้ มันค่อยๆ บีบให้สังคม

ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างอยู่แล้ว เขาน่าจะรู้สึกได้ และน่าจะรู้สึกว่า การที่เขาต้องการที่จะอยู่แบบนี้กันต่อไป เขาควรจะต้อง Compromise กับทุกอย่าง และทำความเข้าใจกับมัน ว่าความแตกต่างมันต้องมี อย่าไปทำให้คนรู้สึกว่า อย่าแตกต่าง ยิ่งบีบ ยิ่งตีกรอบ สักวันมันก็ต้องระเบิด วิธีที่เขาทำอยู่มันยิ่งทำให้ระเบิดเร็วขึ้น กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ไม่ใช่แค่วงการหนังนะ เขาทำแบบนี้กับทุกวงการ ทุกหนทุกแห่งในประเทศไทย นั่นมันยิ่งทำให้ทุกคนเริ่มหันมามองว่า นี่เรากำลังอยู่กันแบบไหน และเริ่มอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง จนต้องออกมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นด้วยตัวเองในที่สุด (นิ่งคิด) เอ๊ะ! พูดแบบนี้ออกไปแล้วจะโดนยิงตายไหมคะเนี่ย (หัวเราะ)

GM : คุณพูดเหมือนเป็นคนเสื้อแดงเลย ผ่านมาถึงตอนนี้ บอกได้ไหมว่าเป็นคนเสื้อสีอะไร

ธัญญ์วาริน : (หัวเราะ) ไม่ได้เป็นเสื้อแดงค่ะ คือเราไม่รู้หรอกว่าเสื้อแดง เสื้อเหลือง สลิ่ม ต้องเป็นคนแบบไหน เพราะเราไม่ชอบจัดหมวดหมู่ให้ตัวเองอยู่แล้ว เราแค่นั่งสังเกตการณ์ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยไม่ได้เลือกข้างว่าเราเป็นอะไร แต่บางทีเราก็ไม่รู้หรอก ว่าสิ่งที่เราคิดหรือทำมันดันไปอยู่ในหมวดหมู่ไหนของเขาหรือเปล่า เรารู้แต่ว่าเราพยายามต่อต้านการจัดหมวดหมู่มาโดยตลอด เพราะเราไม่เชื่อว่าถ้าเราอยู่ในกรอบแบบนี้ แล้วเราก็ต้องคิดแบบนี้เท่านั้น เราไม่เชื่อ เพราะฉะนั้น อย่าเอากรอบอะไรมาใส่ฉัน คุณจะเรียกฉันว่าอะไรฉันไม่ว่า แต่อย่าเอากรอบมาครอบฉัน แล้วคาดหวังว่าฉันจะเป็นอย่างที่คุณบอก เราเลยไม่คิดว่าเราเป็นเสื้อสีอะไร เราก็แค่มีความคิดอิสระในแบบของเรา ฉันไม่ใส่เสื้อสีอะไรทั้งนั้น ตอนนี้ฉันแก้ผ้าอยู่ (หัวเราะ)

Insects in the Backyard เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถูกสั่งห้ามฉายในราชอาณาจักร นับตั้งแต่มีการบังคับใช้เรตติ้งเป็นต้นมา ก่อนนี้เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศ อาทิ Zack and Miri Make a Porno ซึ่งเป็นเรื่องของคนธรรมดาลุกขึ้นมาทำหนังโป๊

ผลการอุทธรณ์ของภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ที่ออกมาเมื่ือวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ปรากฏว่าคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ได้ลงความเห็นว่า ‘ไม่ผ่าน’ ด้วยคะแนน ‘ไม่ผ่าน’ 13 เสียง, ‘ผ่าน’ 4 เสียง และ ‘งดออกเสียง’ 4 เสียง

คุณจะเรียกฉันว่าอะไรฉันไม่ว่า แต่อย่าเอากรอบ

มาครอบฉัน แล้วคาดหวังว่าฉันจะเป็นอย่างที่คุณบอก เราเลยไม่คิดว่าเราเป็นเสื้อสีอะไร เราก็แค่มีความคิดอิสระในแบบของเรา ฉันไม่ใส่เสื้อสีอะไรทั้งนั้น ตอนนี้ฉันแก้ผ้าอยู่

-องก์ที่สอง-

แมลงเบียน

GM : คิดว่าเป็นเพราะหนังสั้นเรื่องก่อน (คือ ‘I’m Fine สบายดีค่ะ’ เป็นหนังที่เสียดสีความเป็นคนไทยที่ไม่ยอมออกจากกรงต่อหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และได้รับรางวัล รัตน์ เปสตันยี ในปี 2551) หรือเปล่าที่ทำให้หนังเรื่องนี้โดนแบน

ธัญญ์วาริน : I’m Fine สบายดีค่ะ ทำก่อนที่จะมีเรื่องเสื้อแดงอีกนะ ตอนนั้นเสื้อเหลืองเขาก็จะเอาไปฉายกัน ตอนนี้พอเสื้อแดงได้ดู เขาก็เอามาฉายเหมือนกัน หนังเรื่องเดียวกันน่ะ แต่ขึ้นอยู่กับคนดูที่จะตีความ เราก็ไม่รู้หรอกว่าเขาจะเอาไปตีความว่ายังไง ไม่รู้จริงๆ แต่ถ้าเขาได้ดูแล้วเขาคิดว่าเรามีอะไรเชื่อมโยงกับเขา มันก็เป็นสิทธิ์ของเขา แล้วที่ถามว่ามีคนเอา I’m Fine ไปโยงกับ Insects หรือเปล่า โดยเฉพาะกับคณะกรรมการที่แบนหนังเรา บางคนก็ได้ดูนะ แต่เราไม่รู้ว่าเขาได้ดูกันครบทุกคนไหม เราว่าก็ไม่น่าจะเกี่ยวนะ

GM : มีคนสงสัยว่า ทำไมตัวละครตัวหนึ่งใน Insects in the Backyard ถึงใส่ชุดนักเรียนที่มีตัวย่อว่า นปช.

ธัญญ์วาริน : อันนี้ฮามาก เพราะเราเคยทำหนังช่วยพี่พจน์ อานนท์ แล้วคราวนี้มันมีเรื่อง ‘แต๋วเตะตีนระเบิด’ ที่พี่พจน์กำกับ มันมีทีม นปช. กับ กทม. เตะบอลกัน ก็เลยมีเสื้อตัวนี้เกิดขึ้น แล้วเผอิญช่วงนั้นถ่ายหนังเรื่องนี้ เราเลยยืมชุดนักเรียนเขามา เพราะเราไม่มีเงินซื้อ เท่านั้นเอง แล้วบังเอิ๊ญ (เสียงสูง) เสื้อที่เขาให้มามันดันเป็นเสื้อ นปช. ซึ่งไม่ได้ตั้งใจใดๆ เป็นความบังเอิญมากกว่าที่ตัวละครใส่เสื้อ นปช. แล้วไปขายตัว ซึ่งบางคนก็อาจจะเอาไปตีความ แต่จริงๆ แล้วไม่มีอะไรเลย

GM : ไหนๆ ก็ไม่รู้ว่าคนจะได้ดู Insects in the Backyard หรือเปล่า อยากให้เล่าถึงหนังเรื่องนี้ให้ฟังว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และคุณต้องการจะสื่ออะไร

ธัญญ์วาริน : เรื่องนี้มันมีที่มาจากหลายอย่างมาก เรื่องหนึ่งที่แน่ๆ เลยก็คือ เราถูกกระตุ้นจากสมัยเรียน ตอนนั้นเราเรียนปริญญาโทอยู่ที่จุฬาฯ เรียนเอกการแสดง พอเข้าไปเราก็ได้เรียนทฤษฎีต่างๆ วาทกรรมต่างๆ มายาคติต่างๆ ทำให้เราเริ่มคิด และอยากทำหนังที่พูดเรื่องความหลากหลายทางเพศมาโดยตลอด การไปเรียนตรงนี้มันได้จุดประกายเล็กๆ ขึ้นมา ประกอบกับการที่เราอยู่ในสังคม เราก็จะเห็นเพื่อนหรือคนใกล้ชิดบางคนที่เป็นกะเทยแต่มีบทบาทที่เป็นพ่อ แล้วเราก็เลยเกิดความสงสัยขึ้นมา คือเราคงไม่มีทางไปมีครอบครัวหรือมีลูกแบบนี้อยู่แล้ว แต่เรามีหลาน แล้วเราก็แต่งหญิงแบบนี้ แล้วหลานเราก็จะแบบว่า แม่จะให้เรียกป้า หรือให้เรียกป๊า หรือให้เรียกอะไรดี เวลาที่หลานมาอยู่ด้วย แล้วเราเอาเสื้อให้หลานใส่ หลานเราก็จะร้องไห้ไม่ใส่ บอกว่าเป็นเสื้อตุ๊ด ไม่ใส่เสื้อตุ๊ด จะใส่เสื้อผู้ชาย เราเอาเสื้อผู้ชายธรรมดาให้ใส่ แต่มันเป็นเสื้อที่มาจากตุ๊ด เขาเลยไม่ยอมใส่ มันเลยจุดประกายเราว่า หลานก็รู้ว่าเรารักเขา เขาก็รักเรา แต่นี่ขนาดเราไม่ใช่พ่อนะ แล้วถ้าเกิดเราเป็นพ่อล่ะ ลูกเราจะมีปฏิกิริยายังไง ก็เลยคิดเรื่องนี้ขึ้นมา

แล้วทางออกอื่นๆ ของลูก ที่พอเกิดปฏิกิริยากับพ่อแบบนี้ปั๊บ มีวิธีตัดสินใจยังไง มันก็มาจากการที่เราเจอเด็กๆ หลายคนในสังคมที่ออกมาขายตัวกัน เรารู้สึกว่าเด็กเหล่านี้เขาไม่ได้ผิด เขามีวิถีทางเลือกของเขาในสังคมแบบนี้ เขามีวิธีการทำงานหาเงินเลี้ยงชีพเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง เรารู้สึกว่าสังคมชอบไปโทษเด็กเหล่านี้ เด็กเลว เด็กไม่ดี เด็กแ-่งทำไมถึงคิดแบบนี้ ไปขายตัวกันเพื่ออะไร แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่หล่อหลอมและทำให้เขาคิดแบบนั้นก็คือสังคมทั้งนั้นเลย ดังนั้น มันก็เลยกลายเป็นอย่างนั้น ทั้งจากสิ่งที่ตัวเองรู้สึก และจากสังคมที่ตัวเองสัมผัส เราก็เลยรวมเอาปัญหาสังคมเหล่านี้มารวมไว้ในครอบครัวเดียว สร้างมันเป็นครอบครัวตัวอย่างขึ้นมา

GM : ทำไมถึงตั้งชื่อว่า Insects in the Backyard

ธัญญ์วาริน : พยายามตั้งชื่ออื่นเหมือนกัน ทั้งชื่อไทย ชื่ออังกฤษ แต่เราติดกับชื่อนี้มาตลอดตั้งแต่แรก เรารู้สึกว่าคนเรา บ้านเรา ประเทศเรา มักจะเลือกส่วนหน้าบ้านให้มันสวยงาม แต่หลังบ้านไม่เป็นไร พยายามปกๆ ปิดๆ กันไปอะไรอย่างนี้ แล้วอีกอย่างหนึ่งเราคิดว่า เราอยู่กับแมงสาบหรือแมลงนู่นนี่แบบใกล้ชิด มันอยู่ใกล้เรามาก แต่เราก็พยายามที่จะไม่เห็นมัน ไม่ฆ่ามัน ไม่ทำร้ายมัน ทั้งๆ ที่บางทีมันอาจจะอยู่มาก่อนเราด้วยซ้ำ เราเองต่างหากที่ไปอยู่ทับที่มันหรือเปล่า เรารู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ที่เราพูด ทั้งเรื่องเพศ ทั้งปัญหาต่างๆ มันก็อยู่มานานแล้วหรือเปล่า แล้วเราเคยมองเห็นมันอย่างจริงๆ จังๆ บ้างไหม เคยสนใจมันหรือเปล่าว่ามันอยู่กับเรามานานแค่ไหน ก็เลยเกิดเป็นชื่อของหนังเรื่องนี้ขึ้นมา

GM : ทำไมคุณต้องใส่ฉากเรื่องเพศแรงๆ ลงไปในหนังด้วย จริงๆ อาจจะไม่ต้องใส่มันลงไปชัดเจนขนาดนี้ก็ได้ไม่ใช่หรือ ซึ่งอาจลดปัญหาการยอมรับของคณะกรรม-การได้มากขึ้น

ธัญญ์วาริน : ในฐานะที่เป็นผู้กำกับหนัง ภาพทุกภาพที่เราเลือกมามันมีความหมายแล้ว ถ้าจะมาถามเราว่าไม่ใส่ได้ไหม เราบอกเลยว่าไม่ได้ เพราะวิธีการทำหนังของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่างวิธีการที่จะพูดว่าการสลับบทบาททางเพศมันเป็นเรื่องปกติ หรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ บอกเลยว่าต้องมีฉากนั้น เราอาจจะไม่ฉลาดพอที่จะเล่าวิธีอื่น เลยต้องเล่าด้วยวิธีนี้ เพราะเราคิดว่าเราสื่อสารกับคนดูได้ชัดเจน ได้เห็นความรู้สึก ได้อิมแพ็คกับสิ่งที่เกิดขึ้น หนังไม่ได้ถ่ายมาแค่นั้นแน่ๆ ถ่ายมาเยอะ ยาว แล้วการที่เราต้องเลือกภาพทั้งหมดให้เหลือ 90 นาที แสดงว่าแต่ละภาพที่เหลืออยู่ต้องมีความหมาย ถามว่าทำไมต้องมีฉากพวกนี้ ก็ตอบไม่ได้จริงๆ เพราะมันมาจากวิธีการที่เราเลือกใช้ซึ่งออกมาเองตามธรรมชาติการทำหนังของเรา

GM : รู้สึกไหมว่าคณะกรรมการทำกับคุณเหมือนเป็นการกำจัดแมลงในสวนหลังบ้าน

ธัญญ์วาริน : ตอนแรกไม่เคยรู้สึกเลย เรามองโลกในแง่ดีมากว่า เขาจะเข้าใจในสิ่งที่เราพูด แต่พอโดนอย่างนี้แล้วเราก็แบบ โอ้! เ-ี้ย ตายละ กูกับหนังไม่ต่างกันเลย เมื่อก่อนเราก็ไม่คิดนะคะ ไม่ได้เป็นคนที่จะมาเรียกร้องสิทธิกะทงกะเทยอะไรด้วย เราก็อยู่ได้อย่างมีความสุข อยากทำอะไรเราก็ทำ ไม่เคยโดนจำกัดสิทธิอะไรอยู่แล้ว ปกติเราก็เต็มที่กับสิ่งที่เราทำ แต่พอเรามาโดนอย่างนี้ เราก็รู้สึกว่าทำไมเราต้องมาโดนจำกัดสิทธิอะไรกันขนาดนี้ อย่างตอนทำ I’m Fine เรายังพูดเรื่องนี้เลย ว่าพวกมึงจะนั่งอยู่ในกรงอะไรกันนักหนา มึงออกมาเหอะ แต่พอเรื่องนี้โดน ความคิดเราก็จะเปลี่ยนไปนิดนึงนะ ว่า อ้าว! เ-ี้ย กูก็โดนเหมือนกันนี่ แล้วก็ไม่รู้ว่าจะออกไปได้หรือเปล่า เพราะตอนนี้มันก็ดูไม่มีอนาคตเลยนะ เพราะคณะกรรมการที่เราไปยื่นอุทธรณ์ ซึ่งเป็นบอร์ดชาติ 27 คน ก็แทบไม่มีทางไปสู้อะไรกับเขา ไม่รู้จะอธิบายให้คนเหล่านี้เข้าใจได้ยังไง

สิ่งที่ทำได้ก็คือสร้างแมลงขึ้นมาอีกหลายๆ ตัว ไม่เลิกทำ เพราะบอกแล้วว่า ถ้าหนังเรื่องต่อไปจะโดนแบน หรือหนังอีกหลายๆ เรื่องถัดจากนี้จะโดนแบน เราก็จะทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเลิกแบน ไม่อยากทำหนังที่มันประนีประนอมมากขึ้นเพื่อที่จะไม่โดนแบน เพราะเราก็จะยังพูดเรื่องเดิมอยู่นี่แหละ ทำมันไปเรื่อยๆ นี่แหละ เพราะถ้าเราหยุดทำ เราก็แพ้สิ แต่เราก็ไม่ได้บอกว่าเราจะชนะหรืออะไรนะ เราก็แค่อยากยืนยันในสิ่งที่เราทำ

GM : ไม่คิดบ้างหรือว่าเขาอยากดูแลเราและประชาชนคนไทย

ธัญญ์วาริน : (หัวเราะ) วันนั้นที่ไปออกรายการ คนของเขาก็พยายามบอกกับเรานะ เขาพูดตลอดเวลาว่าเขามาช่วยดูแลเรา คน 7 คนนี้จะมาช่วยคิดแทนประชาชนกว่า 60-70 ล้านคนของประเทศไทยว่า คุณไม่ควรได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะมันเป็นอันตรายกับพวกคุณ มันเป็นอาหารที่เป็นพิษ ห้ามกินเข้าไป เราจะเทมันทิ้งลงถังขยะเราหวังดีนะ แล้วคุณก็ไม่มีสิทธิคิดนะคะ เดี๋ยวเราคิดให้ ยิ่งเรื่องนี้เขายิ่งยอมไม่ได้ เพราะมันเป็นพิษกับสังคม ทั้งๆ ที่คนที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้ อายุ 20 ปีกันแล้ว ทุกคนมีบัตรประชาชน เลือกผู้บริหารประเทศได้ด้วยตัวเอง ทำไมเขาถึงไม่มีสิทธิเลือกหนังเรื่องเดียวที่จะดู แล้วบอกว่าชอบหรือไม่ชอบ ในเมื่อทุกคนยังหาหนังโป๊ดูกันได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องอายุ 18 ด้วยซ้ำ เขาก็บอกไม่ได้ คุณจะรู้ได้ยังไงว่าถ้าผมอนุญาตเรตอายุ 20 ปีขึ้นไป แล้วหนังมันจะไม่หลุดมาถึงลูกผม แล้วอาจารย์จะรู้ได้ยังไงล่ะคะ ว่าถึงหนังหนูจะไม่หลุดไปถึงลูกอาจารย์ แต่เขาจะไม่กลับบ้านไปเปิดเน็ตดูหนังโป๊ แล้วชักว่าวอยู่หน้าคอมพ์ ช่วยคิดอะไรที่มัน make sense กว่านี้หน่อยได้ไหมคะ

GM : เป็นไปได้ไหม ที่หนังโป๊อาจเป็นที่ยอมรับก็ได้ ถ้าเป็นหนังโป๊ที่มีศูนย์กลางอยู่กับโมเดลแบบชายหญิง ไม่ได้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอิมแพ็คขนาดหนังเรื่องนี้

ธัญญ์วาริน : อันนี้ถูกต้องเลยค่ะ เพราะ ‘น้ำตาลแดง’ ผ่าน อันนั้นยั่วยุอารมณ์ทางเพศกัน นั่งตกเบ็ดกันไป 7 นาที โดยไม่ตัด ไม่คัต ไม่เบลอใดๆ ยอมให้ฉายได้ แถมยังบอกเป็นหนังดีด้วย แล้วก็ไม่ได้เรต ฉ 20 ด้วยนะ ได้เรต 18 หมายความว่าเด็กดูได้โดยไม่มีการปิดบังใดๆ

GM : ประเด็นนี้น่าสนใจมาก เพราะแสดงว่าคณะกรรมการ

ที่ผูกตัวเองอยู่กับมาตรฐานศีลธรรมของประเทศนี้ ก็ผูกตัวเองอยู่กับการเอารักต่างเพศเป็นศูนย์กลาง (Heterocentric) ด้วย

ธัญญ์วาริน : ถูกต้อง เขามองว่าความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องผิดศีลธรรม เคยมีคนถามว่าเป็นเพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงกะเทยอย่างจริงจังหรือเปล่า เลยโดนแบน เขาก็บอกว่าไม่จริง หนัง ‘หอแต๋วแตก’ หนังกะเทยที่เราให้ผ่านก็มีตั้งเยอะแยะ ใช่สิ! ก็กะเทยในหนังพวกนั้นมันเป็นตัวตลกนี่ กะเทยต้องเป็นพวกไม่ประสบความสำเร็จ กะเทยต้องฆ่าตัวตายไปเพราะมันโง่ แต่พอเราพูดเรื่องจริงจังที่มันเป็นปัญหาสังคม กลับรับไม่ได้ เราก็พยายามไม่คิดนะ แต่บางทีเราก็อดคิดไม่ได้ว่า ความหลากหลายทางเพศสำหรับคนเหล่านี้คือเรื่องผิดศีลธรรม เขาเลยรับไม่ได้

    มันเป็นไปโดยจิตใต้สำนึก คือสำหรับเขา ถ้าพูดถึงกะเทย พูดถึงความหลากหลายทางเพศ มันไม่ควรจะมีอยู่ หรือที่มีก็ไม่ควรจะมีความสุขตามแบบของครอบครัวปกติได้ เพราะเขามองว่าบทบาทหรือ Role Model ที่ดีจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่พอเขามาเจอเรื่องนี้เข้าไปปั๊บ ศีลธรรมทั้งหลายแหล่ก็ถูกทำลายพังลงมา ทั้งๆ ที่เราเองก็ยังพูดถึงสถาบันครอบครัวนะ เพราะเราเองก็ยังเชื่อ เราไม่ได้รังเกียจครอบครัว เราไม่ได้มีปัญหาครอบครัว แต่เรารู้สึกว่ามันก็อบอุ่นได้ ถ้าทุกคนเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเพศเ-ี้ยอะไรก็ตาม มันเป็นไปได้ ถึงพ่อจะเป็นตุ๊ด แม่เป็นผู้หญิง แล้วก็รักกัน มีลูกกัน มันก็เป็นไปได้ แล้วมันก็สามารถเป็นไปอย่างมีความสุขได้ด้วย ถ้าทุกคนยอมรับในสิ่งที่มันเป็นจริงๆ อย่าไปมองว่ามันต้องอยู่ในกรงขังของเพศชายเพศหญิง เลิกเสียทีเถอะ ให้มันเหลือแค่ความเป็นมนุษย์จะได้ไหม นั่นแหละคือสิ่งที่เราหวัง

GM : บางคนอาจมองว่า สาเหตุที่บรรดาตัวละครใน Insects ต่างมีชีวิตที่ไม่มีความสุข ก็เพราะไปเป็นกะเทย ไปขายตัว ชีวิตเลยไม่มีความสุข คุณเชื่อไหมว่าชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นและสมบูรณ์ต้องมาพร้อมกับเซ็กซ์และความรักที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรมและศีลธรรมอันดีของสังคม

ธัญญ์วาริน : ที่มันไม่มีความสุขกัน ไม่ใช่ว่าเป็นเพราะพวกนั้นทำตัวแบบนี้ แต่เป็นเพราะสังคมต่างหากที่มันทำให้เกิดช่องว่างขึ้นในครอบครัวนี้ โอเค ถึงลูกชายอยากจะฆ่าพ่อก็จริง แต่ตัวมันเองก็สับสนว่า จะรักหรือจะเกลียดดี เพราะสังคมบอกว่าการมีพ่อแบบนี้มันผิดปกติหรือแม้แต่ลูกสาวก็ยังรักพ่อ ในฉากที่มันถามแม่ในห้วงความคิดว่า แม่รักพ่อไหม มันถามเพราะมันก็รักไง แต่มันไม่รู้จะทำยังไง เพราะพ่อมันไม่เหมือนกับสิ่งที่สังคมบอกให้เป็น มันคือความสับสนระหว่างความเป็นจริงกับสิ่งที่สังคมคาดหวังต่างหาก คนอาจจะมองว่าเพราะพวกมึงเป็นแบบนี้ พวกมึงถึงมีความทุกข์ ถ้าเป็นครอบครัวปกติ พวกมึงก็คงมีความสุขไปแล้ว แต่อย่าลืมว่าในหนังมันยังมีตัวแทนของคนที่เข้าใจความแตกต่างและหลากหลายของตัวละครเหล่านี้มากที่สุด นั่นก็คือแม่ แม่แต่งงานกับพ่อที่เป็นกะเทยอยู่แล้ว แปลว่าถ้าแม่ยังอยู่ในครอบครัวนี้ ยังไม่ตายไปเสียก่อน ครอบครัวนี้ก็จะเป็นครอบครัวที่มีความสุข

ใช่สิ ! ก็กะเทยในหนังพวกนั้นมันเป็นตัวตลกนี่ กะเทยต้องเป็นพวกไม่ประสบความสำเร็จ กะเทยต้องฆ่าตัวตายไปเพราะมันโง่  แต่พอเราพูดเรื่องจริงจังที่มันเป็นปัญหาสังคม กลับรับ ไม่ได้

– องก์ที่สาม –

แมลงแปลงร่าง

สถานที่ : ที่เดิม แต่เริ่มมีผู้คนเข้ามาในร้านมากขึ้น

เวลา : บ่ายแก่ๆ ตะวันเริ่มคล้อยต่ำ

สถานการณ์ : บทพูดสองคน (Dialogue)

ตัวละคร : ผู้กำกับคนเดิม (ถือแก้วไวน์และคีบมวนบุหรี่อยู่ในมือ)

GM : ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกอย่างนี้ คนอาจจะเรียกคุณว่าเป็นกะเทยหรือสาวประเภทสอง แต่ว่าถ้าให้นิยามตัวเอง คุณจะนิยามว่าอย่างไร

ธัญญ์วาริน : ไม่เรียกค่ะ กอล์ฟไม่ให้นิยามตัวเอง เพราะกอล์ฟเป็นคน คนถามเยอะมากว่าจะให้เรียกว่าอะไร กอล์ฟบอกเลยว่ากอล์ฟไม่สนใจว่าสังคมจะเรียกกอล์ฟว่ายังไง แล้วกอล์ฟก็ไม่ Define ว่ากอล์ฟเป็นอะไรด้วย เพราะกอล์ฟเป็นแค่คนคนหนึ่ง จบ คุณจะเขียนถึงกอล์ฟว่าเป็นเกย์ เป็นตุ๊ด เป็นกะเทย เป็นสาวประเภทสอง หรือเป็นอะไรก็เขียนไปเลย แล้วแต่ที่คุณคิดและกำหนดว่าคุณจะเรียกคนคนหนึ่งว่าอะไร เรียกได้หมด และกอล์ฟก็จะไม่โกรธ ไม่เกลียดด้วย เพราะกอล์ฟเชื่อว่า เราอยู่ในสังคม และสังคมก็มีสิทธิที่จะบอกว่าเราเป็นอะไร ขอแค่เรารู้ตัวเองว่าเราเป็นอะไรก็พอแล้ว

GM : แต่ด้วยการแต่งตัว เหมือนบอกว่าคุณอยากเป็นผู้หญิง คุณแต่งเพราะว่าอยากเป็นผู้หญิง หรือแต่งเพราะว่าคุณอยากล้อเล่นกับมัน

ธัญญ์วาริน : เราไม่ได้อยากล้อเล่น เราแค่อยากสวย และนี่คือความสวยในความรู้สึกของกอล์ฟ ว่าแต่งแบบนี้แล้วเราสวย แต่บางวันเราก็ไม่ได้แต่งตัวแบบนี้นะ เมื่อก่อนเราเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่งที่มีความสับสน ไม่ได้หมายถึงสับสนทางเพศนะ เพราะกอล์ฟชัดเจนเรื่องนี้ (หัวเราะ) แต่จะสับสนตรงที่ว่า พอเราเอากรอบความเป็นผู้หญิงมาครอบตัวเองปั๊บเนี่ย ภาระหน้าที่มันตามมา เราต้องพยายามรักษาความเป็นผู้หญิงอยู่ตลอดเวลา แล้วมันเหนื่อย ทุกวันกอล์ฟจะต้องโกนหนวด แต่งหน้า ไว้ผมให้ยาวสลวย พอวันหนึ่งตื่นเช้ามาแล้วเราก็เริ่มรู้สึกว่า เฮ้ย! การเป็นผู้หญิงนี่มันเหนื่อยนะ ทำไมเป็นกะเทยมันเหนื่อยขนาดนี้ เลยนั่งเอากรรไกรตัดผมตัวเอง แล้วก็ไว้หนวดไว้เครา ขอพักร้อนให้ตัวเองหน่อยได้ไหม (หัวเราะ) คือเราไม่ได้อยากจะเป็นผู้ชาย หรืออยากจะไปเอาเขานะ แต่รู้สึกว่าพอเราเอาความเป็นผู้หญิงมาแปะตัวเรา มันเหนื่อยฉิบหายเลยว่ะ เพราะว่าสรีระเราไม่ได้เกิดมาเป็นผู้หญิง แต่เราต้องมานั่งทำทุกอย่างให้มันเหมือนผู้หญิง เพื่ออะไร เราเลยอยากแต่งแบบไหนก็แต่ง อยู่บ้านอยากใส่บ็อกเซอร์เสื้อยืดเดินแกว่งไปแกว่งมาก็ใส่ ไม่เห็นจำเป็นเลยว่าต้องแต่งตัวแบบไหน เพราะสุดท้ายตัวกูก็เป็นตัวกูอย่างนี้แหละ ไม่จำเป็นต้องเอากรอบผู้ชาย กรอบผู้หญิง กรอบกะเทยมาใส่ให้เหนื่อย แต่เราก็สามารถใช้ชีวิตแบบ ‘แล้วแต่กู’ ได้อย่างมีความสุข อย่างยามหน้าคอนโดฯเรานี่จะเห็นเราในทุกรูปแบบเลยนะ (หัวเราะ)

เราไม่ได้พูดให้มันฟังดูเก๋ดูดีนะ แต่เราปฏิบัติตัวแบบนี้มานาน

จนกระทั่งมันตกผลึก กว่าที่เราจะพูดออกมาได้แบบนี้ เราก็ผ่านการ

ลองผิดลองถูกมาเยอะเหมือนกัน แต่รสนิยมทางเพศน่ะเหมือนเดิม ไม่มีการไปลองเปลี่ยนใหม่ ก็ยังชอบผู้ชาย ยังชอบถูกกระทำอยู่ ยังยืนยันในรสนิยมนี้อยู่ค่ะ (หัวเราะ)

GM : ได้ยินมาว่า คุณเคยมีไอเดียการทำหนังเกี่ยวกับการแปลงเพศด้วย

ธัญญ์วาริน : ตอนนี้ก็ยังเก็บบทเรื่องนี้เอาไว้อยู่ ชื่อเรื่อง The Queer Killer ยังอยากทำอยู่ มันเป็นเรื่องของกะเทยที่แปลงเพศเพราะผู้ชายคนหนึ่ง แต่พอสุดท้ายแล้ว มีผู้หญิงคนหนึ่งมารักกะเทยคนนี้ และทั้งสองคนก็รักกันโดยที่ไม่สนใจในสิ่งที่มีหรือสิ่งที่ตัดออกไปแล้ว เพราะคนทั้งคู่ก็ยังมีความเป็นมนุษย์อยู่ปกติ มันเลยไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะสามารถรักกันได้

เรื่องนี้เราเขียนก่อน Insects นะ แต่เราไม่สามารถทำได้ก่อน เพราะมันเป็นโปรดักชั่นที่ต้องใช้เงินค่อนข้างมาก คือเราจะมีฉากที่ต้องถ่ายให้เห็นการแปลงเพศจริงๆ ด้วย โดยเราจะเล่นเป็นตัวละครตัวนั้นเอง มีการแปลงเพศจริงๆ แต่ไม่ได้คิดว่าจะผ่าตัดแปลงเพศให้มีจิ๋ม ‘เพื่อใคร’ หรอกนะคะ (หัวเราะ) เราแค่อยากลอง เพราะเราใช้ชีวิตที่มีจู๋มาแล้วครึ่งชีวิต ถ้าอีกครึ่งชีวิตเราลองใช้ชีวิตแบบที่ไม่มีจู๋ดูบ้าง มันจะเป็นยังไง และเพื่อการทำหนังเรื่องนี้ เราก็จะยอมแปลงเพศจริงๆ แล้วบันทึกภาพมันไว้ เพื่อเอามาใส่ในหนัง เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นแค่อวัยวะที่เอาไว้เยี่ยวแค่นั้น เพราะฉะนั้น รูเยี่ยวจะเป็นจู๋หรือจิ๋มเราก็ไม่ได้ Mind แล้ว ถ้าจะแปลงเพศเพื่อหนังเรื่องนี้ เราก็สามารถแปลงได้เลย แต่ไม่ได้คิดว่าจะแปลงเพศเพื่อเป็นผู้หญิงให้ใคร หรือกูอยากเป็นผู้หญิงจังเลย ไม่ใช่ เราแปลงเพศเพื่ออุทิศให้กับหนังเรื่องนี้มากกว่า

GM : ทำไมต้องลงทุนขนาดเล่นหนังเองทุกเรื่อง

ธัญญ์วาริน : การเล่นหนังเองทุกเรื่องเป็นการบำบัดตัวเองอย่างหนึ่ง คือเมื่อก่อนเราจะเป็นเด็กเรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย ชอบอยู่กับยาย ชอบอยู่กับแม่ ไม่ได้เป็นเด็กผู้ชายที่ชอบไปเล่นอะไรกระโดดโลดเต้น แล้วทุกคนก็จะชื่นชมว่าเราเป็นเด็กเรียบร้อย ก็เลยเหมือนกับไม่เคยได้แสดงออก ไม่ได้ช่วยระบายสิ่งที่เราเก็บเอาไว้ พอวันหนึ่งเราไปเจอเข้ากับการทำละครเวที ตอนประมาณ ม.4-5 เราเขียนบท กำกับ แล้วก็เล่นเป็นนางเอกเองมาตั้งแต่ตอนนั้น จำได้เลยเรื่องแรกที่เล่นเราเล่นเป็น

นางวันทอง มีผู้ชายมาแย่งเรา (หัวเราะ) ความรู้สึกคือมันเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในชีวิตจริง แต่พอมาทำละครแล้วมันได้แสดงเป็นคนนั้น คนนี้ เป็นในสิ่งที่เราไม่ได้เป็นได้ เลยเหมือนเป็นการเปิดโลกอีกโลกหนึ่งให้กับเรา เราเลยเสพติดการแสดง และอยากเป็นนักแสดงมาตั้งแต่ตอนนั้น

จริงๆ เราก็คิดว่าผู้กำกับไม่ควรเล่นเอง เพราะเล่นเองมันเป็นปัญหาเหมือนกัน บางทีสิ่งที่ได้มันก็ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากได้ในฐานะผู้กำกับ แต่จะได้สิ่งที่อยากได้ในฐานะนักแสดง แล้วพอเรามีความอยากเป็น

ตัวละครตัวนั้น เราก็จะโฟกัสไปที่ตัวละครตัวนั้น แต่พอเราต้องออกมากำกับ ต้องดูแลหนังทั้งเรื่อง มันก็เป็นปัญหาจริงๆ ทุกวันนี้ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากแยกร่างนะ (หัวเราะ) แต่มันก็เป็นไปไม่ได้

“ช่วง 7 ปีที่สอนหนังสือถือเป็นช่วงค้นหาของชีวิตเป็น 7 ปีที่ตื่นขึ้นมาแล้วเหมือนกับตัวเอง

ไม่มีจุดหมายในชีวิตไม่รู้จะเก็บเงินไปทำไมไม่อยากได้ไม่อยากมีอะไรเลยไม่ได้อยากทำอาชีพนี้ พอคิดถึงอนาคตแล้วก็แบบ วุ้ย !นี่เราจะต้องเป็นอาจารย์ไปจนแก่ตายจริงๆ เหรอวะ”

– นอกบท –

แมลงรำพึง

ชีวิตของแมลง : บทพูดคนเดียว (Monologue)

“ใช่ค่ะ คนเขาก็รู้กัน ว่าเราเป็นตุ๊ด เป็นกะเทย ที่เริ่มชัดเจนจริงๆ คือ ตอน ม.1 แต่ก็ไม่ใช่ว่าก่อนนั้นไม่ชอบผู้ชายนะ ก็มีชอบทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่พอตอน ม.1 แล้วเราเข้าโรงเรียนชายล้วนปั๊บ ทุกคนจะเรียกเรา ‘อีตุ๊ด’ หมด ที่เป็นมาตลอดก็เริ่มมีคนใช้คำมาเรียกเราแล้ว มันเลยชัดเจนสำหรับเรามากขึ้น

“เราอยากเรียนนิเทศฯ เพราะเรียนนิเทศฯแล้วเราจะได้ทำในสิ่งที่เราสนใจ พอดีว่าเราเรียนภาษาฝรั่งเศสได้ค่อนข้างดี เราก็เลยได้โควตาด้านภาษาจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ่อแม่ครูอาจารย์ก็บอกว่าต้องเรียนนะลูก ได้โอกาสมาแล้ว เราก็เลยตัดสินใจลองเรียนต่อ แต่ก็ยังแอบไปเรียนวิชาการละคร แล้วก็ไปช่วยอาจารย์ทำละครมหาวิทยาลัย พอเรียนจบอาจารย์ก็ชวนเราไปช่วยสอนทำละคร แต่เราก็ไม่เอา เราอยากสานต่อเรื่องการแสดง ปี 2540 เราเลยไปคัดตัวเล่นละครเวทีเรื่อง ‘วิมานเมือง’ ก็เข้ารอบ แต่สุดท้ายก็ไม่ผ่าน เพราะเราร้องเพลงไม่ได้ (หัวเราะ) ปี 2541 มีคนของเอ็กแซ็กท์ไปเจอเทปแคสติ้งเราจากเรื่องนี้ เลยเรียกเราไปแคสต์ละครโทรทัศน์ จนเราได้เล่นเรื่อง ‘ชายไม่จริงหญิงแท้’ แล้วหลังจากนั้นก็เล่นมาอีก 2-3 เรื่องก็เลิกเล่น เพราะตอนนั้นงานประจำของเราคือเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่เทคนิค แล้วมันไปเบียดบังเวลาสอน ก็เลยไม่ได้เล่นละครอีก

“ช่วง 7 ปีที่เราสอนหนังสือ ถือเป็นช่วงค้นหาของชีวิต เป็น 7 ปีที่เราตื่นขึ้นมาแล้วเหมือนกับตัวเองไม่มีจุดหมายในชีวิต ไม่รู้จะเก็บเงินไปทำไม ไม่อยากได้ไม่อยากมีอะไรเลย แล้วก็ไม่ได้อยากทำอาชีพนี้

พอคิดถึงอนาคตแล้วก็แบบ วุ้ย! นี่เราจะต้องเป็นอาจารย์แบบนี้ไปจนแก่ตายจริงๆ เหรอวะ ตอนนั้นหาเงินมาได้เท่าไหร่ เราเอามากินเหล้าทุกวัน เมาเสร็จก็หาผู้ชาย เจอลูกศิษย์ ก็เอากันไปเรื่อย หนังเรื่อง ‘เปลือก’ ที่เราทำค่อนข้างจะบันทึกชีวิตช่วงนั้นเอาไว้จริงๆ มันชัดเจนมากกับชีวิต ตอนกลางวันเราเป็นผู้ชาย ผูกไทใส่สูทไปสอน ตกกลางคืนก็แต่งหญิงออกไปกินเหล้า ล่าผู้ชายทุกวัน ตื่นเช้ามาก็ตกใจ อ้าว! ตายห่า ผู้ชายที่กินไปเมื่อคืนมันคือลูกศิษย์เราเองนี่หว่า คือเป็นชีวิตที่ไร้สาระมาก แต่ในขณะเดียวกันเราก็ได้ประสบการณ์ชีวิตจากตรงนั้นเยอะมาก ถ้าไม่มี 7 ปีนั้น เราก็คงไม่ได้เข้าใจอะไรในชีวิตอีกหลายๆ อย่าง

“พอเราไม่ได้เล่นละครโทรทัศน์ ก็หาที่ระบายออกอะไรไม่ได้เลย พอเห็นว่าเขามีประกวดหนังสั้น ก็เลยตัดสินใจทำหนังเพื่อให้ตัวเองได้เล่น โดยที่ไม่รู้เลยว่าหนังสั้นคืออะไร เราก็ไปถามเพื่อนที่เขาเรียนจบ

นิเทศฯมา ว่าถ้าจะทำหนังสั้นต้องทำยังไง มันก็บอกว่ามันไม่เคยทำเหมือนกัน แต่มันก็ยุให้เราลองทำดูนะ เราก็เลยทำ โดยการไปยืมกล้องของลุงมาถ่ายกันเอง ก็เขียนบท แล้วถ่าย ตอนนั้นไม่มีใครถ่ายเป็นเลย เราก็แค่จับภาพในสิ่งที่เราต้องการ โดยที่ไม่ได้คิดถึงความต่อเนื่องใดๆ ทั้งสิ้น (หัวเราะ) พอถ่ายเสร็จปั๊บ เราก็เอามาตัดต่อ ซึ่งลำบาก ออกมาเป็นเรื่อง ‘แหวน’ เป็นเรื่องแรก เราทำไม่เป็น แต่นักวิจารณ์บางคนบอกว่าภาพสั่นไหวของมันช่วยสื่ออารมณ์ในเรื่องได้ แต่จริงๆ มันเป็นเพราะถ่ายๆ อยู่แล้วมันขำกันเองมากกว่า เพราะนักแสดงในหนังเรื่องนี้เป็นคนที่รู้จักกันหมดไง

“หนังเรื่อง ‘แหวน’ ก็โด่งดังในเทศกาลหนังสั้นประมาณหนึ่ง ตอนนั้นเราก็รู้สึกว่า โอ้…ตายแล้ว เราได้รางวัล เราก็ต้องแต่งตัวสวยๆ ไปรับรางวัลสิ แล้วตอนนั้นเราก็ไม่รู้ว่าวงการหนังสั้นบ้านเรามันเป็น

ยังไง เราก็พาแม่พายายแต่งตัวสวยๆ ไปกันหมดบ้านเลย เพราะนึกว่ามันคงคล้ายกับงานออสการ์อะไรอย่างนี้ (หัวเราะ) พอเราไปถึงก็ ว้าย! ตายห่า มีแต่เด็กแนวกับคนเมา แล้วกูมาทำอะไรที่นี่เนี่ย

“แต่พอมาทำเรื่องที่สอง คือเรื่อง ‘เปลือก’ อันนี้ที่มันทำให้ชีวิต

พลิกผัน เพราะได้ไปเมืองนอก ได้รับเชิญไปประกวดที่ฝรั่งเศส ได้ไปเห็น ได้ไปเจอ ได้ไปคุยกับคนในแวดวง สิ่งที่เขาคุยกัน เขาไม่ได้พูดว่าใครเป็นตุ๊ดหรือเป็นเกย์อะไรอย่างนี้เลยนะ ทุกคนสนใจคุยเรื่องที่อยู่ในสมองแต่ละคนกันหมดเลย มันทำให้เรารู้สึกว่า เฮ้ย! คนมันสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราพูด โดยไม่สนใจว่าเราจะเป็นใครมาจากไหน นับตั้งแต่นั้นเราก็เลยรู้สึกว่าหนังกลายมาเป็นอวัยวะสำคัญส่วนหนึ่งในร่างกายเรา นี่คือสิ่งที่เราหามาโดยตลอด ทุกวันนี้เราตื่นมาอย่างมีความสุข เพราะเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เรามีชีวิตอยู่เพื่อที่จะทำอะไร

“พอกลับมา เราก็ลาออกจากการเป็นครูเลย พอเราจะลาออก ทุกคนก็ถามว่าจะไปทำมาหากินอะไร แต่ตอนนั้นเราอยากลาออกมาก แม่ก็บอกไม่เป็นไร ถ้าออกแล้วมันมีความสุขก็ออกเลย เดี๋ยวแม่เลี้ยงเอง ตอนนั้นเราเพิ่งอายุ 27 พ่อกอล์ฟตายไปตั้งแต่ตอนเราอยู่ ม.4 ส่วนแม่เขาเข้าใจเรามาก หลายครั้งแม่ยังแก้ต่างแทนเราเลย เรื่องที่เราเป็นกะเทย ตั้งแต่เราทำหนังสั้นเรื่องแรก เราก็พาแม่ไปดู พาแม่ไปรับรางวัล มีบางช่วงที่เราทำงานกองละคร ตอนนั้นไปเป็นผู้ช่วยอยู่ที่เอ็กแซ็กท์ แล้วเราไม่ค่อยว่าง พอหนังได้รางวัล แม่ก็ยังไปงานประกาศรางวัลแทนเราเลย แม่บอกเผื่อได้รางวัล แม่จะได้ขึ้นไปรับแทน หนัง

บางเรื่องเรายังเอาแม่มาเล่นด้วยเลย

“ตอนลาออกมาถือเป็นอีกช่วงหนึ่งของความทุกข์ยาก เรานึกว่าทำหนังได้รางวัลแล้วคนเขาก็จะยอมรับเรามากขึ้น ไปสมัครงานตามเฮาส์ละครอยู่หลายที่มาก แต่ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ช่วงนั้นก็ขอเงินน้องสาวบ้าง ขอเงินเพื่อนบ้าง พอผ่านไป 3 ปี ก็เริ่มถามตัวเองแล้วว่านี่เรากำลังทำเ-ี้ยอะไรอยู่ คือตัวเรามันไม่ลำบากเท่าไหร่หรอก เพราะตื่นมาก็ยังรู้ว่าอะไรคือเป้าหมายในชีวิตของเรา แต่มันกลายเป็นภาระของคนอื่นไง เราก็เลยพยายามอดทนฝ่าฟัน

“จนกระทั่งประมาณปี 2547 เราได้ไปทำหนังวีซีดีเรื่องหนึ่ง เพราะโปรดิวเซอร์เขาบอกว่าเขาดูหนังเรื่อง ‘เปลือก’ แล้วอยากทำหนังกับเรามาก ตอนแรกเราก็ปฏิเสธเขานะ เพราะภายนอกเขาดูกะโหลกกะลา

ดูเป็นพ่อค้ายาเสพติด (หัวเราะ) เราก็คิดว่า เฮ้ย! มันไม่ใช่น่ะ แต่เขาก็พยายามตื๊อนะ พอดีกับที่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา เราก็เขียนบทหนังเอาไว้ แล้วก็มีเรื่องหนึ่งชื่อ ‘รักแรกไม่รู้ลืม’ พูดถึงประสบการณ์ทางเพศครั้งแรกของเด็กแต่ละคนในวัยมัธยม ซึ่งเราเชื่อว่ามันจะมีผลกระทบกับคนแต่ละคนไปตลอดชีวิต ก็จะมีภาพการทดลองมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของเด็กผู้ชายกับผู้ชาย เด็กผู้หญิงกับผู้ชาย ทั้งกับลุงตัวเอง

กับแฟน กับเพื่อนแฟน เล่ามาจนถึงว่ามันส่งผลกับทุกคนในเวลาต่อมายังไง ซึ่งสมัยนั้นหนังวีซีดีเขาฮิต เอานิกกี้ (สุระ ธีระกล) มาเป็นพระเอกใช่ไหม หนังเราก็มีนิกกี้เป็นพระเอกเหมือนกัน (หัวเราะ) พอถ่ายเสร็จออกมาปั๊บ นายทุนด่า บอกทำหนังเ-ี้ยอะไรออกมา ลุกไปเยี่ยวกลับมาแล้วดูไม่รู้เรื่อง ดูแล้วไม่เกิดอารมณ์ เราก็คิดในใจ ตอนมึงอนุมัติ มึงได้อ่านบทกูหรือเปล่า ทำไมมึงมาพูดอย่างนี้ แล้วเขาก็โยนหนังที่มีนิกกี้เล่นมาให้ดู 5 แผ่น แล้วบอกเราว่า ถ้ามึงทำไม่ได้ดีเท่าหนังพวกนี้ มึงจะกล้าเอาหนังไปวางบนแผงคู่กับเขาได้ยังไง เราก็แบบ หนังเ-ี้ยพวกนี้น่ะเหรอที่มึงจะให้กูทำตาม (หัวเราะ) แต่เราก็โอเค ไปถ่ายซ่อม ทำเสร็จเอาไปส่งเซ็นเซอร์ ปรากฏว่าไม่ผ่าน จริงๆ Insects ไม่ใช่เรื่องแรกของกอล์ฟที่โดนแบนนะคะ เรื่องนี้โดนมาก่อนแล้ว (หัวเราะ) แล้วเหตุผลที่โดนแบนก็เกี่ยวกับเรื่องชุดนักเรียนเหมือนกันด้วย เป็นเด็ก ม.1-2 ดูหนังโป๊ จูบกัน นั่งชักว่าวกัน แล้วก็จะมีฉากเด็กในเสื้อนักเรียนทั้งผู้ชายผู้หญิงตั้งวงเหล้ากัน เขาเลยแบน

“ทุกวันนี้หนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้อยู่กับกอล์ฟนะ แต่อยู่กับค่าย แล้วเขาไม่ได้จ่ายตังค์ค่าตัวทั้งของเราและ

ทีมงานด้วยนะ คือทุกวันนี้กอล์ฟยังเป็นหนี้ทีมงานเรื่องนี้อยู่นะ เคยมีหนหนึ่ง เราโทรฯไปขอหนังจากเขาจะเอามาให้พี่ปรัช (ปรัชญา ปิ่นแก้ว) ดู เขาก็บอก กูไม่ให้ กูเกลียดมึง กูจะเอาหนังมึงไปโยนทิ้งน้ำ หนังเ-ี้ย (หัวเราะ) หนังเรื่องนี้มันเลยกลายเป็นหนังที่ไม่มีใครได้ดูอีกเลย

“หลังจากนั้นเราก็ไปช่วยพี่ศิโรตม์ ตุลสุข ที่ Thai Short Film สอนเด็กทำหนัง ช่วงนั้นก็ไปช่วยเขาทำหนังสั้น ทำดีวีดีหนังสั้นขายตามจตุจักร แล้วก็เริ่มเข้ามาทำโปรเจ็กต์กับ สสส. เพราะพี่โรจน์แนะนำให้เรารู้จักกับพี่เปิ้ล ศิวาภรณ์ (พงษ์สุวรรณ) ให้เอาโปรเจ็กต์ไปขาย เราก็เอาเรื่อง The Queer Killer นี่แหละไปขาย บังเอิญช่วงนั้นบาแรมยูกำลังทำเรื่อง ‘อสุจ๊าก’ พอดี แล้วพี่คุ้ย (ทวีวัฒน์ วันทา-ผู้กำกับ) เห็นเรา เขาก็เลยมาชวนเราไปเล่น เราก็เริ่มรู้จักพวกคนในวงการหนัง ได้ทำโปรเจ็กต์ที่ได้เงินบ้าง ก็เอาเงินทั้งหมดตรงนั้นมาทำหนังสั้นของตัวเองอีกหลายเรื่อง ทั้ง รัก ผิด บาป, ในเปลือก, กะเทยนรก อะไรพวกนี้

“เรารู้แล้วว่าชีวิตนี้เราจะทำอะไร ทุกวันนี้เราก็มีรายได้จากหลายทางนะคะ ทั้งจากการทำหนังใหญ่ ทำหนังเล็ก ทำหนังโทรทัศน์ รับจ้างสอนเด็ก เขียนบท เป็นผู้ช่วย แต่งหน้า ทำผม ทำเสื้อผ้า ฯลฯ ทำเกือบทุกอย่างที่ทำได้ เคยมีครั้งหนึ่งเราไปเป็นลูกจ้างรีดผ้า ได้วันละ 500-600 แล้วบังเอิญเรื่องนั้น กระแต (ศุภักษร ไชยมงคล) เป็นนางเอก แล้วเราก็เคยกำกับกระแตเป็นนางเอกในหนังเราเรื่อง ‘ตายโหง’ (ตอน ผีแทงค์น้ำ) พอกระแตมาเห็นเรารีดผ้าอยู่ในกอง เธอก็กรี๊ด (หัวเราะ) ถามเราว่าเจ๊มาทำอะไรเนี่ย เราก็บอก อ๋อ! มาเป็นลูกจ้างรีดผ้า (หัวเราะ) สถานะเราจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพราะเราทำหมดทุกอย่างน่ะค่ะ วันก่อนเรายังโทรฯไปของานแต่งหน้าจากเขาอยู่เลย ถ้าอะไรที่มันหาเงินได้ในอุตสาหกรรมนี้ เราก็ยังทำอยู่ เรามีความสุขกับการได้ออกกองถ่าย ไม่ว่าสถานะของเราจะเป็นผู้กำกับหรือคนรีดผ้า”

เราชอบผู้ชาย  การที่เราได้อมของผู้ชายรู้สึกเหมือนกับได้ครอบครองความเป็นชายของเขาเอาไว้  การได้โดนเอาทางประตูหลัง  ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้หญิง  ได้เป็นหนึ่งเดียวกับผู้ชายที่แทรกเข้ามาในตัวเรา

– องก์ที่สี่ –

แมลงแสบ

สถานที่ : ร้านกาแฟอีกแห่งหนึ่ง

เวลา : บ่ายแก่ๆ ตะวันเริ่มคล้อยต่ำ

สถานการณ์ : บทพูดสามคน (Trialogue)

ตัวละคร : ผู้กำกับคนเดิม (กำลังกินอาหารและพูดคุยเหมือนคนธรรมดาทั่วไป) โต๊ะข้างๆ เป็นแม่และเด็ก ทำให้บางครั้งผู้กำกับต้องลดเสียงพูดลง

GM : คุณทำหนังประเด็นเรื่องเพศแล้วเล่นเองแทบทุกเรื่อง มีคนสงสัยว่าเป็นเพราะคุณจะได้มี บทอะไรกับผู้ชายหรือเปล่า

ธัญญ์วาริน : ไม่ค่ะ (ตอบทันที) เพราะกอล์ฟไม่เคยเอาผู้ชายที่ตัวเองชอบมาเล่นหนังตัวเอง เราไม่ได้ทำหนังเพื่อสนอง Need ตัวเองในเรื่องนั้น ผู้ชายส่วนใหญ่ที่มาเล่นฉากนั้นกับเรา มักจะเป็นเพื่อนที่เราสนิทด้วย แล้วเรารู้ว่าเราไม่ได้อยากเอากับมันแน่ๆ แต่เรารู้ว่าคนเหล่านี้เล่นได้ เราก็เอาเขามาเล่น แต่คนที่เราอยากได้ เราไม่เคยเอาเขามาเล่น เพราะฉะนั้น ตัดประเด็นนี้ไปได้เลยว่า เราอยากได้คนนี้

เราเลยเอาคนนี้มาเล่น ผู้ชายที่เราชอบไม่เคยมาเป็นพระเอกในหนังของตัวเองเลยสักเรื่อง ไม่มีเลย

GM : ก่อนหน้าจะเริ่มทำหนัง มุมมองที่คุณมีต่อเรื่องเพศเป็นอย่างไร

ธัญญ์วาริน : ตอนนั้นก็มีความคิดว่าอยากเป็นผู้หญิงนั่นแหละ อยากได้ผู้ชาย ชอบผู้ชาย การที่เราได้อมของผู้ชาย เรารู้สึกเหมือนกับได้ครอบครองความเป็นชายของเขาเอาไว้ การได้โดนเอาทางประตูหลัง ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้หญิง ได้เป็นหนึ่งเดียวกับผู้ชายที่แทรกเข้ามาในตัวเรา ไม่เคยคิดว่าจะไปเอาคนอื่นหรือเป็นฝ่ายกระทำ ไม่เคยใช้อวัยวะเพศของตัวเองในการทำแบบนั้น เราชอบที่จะเป็นผู้หญิงมากกว่า

GM : ถามได้ไหมว่า คุณมีอะไรกับผู้ชายครั้งแรกเมื่อไหร่

ธัญญ์วาริน : เราเสียตัวครั้งแรกเพราะสะสมแสตมป์นะ (หัวเราะ) ตอนนั้นอยู่ชั้นประถมปลายๆ เป็นวัยที่กำลังแตกสาวพอดี (หัวเราะ) ก็จะมีพี่ข้างบ้านเป็นเกย์วัยมัธยม แล้วช่วงนั้นพ่อซื้อสมุดสะสมแสตมป์มาให้เป็นของขวัญวันเกิด เขาเลยชวนเราไปเอาแสตมป์ที่บ้าน หลังจากนั้นพอไปเอาแสตมป์ทีไร เราก็เสียตัวทุกที (หัวเราะ) เริ่มต้นจากจับๆ ล้วงๆ สักพักก็เริ่มมีการพาขึ้นไปดูแสตมป์บนห้อง ก็ยอม เพราะชอบ แถมยังได้แสตมป์กลับไปอีก (หัวเราะ)

แล้วแถวบ้านก็จะมีพวกเด็กที่เราชอบไปยิงกิ้งก่า ตกปลาอะไรกับเขา สมัยก่อนมันจะมีการเอาใบบุหรี่ พวกกรองทิพย์ สายฝน อะไรพวกนี้ มาใช้เล่นแทนสตางค์ พวกนั้นก็จะชอบเอาใบบุหรี่มาเล่นซื้อเรา มานอนทับๆ ถูๆ เราเหมือนเราเป็นกะหรี่ (หัวเราะ) ตอนนั้นเราจะเล่นอยู่สองอย่าง คือเล่นเป็นกะหรี่กับเมียน้อย เพื่อนๆ ชอบให้เราเล่น แล้วเราก็สนุกด้วย เพราะเราได้เงิน แล้วเราก็รวยที่สุดในละแวกนั้นเลย ทุกคนจะไปหาเก็บใบบุหรี่มาจ่ายเพื่อเอาเรา (หัวเราะ) แล้วก็จะมีการเล่นซ่อนหากับน้องๆ โดยมีพี่คนข้างบ้านคนนั้นมาเล่นกับเราด้วย คนอื่นก็หากันไปสิ ส่วนเราก็เข้าไปแอบในตู้กับพี่ข้างบ้านแล้วมีอะไรกัน (หัวเราะ)

GM : แล้วความรักล่ะ คุณมีความรักครั้งแรกตอนไหน

ธัญญ์วาริน : ก็ตอน ป.6 นี่แหละค่ะ แต่กับผู้หญิงนะ เราไปชอบผู้หญิงคนหนึ่ง เขาเป็นนักบาสโรงเรียน หล่อมาก (หัวเราะ) ตอนนั้นเขาชอบพาเรากับน้องๆ ขึ้นรถเมล์ เพราะเราไม่ค่อยได้ขึ้นรถเมล์ ก็เลยรู้สึกดีกับเขา เพราะเขาดูแลเราดีมาก แล้วเขาก็ปกป้องเราได้ นั่นก็น่าจะเรียกว่าความรักครั้งแรกได้นะ เพราะตอนนั้นเราฟังเพลง โอ๊ย โอ๊ย ของพี่แจ้ (ดนุพล แก้วกาญจน์) แล้วหน้าเขาก็จะลอยมา แต่พอเวลาผ่านไป เราเข้าโรงเรียนมัธยมชายล้วนปั๊บ เราก็เป็นตุ๊ดเต็มตัว เดินสวนกัน เราก็เริ่มรู้แล้วว่าแบบนี้เรียกว่า ‘ทอม’ (หัวเราะ) ซึ่งตอนนี้เขาก็มีลูกมีผัวไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย

แล้วก็จะมีผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่รู้จักกันตอนเราย้ายมาเรียน ป.6 ที่กรุงเทพฯ เทอมหนึ่ง คนนี้ก็จะเป็นผู้หญิงห้าวๆ ไม่ถึงขนาดว่าเป็นทอม แต่เขาจะเหมือนกับผู้หญิงคนแรกตรงที่เขาสามารถดูแลเราและน้องๆ เราได้ คนนี้เจอกันได้ไม่นาน เพราะพอดีคุณย่าเสีย เราเลยต้องกลับมาเรียนต่อมัธยมที่โรงเรียนชายล้วนในโคราช แล้วจากนั้นก็ไม่ได้เจอกันอีกเลย

GM : ชีวิตของคนที่เป็นกะเทยในโรงเรียนชายล้วนเป็นอย่างไร

ธัญญ์วาริน : พอเข้ามา ม.1 เราก็ยังไม่รู้หรอกว่าเราเป็นอะไร (หัวเราะ) แต่เราจะไม่ชอบพวกตุ๊ดที่เข้าแถวข้างๆ เรา เราจะคิดว่าการเป็นกะเทยมันทุเรศ น่าเกลียด เพราะสมัยนั้นถึงเราจะเคยมีอะไรกับพี่ข้างบ้าน แต่เราก็ยังชอบผู้หญิงไง ซึ่งพอเรามาอยู่ในโรงเรียนปั๊บ ทุกคนก็เรียกเราว่าอีตุ๊ด เราก็แบบ อ้าว! นี่กูเป็นตุ๊ดเหรอ สรุปว่ากูเป็นพวกเดียวกับตุ๊ดที่กูเกลียดเหรอ (หัวเราะ) หลังจากนั้นก็เลยเป็นตุ๊ดเต็มตัว ก็ชอบผู้ชายอะไรกันไป

แต่ตอนนั้นเราไปเข้ากลุ่มกับพวกกะเทยปัญญาอ่อน (หัวเราะ) เป็นกลุ่มที่คิดว่าตัวเองไม่แรด และคิดว่าตัวเองเป็นราชนิกุล ฉันไปอยู่กลุ่มผิด เพราะจริงๆ แล้วตัวฉันควรจะไปอยู่กลุ่มดอกทอง (หัวเราะ) คือกะเทยราชนิกุลพวกนี้เป็นกะเทยอุบาทว์ แต่จะชอบคิดว่าพวกเราสวย พวกเราฉลาด พวกเราเลิศ เราจะต้องไม่จีบผู้ชายก่อน ถ้าผู้ชายมาจีบหรือใครมีผู้ชายถือว่าต่ำ จนทุกวันนี้ เพื่อนตัวท็อปในกลุ่มเหล่านี้ ก็ยังคงไม่มีผู้ชายเข้ามาในชีวิต (หัวเราะ)

จนกระทั่งจบ ม.6 เราก็ยังไม่ค่อยประสีประสาเรื่องผู้ชาย ขนาดไปรด. ครูฝึกก็จะคอยปกป้องเรา ไม่ให้ผู้ชายเข้ามาแกล้งพวกกลุ่มกะเทยดี แต่หารู้ไม่ว่าฉันแรดมาก อยากจะโดนมาก หมายมั่นปั้นมือไว้ว่าไป รด. กูต้องโดนแน่ๆ แต่ก็ไม่โดน (หัวเราะ) แต่พออยู่ช่วงมหาวิทยาลัยนี่ไม่ต้องพูดถึงเลย กะหรี่มาก (เน้นเสียง) จำได้ว่าจะมีพี่บัณฑิตกะเทยเขาจะเลี้ยงรวมกะเทยรุ่นน้อง กะเทยไปกันเยอะมาก กินเหล้าเมาปลิ้นเป็นครั้งแรก พอกินเหล้าเป็น ทีนี้เราก็แต่งตัวสวยออกล่าผู้ชายทุกคืนเลยค่ะ ขี่มอเตอร์ไซค์ไปเที่ยวเธค กินเหล้า เมา ได้ผู้ชาย ล่าผู้ชายกันยันเช้า สวนกับพระที่บิณฑบาต บางที 7 โมงแล้ว แสงแยงตา เรายังโขกให้ผู้ชายอยู่ก็มี (หัวเราะ) แต่ 8 โมงเราก็ไปเรียนนะตอนเย็นก็เป็นเชียร์ลีดเดอร์คณะต่อ ตกดึกก็แต่งหญิงออกไปล่าผู้ชาย เป็นวงจรชีวิตอยู่อย่างนี้

GM : แล้วถ้าพูดถึงแฟนล่ะ คุณมีแฟนคนแรกช่วงไหน

ธัญญ์วาริน : แฟนเหรอ จริงๆ ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครที่เราจะเรียกว่าแฟนได้เต็มปากเต็มคำเลยนะ แต่ถ้าคนที่เรารู้สึกดีๆ ด้วย มันก็จะมีทั้งแบบที่ได้กันและไม่ได้กัน คือคนที่เรารักแล้วเขารักเราก็มักจะไม่ค่อยได้กันนะ อย่างตอนมหาวิทยาลัยก็จะมีคนที่เรารักมาก แต่เขารักเราแบบเพื่อน หรืออย่างตอนมัธยมก็พอจะมีเหมือนกันนะ เป็นเพื่อนห้องเดียวกันนี่แหละ แต่ไม่ได้กันนะ เพราะสุดท้ายเราก็ไปได้กับเพื่อนมันแทน เอากันขำๆ (หัวเราะ) ซึ่งพวกนี้ก็คงเรียกว่าแฟนไม่ได้เนาะ

GM : มีใครที่มีผลกระทบกับชีวิตของคุณมากๆ ไหม

ธัญญ์วาริน : ช่วงที่เราเป็นอาจารย์ได้ 2-3 ปี เล่นละคร ‘ชายไม่จริงหญิงแท้’ แล้ว มันชื่อกอล์ฟเหมือนกัน เป็นลูกศิษย์เรา อยู่ปีสอง เราไปชอบเพื่อนมัน ชื่อปุ้ม เป็นผู้ชายขาวๆ หน้าตาน่ารักๆ ตอนนั้นเราเช่าบ้านอยู่คนเดียว พวกมันก็จะชอบมานอนมาเล่นที่บ้าน จนตอนหลังก็มาอยู่บ้านเดียวกัน ซึ่งพวกมันก็รู้นะว่าเราชอบไอ้ปุ้ม ตอนนั้นเราจะ Suffer มาก พอปุ้มไม่พูดด้วย หรือออกไปกับชะนี เราก็จะฟูมฟาย กินเหล้าเมาร้องไห้เป็นประจำ จุดหักเหมันมาเกิดขึ้นตอนที่ปุ้มชวนทุกคนไปเที่ยวเขาใหญ่ด้วยกัน เราก็ดีใจ ว้าย! จะได้ไปนอนด้วยกันบนเขาใหญ่ แต่พอเช้าวันถัดมา ชะนีเมียมันนั่งรถตู้ตามขึ้นมาบนเขาใหญ่ เราก็เศร้ามาก ซึ่งระหว่างนั้นกอล์ฟมันก็จะคอยดูแลเอาใจใส่เรา แล้วปกติกอล์ฟมันจะเป็นคนที่ชอบเปิดเพลงแสดงอารมณ์ มันจะชอบเปิดเพลงปลอบเราเวลาเราเฮิร์ทจากปุ้ม พอหลังจากคืนนั้นเราก็เลยเปลี่ยนใจ เริ่มหันเหมาทางกอล์ฟ หลังจากนั้นเราก็อยู่กับกอล์ฟมาเป็นปีเลยนะ ทุกคนรู้หมดว่าเราเป็นอะไรกัน ทุกวันตอนเช้ากอล์ฟก็จะไปส่งเราสอนหนังสือ ตอนบ่ายมันก็มาเรียน กลับมาบ้านก็อยู่ด้วยกัน กินข้าว กินเหล้า แต่หลังๆ มันก็จะเริ่มมีตัวแปร คือมีชะนีเข้ามาก็ทะเลาะกันด้วยการเปิดเพลงโต้กันไปมาอยู่ในบ้าน (หัวเราะ) แต่ช่วงนั้นเราก็อารมณ์รุนแรงมาก ถึงจุดหนึ่งเวลาไม่อยากให้เขาไปไหน ก็ขังเขาเอาไว้ในบ้าน จนวันหนึ่งก็ไม่ไหว ก็เลยเลิกกัน ซึ่งถ้าเราทำใจยอมรับได้ มันก็คงจะอยู่กับเรามาจนถึงทุกวันนี้

วันที่แตกหักกันเป็นวันที่ทุเรศที่สุดในชีวิต คือเรามานั่งด้วยกันสองคน กินเหล้าแล้วก็คุยกัน เราถามเขาคำถามหนึ่ง ซึ่งเป็นคำถามที่จะอยู่ในหนังเราเยอะมากว่า อยู่ด้วยกันมาตั้งนาน เคยรักเราบ้างหรือเปล่า มันมองหน้าเรา แล้วก็ตอบว่า ไม่ เท่านั้นแหละ จำอะไรไม่ได้อีกเลย สติหลุด พอเช้ามาเราก็ตื่น ในบ้านไม่มีใครอยู่ พอออกมานอกบ้านปั๊บ กะเทยเจ้าป้าไฮโซกับกะเทยขายของรุ่นป้าๆ ที่อยู่ในละแวกเดียวกันก็เรียกเราไปคุย บอกว่า อีกอล์ฟ เมื่อคืนมึงทุเรศมาก มึงเป็นถึงครูบาอาจารย์มึงทำอย่างนี้ได้ยังไง เราก็งง ถามเขาว่าเราทำอะไร เพราะเราเข้าใจว่าตัวเองนั่งคุยกับไอ้กอล์ฟแล้วหลับไปตั้งแต่เที่ยงคืน ป้าๆ เขาก็บอกว่า เราไม่ได้หลับ แต่เราไปนั่งร้องไห้กราบตีนไอ้กอล์ฟอยู่ริมถนนหน้าบ้าน กอดขามันเอาไว้ไม่ให้ไปไหน มันก็คงสงสารน่ะ นั่งให้เรากอดตีนจนถึงตีสาม ก็ยังไม่หยุดร้องห่มร้องไห้

จนคนแถวนั้นนึกว่าเราจะตายแล้ว ซึ่งทั้งหมดนั้น ไม่น่าเชื่อว่าเราจะจำอะไรไม่ได้เลย แต่ทุกคนยืนยันเหมือนกันหมด ว่าเราทำแบบนั้นจริงๆ แล้วหลังจากนั้นเราก็เลยเริ่มทำตัวเ-ี้ยเลย พอกันทีความรัก คือหลังจากนั้นมา เราก็ย้ายบ้านหนีมัน พอย้ายบ้านเราก็ทำตัวกะหรี่เลยค่ะ

    มีอีกช่วงหนึ่งที่ชีวิตดราม่ามาก คือช่วงที่ลาออกจากครูแล้วย้ายเข้ามาทำหนังอยู่ในกรุงเทพฯ เราไปติดผู้ชายขายตัว ชอบเขาจริงจังด้วย เขาขายตัวอยู่ที่ร้านแถวมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง มีวันหนึ่ง เขามาหาเราโดยที่เราไม่ได้ออฟ มาถึงก็เอากันแบบเลิศอลังการ เอากันตั้งแต่ที่นอนไปจนถึงหน้าประตู ถึงห้องน้ำอะไรอย่างนี้ เสียงงี้ดังลั่นแฟลตไปหมด สารภาพว่าตอนนั้นติดใจอย่างแรง (หัวเราะ) แต่เราเริ่มมาเอะใจตอนที่ชวนนอนห้องทีไรแล้วมันไม่นอน เป็นอย่างนี้อยู่สองสามครั้ง สุดท้ายความลับก็เลยเปิดเผยว่า ผู้ชายคนนี้เป็นแฟนกับอีออยเพื่อนเรา ออยมันอยู่ปากซอย เราอยู่ในซอย มันเลยไม่เคยค้างกับเรา เพราะมันต้องนั่งรถกลับไปหาเพื่อนเราตรงหน้าปากซอย เราก็แบบ อ๋อ! โอเค นี่แปลว่ากูเป็นเมียน้อยมาตลอดเลยใช่ไหม (หัวเราะ) ดราม่ามาก แต่เราก็ยอมรับสถานะการเป็นเมียน้อยนะ

แล้วที่เ-ี้ยกว่านั้นคืออะไรรู้ไหมคะ คือก่อนหน้านั้นเราอยู่คนละบ้านกันใช่ไหม แต่เราทนไม่ได้ไง เรารักเขาน่ะ เราก็เลยย้ายมาอยู่กับออยเลย อยู่กันสามคนผัวเมีย (หัวเราะ) แล้วเวลาจะเอากันที ผู้ชายก็เ-ี้ย มาก คือจะบอกให้ออยไปซื้อมาม่าที่เซเว่นฯ ออยก็ต้องเชื่อฟัง พอมันไป เรากับจิ๋วก็เอากัน แต่ยังไม่เสร็จ ออยมาแล้ว เคาะประตู จิ๋วมันก็ไม่เปิดนะ ตะโกนบอกให้ต้มมาม่าให้ด้วยขณะที่กำลังเอากับเราอยู่นั่นแหละ ออยก็ไปต้มมาม่า แล้วนั่งรอหน้าห้อง พอเสร็จ เหนื่อย เรากับผู้ชายก็ออกมากินมาม่า ซึ่งออยไม่ได้กินเลยนะ มาม่าน่ะ (หัวเราะ) เ-ี้ยมาก รู้สึกว่าตัวเองเ-ี้ยมาก เราเลยย้ายออกมาอยู่ที่อื่น ทิ้งชีวิต ทิ้งทุกคนที่นั่น มาเริ่มต้นชีวิตใหม่

GM : พูดได้ไหมว่า ประสบการณ์ทางเพศที่หลากหลายของคุณ ซึ่งคุณเรียกว่าการเป็นกะหรี่ ในแง่หนึ่งก็ช่วยให้คุณได้สำรวจและเปิดมุมมองเรื่องเพศที่หลากหลายให้กับตัวเองไปด้วย ทำให้เข้าใจในมนุษย์มากขึ้น

ธัญญ์วาริน : ใช่, เราจะเข้าใจอะไรมากขึ้นจากเรื่องพวกนี้ อย่างตอนที่เราเป็นผู้หญิง เราก็จะเห็นว่าคนที่เป็นผู้หญิงกว่าเรา ผมยาวกว่าเรา ซึ่งเคยไปได้ทหารมาด้วยกัน เขาก็ยังเป็นฝ่ายรุกเลยนะ หรือผู้ชายแมนๆ หน้าตาหล่อๆ ที่ได้เพื่อนสวยๆ ซึ่งทำนมแต่ไม่ทำจิ๋มของเราไปนอนด้วย มันก็โขกกินงูเพื่อนสาวเราสู้ตาย เราเลยรู้สึกว่ามันไม่ได้มีแค่รูปแบบของชายกับหญิง เคยไปตัดสินประกวดนางงามกะเทย กะเทยที่ได้รางวัลปีที่แล้วซึ่งต้องขึ้นมามอบรางวัลบนเวที ดันเป็นผัวเมียกับกะเทยที่ได้รางวัลปีนั้น คือต่างคนต่างแต่งหญิง มีนม และสวยได้มงกุฎกันทั้งคู่ แล้วพอเราถามเขาว่าเมื่อไหร่จะผ่าจิ๋ม ล่ะลูก เขาก็ตอบเราว่า อ๋อ…ไม่หรอกค่ะ เพราะแฟนหนูเขาชอบกินงู (หัวเราะ) แบบนี้ก็มี

คืออย่างใน Insects การที่จอห์นนี่กับเจนนี่ (ตัวละครลูกชายและลูกสาว) ออกไปขายตัว มันคือกระบวนการเรียนรู้ชีวิตอย่างหนึ่ง สำหรับเรา การมีเพศสัมพันธ์คือการเรียนรู้คนอื่น ทำให้เราเข้าใจคนอื่นได้ดีที่สุด เพราะคนที่จะเอากันได้ มันไม่ใช่เรื่องผิวเผิน ต้องผ่านการคิด การคุย การตัดสินใจก่อนที่เอากัน อีกอย่าง การเป็นกะหรี่ของเราหรือตัวละครในเรื่องมันทำให้เราได้เจอคนที่หลากหลาย ทำให้เรารู้ว่าชีวิตไม่ได้มีแค่สิ่งที่เราเป็นหรือรู้จักเท่านั้น มันยังมีอะไรมากกว่านั้น แต่เราก็ต้องดอกทองอย่างมีสตินะ เราต้องรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ บางคนอาจจะคิดว่าการทำตัว

ดอกทอง เป็นเรื่องของคนขาดความยั้งคิด แต่จริงๆ เวลาเราดอกทอง เราไม่ได้ดอกทองแบบไม่คิดอะไรเลยนะ จะดอกทองเราก็ต้องคิด

คิดว่าทำไมคนนี้เป็นแบบนั้น ทำไมคนนั้นเป็นแบบนี้ เอาสิ่งที่เราพบเจอมาประมวลผล ก็เรียนรู้ชีวิตกันไป

GM : จากประสบการณ์ที่เล่า คุณคิดว่าตัวเองเป็น Sex Addict หรือโรคเสพติดเซ็กซ์ไหม

ธัญญ์วาริน : ตายละ (หัวเราะ) ไม่รู้เหมือนกัน (นิ่งคิด) เสพติดเซ็กซ์มันต้องเป็นยังไงล่ะ ขาดเซ็กซ์ไม่ได้ ตื่นมาก็คิดแต่ว่าวันนี้จะเอากับใครอย่างนี้เหรอ เราว่าเราไม่ได้เสพติดนะ ถามว่าสามารถมีเซ็กซ์ทุกวันได้ไหม ก็มีได้นะ ตามปกติ แต่ไม่ได้ถึงขั้นที่ว่า ทนไม่ไหวแล้ว ต้องขวนขวายหามาให้ได้ แล้วสิ่งที่เล่าเนี่ย มันก็มีทั้งที่ไปหามาบ้าง เข้ามาเองบ้าง แต่มันไม่ใช่หลักสำคัญในชีวิตของเราขนาดนั้น ไม่เคยตื่นมาแล้วคิดว่าจะไปหาใครมาเอาดี ไม่ถึงขนาดนั้น (หัวเราะ) เรามองว่าเมื่อก่อนเราเป็นพวกขาดความอบอุ่นมากกว่า เราแค่ใช้เซ็กซ์เพื่อเป็นเครื่องมือในการที่จะใกล้ชิดกับใครสักคนมากกว่า ไม่ได้เน้นเอาผู้ชายมาบำบัดความใคร่หรอก บางทีเราก็แค่เหงา แค่เอาเขามานอนเป็นเพื่อน อย่างตอนที่เราติดผู้ชาย มันไม่ได้เป็นเพราะเขาเซ็กซ์เลิศอย่างเดียวนะ แต่เขาทำให้เรารู้สึกดีในแง่อื่นๆ ด้วย

GM : เซ็กซ์ที่ดี ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับศีลธรรมอันดี ของธัญญ์วารินเป็นแบบไหน

ธัญญ์วาริน : เซ็กซ์ที่ดีสำหรับเรามันคงไม่ใช่แค่การที่มีผู้ชายมานอนเฉยๆ แล้วให้เราอมให้หรือนั่งเทียนไปเรื่อย (หัวเราะ) เซ็กซ์ที่ดีมันเหมือนกับการที่คนสองคนเข้าใจซึ่งกันและกันมากกว่า เพราะเซ็กซ์มันไม่ใช่เรื่องของการสนองความสุขของตัวเองอยู่ฝ่ายเดียว มันต้องรู้ด้วยว่าความสุขของอีกฝ่ายคืออะไร ต้องเอาใจใส่ความรู้สึกของกันและกันขณะมีเซ็กซ์ด้วย แต่ทั้งนี้เซ็กซ์ที่ดีของแต่ละคน

ก็คงไม่เหมือนกันใช่ไหมล่ะคะ

GM : เคยเจอเซ็กซ์ห่วยไหม

ธัญญ์วาริน : เคยนะ เคยเจอทั้งเซ็กซ์ห่วยที่มาแบบนอนเฉยๆ ทำหน้าเหมือนไม่มีอารมณ์ร่วมกับเรา บางคนนอนกับเราไม่ครางเลยสักแอะ เราก็นึกว่านี่กูเอากับศพอยู่หรือเปล่า (หัวเราะ) กับเซ็กซ์ห่วยที่มาแบบซาดิสต์ๆ อันนั้นเราจะไม่ค่อยชอบ จริงๆ เราเป็นคนโรแมนติกนะคะ เจอเซ็กซ์ซาดิสต์เข้าไปก็เจ็บน่ะค่ะ (หัวเราะ) เราไม่ได้เป็นพวกมีความสุขกับความทุกข์ทรมาน บางทีมันมากัด มาขยี้ให้เราเจ็บปวด เราก็ไม่ไหวนะ ฉันไม่ได้เป็นพวกมาโซคิสต์ (หัวเราะ) เราไม่ชอบเซ็กซ์ที่มากเกินไปกับน้อยเกินไป

ต้องพอดีพองาม แต่ส่วนใหญ่มักจะเจอเซ็กซ์ห่วยนะ (หัวเราะ) จะให้ไปเจอเซ็กซ์ที่ดีแบบในฝันทุกครั้ง มันก็คงเป็นไปไม่ได้

GM : เจอประสบการณ์ทางเพศมาไม่น้อย ทุกวันนี้ ยังชอบเป็นฝ่ายถูกกระทำอย่างเดียวหรือเปล่า หรือคุณทลายข้อจำกัดตรงนั้นไปแล้ว

ธัญญ์วาริน : อันนี้ตอบไม่ได้ เพราะไม่แน่ว่าวันหนึ่งเราอาจไปเอาผู้หญิง ไม่แน่ว่าวันหนึ่งเราอาจจะอยากไปเอาตูดผู้ชาย ตอบไม่ได้เลย เราไม่อยากไปตีกรอบมันว่า เราทำแบบนี้ไม่ได้ ทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะมันจะทำให้ชีวิตเราเป็นทุกข์ เราคิดเสมอว่ารสนิยมทางเพศมันเปลี่ยนแปลงได้ เลื่อนไหลไปมาได้ เราไม่เคยไปว่าคนอื่นเลยว่าเขาจะเอากันยังไง ไม่เคยประณามพวกแต่งหญิงที่ไปเอาตูดผู้ชาย ไม่เคย เป็นกะเทยแล้วมีเมีย เราก็ไม่เคยประณาม เพราะเราว่ามนุษย์สามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตได้ วันหนึ่งเราอาจจะมีเซ็กซ์กับคนได้หลากหลายกว่านี้

แต่ทุกวันนี้เราชอบเป็นฝ่ายถูกกระทำ ยังมีความสุขอยู่ แต่เราก็ไม่รู้ว่าขีดจำกัดทางเพศของเรามันจะไปได้ไกลถึงไหน เพราะเราก็ยังไม่เคยลอง ตอนนี้ก็ยังไม่คิดจะลอง แต่ใครจะไปรู้ จริงไหมคะ หนทางยังอีกยาวไกล สุดท้ายเราอาจจะกลับไปเป็นผู้ชาย มีเมีย แต่งงาน มีลูกก็ได้ (ยิ้ม)

วันที่แตกหักกันเป็นวันที่ทุเรศที่สุดในชีวิต คือเราถามเขาคำถามหนึ่ง ซึ่งเป็นคำถามที่จะอยู่ในหนังเราเยอะมากว่า อยู่ด้วยกันมาตั้งนาน เคยรักเราบ้างหรือเปล่า มันมองหน้าเรา แล้วก็ตอบว่า ไม่ เท่านั้นแหละสติหลุดเลย

เซ็กซ์ที่ดีมันเหมือนกับการที่คนสองคนเข้าใจซึ่งกันและกันมากกว่า  เพราะเซ็กซ์มันไม่ใช่เรื่องของการสนองความสุขของตัวเองอยู่ฝ่ายเดียว มันต้องรู้ด้วยว่าความสุขของอีกฝ่ายคืออะไร ต้องเอาใจใส่ความรู้สึกของกันและกันขณะมีเซ็กซ์ด้วย

– ปิดฉาก –

Filmography

เซ็กซ์ในหนังของแมลง

แหวน

หนังสั้นเรื่องแรกของผู้กำกับธัญญ์วาริน ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 100 หนังไทยที่คนไทยควรดูของมูลนิธิหนังไทย (มีหนังสั้นเพียงแค่ 15 เรื่องที่ติดโผ) โดม สุขวงศ์ ให้ความเห็นว่าเป็นหนังที่คล้ายกับ ‘กรรมกรเล่นกล้อง’ คือถ่ายทำด้วยใจ ไม่ได้ใช้ความรู้ จนตัวหนังออกมาดูดิบมากราวกับกำลังนั่งดูโฮมวิดีโอ หนังเล่าเรื่องรักสามเส้าของกะเทยลูกจ้างที่เป็นใบ้ วินมอเตอร์ไซค์สุดเซอร์ที่เธอหลงรัก และโสเภณีที่ยืนขายบริการอยู่อีกฝั่งถนน ซึ่งทั้งหมดนั้นถูกเชื่อมโยงกันด้วยแหวน

“สำหรับเรา หนังเรื่องนี้มันเป็นความรักที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ เป็นหนังเรื่องแรกของเราที่ใสซื่อมาก กะเทยเก็บตังค์ซื้อแหวนให้ผู้ชาย ช่วยเหลือผู้ชาย ยอมเจ็บตัวเพื่อผู้ชาย ตอนนั้นเรามองโลกแบบนั้น เราทุ่มเทเพื่อคนที่เรารักสุดๆ ทำได้ทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีพ เราก็เอาความคิดตอนนั้นมารวมกับสิ่งที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน ทั้งกะหรี่ ทั้งวินมอเตอร์ไซค์ มันเลยได้ออกมาเป็นหนังเรื่องนี้”

เด็กหลง

หนังตลกน่ารักที่พูดถึงความสัมพันธ์แบบ ‘แม่ลูกจำเป็น’ ระหว่างกะเทยกับเด็กหญิงกำพร้า และการผจญภัยในพัทยาของพวกเธอทั้งคู่ “ในหนังมันบอกไว้อย่างชัดเจนว่า คนเราแค่ต้องการใครสักคนที่จะมารักและเข้าใจ เพราะฉะนั้นจะเป็นกะเทยหรือเป็นอะไร ก็เป็นแม่ได้หมด ขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจระหว่างกันมากกว่า แต่เราดันเอาเพศมากำหนดไง ว่าพ่อต้องเป็นผู้ชาย แม่ต้องเป็นผู้หญิง ซึ่งเราไม่เชื่อกับความคิดที่ตายตัวแบบนี้”

ไตรภาค อาจารย์-ลูกศิษย์ (รัก ผิด บาป / เปลือก / ในเปลือก)

หนังสามเรื่องที่เธอไม่ได้ตั้งใจไว้แต่แรกว่ามันจะมาเกี่ยวพันกันจนกลายเป็นไตรภาคได้ เริ่มจาก เปลือก ที่เล่าถึงสามชีวิต ทั้งอาจารย์หนุ่มที่แต่งหญิงล่าผู้ชายในตอนกลางคืน ลูกศิษย์หนุ่มที่ไปนอนกับกะเทยและผู้หญิงเพื่อเอาเงินไปให้พ่อแม่ที่ต่างจังหวัด และลูกศิษย์ผู้หญิงที่ขายตัวเพื่อเลี้ยงผู้ชาย

“เราไม่ได้ตั้งใจจะเล่าถึงความรักระหว่างครูกับลูกศิษย์เป็นหลักหรอก เพราะอย่างเปลือกมันเป็นเหมือนการประมวลชีวิตตัวเอง เรากำลังพูดถึงเรื่องหน้าที่รับผิดชอบกับสิ่งที่เป็นตัวตนจริงๆ ของทุกคน ตอนกลางวันเราใส่สูทผูกไทไปสอน ตกกลางคืนก็แต่งหญิงไปหาผู้ชายกิน แล้ววันหนึ่งเราก็พบว่าเรากำลังกินลูกศิษย์ตัวเองอยู่ เรื่องจริงนี่ยิ่งกว่าในหนังอีก เพราะเรามัวแต่เอากับมันจนไม่ได้ไปสอนก็มี” (หัวเราะ)

ตามด้วย ‘ในเปลือก’ ที่จับเอาช่วงชีวิตที่เปลี่ยนผ่านจากครูมาเป็นกะเทยเต็มตัว และสามารถสละชีวิตได้เพื่อลูกศิษย์ที่ตัวเองรัก “ตอนทำเรื่องนี้มันเกิดหลังจากที่เราตัดขาดจากผู้ชายขายตัวคนนั้น เราเริ่มคิดว่า เราไม่ต้องครอบครองเป็นเจ้าของเขาก็ได้ เริ่มคิดไปอีกแบบหนึ่ง แล้วมันก็ดราม่ามากด้วย เพราะตอนนี้เราไม่คิดแล้วว่าเราจะถึงขนาดยอมตายเพื่อผู้ชายคนไหนได้”

และจบลงด้วย ‘รัก ผิด บาป’ ที่กลายมาเป็นภาคเริ่มต้นของไตรภาค -อันว่าด้วยชีวิตแรกเริ่มของครูที่หลงรักลูกศิษย์ แต่ไม่กล้าที่จะมีอะไรกับลูกศิษย์ตัวเอง- ไปโดยปริยาย

“เราไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องผิดปกตินะ เพราะเราเข้าไปอยู่ในวงการนั้น แล้วเห็นว่ามันเป็นเรื่องปกติมาก ครูเอากับนักเรียนนี่ เราไม่ได้ทำหนังให้มันอื้อฉาวเพื่อให้คนอยากดูนะ เราแค่นำเสนอในสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริง และก็เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับตัวเรา มันไม่แปลกหรอก คนมันเจอกันทุกวัน มันก็มีสิทธิ์ที่จะรักกันได้ เราจะไปสนใจในสิ่งที่มันอยู่ภายนอกทำไม ว่าเป็นครูแล้วจะเอากับลูกศิษย์ไม่ได้ เราไม่คิดว่ามันจะผิดศีลธรรมตรงไหน เราจะอยู่ในชุดเ_ี้ยอะไรแล้วไปเอากันมันก็ไม่ผิดหรอก เพราะเราเป็นมนุษย์น่ะ แก้ผ้าออกมามันก็เหลือเท่ากันหมด แล้วเราก็ไม่เคยให้เกรดดีๆ กับลูกศิษย์ เพียงเพราะเราได้กับมันแล้วนะ ถ้าเราทำอย่างนั้นสิ ถึงจะเรียกว่าผิด”

กะเทยนรก

หนังสั้นที่อาจเรียกได้ว่า ‘แรง’ ที่สุด เพราะว่าด้วยกะเทยผู้มาจากนรกอเวจีที่ตั้งคำถามกับความรักอย่างไม่ลืมหูลืมตาของมนุษย์ ด้วยการจับตัวคู่รักมาทรมาน ทั้งทางเพศและทางร่างกาย หนังโดดเด่นด้วยคอสตูมและฉากออรัลเซ็กซ์ของจริงระหว่างกะเทยนรกกับชายหนุ่มเจ้าชู้ที่เธอจับมาทรมานต่อหน้าแฟนสาวของเขา !

“เรื่องนี้มันเกิดจากการที่เรามีเพื่อนเยอะ มีน้องสาว แล้วทุกคนก็ suffer เรื่องความรักมาก รวมถึงตัวเราด้วย เราเลยตั้งคำถามว่าเราสามารถเป็นเจ้าของใครคนหนึ่งได้จริงเหรอ ตายไปเราก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของผู้ชายคนไหนได้ หรือถ้ามันไม่มีจู๋ เราจะยังพิศวาสมันอยู่หรือเปล่า ทำไมคนต้องฆ่าตัวตายเพื่อความรักขนาดนั้น เรารักมันจริงเหรอ แล้วรักมันที่อะไร เรารู้สึกว่าคนมันอ่อนแอเกินไปกับความรัก เราเลยอยากจะทำหนังที่เป็นวัคซีนเพื่อให้คนแข็งแรงกับเรื่องเหล่านี้ แล้วคนเราจะแข็งแรงได้มันก็ต้องเรียนรู้ผ่านความเจ็บปวดนั่นแหละ”

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ