fbpx

จากชายที่ไม่เคยเป็นรัฐมนตรี สู่ว่าที่นายกฯ

วันนี้ GM นัดคุยกับ อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เพื่อประเมินอุณหภูมิการเมืองในห้วงยามที่ถนนทุกสายกำลังมุ่งไปสู่การเลือกตั๋งในอีกไม่นานนับจากนี้

Reasons to Read

  • ผู้ชายชื่อ อนุทิน ชาญวีรกูล เป็นคนอัธยาศัยเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และมีความเป็นกันเอง
  • ด้วยวัยหนุ่มใหญ่ในวิ้นนี้ ‘เสี่ยหนู’ ชื่อที่สื่อมวลชนเรียกขานอย่างสุนิทสนม ดูจะเปี่ยมด้วยพละกำลังยิ่งขึ้น ทั้งมุมมอง วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ที่เคี่ยวคร๊ามาอย่างเข้มข้นตามสถานการณ์บ้านเมืองที่พลิกผันตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
  • ที่บ้าน อนุทินเป็นสามีของภรรยาและเป็นคุณพ่อของลูกๆ ในม่านฟ้า เขาคือนักบินที่ทำหน้าที่บุรุษไปรษณีย์รับส่งหัวใจแก่ผู้ป่วยให้ทันเวลา ส่วนในโลกการทำงาน หลังจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา เขาผ่านงานวิศวกรในองค์กรหลายแห่ง ก่อนจะผันตัวมาดูแลธุรกิจครอบครัวซึ่งรู้จักกันในนาม ‘ซิโน-ไทย เอ๊นจีเนียริงแอนด์คอนสตรัคชั้น’ บริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ของประเทศ
  • งานด้านการเมือง ผู้ชายคนนี้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะนับเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เขาก้าวสู่แวดวงการเมือง เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยุคประจวบ ไชยสาส์น, เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข หลังจากนั้นมาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
  • ในยุครัฐบาล คสช. อนุทิน ชาญวีรกูล เป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการ์ปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนญ์ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560

วันนี้ GM นัดคุยกับ อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เพื่อประเมินอุณหภูมิการเมืองในห้วงยามที่ถนนทุกสายกำลังมุ่งไปสู่การเลือกตั๋งในอีกไม่นานนับจากนี้

GM : ช่วงที่เว้นวรรคการเมืองไปทำอะไรบ้าง

ผมถูกเว้นวรรคการเมืองโดยที่ไม่สามารถจะมีบทบาททางการเมืองได้ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ตอนนั้นติดบ้านเลขที่ 111 เนื่องจากเปีนกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย ก็ได้เข้ามานิดหนึ่งทางการเมือง คือได้รับการคัดเลือกให้มาเป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยปลายปี 2555 แต่ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีสภาฯ อยู่แล้ว ผมก็เป็นหัวหน้าพรรคนอกสภาฯ ยังไม่สามารถทำกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างเต็มตัว เพราะเป็นสภาฯ สมัยคุณยิ่งลักษณ์ ซินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

จริงๆ แล้ว ควรมีการเลือกตั้งให้เรียบร้อยในปี 2557 หลังจากที่มีการยุบสภาฯ เมื่อเดือนธันวาคม 2556 ทางพรรคภูมิใจไทยโดยที่ผมเป็นหัวหน้า และมีคุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นเลขาธิการพรรค ก็ได้เข้าไปทำการ์เลือกตั้งครั้งแรกของพรรค ในฐานะที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของพรรค ได้ประสบการณ์มาพอสมควรในความที่เป็นการดูแลโดยตรง ในอดีตอาจมีส่วนช่วยเหลือ แต่เราไม่ได้มีตำแหน่งผู้บริหารใดๆ ของพรรค ก็ช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ แต่พอเลือกตั้งเสร็จก็มีเหตุให้การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ ตามมาด้วยการยึดอำนาจของคณะ คสช. จนถึงปัจจุบัน ผมคาดว่าถ้าตามโรดแม็ปอะไรต่างๆ ทั้งของ คสช. เองทั้งบรรยากาศการเมืองที่มั่นควรจะต้องไปสู่จุดหนึ่ง ทั้งความต้องการของประชาชน ก็คิดว่าการเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งต่อไป น่าจะอยู่ภายในปี 2562 ไม่น่าจะหนีหรือยืดออกไปได้อีก

เพราะฉะนั้น วันนี้ความพร้อมของผมในฐานะพรรคภูมิใจไทย คือต้องเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เวลาที่มีอยู่ซึ่งเชื่อว่าไม่เกิน 1 ปี เราต้องมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา การเมืองจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ได้ ดังนั้น จริงๆ แล้วผมก็ไม่ได้ว่างหรอก เพราะถึงแม้ว่าจะมีการปฎิวัติรัฐประหาร ไม่มีรัฐสภา แต่ความเป็นพรรคการเมืองก็ยังคงอยู่ แม้จะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการไม่ได้ ก็ยังต้องมีพบปะพูดคุยกับลูกพรรค อดีต ส.ส. สมาชิกพรรคต่างๆ เพื่อทำให้เขาเกิดความมั่นใจว่าพรรคการเมืองที่เขาสังกัดอยู่ยังไม่ได้ไปไหน และยังพร้อมที่จะเสนอตัวรับใช้ชาติบ้านเมือง

GM : ภูมิทัศน์ทางการเมืองเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน จากช่วงที่มีบรรยากาศการเลือกตั้ง จนปัจจุบันที่มีรัฐบาล คสช.

บริบททางการเมืองเปลี่ยนไปอยู่แล้ว เพราะถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติยึดอำนาจ ส่วนใหญ่ก็จะมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พูดง่ายๆ คือเป็นรัฐบาลที่ไม่มีฝ่ายค้าน เพราะทุกอย่างมาจากต้นน้ำสายเดียวกันคือคณะปฏิวัติ ดังนั้นบริบททางการเมืองแบบนี้ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับคนที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองภายใต้ระบบรัฐสภาหรือระบอบประชาธิปไตย ถือว่าอยู่คนละเส้นทางกัน เพียงแต่ว่าบทบาทของเขาในวันนี้ ถ้าตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เขาก็ยังสามารถบริหารประเทศได้อยู่

แต่ถ้ามีการเลือกตั้งขึ้นใหม่ อำนาจการบริหาร ระบอบของประเทศกลับมาเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง ก็คงเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่ประเทศไทยจะมีรูฐบาลที่มีฝ่ายค้าน แล้วมีระบบการตรวจสอบที่เข้มข้นกว่านี้ ความเกรงใจน้อยกันกว่านี้ มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีการรับรองหรือไม่รับรองให้กฎหมายสำคัญๆ เช่น กฎหมายงบประมาณ ก็จะมีสีสันอีกแบบหนึ่ง คงไม่มีมาตราพิเศษใดๆ ที่จะให้อำนาจกับนายกฯ ที่จะทำอะไรก็ได้ที่เปรียบเสมือนกฎหมาย 

หลังการเลือกตั้ง ไม่ว่าใครจะมาเป็นนายกฯ หรือผู้นำประเทศ ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ จะทำอะไรก็มีการถูกคัดค้าน ถูกขอให้ชี้แจง นำเสน่อ ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป ก็หวังว่าบ้านเมืองจะกลับมาสู่ความเป็นประชาธิปไตยเต็มตัวอีกครั้ง คนเป็นประชาธิปไตยก็ต้องชอบแบบนี้ ความสวยงามของประชาธิปไตยก็คือการปกครองบ้านเมือง โดยเสียงข้างมากเป็นสำคัญ และมีการตรวจสอบได้

GM : รวมทั้งรับฟังเสียงข้างน้อยด้วย

ฟังเสียงข้างน้อย ถ้าเสียงข้างน้อยให้ข้อคิดเห็นที่เป็นเชิงสร้างสรรค์ ไม่ใช่ข้อคิดเห็นที่เกิดจากการเป็นเสียงข้างน้อยแล้วสู้อย่างไรก็ไม่ชนะ แล้วก็ไปใช้เวทีอื่นๆ นอกระบอบประชาธิปไตยมาเป็นข้อต่อรอง ใช้ความกดดันจากมวลหมู่สมาชิกเป็นกลุ่มเป็นพวก มันก็เลยทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย 

เพราะฉะนั้น จริงๆ แลัว ไม่ว่ากี่ครั้งต่อกี่ครั้ง เมื่อมีความวุ่นวายในระบอบประชาธิปไตย มีความขัดแย้งในระบบรัฐสภา เสียงข้างน้อยไม่เคารพเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อยใช้ความกดดันจากกลุ่มมวลชนที่ตัวเองสามารถควบคุมได้ก็เกิดมา 2-3 ครั้งแล้วในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการปฏิวัติรัฐประหาร ถ้ามวลหมู่สมาชิกในสังคมเดียวกัน ในระบอบเดียวกัน ไม่เคารพยึดถือกฎกติกามารยาทก็เป็นการเปิดทางให้อำนาจนอกระบบเข้ามาจัดการดูแลแก้ไขบ้านเมือง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อบ้านเมือง และไม่เป็นผลดีต่อระบบรัฐสภา ทุกคนแพ้หมด

หลังจากเลือกตั้งเที่ยวนี้ไป มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ค่อนข้างจะเขียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบัน ผมไม่ได้บอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีหรือไม่ดี ถูกหรือไม่ถูก แต่ว่ามันถูกเขียนขึ้นมาจากสภาพการณ์ปัจจุบัน น่าจะเชื่อว่าสักระยะหนึ่ง ให้ประเทศไทยสามารถฟื้นตัวจากไข้ ฟื้นตัวจากความอ่อนแอ อันเนื่องมาจากปัญหาต่างๆ สังคม เศรษฐกิจ ความสามัคคีของคนในชาติ ใช้เวลาสักพักหนึ่งก็น่าจะกลับมาดีเหมือนเดิม โดยที่ทุกคนได้รับบทเรียนว่าเล่นนอกกติกาไม่ได้ ก็น่าจะเดินหน้าไปในทิศทางที่เป็นบวกได้

GM : จากรัฐธรรมนูญที่ดีไซน์ออกมา ดูเหมือนว่าพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์ เราจะเห็นโฉมหน้ารัฐบาลอนาคตอย่างไร เป็นรัฐบาลผสม หรือจะมีความมั่นคงขนาดไหน

โดยทฤษฎีแล้ว มันถูกทำให้คนทั่วไปเชื่อได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีระบบเผด็จการรัฐสภา เชื่อว่าไม่น่าจะมีพรรคใดพรรคหนึ่งครองเสียงข้างมากได้ ซึ่งก็จะทำให้ต้องมีการร่วมมือกันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีสิทธิมีเสียงในสภาผู้แทนราษฎร การร่วมมือกันก็จะทำให้เกิดความเกรงใจซึ่งกันและกัน ฟังซึ่งกันและกัน และเป็นการคานซึ่งกันและกัน โดยเจตนารมณ์ต้องถือว่าเป็นเจตนารมณ์ที่ถูกต้อง เพราะประเทศมีแต่ความแตกแยกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ก็จำเป็นต้องมีกฏที่เข้มข้นขึ้นที่จะทำให้ความแตกแยกเกิดขึ้นน้อยที่สุด แต่มั่นก็เป็นแค่ทฤษฎีหรือความเชื่อ

“ในที่สุด ทุกฝ่ายก็แพ้และต้องมานั่งจ่ายค่าปรับทำให้ประเทศไทยไม่มีระบอบประชาธิปไตย  ไม่มีระบบรัฐสภา 5 ปื ถ้าไม่เข็ด มันก็คือการเปิดโอกาสให้ระบบที่อยู่นอกวงโคจรนี้กลับเข้ามา ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจ คนที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้คือพวกเรา ไม่ต้องไปโทษใคร”

ในทางปฏิบัติ ยังไม่ทราบว่าจะมีเหตุการณ์ที่นอกเหนือทฤษฎีนั้นหรือไม่ อาจมีการชื่นชมพรรคใดพรรคหนึ่ง พร้อมที่จะเทคะแนนเสียงไปให้พรรคนั้นเป็น Supermajority หรือเปล่า เรียกว่าเกินกึ่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้หมด แม้กระทั่งในรัฐธรรมนูญก็เขียนไวว่า หากผู้ที่ชนะจากการคัดเลือกของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งเข้ามาได้มากกว่าสัดส่วนที่พึงได้จากการคำนวณระบบบัญชีรายชื่อ ให้ถือเอาคนที่ประชาชนเลือกเขาเข้ามาเป็นสำคัญไว้ก่อนไม่เอาอัตราส่วนที่ควรจะได้จากการเทียบกับแบบระบบเปอร์เซ็นต์มานับ

เพราะฉะนั้น รัฐธรรมนูญก็ยังเปิดช่องว่างไว้ว่า หากมีเหตุการณ์แลนด์สไลด์ลงไป พรรคใดพรรคหนึ่งก็ยังมีช่องออกเพราะเป็นไปไม่ได้ที่ว่าคนที่ประชาชนเลือกเข้ามาแล้วจะไม่ได้เดินเข้าสภาฯ นี่เป็นหลักที่พวกผมต้องยอมรับได้ ถึงแม้ว่าเราจะได้พรรคกลาง พรรคเล็ก อย่างพวกผมนี่จะได้รับอานิสงส์จากการได้นับทุกคะแนน แต่ถ้าเกิดมันมีการแลนด์สไลด์คนอื่นผมไม่ทราบ แต่ผมต้องยอมรับการตัดสินใจของประชาชน นี่คือการเคารพกติกา

GM : ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นากการเมืองนอกสภาฯ เพียงพอหรือยังที่ทุกดนาะเข็ดหรือได้รับบทเรียน แม้กระทั่งนักการเมืองเองด้วย ซึ่งก็ต้องยอมรับความจริงว่าเป็นส่วนหนึ่งในครรลองนั้น

ถ้าคนรักประเทศชาติบ้านเมืองมากกว่ารักตัวเองก็ต้องเข็ด และต้องพยายามทุกวิถีทางไม่ให้มันเกิดขึ้น แต่การเกิดขึ้นของความขัดแย้งในทางการเมือง มันไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากการที่ตัวเองไม่พึงพอใจในผลลัพธ์ที่ตัวเองได้รับ ทุกคนต้องการอำนาจรัฐ แต่ว่าเมื่อชนะในเกมไม่ได้เพราะความนิยมชมชอบห่างกัน ก็เลยต้องมีเหตุการณ์นอกเกมเข้ามา แต่ในที่สุด ทุกฝ่ายก็แพ้ และต้องมานั่งจ่ายค่าปรับ ทำให้ประเทศไทยไม่มีระบอบประชาธิปไตย ไม่มีระบบรัฐสภา 5 ปี หวังว่าไม่นานกว่านั้น

ถือว่าถ้าไม่เข็ด มันก็คือการเปิดโอกาสให้ระบอบที่อยู่นอกวงจรนี้กลับเข้ามา ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจ คนที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี่คือพวกเรา ไม่ต้องไปโทษใคร

GM : ความรู้สึกของคุณเหมือนนักมวยที่กำลังจะขึ้นชกแต่ยังไม่ได้ขึ้นชกเลยสักครั้งไหม

พรรคภูมิใจไทยของพวกเราเป็นพรรคที่มีตัวตนชัดเจน มีบุคลากรที่มีความนิยมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศมากพอสมควร มีกิจกรรม มีสิ่งที่ต้องหารือกันเป็นระยะๆ ต้องพบปะชาวบ้านเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความทุกข์ร้อนของเขาว่าเขาต้องการอะไร แล้วนำมารวบรวมเพื่อสรุปเป็นนโยบายที่จะทำให้เมื่อปฏิบัติแล้ว สิ่งที่ชาวบ้านเรียกร้องต้องการ สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์กับชาวบ้าน มันเกิดขึ้นโดยเร็ว ปัญหาต่างๆ ของเขาได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เมื่อเราสามารถเข้าไปบริหารบ้านเมืองหรือเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ได้

เพราะฉะนั้น ในเรื่องครั้นเนื้อครั้นต้ว อยากขึ้นเวทีชกก็ไม่ใช่ เพราะเราซ้อมทุกวัน ไม่ใช่จะขึ้นเวทีแล้วค่อยฟิต เราได้คิดอยู่ทุกวัน ได้พยายามหารือกับหลายๆ ฝ่ายทุกวัน เยี่ยมเยียนพื้นที่ทุกวัน มันก็เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งอยู่แล้วที่ทำให้เรากับชาวบ้านได้สัมผัสใกล้ชิดตลอดเวลา

GM : มองโอกาสของพรรคภูมิใจไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างไร

เราต้องหวังว่าเราน่าจะได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านมากที่สุด แต่ผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ต้องรอวันเลือกตั้ง เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ มันไม่สามารถบอกว่าน่าจะชนะครึ่งหนึ่ง มีแต่ชนะหรือแพ้ ไม่มีตรงกลาง เพราะฉะนั้น ถ้าเราคิดว่าเราอาจชนะ น่าจะได้ครึ่งหนึ่งเราก็มี 100 กว่าคน จาก 350 คนที่ลงเขต มันเทียบอย่างนั้นไม่ได้ เราก็ต้องทำในสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเราเชื่อว่านโยบายของเราเมื่อมีการประกาศใช้ และเอามารณรงค์หาเสียงเลือกตั้งต้องเป็นนโยบายที่โดนใจชาวบ้าน ยิ่งเขาฝากอนาคตกับเรามากเท่าไรสำหรับพวกผมก็คือความกดดันของคนที่สนับสนุนเรา เพื่อให้เรารักษาสัญญา ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้คงสนุกถ้ามีวันนั้นขึ้นมา

GM : นิยามคำว่า ‘ชนะ’ หรือ ‘แพ’ อย่างไร

ความเป็นหัวหน้าพรรค ถ้าเดินเข้าสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ก็เป็นหัวหน้าพรรคไม่ได้ ตรงนี้ผมต้องเคารพ ผมบอกกับตัวเองว่า ถ้าผมเดินเข้าสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ แสดงว่าวันนั้นอนาคตทางการเมืองของผมคงไม่มีแล้ว อาจเป็นถนนผิดสายที่ผมมาเดิน ผมก็มีการวางแผนอะไรให้ตัวเองตลอดเวลา เพราะฉะนั้น มันไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องโต ผมทำทุกอย่างให้ดีที่สุด

คำว่าชนะหรือแพ้ ในเรื่องการคัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการตัดสินใจของประชาชน เราไม่สามารถบอกว่า คนคนนี้ชนะ 50% ได้ น่าจะได้คะแนนนิยม 30% 50% ไม่มีหรอก มีแต่ชนะหรือแพ้ ไม่ใช่ว่าเอาตัวอัตราส่วนมา ถ้าเราไปบอกว่าพรรคนี้น่าจะมีโอกาสชนะเกินครึ่ง เท่ากับเราต้องได้ ส.ส. 250 คนสิอย่างนี้ก็ไม่ต้องพูดอะไรมาก จะเป็นอะไรก็อยู่ที่เรา

วันนี้ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพรรคภูมิใจไทยคือ นโยบาย เรามีเวลาอีกไม่กี่เดือนหรอกครับ 2-3 เดือนที่จะต้องคิดนโยบายที่โดนใจชาวบ้าน อยู่ในกรอบงบประมาณที่เราไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินใคร และต้องเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยเป็นลำดับแรก โดยอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ได้รับการปฏิบัติโดยเร็ว ไม่ใช่พูดไปแต่ทำไม่ได้ จะ 6 ปีกว่าแล้วเป็นรูปเป็นร่าง อย่างนี้ไม่ได้

เมืองไทยหลังการเลือกตั้งมีอะไรหลายอย่างที่ต้องอุดช่องโหว่ อุดรูรั่ว ไม่ให้น้ำเสียเข้ามาให้เรือจม หลังจากเรือเริ่มลอยลำได้แล้ว ค่อยมาคิดว่าทำอย่างไรถึงจะเพิ่มความเร็วให้มัน แต่ไม่ใช่จะเอาทุกอย่างให้เกิดขึ้นภายในวันแรก ทุกวันนี้หลายคน ผมก็ฟังๆ ดู เขาบอกว่าหลังเลือกตั้งเรือก็จะไม่รั่ว ความเร็วก็จะติดเทอร์โบ มองไปข้างหน้าไม่มีคลื่นลม ไม่มีพายุ นั่นมันเป็นความฝัน ซึ่งก็ไม่ผิดที่จะฝัน แต่ในทางปฏิบัติคงต้องมีอะไรที่เป็นอุปสรรคอยู่บ้าง

เพราะฉะนั้น เราก็ควรต้องคิดนโยบาย ชนะหรือแพ้ก็อยู่ที่นโยบายด้วย และต้องปฏิบัติได้โดยเร็ว

“ระบบความยุติธรรมต้องไม่เล่นคำพูด เล่นตัวหนังสือ เล่นลิ้น หาช่องโหว่ เป็นศรีธนญชัย  มีคำพูดแค่ 3 คำคือ Justice for All หมายความว่าระบบความยุติธรรมเท่าเทียมกันทุกคน ประเทศไทยต้องมีคำนี้”

GM : บางคนหวังให้คุณไปถึงเก้าอี้นายกฯ

ผมยังไม่ได้คิดใหญ่คิดโตขนาดนั้น เพียงแต่ว่าทำวันนี้ให้ดีที่สุด ผมยังไม่เคยได้เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ยังไม่เคยเป็น ส.ส. สิ่งที่ผมต้องเล็งไว้ก่อนตอนนี้คือ ผมต้องมั่นใจว่าพรรคผมต้องแข็งแกร่งพอที่จะเอาพวกผมเข้าสภาฯ โดยเฉพาะผมเข้าไปทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรได้ก่อน

GM : จากประสบการณ์ที่ทำธุรกิจ ช่วยให้เราวางนโยบายพรรคได้ชัดเจนและเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน

ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับประสบการณ์ทำธุรกิจหรือทำอะไรมา ทุกอย่างที่บ่มเพาะคนขึ้นมา มันไม่ใช่ผมคนเดียวนะครับ แต่ละคนก็มีคุณวุฒิและวัยวุฒิมากพอสมควรในการบริหาร พรรคภูมิใจไทย ประสบการณ์ที่ผ่านชีวิตมาสำคัญกว่า บางคนไม่ได้เป็นนักธุรกิจ แต่ก็มีประสบการณ์ที่สัมผัสกับชาวบ้านและพื้นที่ ในความเป็นนักธุรกิจอาจมีความยืดหยุ่นหน่อย มีการตั้งเป้าที่เป็นไปได้มากหน่อย ไม่ใช่การตั้งเป้าที่เป็นความฝัน การมีประสบการณ์การเป็นนักธุรกิจมาก่อน อาจทำให้มีความสามารถในการทนสภาพความกดดันต่างๆ เมื่อมันไม่เข้าเป้า จะถอยอย่างไร จะหยุดตอนไหน และจะเดินหน้าอย่างไร มันมีการวิเคราะห์ ประสบการณ์ทางธุรกิจต้องมีการพิสูจน์ก่อนถึงจะเดินหน้า แต่ถ้าเกิดทางรัฐศาสตร์ทางบริหาร ก็จะใช้เป้าหมายเป็นตัวกระตุ้น ไม่ใช่ว่าใครถูกใครผิด แต่ต้องมารวมกันให้ได้

เขาถึงเรียกว่าเป็นพรรคการเมือง ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Party แปลว่าต้องมีคนมากกว่า 2 คน และมารวมตัวกันเหมือนไปงานปาร์ตี้ เราคงไม่ได้ไปแค่ 2-3 คน แต่ไปหลายๆ คน มีการเคารพซึ่งกันและกัน มีการรับฟังซึ่งกันและกัน หาบทสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้มาแล้วเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

GM : คนไทยมักมองนักการเมืองเปินอาชีพที่เป็นทางเลือกท้ายๆ

(หัวเราะ) มันก็เป็นเวรเป็นกรรมนะ คนปกติทั่วไปทำมาหากิน แต่กลับมองว่าคนที่เขาต้องให้เข้ามาบริหารประเทศ ก็คือนักการเมืองเป็นคนชั้นต่ำ (นิ่งคิด) เป็นคนคดโกง บ้านเมือง เป็นคนไม่มีเกียรติ เป็นคนไม่รักชาติบ้านเมือง แต่รักตัวเอง ตักตวงผลประโยชน์ คำนิยามของนักการเมืองที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยคนทั่วไป เหมือนเขาชี้ความเลวไปที่นักการเมือง แต่เขาก็ไม่ทำอะไร มันน่าจะเป็นความผิดของเขามากกว่าที่ปล่อยให้คนเลวๆ ในความคิดของเขามาบริหารบ้านเมือง คนที่ขาดทุนที่สุดคือเขา คนที่ได้รับผลกระทบ และเดือดร้อนที่สุดคือเขา

เพราะฉะนั้น ตราบใดที่เขาไม่เลือกคนที่เพียบพร้อม ซื่อสัตย์สุจริต ตั้งใจทำงานให้กับบ้านเมืองจริงๆ เข้ามา เขาจะมาบ่นไม่ได้ เพราะนักการเมืองไม่สามารถเสนอตัวเองเข้ามาทำงานให้ประเทศได้ นอกจากได้รับการคัดเลือกจากประชาชน ซึ่งต้องคัดเลือกคนดีๆ ชี้นิ้ว 1 นิ้วไปที่เขา อีก 4 นิ้วเข้าตัว เพราะฉะนั้น ผมก็ต้องพูดอีกครั้งว่า คนที่ดี คนที่เก่ง คนที่ประสบความสำเร็จ คนที่ในชีวิตนี้ไม่มีความอยากได้สมบัติพัสถานอะไรมากเกินกว่าที่คนทั่วไปพึงจะมี ก็ควรจะเสียสละตัวเองมาทำงานการเมือง มาช่วยกันบริหารประเทศอย่าเป็นเพียงนักวิจารณ์

คนเหล่านี้พอถึงเวลาบอกว่า อ้าว! เข้ามาทำสิ ผมถามหลายคนที่ดูถูกดูแคลนนักการเมือง แต่ความที่เราก็มีทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิทางการเมืองระดับหนึ่ง จะไปโกรธก็ใช่ที่ แต่เราสวนเขาไปด้วยคำว่า แล้วทำไมคุณไม่เข้ามาทำ คุณก็บอกสเปคทุกอย่างว่านักการเมืองในอุดมคติคืออะไร คุณก็ทำตามนั้น คำตอบ 99.99% คือ โน ไม่เอา ไม่ชอบ ไม่ทำ แต่บอกประเทศไม่ดี แต่พอบอกให้เข้ามาช่วยทำไม่เอา ผมอยู่ของผมสบายแล้ว ตกลงแล้วใครรักชาติบ้านเมืองมากกว่าคนที่มีโอกาส มีฝีมือ มีความพร้อม แล้วไม่มารับใช้ชาติบ้านเมืองในยามที่บ้านเมืองต้องการ ผมว่าแย่กว่านักการเมืองโกงๆ นะ

ความพร้อมที่จะเลือกตั้ง

  • ถึงแม้จะไม่มีเหตุการณ์พิเศษ เช่น การรัฐประหาร หรือว่ามีการเว้นช่วงของระบอบประชาธิปไตย จริงๆ แล้วพรรคการเมืองจะต้องมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าการเลือกตั้งมักจะเกิดขึ้นเมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงในแต่ละวาระ ถ้าไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุก 4 ปีจะมีการเลือกตั้ง เพราะว่าอาจมีการยุบสภาฯ อาจมีการลาออกของนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำให้เหตุการณ์ในสภาฯ ต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ถ้าเลือกไม่ได้เกิดมีการทำให้สภาฯ นั้นสิ้นสุดวาระไป พรรคการเมืองก็จะต้องตื่นตัวอยู่เสมอว่า การเลือกตั้งสามารถเกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่งก็ได้
  • เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว ถ้าเป็นพรรคการเมืองที่มีประสบการณ์ในถนนสายการเมืองมากพอสมควรแล้ว หรือมีความเป็นสถาบันแล้ว หมายถึงพรรคการเมืองที่ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อการเฉพาะกิจ การเลือกตั้งไม่ใช่เป็นปัญหาหรือเป็นอุปสรรคใดๆ ต่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองนั้นๆ กล่าวโดยสรุปก็คือต้องพร้อมทุกวัน

รัฐธรรมนูญใหม่กับเสถียรภาพทางการเมือง

  • ขึ้นอยู่กับว่าใครจะแปลความหมายของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอย่างไร ถ้าถามความเป็นพรรคใหญ่ เขาคงไม่ชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้เท่าไร เพราะว่าคะแนนเสียงทุกคะแนนเสียงสุมารถจะนำมาใช้ในการคำนวณ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์
  • ถ้าเป็นสมัยก่อน ผู้ที่มีคะแนนสูงสุดในเขตเลือกตั้งแต่ละเขตจะเป็นผู้ชนะ ต่อให้เราแพ้เขาแค่ 1 คะแนน เราก็เป็นผู้แพ้ และไม่สามารถที่จะนำคะแนนต่างๆ ที่เราได้มาไปใช้ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น พรรคใหญ่คงจะไม่ชอบระบบแบบนี้ เพราะว่าเขามีฐานรากที่ดี มีฐานเสียงที่ดี มีคะแนนจัดตั้งที่ดี
  • ถ้ามาถามพรรคกลาง พรรคเล็ก คำตอบก็อาจเป็นอีกแบบ เพราะมันทำให้บทบาทของพรรคกลาง พรรคเล็ก มีความสำคัญเพิ่มขึ้นมา ถ้าเป็นสมัยก่อน พอเราไม่สามารถใช้คะแนนทุกคะแนนมาเป็นคะแนนของพรรคได้ พรรคใหญ่เขาก็จะสามารถพูดว่า โอ๊ย…ไปเลือกพรรคเล็กๆ ไม่มีประโยชน์ เข้าไปก็ไม่มีสิทธิไม่มีเสียงอะไร เลือกพรรคใหญ่ดีกว่า มันสามารถกำหนดทิศทางตางๆ ของประเทศได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถ้าถามพรรคใหญ่เขาก็คงไม่ชอบ ถามพรรคเล็กเขาก็คงชอบ
  • แต่ที่สำคัญก็คือว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียในเชิง การบริหารราชการแผ่นดิน ข้อดีก็มีในเรื่องของการจำกัดอำนาจของนักการเมืองให้อยู่ในกรอบที่ค่อนข้างจะขีดทางเดินไว้ให้ ข้อเสียก็คือความยืดหยุ่นในการบริหารบ้านเมืองหรือการที่มีอำนาจที่จำกัด ก็อาจทำให้การบังคับบัญชา การสั่งการ หรือว่าการผลักดันนโยบายต่างๆ เป็นปัญหาและอุปสรรค
  • ข้อดีอีกอันหนึ่งที่อย่างน้อยตัวผมเองในฐานะที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองชื่นชมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ในเรื่องของการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐที่ค่อนข้างกำหนดบทลงโทษ กำหนดการตัดสินต่อผู้ที่ตั้งใจกระทำผิด ทุจริตคดโกงบ้านเมืองค่อนข้างรุนแรง แล้วก็มีความซัดเจน มีการตัดสิทธิ ไม่ใช่เป็นระยะเวลา แต่ถ้าใครเข้าข่ายฉ้อโกงบ้านเมืองก็เรียกว่าต้องประหารชีวิตทางการเมืองเลย คือไม่มีสิทธิที่จะได้กลับเข้ามาอยู่ในการบริหารราชการแผ่นดินอีกต่อไป
  • ผู้ที่คิดล้มล้างสถาบันหลักของชาติทั้ง 3 สถาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันที่เป็นที่เคารพสักการะของคนไทยทุกคน ก็จะไม่สามารถที่จะมาขอทำเสร็จแล้วจบเกมกันไป จะกลับมาเหมือนเดิม ไม่มีความผิด ขออภัยโทษอะไรต่างๆ ก็ไม่ได้แล้ว ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ปี 2560 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ปลุกระดมมวลชน และก่อให้เกิดความเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันหลักของชาติ จะต้องถูกดำเนินคดี และไม่มีสิทธิ์เข้ามาอยู่ในถนนของการเมือง หรือถนนที่จะต้องเข้ามาบริหารประเทศชาติอีกต่อไป
  • มีทั้งจุดดีและจุดเสีย ซึ่งในวันนี้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้มา 1 ปีกว่าแล้ว เพราะฉะนั้นก็คงจะต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เราก็จะต้องอยู่กับรัฐธรรมนูญนี้ให้ได้
  • ในส่วนตัวของผมเองก็ถือว่า ถ้ามีเจตนาสุจริตต่อประเทศชาติบ้านเมือง ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดบ้าง แต่ถ้ามีเจตนาที่สุจริต ก็น่าจะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ และหาวิธีที่จะทำงานบริหารประเทศไปได้ในระดับที่ดีพอสมควร บางทีก็ต้องมัดมือกันบ้าง เพราะว่าเคยอิสระกันมากเกินไป ต่างคนก็ต่างทำให้เกิดประโยชน์กับตนเองก่อนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ มั่นก็เลยวุ่นวายมาถึงทุกวันนี้
  • เพราะฉะนั้น บางทีช่วงนี้ก็ต้องใช้ยาแรงไปสักพักหนึ่งก่อน แล้วเมื่อถึงเวลาอันควร ผมคิดว่ามันน่าจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าจะทำได้ยาก แต่ว่าถ้าประชาชนทั้งประเทศเห็นว่าสมควรที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็มีช่องที่จะทำได้

“คนที่มีโอกาส มีฝีมือ มีความพร้อม  แล้วไม่มารับใช้ชาติบ้านเมืองในยามที่บ้านเมืองต้องการ  ผมว่าแย่กว่านักการเมืองโกงๆ นะ”

GM : มีคำพูดที่ว่า “ถ้าคุณไม่แก้ปัญหา คุณก็เป็นสวนหนึ่งของปัญหา”

เป็นคำพูดที่ดี ควรจะต้องกระจายประโยคนี้ออกไป เท่าที่ผมพูดได้คือ เพราะคนดีๆ คนที่พร้อม คนเก่ง คนซื่อสัตย์สุจริต สละสิทธิ์ของตัวเองที่จะมารับใช้ชาติบ้านเมือง ก็เลยทำให้เกิดช่องว่างสำหรับคนที่เป็นตรงข้ามกับสิ่งที่พูดมาเมื่อกี้เข้ามา แล้วจะบ่นอะไร คนไม่ดีก็คือคนไม่ดี แล้วเมื่อคนดีๆ เปิดช่องให้คนไม่ดีเข้ามา ผลจะออกมาเป็นผลที่ดีได้อย่างไร

โอกาสแก้ไขปัญหาก็คือคุณเข้ามาสิอย่ากลัวแพ้ การรับใช้ชาติบ้านเมืองไม่มีแพ้ชนะ อย่าถือทิฐิ ยิ่งไปวิจารณ์เขาในขณะที่ตัวเองไม่เข้าไปทำ มันก็ไม่มีอะไรที่จะไปต่อกรหรือกดดันคนชั่วร้ายที่โกงชาติบ้านเมืองให้เขาสำนึกหรือให้เขาออกไปจากระบบได้เลย

GM : คุณเป็นหัวหน้าพรรค ถึงอย่างไรก็ต้องพร้อมสำหรับตำแหน่งนายกฯ ส่วนจะมีโอกาสหรือไม่ นั่นคงอีกเรื่องหนึ่ง อยากถามคุณว่า อะไรคือปัญหาหลักๆ ของประเทศที่ต้องเร่งแก้ไข

ระบบความยุติธรรม ต้องยุติธรรมเท่าเทียมกันสำหรับบุคคลทุกชนชั้นในสังคม ต้องไม่เล่นคำพูด เล่นตัวหนังสือ เล่นลิ้น หาช่องโหว่เป็นศรีธนญชัย เป็นพวกบอกไม่ผิด ถ้าไม่ใช่พวกบอกผิด แล้วก็มีคำแก้ตัวต่างๆ ที่ฟังไม่ขึ้น 

กระบวนการยุติธรรมในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขามีคำพูดแค่ 3 คำ คือ Justice for All หมายความว่าระบบความยุติธรรมเท่าเทียมกันทุกคน ประเทศไทยต้องมีคำนี้ ซึ่งยังไม่มีคำบัญญัตินี้เป็นภาษาไทย นี้แหละต้นตอของปัญหาทั้งหลายทั้งปวง คนที่มีอำนาจก็มักตีความเข้าข้างตัวเอง ทำอะไรไปโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนที่จะตามมา เพราะถือว่าตัวเองมีอำนาจอยู่ แต่เมื่อพ้นอำนาจไปก็ถูกอีกฝ่ายกลับตีว่าเป็นสิ่งที่ผิด ก็เกิดการต่อสู้กัน

เพราะฉะนั้น จากนี้ไปกระบวนการยุติธรรมต่างๆ หรือการร่างกฎหมายอะไรก็แล้วแต่ การตีความกฎหมายต้องมีแต่ดำกับขาว ไม่มีเทา ผิดก็ต้องบอกว่าผิด ถูกอย่างไรก็ผิดไม่ได้ เป็นอื่นไม่ได้ ไม่ต้องไปแก้อย่างอื่นหรอกครับ ทำแค่ตรงนี้ได้ทุกคนก็ยอมรับ ทุกคนวันนี้โดนไม่เท่ากัน เลยไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก ผิดก็คิดว่าตัวเองถูก ก็สู้ อีกฝ่ายคิดว่าฝั่งตรงข้ามผิด แต่กระบวนการยุติธรรมบอกว่าถูก ก็สู้ มันก็ไม่พ้นสงครามกลางเมือง ประเทศไทยต้องมีระบบยุติธรรมที่เท่าเทียมและให้ทุกคนเคารพ ถ้ามีการเคารพกติกา มีการเคารพซึ่งกันและกัน ความมีเสถียรภาพก็บังเกิดในสังคม

เรื่องการศึกษา ทุกวันนี้ปีหนึ่งผลิตบัณฑิตเป็นแสนๆ คนอยู่แล้ว จะบอกว่าทุกคนต้องจบปริญญาเอกก็ไม่ใช่ สมัยรุ่นพ่อแม่เราจบ ป. 4 ก็ร่ำรวยมหาศาล ประกอบอาชีพ รู้สึกว่ามีความมั่นคงมากกว่าวันนี้ นึกดูครับว่าสมัยก่อนข้าราชการระดับซี 5 ซี 6 มีความมั่นคง รุ่นพ่อแม่เราที่เป็นพนักงานมีความมั่นคง ทุกคนมีที่พัก ทุกคนมีปัจจัย 4 ที่ครบ แต่วันนี้สั่งคมเพี้ยนไป แทนที่จะไปเน้นปัจจัย 4 ที่เป็นพื้นฐานก่อน คนมีรายได้แรกก็ไปซื้อรถ ซื้อแอร์ ซื้อทีวีจอแบน แทนการซื้อที่พักอาศัย ปัจจัย 4 กลับเป็นลำดับท้ายๆ เงินหมดไปกับการบำเรอตัวเอง เพราะฉะนั้น มันเพี้ยนไปหมดทุกอย่าง

ในระบบรัฐสภา คนที่แพ้การเลือกตั้งเป็นเสียงข้างน้อยก็ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้รับความไว้วางใจอย่างเพียงพอ ก็ทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรวจสอบให้ดีที่สุด ฝั่งรัฐบาลต่อให้มีเสียงสนับสนุนของประชาชนมาก แต่ถ้าโกง ไม่อยู่ในร่องในรอย บริหารประเทศไม่อยู่ในหลักธรรมาภิบาล ที่ว่าแข็งแรงก็ไปง่ายๆ รัฐบาลส่วนใหญ่ต้องเข้มแข็งกว่าฝ่ายด้านอยู่แล้ว รัฐบาลที่พังส่วนใหญ่ไม่เคยพังเพราะฝ่ายด้าน แต่พังเพราะตัวเอง

เพราะฉะนั้น ถ้าทุกคนเคารพในความผิดชอบชั่วดี สังคมก็ตัดสินได้ อย่าไปฝืน มั่นไม่มีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น ถึงแม้จะชนะในวันนี้ มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ แต่อำนาจรัฐไม่เคยอยู่กับใคร 10 ปีนะครับ แล้วกฏหมายหลายๆ อันก็ถูกตราขึ้นมาว่าไม่มีอายุความ เพราะฉะนั้น มันก็เหมือนบูมเมอแรง ตราบใดที่เรายังไม่ปรับสภาพจิตใจ สภาพทัศนคติของเรา อย่าไปคิดว่าชนะวันนี้แล้วจะชนะตลอดกาล มันเป็นสัจธรรม และเกิดขึ้นมานักต่อนัก

สรุปก็คือเลือกตั้งเที่ยวหน้า ทุกคนมีบทเรียน ชอกซ้ำมากันหมด ทุกคนทราบด้วยว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ ผมไม่มีปัญญาไปบอกหรอกว่าต้องทำตัวอย่างไร ไปถึงจุดนั้นประเทศก็ไปได้

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ