fbpx

กรณ์ จาติกวณิช กับการผลักดันภาษีที่ดิน

นอกจากความสูงของ กรณ์ จาติกวณิช จะเป็นที่พูดถึงเสมอยามที่มีคนพบเห็น

ทว่าตลอดระยะเวลาการทำงาน ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่อายุน้อยที่สุด ก็ยังถูกพูดถึงมากที่สุดไม่แพ้ส่วนสูงของเขาเช่นกันตัวเลขมักเป็นเรื่องที่หนีไม่พ้นกับคนที่ทำงานด้านการเงิน นอกเหนือจากความสูงของเขา มีตัวเลขอยู่หลายชุดที่กรณ์มักต้องตอบปัญหากับสื่อมวลชนอยู่บ่อยๆณ ตอนนี้ หนึ่งในเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจและเป็นประเด็นที่ทำให้กรณ์แตกต่างจากนักการเมืองอื่นๆ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของอายุ (น้อย) และความสูง (มาก) ของเขานั่นคือความพยายามผลักดันเรื่องของภาษีที่ดินเขาเริ่มผลักดันเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2552 เพราะเขามองว่า ภาษีที่ดิน จะเป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย

แต่ไหนแต่ไร ภาษีคือเครื่องมือสำหรับลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ประเทศที่พัฒนาแล้วการเก็บภาษีจะเก็บในลักษณะมากไปหาน้อย ตามความสามารถของประชากรและสอดคล้องกันทั้งระบบ แต่กับภาษีที่ดินของประเทศไทยกลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะการจัดจะอยู่ในรูปของอัตราถดถอย นั่นคือที่ดินราคาแพงกลับเสียภาษีถูก แต่ที่ดินราคาถูกกลับเสียภาษีแพง

ยกตัวอย่างเช่น มูลค่าที่ดินราคาตั้งแต่ 30,000 บาท จะต้องเสียภาษี 0.25% แต่หากที่ดินมีราคาต่ำกว่านั้นต้องเสียภาษี 0.5% โดยไม่มีข้อยกเว้น แถมยังมีเงื่อนไขที่เอื้อกับคนรวยอีกว่าหากมีที่ดินไม่ถึง 50 ตารางวา และไม่เกิน 5 ไร่ในต่างจังหวัด ไม่ต้องเสียภาษี พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือในกรณีเช่นนี้ เมื่อเทียบอัตราส่วนแล้ว คนรวยกลับเสียภาษีที่ดินน้อยกว่าคนจน และบุคคลที่เรียกได้ว่า ‘รวย’ นั้นมีเพียง

ร้อยละ 20% ของประเทศ นั่นหมายความว่ากฎหมายกำลังรับใช้แต่เพียงคนกลุ่มหนึ่งในสังคมเท่านั้นแต่อย่างที่รู้กันดีว่าเรื่องภาษีที่ดินเป็นเรื่อง ‘ต้องห้าม’ สำหรับคนที่คิดจะเข้าไปแตะ เพราะบุคคลที่เราเรียกว่า ‘คนรวย’ ส่วนมาก ต่างก็คือผู้สนับสนุนหลักของพรรคการเมือง ไม่เว้นแม้แต่พรรคประชาธิปัตย์รวมถึงนักการเมืองบางคน ต่างก็ถือครองที่ดินจำนวนมากเช่นกันพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้ แต่ไม่มีใครกล้าแต่กรณ์กล้า

“เคยมีคนท้าทายว่าที่ผ่านมามีเรื่องภาษีที่ดินเมื่อไหร่ รัฐบาลล้มทุกที แต่ผมคิดว่าถึงเวลาที่ประเทศเราจะต้องเปลี่ยน เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เราก็ควรจะต้องลอง”

กรณ์เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีจากเจ้าของที่ดินโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านอบต. หรือ อบจ. สำหรับที่ดินแปลงเล็กที่ส่วนใหญ่เกษตรกรรายย่อยใช้ทำมาหากินจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่เจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จะต้องเสียภาษีสูงกว่า เพื่อผลักดันให้เจ้าของที่ดิน

เหล่านั้นนำที่ดินออกมาใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการนำที่ดินมาให้เกษตรกรเช่าทำกินหากมาตรการนี้สามารถทำได้สำเร็จ กรณ์เชื่อว่าจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนได้ พื้นที่ว่างเปล่ากว่า 47 ล้านไร่จะถูกใช้ประโยชน์และกระจายไปสู่ชนชั้น

รากหญ้าราวกว่า 80% จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งนั่นคือการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้

  ปัจจุบันเรื่องของภาษีที่ดิน คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการการจัดทำกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อเดือนเมษายนปี 2553 ที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันยังมีการแก้ไขกันอยู่ เพราะต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินอีก 5-6 ฉบับ แก้ปัญหาเรื่องการกระจุกตัวของที่ดิน และเงื่อนไขการถือครองที่ดิน ซึ่งแม้ว่าจะมีนักวิชาการออกมาโต้แย้งเรื่องการทำงานของพรรคการเมืองและรัฐบาลที่ดีจะไม่ค่อยเป็นระบบ และท้ายที่สุด มันอาจจะเป็นเพียงแค่นโยบายหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่ทันประกาศใช้ในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน

แต่อย่างน้อยๆ การได้เห็นการเริ่มต้นและความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น มันก็เป็นเรื่องดี แม้จะเป็นเรื่องเดียวที่เราพอจะคิดออกแต่ก็ยังดีกว่าที่เราจะจำได้แต่ความสูงของกรณ์

เคยมีคนท้าทายว่าที่ผ่านมามีเรื่องภาษีที่ดินเมื่อไหร่ รัฐบาลล้มทุกที แต่ผมคิดว่าถึงเวลาที่ประเทศเราจะต้องเปลี่ยน เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เราก็ควรจะต้องลอง

WRONG NOW

ปัญหาหนี้นอกระบบ

ตัวเลขของลูกหนี้นอกระบบที่ทำการสำรวจนั้นมีเกือบ 2 ล้านราย ซึ่งแต่ละคนเป็นหนี้เฉลี่ยราว 1 แสนบาท กรณ์มองว่านี่เป็นปัญหาที่ทำให้คนไทยไม่สามารถยืนได้ด้วยตัวเองโดยเฉพาะชนชั้นล่าง ความพยายามในการใช้กลไกทางเศรษฐกิจของรัฐมาลดความรุนแรงของปัญหานี้ จึงน่าจะเป็นการแก้ปัญหาในเบื้องต้นก่อนที่ปัญหาจะลุกลามออกไปมากกว่านี้

RIGHT NOW

Connecting People

กรณ์ให้ความสำคัญในการสื่อสารกับประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ กรณ์มองว่านี่เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพมากในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการแสดงทรรศนะในเรื่องต่างๆ อย่างเปิดกว้างและทันท่วงที

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ