fbpx

ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ขาโหดตรวจแถวธุรกิจหลังเลือกตั้ง

เพื่อเตรียมพร้อมรับการมาถึงของนายกรัฐมนตรี คนใหม่ลำดับที่ 28 ของประเทศไทย

GM จึงชวนคุณมาพูดคุยกับ ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย กูรูด้านการตลาดชื่อดังที่มีผลงานในหลากหลายสื่อ ถึงทิศทางของธุรกิจและเศรษฐกิจช่วงหลังเลือกตั้ง ในประเด็นที่หลากหลายและรอบด้าน

ฉายา ‘ขาโหด’ ประจำรายการ SME ตีแตก ของธันยวัชร์นั้นเหมาะเจาะกับเขาอย่างยิ่ง เพราะด้วยภูมิความรู้ที่มีอยู่ ทำให้ธันยวัชร์วิพากษ์วิจารณ์ประเด็นต่างๆ อย่างลึกซึ้งถึงแก่น ตรง แรง แบบไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม (และไม่ไว้หน้านักการเมืองสีไหนทั้งสิ้น!) ชนิดที่ฟังแล้วคุณอาจพานเกลียดขี้หน้าเขาไปดื้อๆ เลยก็ได้

อีกเรื่องราวที่ GM เชื่อว่าคุณอยากได้ยินจากปากของกูรูด้านการตลาดผู้นี้คือ บทวิเคราะห์ในเรื่องการใช้การตลาดเพื่อการหาเสียงของพรรคการเมือง ที่ว่าทำไม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายมาเป็นคนที่โด่งดังคับประเทศในช่วงเวลาเพียงชั่วข้ามคืน อ้อ! ช่วงท้ายๆ ของบทสัมภาษณ์ เราลองชวนธันยวัชร์คุยเรื่องงานและชีวิตส่วนตัวดูบ้าง ซึ่งเป็นอีกมุมหนึ่งของผู้ชายคนนี้ ที่คุณอาจไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ไหนมาก่อน

GM : เท่าที่คุณติดตามการหาเสียงของพรรคการเมืองหลายๆ พรรคในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีพรรคไหนไหมที่ใช้การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ธันยวัชร์ : พรรคที่ใช้การตลาดได้ค่อนข้างดีคือเพื่อไทย ก่อนหน้านี้ ยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) เป็นใครมาจากไหนไม่ค่อยมีคนรู้สักเท่าไหร่ รู้แค่ว่าเป็นน้องคนหนึ่งของทักษิณ แต่ช่วงเลือกตั้งยิ่งลักษณ์สามารถสร้างกระแสนายกฯ หญิงขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วมาก ทั้งที่เจ้าตัวก็ไม่ได้เป็นคนพูดเก่ง ไม่ได้ออกทีวีบ่อยๆ ด้วยซ้ำ แต่มีคนวางไว้ให้แล้วละว่า เวลาปรากฏตัวต่อหน้าสื่อต้องทำสีหน้าอย่างไร ต้องพูดแต่นโยบายเท่านั้นนะ ‘ไม่คิดแก้แค้น แต่จะแก้ไข’ ต้องไม่ดีเบตกับอภิสิทธิ์อย่างเด็ดขาด พอคนได้รู้ได้เห็น จึงมองว่าอภิสิทธิ์ดีแต่พูด ท้ายิ่งลักษณ์ดีเบตอยู่นั่นแหละ คิดดูสิว่า เพื่อไทยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดจนสามารถแบรนดิ้งยิ่งลักษณ์ให้เป็นนายกฯ หญิงได้ ยิ่งลักษณ์เป็นผู้หญิงที่หน้าตาดี และอาศัยบารมีของทักษิณเข้ามาช่วยให้พี่น้องประชาชนได้รู้จักและไว้วางใจมากขึ้น หรือจะเป็นป้ายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยก็ใช้สีที่โดดเด่น มีรูปลักษณ์ที่เด่นชัด พรรคอื่นก็อีลุ่ยฉุยแฉกกันไป

เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการใช้การตลาดเพื่อการเมือง ทักษิณใช้มาตั้งแต่เมื่อครั้งที่อยู่กับพรรคพลังธรรมโน่นเลย จนเมื่อก่อตั้งพรรคไทยรักไทยก็ใช้การตลาดได้อย่างชาญฉลาดเหมือนกัน โดยการลงพื้นที่ไปหา

พี่น้องประชาชนเพื่อดูว่าเดือดร้อนอะไรอยู่บ้าง ก่อนจะออกเป็นนโยบายช่วยเหลือ มีการใช้การตลาดทางการเมืองมาเรื่อยๆ จนถึงสมัยพรรคเพื่อไทย จะว่าความถนัดในการใช้การตลาดเพื่อผลทางการเมืองมันอยู่ในดีเอ็นเอของพรรคนี้มาแต่ไหนแต่ไรก็ได้ ส่วนประชาธิปัตย์พอเห็นเพื่อไทยใช้การตลาดแล้วซื้อใจประชาชนได้ก็อยากเอาบ้าง แต่ประชาธิปัตย์ไม่เก่งการใช้การตลาดเพื่อการเมือง ไม่เก่งเรื่องประชานิยมด้วย พอมาใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียง มันไม่ใช่ทางที่ถนัดน่ะ เหมือนจับทหารบกมารบบนเรือ มันจะสู้ทหารเรือได้อย่างไรกันเล่า

ต่อให้ประชาธิปัตย์ใช้การตลาดได้เก่งสักแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะชนะการเลือกตั้งได้เสมอไปนะ เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรคของคนใต้ คนภาคอื่นก็จะมองว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคของคนใต้ ไม่ใช่พรรคบ้านเขาจึงไม่เลือกอยากให้เข้าใจไว้ด้วยว่า การจะชนะการเลือกตั้งไม่ได้อยู่ที่ว่าพรรคนั้นทำการตลาดได้เก่งกว่าพรรคอื่น เพราะมาร์เก็ตติ้งไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่งทุกอย่าง ดูตัวอย่างง่ายๆ เลยนะ แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่ทำมาร์เก็ตติ้งคนอีสานก็เลือกนะ หรือต่อให้ประชาธิปัตย์โหมทำมาร์เก็ตติ้งมากขนาดไหน คนอีสานก็ไม่เลือก ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ก็คนอีสานชอบทักษิณไง เพราะสมัยรัฐบาลทักษิณมีนโยบายที่คนจนได้ประโยชน์ เช่น มีกองทุนหมู่บ้าน พักหนี้เกษตรกร ซึ่งมันติดอยู่ในใจคน คนเลยมองว่านายกฯ คนนี้ทำเพื่อคนจน พรรคอื่นไม่ได้ทำ

GM : ในต่างประเทศล่ะ การตลาดเข้ามามีบทบาทต่อพรรค การเมืองอย่างไรบ้าง

ธันยวัชร์ : ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้การตลาดเพื่อการหาเสียงมานานมากแล้วล่ะ ใช้มาก่อนที่สื่อสารมวลชนจะเจริญอย่างทุกวันนี้เสียด้วยซ้ำ อย่าง แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จริงๆ แล้วเขาเป็นโรคโปลิโอนะ ความที่สมัยนั้นสื่อโทรทัศน์ยังไม่แพร่หลายมากเหมือนสมัยนี้ ทำให้ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าเขาเป็นโรคโปลิโอ เพราะมีการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี หรืออย่าง บารัก โอบามา ที่ตอนเลือกตั้งถือเป็นมวยรอง แต่ใช้การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก เช่น เอาประชาชนคนธรรมดามาช่วยหาเสียง นำสื่อโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊คมาช่วยในการหาเสียง มีการศึกษามาอย่างดี โดยลงพื้นที่ไปดูก่อนว่าพี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ต้องการอะไร เพื่อจัดทำนโยบายช่วยเหลือในเรื่องนั้นๆ

GM : จริงๆ แล้วความเหมาะควรของการใช้การตลาดเพื่อการเมืองอยู่ตรงไหน

ธันยวัชร์ : ไม่มีข้อจำกัดตายตัวนะ เพราะการเมืองเป็นการแข่งขันอย่างหนึ่ง แต่ควรใช้การตลาดอย่างมีจริยธรรม ไม่ใช้การตลาดมากเกินไปจนกลายเป็นการหลอกลวงคน ซึ่งต่อมาคนก็จะไม่เชื่อถือ ไม่ปลุกเร้าหรือสร้างความต้องการให้คนมากเกินไป หลีกเลี่ยงการหาเสียงโดยสัญญาว่าจะสร้างโน่นสร้างนี่แต่ทำไม่ได้จริง มันเท่ากับเป็นการโม้ เป็นการพูดไปเรื่อยเปื่อย เลือกตั้งครั้งต่อไปประชาชนจะรู้แล้วว่าพรรคนี้ทำไม่ได้อย่างที่พูด เขาก็จะไม่ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งก็ไม่ต่างจากพฤติกรรมของเด็กเลี้ยงแกะที่ทักษิณประสบความสำเร็จในการใช้การตลาดเพื่อการเมือง เพราะทำได้จริงอย่างที่พูดกับพี่น้องประชาชนไว้ตอนหาเสียง จนมีคนเชื่อถือสูง

GM : ในอนาคตการตลาดน่าจะเข้ามามีบทบาทกับการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ไหม

ธันยวัชร์ : แน่นอน, พรรคการเมืองทุกพรรคน่าจะหันมาใช้นโยบายประชานิยม เหมือนการเอาใจผู้บริโภค แต่จะมีบางพรรคเท่านั้นที่ทำแล้วโดนใจ ทำแล้วผู้บริโภคเชื่อถือ ที่สามารถแปลงการตลาดที่ทำอยู่ให้กลายมาเป็นคะแนนเสียง เหมือนในธุรกิจที่สินค้าทุกยี่ห้อทำการตลาดได้เหมือนๆ กัน จะลด-แลก-แจก-แถม ก็ได้ แต่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าของคุณไหม เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

GM : คิดอย่างไรกับนโยบายประชานิยม ซึ่งดูเหมือนเป็นการตลาดอย่างหนึ่ง แต่เอาเข้าจริงแล้วต้องใช้งบประมาณมหาศาล

ธันยวัชร์ : ตอนนี้มันเป็นประชานิยมยุคใหม่ พรรคการเมืองหันมาสร้างกระแสนิยมด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อให้ประชาชนแฮปปี้ จนประชาชนเสพติด เหมือนเวลาปวดหัว คุณจะนอนพักผ่อนก็ช่วยได้ หรือรักษาด้วยการกินยา แต่ถ้ากินยาเข้าไปมากๆ ตับจะมีปัญหาตามมา พอไทยรักไทยประสบความสำเร็จในการใช้นโยบายประชานิยม หลายพรรคก็ทำตาม งบไทยเข้มแข็งของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาเรากู้เงินมาเยอะนะ ตัวเลขหนี้สาธารณะจะเป็นอย่างไรต่อล่ะ ประชานิยมต้องทำให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองด้วย ต้องทำให้เป็น Do It Yourself Economy จะให้รัฐบาลช่วยเหลือไปตลอดก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะรัฐบาลก็มีปัญหาที่ต้องสะสางเหมือนกัน

นโยบายของหลายๆ พรรคการเมืองพูดแต่เรื่องการให้เงิน แต่จะเอาเงินจากไหนมาให้ล่ะ อย่างขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ต่อๆ ไปก็คงขึ้นเป็น 400 บาท 500 บาท บางอย่างต้องให้ประชาชนช่วยเหลือ

ตัวเองด้วย ดีกว่ารอการช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ประเทศไทยจะอยู่ได้ต้องลดการใช้นโยบายประชานิยมลง

ต่อจากนี้ไปประชานิยมจะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเลือกตั้งนะ ระหว่างบริหารประเทศ รัฐบาลก็จะทำประชานิยมควบคู่ไปด้วยเลย ถือโอกาสหาเสียงระหว่างที่เป็นรัฐบาลไปด้วย อย่างโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน หรือการพักหนี้เกษตรกร มันติดมาถึงตอนนี้และจะเกิดขึ้นชั่วนาตาปีเลยผลที่เกิดตามมาจากการดำเนินนโยบายประชานิยมคือ ประชาชนจะรู้สึกว่าไม่ต้องทำอะไรก็อยู่ได้ เพราะรัฐบาลจะช่วยเหลืออยู่แล้ว คลังของรัฐบาลจะกู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้นทุนการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ต่อจากนี้ไปเมื่อมีการเลือกตั้งทุกพรรคการเมืองจะแข่งขันกันด้วยประชานิยมเหมือนกันหมด และจะบลัฟกันไปมา จนในที่สุดประชานิยมจะกลายเป็นเรื่องเพ้อฝันไปเลยก็ได้ ประชานิยมทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจากการกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศมาดำเนินนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ พอรัฐบาลใหม่ไม่มีเงินก็ไปกู้มาอีก ถ้าประเทศไทยเป็นหนี้มากๆ ก็อาจถึงขั้นล้มละลายไปเลยก็ได้

GM : อย่างที่รู้กัน ปีนี้สถานการณ์บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ หลังจากปีที่แล้วการชุมนุมทางการเมืองสร้างความเสียหายต่อภาคธุรกิจอย่างมาก ดูเหมือนสภาพเศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้น

ธันยวัชร์ : ตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้นทุกตัว เศรษฐกิจครึ่งปีแรกยังไปได้ดีอยู่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับเศรษฐกิจบ้านเราอย่างมากคือการเมือง การชุมนุมทางการเมืองเมื่อปีที่แล้วทำให้ภาคธุรกิจกระเจิดกระเจิงไปเลยนะ ส่งผลกระทบกับธุรกิจทุกภาคส่วน มาปีนี้สภาพเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าปีที่แล้วเยอะ แต่ต้องระวังไว้ให้ดี เพราะที่เห็นว่าการเมืองกลับสู่ภาวะปกติน่ะ มันปกติจริงไหม หรือสงบเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อรอการปะทุขึ้นมาใหม่อีกครั้งช่วงหลังเลือกตั้ง

เมื่อได้รัฐบาลชุดใหม่ต้องจับตาดูกันให้ดีว่า หากพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล พันธมิตรฯ จะออกมาชุมนุมต่อต้านหรือไม่ ผมว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯ ครั้งต่อไปคนจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เป็นความไม่แน่นอนทาง

การเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงประการสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนของต่างชาติที่ช่วงนี้ชะลอตัวอยู่

GM : เทียบกับปีที่แล้ว การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในปีนี้เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน

ธันยวัชร์ : ประชาชนกล้าจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ปีที่แล้วช่วงที่มีการชุมนุมปิดถนน ใครหน้าไหนจะกล้าออกไปซื้อข้าวซื้อของกันล่ะครับ ยิ่งช่วง 3-4 เดือนแรกหลังจากที่บ้านเมืองกลับสู่ความสงบ ประชาชนใช้จ่ายเยอะมาก เพราะคนอั้นมานาน โดยเฉพาะยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศในช่วงปลายปีที่แล้วทำสถิติสูงสุดเลยนะ ยอดส่งออกรถยนต์ก็เพิ่มขึ้นด้วย แต่ไตรมาสแรกของปีนี้ยอดจำหน่ายรถยนต์ลดลง เพราะมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเป็นตัวแปร

GM : ภาคการส่งออกกับการลงทุนของภาคเอกชนเป็นอย่างไรบ้าง

ธันยวัชร์ : การส่งออกดีขึ้นเหมือนกัน ปลายปี 2551 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก ยอดส่งออกบ้านเราทรุดฮวบเลยทีเดียว จากนั้นยอดการส่งออกก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจโลกที่เติบโตได้ดี และไม่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้นมาอีก

ต่อจากนี้ประชานิยมจะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเลือกตั้งระหว่างบริหารประเทศ รัฐบาลก็จะทำประชานิยมควบคู่ไปด้วยเลย ถือโอกาสหาเสียงระหว่างที่เป็นรัฐบาลอย่าง 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน หรือพักหนี้เกษตรกร มันติดมาถึงตอนนี้และจะเกิดขึ้นชั่วนาตาปีเลย

ส่วนการลงทุนจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับความมั่นใจของภาคเอกชนในเรื่องการเมือง ว่าจะมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นหรือไม่หลังได้รัฐบาลชุดใหม่ พอเอกชนมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองและเห็นว่าประชาชนมีความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เอกชนก็จะกล้าลงทุน เช่นเดียวกัน ถ้านักลงทุนต่างชาติประเมินดูแล้วเห็นว่าไม่มีความเสี่ยงในด้านต่างๆ เขาก็จะเข้ามาลงทุน เพราะประเทศไทยมีเสน่ห์ดึงดูดนักลงทุนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วงหรอก

GM : ชื่อชั้นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักธุรกิจของบ้านเรามากน้อยแค่ไหน

ธันยวัชร์ : นอกจากตัวรัฐมนตรีฯ คลังคนใหม่ ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบกันด้วยคือ ใครเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะบางรัฐบาลนายกฯ ทำหน้าที่เป็นผู้นำรัฐมนตรีฯ คลัง ในการควบคุมและดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจการคลัง แต่รัฐบาลบางสมัย รัฐมนตรีฯ คลังจะเป็นผู้นำนายกฯ ก็มี เช่น สมัยนายกฯ ชวน (หลีกภัย) ที่รัฐมนตรีฯ คลัง ธารินทร์ (นิมมานเหมินท์) ทำหน้าที่เป็นผู้นำหรือมีบทบาทในการสั่งการและดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจมากกว่าตัวนายกฯ เสียอีก เทียบกับสมัยนายกฯ ทักษิณ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทบาทของทักษิณจะเหนือกว่ารัฐมนตรีฯ คลัง หรือสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ กรณ์กับอภิสิทธิ์ก็จะช่วยกันดูแลเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้นำ แต่ผมหวังว่าใครก็ตามที่ได้เป็นนายกฯ อยากให้เข้ามามีบทบาทด้านเศรษฐกิจมากๆ หน่อย

GM : จากผลการเลือกตั้ง คุณว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ธันยวัชร์ : อาจจะเป็น โอฬาร ไชยประวัติ, สุชาติ ธาดาธำรงเวช หรือจะเป็น ดร.โกร่ง (วีรพงษ์ รามางกูร) ก็มีสิทธิ์เหมือนกัน เพราะพรรคเพื่อไทยมองว่าพรรคของตัวเองมีแกนนำ นปช. อยู่กันเยอะ ก็อาจไปสรรหาบุคคลอื่นนอกพรรคมาเป็นรัฐมนตรี ส่วน พิชัย นริพทะพันธ์ุ ที่เป็นทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย ก็ไม่น่าจะถูกวางตัวเป็นรัฐมนตรีฯ คลังนะ ต้องดูด้วยว่าหลังเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยไปทาบทามใครให้มาดูแลด้านเศรษฐกิจ หรือหากทาบทามแล้วเขาจะยอมมาไหม

GM : คุณว่าปัญหาข้าวของแพงจะบรรเทาเบาบางลงไหมหลังเลือกตั้ง

ธันยวัชร์ : เป็นไปได้ยากนะ ผักแพง เนื้อหมูแพง เป็นวัฏจักรของมัน ภาวะแห้งแล้งอาจทำให้ผักราคาพุ่งสูงขึ้นก็ได้ หมูแพงก็อาจเป็นเพราะต้นทุนราคาอาหารหมูแพง ถ้าของแพงแล้วรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้นด้วยก็ไม่เป็นไร รายได้เท่าเดิมแต่ของแพงขึ้นก็เท่ากับเงินเฟ้อ ของแพงคนไม่มายด์กันสักเท่าไหร่ แต่มายด์เรื่องรายได้ที่มีเท่าเดิม แต่รายจ่ายมากเหลือเกิน

พอเกิดปัญหาค่าครองชีพขึ้นมาก็โทษรัฐบาลกันไปหมด พอสื่อนำเสนอข่าวออกไปประชาชนก็มองว่า รัฐบาลแก้ปัญหาไม่เป็น เกิดเป็นแบรนดิ้งนายกฯ อภิสิทธิ์เลยนะว่า ‘ดีแต่พูด’ ทั้งที่เขาก็แก้ปัญหานะ เช่น ปัญหาเรียนฟรี หรือเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุเขาก็ให้นะ ต่อมากลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปเลย พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามก็นำประเด็นเรื่องการบริหารประเทศที่ผิดพลาดมาใช้เป็นเรื่องหลักในการหาเสียง ชูประเด็นว่านายกฯ ดีแต่พูดบ้างล่ะ โจมตีกันเรื่องเผาบ้านเผาเมืองก็มีให้ได้ยินเหมือนกัน เอาไปเอามา ไม่มีใครพูดเรื่องนโยบายบริหารประเทศจริงๆ กันสักเท่าไหร่

GM : นโยบายหนึ่งที่หลายคนจับตามอง คือนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คุณคิดว่าจะมีผลอย่างไรถ้านโยบายนี้เป็นจริงขึ้นมา จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง

ธันยวัชร์ : ถ้านำนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทของพรรคเพื่อไทยมาปฏิบัติจริง จะเพิ่มต้นทุนในการประกอบการให้เจ้าของกิจการสูงมาก ขณะเดียวกัน ถ้าเพิ่มค่าแรงแล้วก็ต้องเพิ่มทักษะให้กับแรงงานควบคู่กันไปด้วย เพิ่มความเก่งให้เขาด้วย ถามว่า แรงงานเก่งๆ ไปไหนหมด โน่น…ไปทำงานในตะวันออกกลางกันหมด ที่เหลือในบ้านเราก็เป็นแรงงานต่างด้าว รัฐควรพัฒนาให้แรงงานไร้ฝีมือในบ้านเรากลายเป็นแรงงานมีฝีมือด้วย

GM : แล้วนโยบายพัฒนาระบบขนส่งมวลชนล่ะ

ธันยวัชร์ : จะเห็นว่าพรรคการเมืองเน้นเรื่องนี้กันเยอะก็เพราะมันเป็นนโยบายที่มีแนวทางปฏิบัติวางไว้อยู่แล้ว คนกรุงเทพฯ อยากได้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันแพงขึ้นเรื่อยๆ ใช้รถไฟฟ้าประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า ถามว่านโยบายนี้ทำได้จริงไหม ทำได้ไม่ยาก แต่ต้องใช้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วยนะ อย่าให้เงินรั่วไหลไปไหน นโยบายพัฒนาระบบขนส่งสร้างคะแนนนิยมได้เยอะพอสมควร อย่างสนามบินหนองงูเห่าที่คาราคาซังมานานก็เกิดขึ้นเป็นสนามบินสุวรรณภูมิในยุครัฐบาลทักษิณ ช่วงนั้นทักษิณก็ได้คะแนนนิยมจากเรื่องนี้ไปเยอะพอสมควร

GM : เมื่อพัฒนาระบบขนส่งรถไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ใกล้เส้นทางรถไฟจะขยายตัวด้วยไหม

ธันยวัชร์ : แน่นอน, อสังหาริมทรัพย์จะบูมตามเส้นทางรถไฟฟ้า หรือถ้ารถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นมาในไทย ธุรกิจที่จะขยายตัวตามมาคือการพัฒนาที่ดินริมทางรถไฟ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่รถไฟวิ่งผ่าน อสังหาริมทรัพย์จะเปรี้ยงเลยละคราวนี้

GM : เงินที่สะพัดในช่วงเลือกตั้งจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากแค่ไหน

ธันยวัชร์ : เงินส่วนนี้เยอะมากนะ น่าจะเป็นหมื่นๆ ล้านบาทเลยทีเดียว แต่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ช่วงสั้นๆ 2-3 เดือนเท่านั้นเอง ธุรกิจสื่อ ธุรกิจ

ที่คนไทยยังว่างงานกันอยู่เพราะเลือกงาน คนจบปริญญาตรีเปลี่ยนงานกันเป็นว่าเล่นเลยนะ ทั้งๆ ที่เงินเดือนก็ไม่ได้น้อยนิดอะไร คนรุ่นใหม่เลือกงานมาก งานไม่ดี เงินไม่ดีก็ไม่ทำ

แต่ถึงแม้ว่าบ้านเรามีอัตราการว่างงานสูงก็ไม่เป็นไร เพราะมีพ่อแม่ช่วยอยู่แล้ว

สิ่งพิมพ์อาจจะโตขึ้นบ้าง พี่น้องประชาชนอาจจะมีเงินใช้มากขึ้น เพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวนะ อย่าไปหวังว่าเงินส่วนนี้จะดึงเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้มากๆ เลย

GM : คุณคิดว่าหลังเลือกตั้งแล้ว การส่งออกและการบริโภคภายในประเทศจะเป็นอย่างไร

ธันยวัชร์ : การบริโภคภายในประเทศขึ้นอยู่กับความมั่นใจของประชาชน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากปีที่แล้วในช่วงที่มีม็อบ ประชาชนไม่ค่อยบริโภคเพราะไม่มั่นใจว่าต่อจากนี้ไปจะเกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นหรือเปล่า จึงเก็บเงินไว้ก่อน แต่พอเหตุการณ์คลี่คลายลง คนก็กลับมาใช้จ่ายเงินกันตามปกติ หลังเลือกตั้งคอยดูนะครับ หากไม่มีเหตุการณ์รุนแรง คนใช้จ่ายเงินกันกระหน่ำแน่นอน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศใช้ตังค์ ไม่ใช่ประเทศเก็บตังค์ ส่วนการส่งออกมันไปได้ดีอยู่แล้ว ถ้ารัฐบาลชุดใหม่บริหารจัดการได้ดีจะทำให้ตัวเลขส่งออกโตขึ้นได้ และต้องหาคู่ค้าใหม่ๆ ด้วยนะ

GM : ฟันธงได้ไหมว่า อัตราการว่างงานของคนไทยช่วงหลังเลือกตั้งจะอยู่ในระดับต่ำต่อไป

ธันยวัชร์ : น่าจะอยู่ในระดับต่ำต่อไปนะ แต่ที่คนไทยยังว่างงานกันอยู่เพราะเลือกงาน คนจบปริญญาตรีเปลี่ยนงานกันเป็นว่าเล่นเลยนะ ทั้งๆ ที่เงินเดือนก็ไม่ได้น้อยนิดอะไร คนรุ่นใหม่เลือกงานมาก งานไม่ดีก็ไม่ทำ งานดีเงินไม่ดีก็ไม่ทำ แต่ถึงแม้ว่าบ้านเรามีอัตราการว่างงานสูงก็ไม่เป็นไร เพราะมีพ่อแม่ช่วยอยู่แล้ว จะไม่ส่งผลกระทบจนกลายเป็นปัญหาสังคมหรือปัญหาเศรษฐกิจ ผิดกับในอเมริกาที่ถ้าลูกว่างงานก็จะกลายเป็นปัญหาขึ้นมาเพราะพ่อแม่จะไม่เข้าไปช่วยเหลือดูแล

GM : ในความเห็นส่วนตัวของคุณ หากมีการแก้กฎหมายนิรโทษกรรม และคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดให้กับทักษิณ จะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจในบ้านเรา

ธันยวัชร์ : ไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ แต่จะส่งผลต่อการเมือง เป็นไปได้ที่พันธมิตรฯ จะมารวมตัวชุมนุมกันอีกครั้ง และมีคนมาร่วมเยอะขึ้นกว่าเก่า จะเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเหมือน 4-5 ปีที่ผ่านมาอีก

แต่จะไม่รุนแรงเหมือนปีที่แล้ว คนจะเกิดความกลัวว่าพันธมิตรฯ จะยึดสนามบินอีกไหม ยึดรัฐสภาเหมือนครั้งที่แล้วอีกไหม ถ้าเป็นเช่นนั้น คนก็ไม่ยอมใช้จ่ายเงินละ ต่างชาติก็ไม่มาลงทุน ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปสู่ภาคการส่งออก เศรษฐกิจชะลอตัว และเงินเฟ้อสูงขึ้น จริงๆ การแก้กฎหมายนิรโทษกรรมน่าจะเป็นนโยบายหาเสียงมากกว่า หากพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล อาจจะไม่ทำจริงก็ได้

GM : คุณว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy มีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นรูปธรรมในบ้านเราได้ไหม

ธันยวัชร์ : ต้นกำเนิดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์เกิดขึ้นสมัยรัฐบาลทักษิณที่ได้สร้างทีซีดีซี (TCDC-Thailand Creative & Design Center) ขึ้นมา พออภิสิทธิ์เข้ามาเป็นนายกฯ ก็ต่อยอดนโยบายนี้ด้วยการพยายาม

ทำให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยมอบหมายให้ อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยฯ พาณิชย์เป็นผู้ดูแล ที่ผ่านมาแนวโน้มของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในบ้านเราดีขึ้นนะ เรียกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์มาถูกทาง รณรงค์และดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตาม จนแล้วจนรอดก็ยังไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมสักเท่าไหร่ รัฐบาลชุดใหม่ต้องสานต่อนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่นในเรื่องการท่องเที่ยวหรือเรื่องแฟชั่น กระทั่งสินค้าโอท็อปก็สามารถทำให้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศได้เช่นกัน

ตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์คือเกาหลีใต้ ที่มีการก่อตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เกาหลีใต้ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์สร้างประเทศ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ว่าจะใช้อะไรบ้างในการพัฒนาประเทศ และใช้วิธีการใด เช่น ต้องสร้างหนังแบบนั้นแบบนี้ขึ้นมา มีการทำรีเสิร์ชกันว่า ถ้าจะให้นักร้องโด่งดังในระดับแถวหน้าของเอเชียต้องสร้างให้มีองค์ประกอบอะไรบ้าง แล้วก็สร้างนักร้องแบบนั้นขึ้นมา ไปดูตัวอย่างจาก ‘เรน’ ได้เลยว่าตอนนี้ดังแค่ไหนเมื่อก่อนอาหารเกาหลีไม่ติดโผอาหารยอดนิยมระดับโลกนะ เกาหลีใต้ก็สร้างซีรีส์แดจังกึมขึ้นมา ต่อมาวัฒนธรรมอาหารของเกาหลีใต้ก็บูมจากซีรีส์เรื่องนี้ หรืออย่างฉากที่ใช้ในการถ่ายทำซีรีส์หรือหนังเกาหลี ต่อมาก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตของบ้านเขาไปเลยนะ เพราะเกาหลีบริหารงานอย่างเป็นระบบ มียุทธศาสตร์ที่แน่ชัดและปฏิบัติได้จริง

หน่วยงานที่ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวในเกาหลีก็ทำทุกอย่างให้ประเทศตัวเองบูม จริงๆ

ลองไปเที่ยวเกาหลีดูสิ ไม่มีอะไรเลย มีแต่ภูเขาทั้งนั้น แทบไม่มีอะไรดึงดูดเลย แห้งแล้งด้วย แต่รัฐบาลเกาหลีสามารถสร้างเกาะขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างเช่นเกาะนามิ เป็นเกาะที่สวยงามมาก มีต้นไม้เต็มไปหมด จากนั้นซีรีส์ก็จะไปถ่ายทำที่เกาะนามิ เกิดเป็นซีรีส์มาร์เก็ตติ้ง ในเกาหลีไม่ว่าจะเป็นเกม หนัง เพลง ซีรีส์ และการท่องเที่ยว ถือเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์หมด ถ้าอยากให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขึ้นในไทย ใช้เกาหลีเป็นต้นแบบได้เลย

แต่สำหรับเมืองไทยมีสิ่งที่น่าตกใจคือ เดวิด ทอมป์สัน คนเขียนตำราอาหารไทยดันเป็นคนออสเตรเลีย และ Blue Elephant ภัตตาคารอาหารไทยชื่อดังที่คนรู้จักกันดีก็เป็นของเบลเยียมอีก อย่างนี้บ้านเราจะสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขึ้นมาได้อย่างไรกันเล่า เพราะไทยไม่มียุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่แน่ชัด ไม่มีทิศทาง ไม่มีกลยุทธ์ จึงไม่ก้าวหน้า คุณรู้ไหมตอนนี้เราต้องมาแข่งกับเขมรแล้วนะ

GM : หลายฝ่ายกังวลว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองจะกระทบกับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก คุณมองเรื่องนี้อย่างไร

ธันยวัชร์ : บ้านเรามีเปอร์เซ็นต์การคอร์รัปชั่นสูงมาก สมัยก่อนอัตราการคอร์รัปชั่นในไทยอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ หรือมากสุดก็ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนี้พุ่งพรวดไป 30 เปอร์เซ็นต์เลย ผมคุยกับนักธุรกิจท่านหนึ่ง

เขาบอกว่า สมมุติมีงบมา 180 ล้านบาท นักการเมืองโกงกินไปร้อยล้านเลยก็มี เมื่อเป็นเช่นนี้คอร์รัปชั่นกระทบกับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจเต็มๆ เลย สมมุติรัฐบาลมีงบอยู่ล้านล้านบาท แยกเป็นเงินเดือนสัก 80 เปอร์เซ็นต์ ไหนจะงบที่ต้องใช้ชำระหนี้เงินกู้อีก เหลือเงินลงทุนก่อสร้างสาธารณูปโภคไม่เท่าไหร่เองนะ ยังมาเจอนักการเมืองคอร์รัปชั่นไปอีก ไม่แปลกใจเลยที่หนึ่งในสิ่งที่ประชาชนอยากได้ นอกจากอยากให้ยาเสพติดลดลง ให้กินดีอยู่ดีมากขึ้น คืออยากให้นักการเมืองคอร์รัปชั่นน้อยลงด้วย

GM : วันข้างหน้าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีทางเกิดขึ้นจริงในบ้านเราไหม

ธันยวัชร์ : จะไปเอาเงินจากคนรวยที่มีที่ดินเยอะๆ น่ะยากมาก ไหนจะเป็นผู้มีอิทธิพลด้วย คนมีที่ดินเป็นแสนๆ ไร่จ่ายภาษีตายเลยนะ ถ้าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำได้จริง รัฐบาลชุดที่ผ่านๆ มาคงทำไปนานแล้วล่ะ การที่นักการเมืองนำเรื่องนี้มาพูดหาเสียงเพราะมันซื้อใจคนจนได้ ผมว่าเรื่องนี้ทำได้แต่ต้องใช้เวลามากหน่อย ขอให้นักการเมืองมีเจตจำนงที่จะทำอย่างเต็มที่และต่อเนื่องก็พอแล้ว กรณ์เคยต่อสู้เรื่องนี้สมัยเป็น

รัฐมนตรีฯ คลัง หลังเลือกตั้งถ้าได้เป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็ต้องต่อสู้เรื่องนี้ต่อไปนะ ประชาชนจะได้มั่นใจว่า ถึงแม้กรณ์จะเป็นเศรษฐีแต่ก็ต่อสู้หรือเห็นดีเห็นงามในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

GM : คุณว่ารัฐบาลควรดำเนินมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ เช่น รถเมล์-รถไฟฟรี ต่อไปไหม

ธันยวัชร์ : เป็นมาตรการที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยที่สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ พอรัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาบริหารประเทศก็ดำเนินการต่อเนื่องไป เชื่อว่าหากใครได้เป็นรัฐบาลใหม่ก็คงจะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอยู่แล้ว ผมคิดว่านโยบายนี้โอเคนะ เป็นการช่วยเหลือคนจนที่ผลประโยชน์ถึงมือคนจนจริงๆ เพราะนักการเมืองคอร์รัปชั่นไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรลดการช่วยเหลือลงมาหน่อย อย่างมาตรการไฟฟ้าฟรีก็ควรลดปริมาณการใช้ลงมานิดหน่อยถึงจะให้ใช้ฟรีต่อไปได้ ปีต่อๆ ไปก็ลดปริมาณลงเรื่อยๆ ด้วยนะ ถ้ารัฐบาล

หนังสือ 3 เล่มที่ ธันยวัชร์ แนะนำให้อ่าน

ธันยวัชร์เป็นนักอ่านตัวยง ความสนใจของเขาครอบคลุมเรื่องราวรอบตัวที่หลากหลาย เขาอ่านหนังสือหลายประเภท ถ้าคุณอ่านงานเขียนหรือฟังรายการวิทยุที่เขาจัดอยู่คงรับรู้คุณสมบัติประจำตัวในเรื่องการหมั่นแสวงหาความรู้ของชายผู้นี้ได้เป็นอย่างดี เพราะธันยวัชร์สามารถนำเรื่องการตลาดที่เขาเชี่ยวชาญไปจับกับสารพัดเรื่องราวได้อย่างถึงแก่น นี่คือหนังสือ 3 เล่มที่เขาแนะนำให้แฟนๆ GM ลองไปหามาอ่านกันดู

1. คิดออกนอกหน้า (สมชาติ ลีลาไกรศร)“เล่มนี้ว่าด้วยเรื่องธุรกิจเอสเอ็มอีล้วนๆ อ่านง่าย ได้ประโยชน์”

2. The Tipping Point (มัลคอล์ม แกลดเวลล์) “อ่านเล่มนี้จบแล้วจะได้เข้าใจหลักในการทำไวรัลมาร์เก็ตติ้งมากยิ่งขึ้น”

3. The World is Flat (โธมัส แอล ฟรีด-แมน) “อ่านแล้วจะได้เข้าใจโลกโลกาภิวัตน์มากยิ่งขึ้นครับ”

สามารถควบคุมได้ถึงขั้นที่ว่า จำกัดสิทธิในการช่วยเหลือได้จะดีมาก เช่น คนที่มีรายได้อยู่ในระดับเท่านั้นเท่านี้ถึงจะมีสิทธิ์ขึ้นรถไฟฟรีหรือใช้รถเมล์ฟรี จะยกเลิกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพอย่างฉับพลันทันด่วนไม่ได้เด็ดขาด รัฐบาลชุดไหนเข้ามาอย่าแม้แต่จะคิด ชนชั้นกลางอาจคิดว่าเป็นเงินเล็กๆ น้อยๆ แต่สำหรับคนจนค่าใช้จ่ายพวกนี้แบ่งเบาภาระให้เขาได้มากมายเลย รัฐบาลชุดไหนยกเลิกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพอาจเสียคะแนนนิยมจากพี่น้องประชาชนไปไม่น้อยเลยก็ได้

GM : เปลี่ยนมาคุยเรื่องส่วนตัวของคุณบ้างดีกว่า ทุกวันนี้ทำงานอะไรอยู่บ้าง

ธันยวัชร์ : เอางานหลักๆ แล้วกันนะ ผมเป็นบรรณาธิการนิตยสาร 2 เล่ม คือ นิตยสาร MKT และนิตยสาร GM BiZ เป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสาร 3 เล่ม คือ GM, ผู้จัดการรายสัปดาห์ และ BrandAge เป็นอาจารย์สอนวิชา Branding Marketing ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสอนวิชา Marketing Innovation ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีไปสอนที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยศรีปทุมบ้าง เป็นคอมเมนเตเตอร์รายการ SME ตีแตก จัดรายการวิทยุ Business Connection ด้วย ผมเขียนหนังสือ Case Study ปีละเล่ม เป็นวิทยากร เป็นที่ปรึกษา ซึ่งทั้งหมดใช้ความรู้ในชุดเดียวกัน เพียงแต่กระจายไปในหลายๆ สื่อเท่านั้น

GM : ทำงานมากขนาดนี้ วันๆ คุณบริหารจัดการชีวิตอย่างไร

ธันยวัชร์ : ชีวิตผมวุ่นวายนะ แต่ก็พยายามบริหารเวลาให้ได้ ผมจัดรายการวิทยุทุกวัน วันไหนไม่ว่างไปจัดก็อัดเทปเพื่อนำไปออกอากาศแทน พอเสร็จงานกลับมาถึงคอนโดฯ ก็ใช้เวลากับการเขียนคอลัมน์ เขียนบทความให้กับนิตยสารหลายๆ เล่ม วันไหนมีสอนหนังสือ คืนก่อนหน้าก็ต้องเตรียมการสอน ผมชอบอ่านหนังสือ ช่วงนี้ติดนิยายเก่าๆ ของนักเขียนหลายท่าน เช่น ว. วินิจฉัยกุล, แก้วเก้า, ทมยันตี และโบตั๋น

มีเวลาก็เล่นอินเตอร์เน็ตบ้าง เล่นเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์นี่เล่นทุกวัน ตื่นขึ้นมาก็ทวีตเลย เล่นแล้วหยุดไม่ได้ เหมือนเป็นการทำงานอย่างหนึ่งนะ ไม่ได้ทวีต

บ้านเรามีเปอร์เซ็นต์การคอร์รัปชั่นสูงมาก ผมคุยกับนักธุรกิจท่านหนึ่ง เขาบอกว่า สมมุติมีงบมา 180 ล้านบาท นักการเมืองโกงกินไปร้อยล้านเลยก็มี เมื่อเป็นเช่นนี้การคอร์รัปชั่น

จึงกระทบกับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจเต็มๆ

เรื่องส่วนตัว ผมเน้นทวีตเรื่องที่เป็นความรู้ เวลาที่เหลือก็จะดูโทรทัศน์บ้าง ผมอ่านหนังสือบนอีบุ๊ค

แต่หนังสือภาษาไทยส่วนใหญ่จะอ่านที่เป็นกระดาษ เพราะไม่ค่อยทำเป็นอีบุ๊ค แต่หนังสือภาษาต่างประเทศผมซื้อกับเว็บไซต์อเมซอนในรูปแบบอีบุ๊คนะ ไว้อ่านบน

ไอโฟนหรือไอแพด ใช้อีบุ๊คเพราะตอนนี้คอนโดฯ ของผมไม่ค่อยมีที่เก็บหนังสือที่เป็นเล่มๆ แล้ว ‘หนังสือเป็นความรู้ที่ใช้พื้นที่เยอะมาก’ ใช้อีบุ๊คสะดวกกว่าด้วย หนังสือร้อยเล่มพันเล่มก็เก็บไว้ในอีบุ๊คเครื่องเดียวได้ ไม่ต้องพกหนังสือเล่มหนาๆ ติดตัวไปไหนมาไหนคราวละหลายๆ เล่ม ผมเป็นคนนอนดึก เข้านอนตอนตี 2-3 และตื่นประมาณ 10 โมงเช้า มีภารกิจทุกวันจึงต้องเขียน Thinks To Do ไว้ในไดอารี่ มีไดอารี่อยู่ 4-5 เล่ม แยกกันเลยว่าแต่ละเล่มใช้จดเรื่องอะไรบ้าง อย่างเล่มหนึ่งก็จะเขียนเตือนไว้ว่าวันนี้มีอะไรให้ทำบ้าง วันนี้จะไปกินอะไร ที่ร้านไหนก็เขียนไว้ จะไปซื้อหนังสืออะไรก็ระบุชื่อหนังสือไว้ด้วย ส่วนอีกเล่มก็จะเขียนว่าวันนี้ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง

GM : เมื่อก่อนงานรัดตัวเท่าตอนนี้ไหม

ธันยวัชร์ : ตอนอายุ 30 กว่าๆ เป็นช่วงปี 2540 ที่เศรษฐกิจไม่ดี งานมีไม่เยอะเท่าตอนนี้หรอก ผมต้องแสวงหางานด้วยนะ ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆ แล้วงานจะวิ่งเข้ามาหาเสียเมื่อไหร่ ต้องวิ่งเข้าไปหางานด้วย ทำตัวให้เขาจ้างเรา เหมือนเป็นแม่เหล็กดูดให้เขาเข้ามา จากนั้นก็ต้องเลือกงานให้ดี บางงานที่ไม่เหมาะกับเราก็ไม่รับนะ รับแล้วจะตกม้าตายเปล่าๆ ปฏิเสธไปเลยดีกว่า

GM : วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ได้ไปเที่ยวพักผ่อนเหมือนคนอื่นบ้างไหม

ธันยวัชร์ : ไม่ค่อยว่าง เสาร์-อาทิตย์ผมสอนหนังสือ บางครั้งต้องไปเป็นวิทยากรที่ต่างจังหวัด สัปดาห์ไหนว่างจะแฮปปี้มาก จะใช้เวลากับการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังเพลงบ้าง แต่จะไม่ค่อยเดินทางไปไหน จริงๆ ก็อยากหาเวลาว่างไปเที่ยวต่างประเทศบ้างเหมือนกัน บางทีในใจก็คิดอยากจะเที่ยวไปเรื่อยๆ ไม่ต้องทำงานอะไรเลย แต่มันทำไม่ได้จริงนี่สิ เพราะชีวิตผมมีภารกิจให้รับผิดชอบมากมาย

ถ้าให้ขออะไรก็ได้จากรัฐบาลใหม่ 3 อย่าง สิ่งที่คุณอยากขอคืออะไรบ้าง ?

หนึ่ง, ขอให้รัฐบาลทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง หลักการสำคัญคือ คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติก่อนผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง

สอง, ขอให้ซื่อสัตย์ อยากให้ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังและเด็ดขาด เพราะถ้านักการเมืองคอร์รัปชั่นมากๆ ประเทศชาติจะอยู่ไม่ได้

สาม, ขอให้มองการณ์ไกล มองไปในอนาคตข้างหน้า โดยทำตัวเป็นรัฐบุรุษ เหมือนดังคำที่ว่า ‘นักการเมืองคิดถึงวันนี้ แต่รัฐบุรุษคิดถึงวันข้างหน้า’ คิดเผื่อไปข้างหน้าว่าอนาคตลูกหลานเราจะอยู่กันอย่างไรด้วย

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ