fbpx

ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ : เมื่อข้อมูลนั้น ‘Shift’ จนก่อเกิดเป็น ‘Paradigm’ ใหม่ภายใต้ยุคสมัยแห่ง Big Data

ในยุคสมัยปัจจุบัน เราคงไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของ ‘ข้อมูล’ หรือ ‘Data’ จำนวนมหาศาลที่หลั่งไหลเข้ามาแม้แต่ในยามที่คุณกำลังอ่านย่อหน้านี้อยู่ไปได้ มันคือผลลัพธ์จากการรวบรวมและคำนวณอย่างเป็นระบบ เป็นกระแสธารที่เชี่ยวกรากที่พร้อมจะ ‘Shift’ ทุกสิ่งให้เปลี่ยนทิศได้ภายในพริบตา และคนที่สามารถหยิบคว้าหรือไหลลื่นไปกับกระแสข้อมูลเหล่านี้ ย่อมทวีความได้เปรียบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัด

หากแต่วิกฤติ COVID-19 ที่เข้ามากระทบตั้งแต่ช่วงต้นปี ทำให้หลายสิ่งต้องหยุดชะงักและตกกลับเข้าสู่ความถดถอย ความสำคัญของข้อมูลก็ยิ่งทวีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ว่าเราจะไปในทิศทางใด? เราจะรับมือกับความเป็นไปได้ในทางลบได้มากน้อยแค่ไหน? แล้วเมื่อวิกฤติทั้งหลายผ่านพ้น เราจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร?

คงไม่มีใครที่จะตอบคำถามเหล่านี้ ได้ดีเท่ากับ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Siametrics Consulting ลูกชายคนโตของอดีตขุนคลังคนสำคัญ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นสูงเกี่ยวกับงานด้าน ‘Data Strategist’ ที่ให้เกียรติมาร่วมพูดคุยกับทาง GM Magazine ถึงทิศทางที่ประเทศไทยจะใช้ข้อมูลต่างๆ เพื่อผลักดันสังคมและเศรษฐกิจไปข้างหน้าอย่างไร, ระบบ AI ที่เป็นที่กล่าวถึงนั้นสำคัญแค่ไหน จนถึงเรื่องราวเบาๆ ในมุมชีวิตส่วนตัวของบทบาทประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ ‘คุณพ่อลูกหนึ่ง’ ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน

เราขอให้คุณปล่อยตัวตามสบาย และ ‘ไหล’ ไปกับ ‘Data’ ที่เรานำเสนอนี้ไปพร้อมๆ กัน

-ประเทศไทยในฐานะของนักเศรษฐศาสตร์เศรษฐกิจตอนนี้เราถึงจุดที่เลวร้ายที่สุดแล้วหรือยัง?

ในจุดนี้ ถ้ามีการระบาดครั้งที่สองหรือสาม  ก็มีโอกาสที่จะลงสู่จุดต่ำได้อีก มันก็ต้องขึ้นกับว่าจะปกป้องประชาชนอย่างไร จริงๆ มันมองได้ว่าจะปกป้องในเชิงสาธารณสุขอย่างเดียวเลยหรือว่าจะต้องรู้เรื่องของการทำมาหากินด้วยซึ่งครั้งที่แล้วที่ผ่านมาเนี่ยเราเรียกว่าเราทำได้ค่อนข้างดีประสบความสำเร็จมาในการปกป้องไม่ให้ใครติดเชื้อไวรัสแต่ในขณะเดียวกันก็เห็นว่ามันก็จะมีผลพวงทำให้เศรษฐกิจเนี่ยมันตกค่อนข้างเยอะมากเลยนะครับแต่ก็ถือว่าไม่ได้ตกที่สุดในโลก เพราะหลายๆ ประเทศก็มีอัตราการตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงกว่าของเรา ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นกับว่าเราจะเปิดประเทศได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งผมได้ทำงานใกล้ชิดกับกรมควบคุมโรค ก็มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่ามีมาตรการที่ช่วยได้ดีในระดับหนึ่ง จริงๆตอนนี้หลายๆ ประเทศทั่วโลกจากเขาก็มองประเทศเราในมุมมองที่ค่อนข้างดีมากอย่างน่าแปลกใจด้วยซ้ำไปเพราะว่าตอนเราเริ่มเข้ามานั้น เราเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวจีนค่อนข้างเยอะมาก แต่ในเรื่องการลงลึกของเศรษฐกิจมันยังมีอีกอันหนึ่งคือเรื่องของธุรกิจอยู่ได้แค่ไหนจะขึ้นตัวเลขน่าจะเห็นว่าตัวเลขธุรกิจที่ปิดไปเลิกทำธุรกิจมันพุ่งสูงขึ้นถ้าใครสนใจลองไปดูที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ก็จะเห็นเป็นเดือนเดือนเลยครับว่ามันขึ้นมาปกตินะครับแต่มันเยอะขึ้นอาการไม่ค่อยดีคือคนเคยมองเราเป็น

-แล้วตอนนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจของบ้านเรากำลังจะเป็นขาขึ้นแล้วหรือยัง?

อันนี้จะเป็นเรื่องของผลพวงจากรอบที่แล้ว ที่ทำให้เห็นว่าเรายังไม่ขึ้นมา แต่ในความเป็นจริงนั้น มันเริ่มจะขึ้นมาแล้ว แน่นอนว่าตัวเลขย่อมช้ากว่าสถานการณ์จริงเสมอ จริงๆก็ถือว่าได้ผงกหัวขึ้นมาแล้วทีนี้ไอ้การผงกหัวขึ้นมานั้น มันขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนที่ขึ้นมา เพราะว่าทุกๆ วันนั้น มันก็จะมีคนที่เสียเปรียบคนอื่นหรือว่าลงมาแล้วไม่ขึ้นมาเลยถ้าไม่รีบแก้ไข ค่าเฉลี่ยแล้วมันขึ้นแต่ก็มีบางคนที่จบไปเลยนะครับ ผมแนะนำว่าน่าเป็นห่วง

-ด้วยตัวเลขข้อมูลทางด้านสาธารณสุขจากกรมควบคุมโรคระบาด และทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและข้อมูลประกอบแล้ว ตอนนี้เราฟื้นอย่างอย่างแข็งแรงหรือว่าเรามีความพร้อมในการที่จะรับมืออย่างไรถ้าเกิดสมมุติว่าเวฟสองและสามเข้ามาถึง เราพร้อมสำหรับแผนเยียวยาที่เพียงพอดีหรือไม่ ถ้ามองในแง่นักเศรษฐศาสตร์

ผมมองสองแง่นะครับใน มุมของสาธารณสุขการควบคุมโรค กับมุมมองของการรับมือทางเศรษฐกิจ ผมคิดว่าการควบคุมโรคเราค่อนข้างพร้อม แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นเปิดคนมาไทย เพราะวัคซีนก็ยังไม่ได้ถูกพิสูจน์ว่ามันจะใช้ได้จริง แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่เราทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดีมาก แต่ด้านของเศรษฐกิจนั้นผมเป็นห่วงค่อนข้างเยอะมาก เพราะว่าวันนี้เรายังไม่ได้เห็นภาพจริงเลยว่า ‘หนี้’ อันเป็นสิ่งที่อยู่กับประเทศไทยมานาน

-คือปัญหาหนี้มันหยุดให้บางบริษัทไม่เจ๊งให้พนักงานบางคนมีรายได้บางส่วนชั่วคราวก่อนแต่ว่าถ้าคำสั่งซื้อไม่เข้ามาระบบการเดินเครื่องเดินอะไรมันไม่สามารถเป็นไปตามที่ได้ ปัญหาที่แท้จริงจะปรากฏออกมาหรือไม่?

ถูกต้องครับ และเราไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีมากนะตอนที่วิกฤตินี้เข้ามา และถ้าเกิดเจอปัญหาหนี้เข้าไปเนี่ยมันอาจจะทำให้ทุกอย่างที่เห็นนั้นแย่ลงไปอีก คือในส่วนหนี้ครัวเรือนมันก็เยอะอยู่แล้ว ก็วันนี้ผมก็ทำวิจัยอยู่ว่าจากข้อมูลของการที่โดนโควิดซัดเข้ามา แล้วมันจะไปกระทบให้กับหนี้ครัวเรือนมันจะออกมาเป็นประมาณไหน เพราะว่าหลายคนกังวลประเด็นนี้มากเพราะว่าเรื่องของธนาคารเองแล้วเราไม่อยากให้วิกฤตินี้มันแทรกซึมไปถึงภาคธนาคารนะครับเพราะว่าทางนี้มันต่างกันตรงที่ว่ามันอัดมาตรงๆ ในภาคธุรกิจเลย

-ครั้งที่แล้วยังดีที่มันซัดเข้ามาที่ภาคการเงิน แต่ถ้าในครั้งนี้ มันเข้ามาถึงภาคการผลิต หลายคนมองว่าเรามีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว แต่ถ้ามองในแง่ที่เลวร้ายที่สุด?

มันตรงเข้ากระเป๋าผู้ประกอบการรายย่อยตรงๆ เลยครับ ว่าไม่มีเงินเข้ามาเลยแต่ต้องทำยังไง หรือพนักงานที่อยู่ในบริษัทเหล่านี้ เขาก็อาจจะไม่มีงานทำยังไง โดยเฉพาะในภาคของการท่องเที่ยว และการบริการอย่างที่เขาว่าในบางจังหวัดเป็น HUB ที่มันเป็นของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะภูเก็ต กระบี่ สงขลา เชียงใหม่ คือเขาโตขึ้นมาเข้าเรียนฝึกฝนทักษะเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีสไตล์มีความชื่นชอบพี่อาจจะไม่เหมือนคนไทยด้วยนะครับ เราอาจจะไม่สามารถเปิดได้เต็มที่ อาจจะต้องเปิดอย่างมีการควบคุม ทีนี้ล่ะ ที่เราจะต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรกับคนเหล่านี้

-ในแต่ละ sector ต่างๆ เท่าที่คุณณภัทรเก็บมา เมื่อเอามารวมกับแนวนโยบายของภาครัฐ มาตรการต่างๆ มันเพียงพอหรือต้องเพิ่มเติมตรงไหนบ้าง?

ข้อมูลในจุดนี้เป็นสิ่งที่ผมสนใจอยู่แล้ว และผมคิดว่าถ้าเราไม่รู้ เราก็ไม่ได้อะไรไม่ได้ในกรณีนี้เลย และต้องยอมรับว่าข้อมูลของบ้านเรานั้นค่อนข้างกระจัดกระจายและเชื่องช้า ไม่พร้อมสำหรับรับมือกับวิกฤติที่รุนแรงและเร็ว ซึ่งต้องบอกว่าครั้งนี้ให้ประชาชนรอไม่ได้ คือถ้าผมอยู่ดีๆ ไม่มีเงินเข้ามาเลยผมจะทำอย่างไรกับชีวิตถูกไหมครับ เพราะเป็นอย่างนี้บริษัทของผมก็เลยลงไปเก็บข้อมูลทำเป็นแผนที่ขึ้นมาตีให้ดูเลยว่าตอนนี้จังหวัดไหนอำเภอไหนตำบลไหนกำลังประสบความยากลำบากมาก ซึ่งจะทำให้รัฐเห็นภาพว่าภาคส่วนไหนที่ต้องการการช่วยเหลือก่อน ทำให้ออกนโยบายให้ตรงกับความต้องการได้มากขึ้น ไม่ใช่แค่ว่าออกมา 1 อันใหญ่ๆ โดนทุกคนหมด

-แล้วนโยบายตอนนี้ มันตรงจุดมากน้อยแค่ไหน?

ผมคิดว่าไม่ เพราะว่ามันมีความจำเป็นต้องทำ คือบางอย่าง คุ้มไม่คุ้มแน่อีกเรื่องหนึ่ง แต่ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในมือตอนนี้ ยังไงก็ต้องห้ามเลือดปิดแผลไว้ก่อน คือผมว่ามันเป็นการตัดสินใจก็คงไม่มีใครอยากจะได้แบบนี้หรอกครับ เพราะว่าถ้าเกิดเราไม่มีข้อมูลจริงๆ มันก็ต้องทำอะไรบ้าง นโยบาย Helicopter Money หว่านแหนั้นมันไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไรนะครับในวิกฤติรุนแรง เพราะมันกระทบทุกคน แต่ถ้าผมจะวิพากษ์สักอย่าง ผมมองว่าเราควรจะต้อง ‘แม่น’ ในการหว่านลงไปกว่านี้อีกเยอะ ที่มันน่ากลัวคือ ถ้าเราไม่ได้ข้อมูลเศรษฐกิจเร็วกว่านี้ จะทำให้การตัดสินใจของเราช้า และผิด อย่างในอเมริกานั้น ตัวเลขการจ้างงานมันเร็วมาก บ้านเรายังเร็วไม่พอด้วยซ้ำ เพราะอันที่ออกมาให้กับคนทั่วไปได้เห็น มันไม่ชัดเจนว่าจะลงทุนยังไงเราจะปิดรับตำแหน่งไหน แต่ตอนนี้ก็จะมีข้อมูลที่ดีขึ้นเช่นข้อมูลจากดาวเทียมกันมาดูว่าตอนนี้พี่เป็นยังไงใช้ไฟอะไรอย่างนี้การพ่นแก๊สต่างๆ ที่มันสามารถเอามาเป็นมาตรวัดได้จริงๆ ดูการใช้ไฟดูการใช้แก๊สที่ค่อนข้างมีความเกี่ยวโยงกับชีวิตที่ข้างเยอะ แต่ถ้าถามผมผมว่าไม่ต้องไปถึงขั้นนั้นก็ได้ แค่ตัวเลขจริงๆ ของรัฐบาลได้ข้อมูลภาษีภาษี  vat มันต้องส่งทุกเดือนอยู่แล้ว ชัดเจนชัดเจนแล้วแบ่งเป็นส่วนๆ ได้ง่าย ซึ่งมีประโยชน์มาก ก็อยากจะขอจากทางสรรพากรว่า ไม่ต้องลงไปเป็นระดับธุรกิจก็ได้ เอามาเป็นภาพรวม เอาเป็นเชิงพื้นที่ได้ยิ่งดี เพราะจะเชื่อมโยงกับนโยบายภาคสาธารณสุขได้ด้วย ซึ่งภาคเศรษฐกิจสามารถนำเอาวิธีการเหล่านี้มาใช้ได้ ว่าพื้นที่ไหนเสี่ยง พื้นที่ไหนเปราะบาง ก็เทคนลงไปพื้นที่นั้น เพราะถ้าเสี่ยงผิดปกติ มันจะโดนล็อคเยอะ ตรงนั้นมันยิ่งต้องการอะไรมากกว่า ถ้าเราไปโปรยเงินทั่วไปหมดมันละลายไปหมดต้อง โปรยน่ะต้องโปรยบ้างแต่ว่ามันต้องมีบางส่วนที่มันลงไปประจวบเหมาะชัดเจนด้วย

-ในวันนี้ แสดงว่าถ้าเรามีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง เราก็จะแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น?

จริงๆ เรามีแล้วครับ อาจจะยังเร็วไม่พอ แต่เรื่องความแม่นยำนี่ค่อนข้างเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง และดีกว่าไม่มี

-เรายังมีจุดที่ยังน่าเป็นห่วง จุดที่ต้องการการเยียวยาเพิ่มหรือไม่?

การท่องเที่ยวและทุกๆ skill Set ที่อยู่ในทำนองเดียวกับคนอื่นผมคิดว่ายังพอไหวนะครับแล้วก็บางอันนี้มันไม่ได้สร้างงานเยอะเท่ากับตรงนี้ อันที่จริง ก็มีหลายคนถามเข้ามานะครับว่าเราจะล็อคดาวน์แบบเข้มๆ หรือจะล็อคๆ เปิดๆ แต่ของเรามันมาในทางเข้ม ซึ่งผมมองว่ามันดีกว่าเปิดๆ ปิดๆ ซึ่งมันแย่กับเศรษฐกิจระยะยาวมากกว่า อย่างน้อยภายในประเทศนี้มันยังพอผลิตอะไรได้บ้างครับ แต่ทั้งหมด ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าคนยอมให้ปิดแค่ไหนด้วยก็ขึ้นอยู่กับพวกรับได้แค่ไหนที่มันเป็น New Normal ซึ่งถ้าลองยกตัวอย่างในอเมริกา ผมคิดว่าประเทศเขากำลังมีปัญหานะ เพราะเขาเน้นไปทางด้านเศรษฐกิจ โดยแลกกับชีวิตคน ผมคิดว่าชีวิตคนเรามันมีวิธีคำนวณค่างวดหนึ่งชีวิตไงเป็นเท่ากับกี่บาทมันไม่ใช่ว่าผมคิดว่าเรามีกี่ชั่วโมงการทำงานเท่าไหร่ราคาเท่าไหร่ครับคุณเป็นประโยชน์ต่อสังคมเท่าไหร่ชีวิตนึงประมาณ 6-7 ล้านยูเอสดอลลาร์ ประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งมันเป็นความสูญเสียที่ใหญ่หลวงมากๆ แต่ด้วยสภาวะสังคมของเขา มันถึงต้องออกมาในรูปแบบนี้

-ถ้าจะโฟกัสในส่วนการท่องเที่ยวที่น่าห่วงที่สุด คิดว่าอะไรที่เป็นปัญหา

เป็นส่วนที่น่ากังวลครับเพราะมันเคยเป็นเม็ดเงินหลักของประเทศ แล้วเม็ดเงินที่จะผ่านเข้ามานั้นมันเกี่ยวกับท่องเที่ยวแน่ๆอย่างการทำของที่ระลึก หรือเป็นบาร์เทนเดอร์ เป็นอะไรคือที่อยู่ในเมืองท่องเที่ยว แล้วหลายคนก็มีทักษะที่ถูกฝึกฝนมาให้อยู่ในอุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะเลย อย่างเช่นโมฮิโต้มะม่วง ซึ่งมันเป็น drink menu ที่ฝรั่งมากซึ่งเอาเข้าจริงๆนั กท่องเที่ยวไทยตรงนั้นขนาดนั้นหรอกแต่ว่าคนคนที่ทำอย่างนี้เขาจะไปขายใคร ถ้าจะไม่มีคนมาเลย ซึ่งจริงๆ แล้วเนี่ยถ้าเกิดการชะลอกันมันคงจะรออีกนานมาก จะให้เขาทำอะไรดี ไปพับผ้าไปขายของเราก็เห็นว่ามันจบแล้วก็มีหลายคนที่ลำบากมากนะครับแต่ละคนที่เห็นว่าลำบากเป็นพิเศษคือคนที่อายุคนที่ชราแล้วแล้วเจอเหตุการณ์นี้เข้าไปอีกนะครับอันนี้น่าสงสารมากเพราะว่ายังคนหนุ่มสาวอย่างมากก็ลองไปหาอะไรทำดูแล้วเราคงคงเพิ่มมูลค่าอะไรได้เพราะคนชราลง มันยากมากแล้วตอนนี้ผมยังไม่เห็นภาพที่แน่ชัดว่าประเทศเราจะทำอะไรกับอุตสาหกรรมนี้ดี อันนี้ต้องยอมรับมันก็ยังไม่เห็นว่ามันเป็นจะมีการดำเนินการในส่วนนี้อย่างไรดี

-คุณณภัทรกำลังจะบอกคือ เพียงทักษะเดียวไม่สามารถช่วยให้อยู่รอดได้ในช่วงเวลาเหล่านี้?

ใช่ครับ มันยากมากเลย ภายใต้โจทย์การเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันจะทวีความรุนแรงมากเลยครับคนคนรุ่นใหม่ๆ ก็กังวลเพราะว่าสมัยก่อนนะเราคิดว่าเราโตมาเราเรียนจบก็ทำงาน แต่ตอนนี้มันจะเริ่มมีเทคโนโลยี AI มามีอะไรก็ไม่รู้มาแล้วก็มีโรคระบาดอย่างนี้ ทีเดียวเปลี่ยนทั้งกระดาน มันทำให้การที่เราลงทุนกับอะไรลึกๆ อย่างเดียวนั้นอาจจะไม่ใช่อะไรที่เหมาะนัก มันอาจจะดีขึ้นนิดหนึ่งแต่มันยังมีปัจจัยด้านการควบคุมโรคด้วย ร้านอาหารถ้าเราคุมได้ไม่ดีเท่านี้ไม่มีทาง คงได้เจ๊งไปกว่านี้เกินครึ่ง ตอนนี้เนี่ยถ้าพี่ผมถามพวกผู้ประกอบการจำนวนผู้มาใช้บริการกรุงเทพและใกล้กับไปที่ Old Normal แล้วแต่ถ้าเป็นเชียงใหม่ภูเก็ตนี้ยัง New Normal และคนไทยก็ยังไม่ค่อยกล้าที่จะเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ด้วยเครื่องบินเท่าไรนัก

-หรือว่ามันถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนแนวคิดกันใหม่แล้ว

ผมผมชอบแนวคิดของ สสค เขากำลังมองว่าอยากให้มันมีเหมือน local economy ก็คือว่าเป็นศาสตร์เศรษฐกิจแบบท้องถิ่นนะครับ ซึ่งเราจะเห็นว่าคนในท้องถิ่นกลับบ้านเยอะเหมือนกัน แล้วก็จะมีบางส่วนที่ตอนนี้กลับมาที่ตัวโตภาคกลางกรุงเทพฯแล้ว แต่มีบางส่วนที่อยู่ ซึ่งส่วนที่ยังอยู่เนี่ยอาจจะเป็น 2 ประเภทก็คือหางานใหม่ไม่ได้ กับตั้งตัวที่บ้านแบบใหม่เลยอยู่ที่นั่น ซึ่งในมุมมองผมเชียร์ให้เกิดการ localize ให้เกิดการเติบโตเศรษฐกิจท้องถิ่นและทำให้แข็งแรงกว่านี้เพราะไม่อย่างนั้น เราเจอวิกฤติครั้งใหม่ เป็นเทปม้วนเดิม จริงกรุงเทพฯ มันก็โตจนแน่นไปหมด และมีอีกหลายจังหวัดที่มีเสน่ห์เยอะมากที่ยังไม่เคยเป็นได้เป็นพระเอกสักที และถ้าถามว่ารัฐควรทำอะไร ผมคิดว่ารัฐควร ‘ต้องไม่บอก’ ว่าให้เขาทำอะไร เพราะว่าจริงๆ แล้วเนี่ยมันควรจะกระจายอำนาจในระดับหนึ่ง ว่าควรจะเป็นคนส่งเสริมแต่ไม่ควรจะเป็นคนที่บอกกึ่งบังคับ ผมว่าไม่เหมาะ เพราะว่าเอาเข้าจริงคนที่อยู่ท้องถิ่นเขาจะรู้ดีที่สุดว่าจริงๆ แล้วตรงนั้นมันมีความต้องการอะไร

-เรียกว่าให้แต่ละท้องถิ่นเติบโตและดึงลูกค้าให้อยู่ในพื้นที่ตัวเอง

ใช่ครับ ผมมองว่าควรจะต้องเพิ่มพลังในการตัดสินใจของผู้ว่าหรือผู้ที่รับผิดชอบให้มากกว่านี้ โอเค อย่างในกรณีที่ผมเคยไปอยู่สหรัฐอเมริกา คือมันก็มีความเละเทะในแบบของมันอยู่นะ แต่การพัฒนาจะเกิดขึ้นได้ มันเกิดขึ้นเพราะถ้าคุณตัดสินใจผิด มันไม่มีใครมาช่วยคุณนะ และประชาชนมองผู้นำหนักมาก ถ้าพาไปเจ๊งนี่ไม่ได้เลยนะ อย่างเมืองออสตินที่พยายามจะเป็นเมือง Tech ที่มีเสน่ห์ สนุก ฮิปปี้ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง

-ถ้ามองจากกรณีออสติน คุณณภัทรมองว่า ให้มันโตจากพื้นที่ แล้วค่อยๆ ขยายไปสู่ภาคส่วนที่ไกลขึ้น?

ใช่ครับ ให้มันค่อยๆ เติบโตอย่างแข็งแรง แต่ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นกับอุตสาหกรรมแต่ละแบบด้วย ตรงนี้ผมมองว่ามันดึงคนมาได้หรือเปล่า มันมีอุตสาหกรรมต้นน้ำมีอะไรหรือเปล่า หรือว่า incentive ทางภาษีไหมแล้วก็สถานที่น่าอยู่ไหม สนุกไหม ใกล้ธรรมชาติไหม มันเป็นที่ดึงดูดทรัพยากรอย่าง อย่างถ้าเป็นอุตสาหกรรม EEC มันอาจจะข้อดึงดูดอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับ Tech แต่ว่าผมคิดว่าในแต่ละพื้นที่ ควรจะมีบางอย่างที่ดูดคนเข้ามา

-บ้านเราเองก็มีความพยายามที่จะทำในสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน อะไรคือปัญหาที่ทำให้เมืองอย่างภูเก็ต เชียงใหม่ ไม่สามารถทำได้? เป็นเพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมันได้เงินเร็วกว่าหรือเปล่า?

ถูกครับ แต่ถ้าเงินเริ่มเข้ามายากจนถึงไม่มีเงินเข้ามา เขาจะเริ่มมองและดิ้นรนแล้ว ว่าจะต้องทำอะไรสักอย่าง ไม่อย่างนั้นคงอยู่ไม่ได้แน่ๆ และที่สำคัญคือต้องดึงดูดคนโดยให้เห็นว่ามันดีกว่าอย่างเห็นได้ชัดมาก เช่นโรงพยาบาลเยอะพอมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วก็เดินทางสะดวกกว่านี้ ยิ่งตอนนี้ถ้าบินไม่ค่อยได้แล้วก็เป็นปัญหาหนักแล้วนะครับ และก็ต้องมองอีกว่าเมืองนั้นมันกำลังไปในทิศทางที่ดีพอ หรือแท้จริงมันไม่มีคนที่จะไปลงในพื้นที่นั้นด้วยซ้ำ ซึ่งผมมองว่ามันยังมีไม่พอ ที่จะไปทำให้อยู่ในเมืองนั้นกลายเป็นเมืองที่เป็นเมือง Tech ขึ้นมาได้ แต่ผมมองว่าช่วงนี้เราปลอดภัยพอสมควรคิดว่าควรจะใช้ตรงนี้ให้เป็นประโยชน์มากเพราะว่ามีหลายคนที่เราเริ่มชินกับการพูดคุยกันได้เข้าร้านอาหารไปไหนมาไหนได้แต่มันยังมีอีกหลายประเทศมากเลยนะครับที่เขาทำไม่ได้เลยครับ มีทั้งตกงานด้วย เราก็ต้องดูดคนจากตรงนั้นมาให้ได้

-จริงๆ วัตถุประสงค์หลักคือเมืองสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง อย่างเช่นเมือง Tech แต่ถ้าเป็นเมืองแบบการเกษตร? เราจะสามารถทำได้หรือไม่?

ผมมีเพื่อนคนนึงทางที่จะเห็นชัดเลยจริงๆนะบางพื้นที่มันเหมาะกับการปลูกบางอย่าง ด้วยสภาพอากาศด้วยดิน ซึ่งตอนนี้ในข้อมูลก็มีหมดแล้วนะครับมี Tech Startup ที่ทำตรงนี้แล้วก็มันไม่มีความจำเป็นที่คุณต้องปลูกผักปลูกข้าวอยู่อยู่อย่างนั้น จริงๆคุณสามารถปลูกอย่างอื่นได้ และด้วยภาวะของการขนส่งตอนนี้ถึงแม้ว่างานจะไม่เยอะมากแต่ว่ามันจะเป็น New Normal จริงๆ

-ตอนนี้มันมีแนวคิดเรื่องของเกษตรแบบพอเลี้ยงตนเอง ไม่ต้องแปลงใหญ่ ส่งให้พื้นที่จำกัด คุณณภัทรมองเรื่องนี้อย่างไร?

ผมคิดว่า อะไรที่เป็นไอเดียใหม่ๆ ผมสนับสนุนหมดนะ แต่ที่ผมไม่เห็นด้วยคือโครงสร้างภาคการเกษตร และมีแรงงานในภาคนี้อยู่เยอะมาก และมันสามารถทำรายได้เข้ามาได้จริงๆ ถ้าได้แบบนั้นผมจะไม่มีปัญหาเลย ถ้ามีคนอยู่ในภาคส่วนนั้น ตำราเศรษฐศาสตร์ชอบบอกว่าทำไมเศรษฐกิจพวกนี้ยังอยู่ในนี้ทำไมไม่ไปเซอร์วิสอันนั้น มันไปเพราะว่ามันมีรายได้เยอะกว่าเขาก็เลยผลักดันให้คนที่อยู่ใน service ดังกล่าวเยอะขึ้น

-เราจะสามารถปรับทักษะแรงงานจากภาคหนึ่ง ไปสู่อีกภาคหนึ่งได้มากน้อยแค่ไหน และควรทำในอัตราใด?

ผมมองว่าเรื่องการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ ในมุมมองผม มันก็กลายเป็นความเสี่ยงขึ้นมาโดยไม่จำเป็น ต้องปรับการพัฒนาฝีมือแรงงานมีความรู้คนมากมายขนาดนั้นโดยเฉพาะในเรื่องของการปรับ ปรับได้ไหม หรือไม่ก็ปิดไปทำอย่างอื่นไม่ได้ผลจริงก็มาน้อยลงจริงๆ ผมว่าการศึกษากับเรื่องการฝึกฝนทักษะเนี่ยทำได้หลายงานมากถ้าถ้าผมในมุมผม ผมไม่คิดว่าถ้าคนต้องทำเอง ควรจะทำในกรณีที่ร่วมมือกับเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญ แต่เอาเข้าจริงผมว่ามันก็มองว่ามันยากมากที่จะไปคาดการณ์หรือกะเกณฑ์ใดๆ อย่างอีกสิบปีข้างหน้า เทรนด์หรือความนิยม หรือภาคอุตสาหกรรมแบบใดจะเข้ามาเรายังไม่รู้เลยครับ เราทำได้แต่เพียงคำนวณคร่าวๆ จากความเป็นไปได้แต่เพียงเท่านั้น

-คิดว่าประเทศเราต้องปรับตัวให้เป็นสหวิชาชีพมากขึ้นด้วยหรือไม่? เพื่อสอดรับกับโลกยุคใหม่ที่ก้าวเข้ามา

ผมมองว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของค่านิยมด้วย ซึ่งในยุคหน้ามันจะอันตรายมากในการที่เราจะเป็นอย่างนี้ เพราะว่าเราไม่รู้เลยปีหน้าคงจะต้องเปลี่ยนอาชีพแล้ว คือมันอาจจะเป็นสัญญาณที่ดีกว่าที่คุณเปลี่ยนเลยปีหน้าแทนที่จะดันทุรังว่า ก็ผมเรียนมาอย่างนี้ ก็พ่อบอกให้เป็นอย่างนี้เพราะฉะนั้น ปีหน้าและถัดๆ ไปผมจึงเป็นอย่างนี้ทั้งที่โอกาสมันผ่านเลยไปแล้วและถ้ามองในจุดนี้ มันก็คือการกระจายความเสี่ยงที่อยู่ในลักษณะของบุคคล ผมเชื่อว่ามันสำคัญมากที่คุณจะต้องกระจายความเสี่ยงเหล่านี้ มันจึงกลับมาที่เรื่องของวัฒนธรรมที่เราต้องจำกัดตัวเองให้ได้ว่าเราคือใคร เราคืออะไร มันต้องเปลี่ยน โดยเฉพาะกับเด็กวัย 20 กว่าๆ นั้น เขาอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองอยากจะเป็นอะไร เผลอๆ ถ้าเราเปิดโอกาสให้เขาจริงๆ เขาอาจจะสามารถสร้างสิ่งที่มีคุณค่าได้มากกว่าที่คิดก็ได้

-เรียกว่าเขาอยากเรียนอะไรให้เขาได้เรียน?

ถูกครับ อย่างกรณีผม เวลาผู้ปกครองรู้ว่าผมทำธุรกิจเกี่ยวกับ AI Data ก็จะเข้ามาถามว่าทำยังไงลูกถึงจะสามารถอยู่ในสายงานนี้ ซึ่งผมมองว่ามันช้าไปแล้ว แล้วโลกมันเปลี่ยนเร็วขนาดนี้ คุณไม่ต้องไปตั้งเบ้าหลอมอะไรให้เขาเลย เพราะในอนาคต บางทีงานสายอื่นอาจจะขึ้นมาแทนที่ก็เป็นได้ ซึ่งนั่นทำให้ผมเชียร์ให้แต่ละคนไปค้นหาหนทางของตัวเองนะ

-สิงคโปร์ประกาศออกมาว่าจะ Set Zero ทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิม หลังโควิด แล้วสำหรับประเทศไทย เราควรจะต้องทำอะไร เพื่อให้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องได้

อย่างแรกในความคิดของผมเลยคือ แผนพัฒนาชาตินี่ ไม่เอา 20 ปี มันควรจะมีกลยุทธ์ใหม่ ว่าเรามีอะไรไปขายทั้งคนข้างนอกและข้างในประเทศ คนข้างนอกยิ่งต้องระวังมากๆ อาจจะจากปัจจัยต่างๆ เช่น โรคระบาด หรือภาวการณ์พึ่งพาตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร บวกกับการเคลื่อนตัวของสภาวะการเมืองโลก การวางตำแหน่งแห่งที่ของตนเองว่าเราจะเป็นอันนั้นนะ อันนี้นะ ก็อาจจะไม่เหมาะแล้วก็ได้ ซึ่งผมยังเชียร์ให้เกิดการ local ให้มากขึ้น แน่นอนมันอาจจะขัดกับตำราเศรษฐศาสตร์แบบเก่าๆ แต่มันจะเปลี่ยนไป และที่สำคัญ ต้องหาให้ได้ว่าเราเก่งอะไร เรื่องอาหารเรายังเป็นผู้นำอยู่ ไม่ต้องสงสัยเลย เราอาจจะสามารถดัดแปลงให้เป็น Package แบบมาทำธุรกิจและมีสันทนาการบางอย่าง เป็นนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมูลค่ามากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปเสียอีก แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ใหม่และยาก จะกลัวก็อาจจะไม่แปลก แต่ยังไงเราก็ต้องทำ ค่อยๆ ทำไป

-คุณณภัทรมองว่าอะไรคือจุดแข็งที่เราจะสู้ต่อไปในอนาคต?

เป็นคำถามที่ดีครับ และมาในจังหวะที่เหมาะสม ผมมองประเทศเราอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับการทำการค้ากับภูมิภาครอบด้าน ทั้งเอเชียอาคเนย์ อินเดีย จีน คือถ้าไม่มีวิกฤติ COVID-19 เข้ามาเสียก่อนผมว่าเราไปรุ่ง เราควรมุ่งไปทางอาเซียนเสียก่อน ให้ได้มูลค่าให้ดีที่สุดสำหรับการค้า และทักษะการบริการและอาหารเราแข็งแรงอยู่แล้ว การผลิตเราอาจจะสู้เวียดนามได้ยาก แต่ก็อาจจะไม่เป็นไรมากนัก แต่ให้เรามองว่าเราเพิ่มมูลค่ากับส่วนอื่นมากขึ้น มันจะได้เกิดอะไรใหม่ๆ ในอนาคตข้างหน้า

-ในฐานะที่เป็นเจ้าของบริษัท Siametrics นิยามความเป็นสมองกลหรือ AI เอาไว้ว่าอย่างไรบ้าง?

นิยามจริงๆ ค่อนข้างกว้างครับ แต่แบบที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ในทางธุรกิจ มันยังไม่ถึงขั้นที่เป็น AI แบบเราเห็นในหนังที่เป็นคนเหล็กอะไรอย่างนั้น แต่ว่ามันเป็นเหมือนกับคอมพิวเตอร์โปรแกรมอันหนึ่งที่มันเรียนรู้ในอดีตใช้ข้อมูลต่างๆ ให้เราให้มันเรียนมันก็จะเรียนรู้จักคำต่างๆ ที่มันเคยเกิดขึ้นในอดีตมาคุยกับคนอื่นแต่บริษัทนี้แล้วก็เรียนรู้ว่าจะตอบยังไงดี

ความสามารถของมันมันก็ขึ้นอยู่กับว่าคนคนสอนมันเก่งแค่ไหน เราให้ข้อมูลแล้วมันแค่ไหน แต่มันก็มีหลายประเภทมากที่เราอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคือ AI เราไปซื้อของทุกวันในห้างหรือไปซื้อหุ้นหรือทำอะไรทุกอย่างนั้น มันมี AI อยู่แทบจะทุกซึ่งผู้บริโภคไม่ได้จำเป็นที่จะต้องรู้ แต่สำหรับผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการนั้น เขาเห็นประโยชน์ของมันมากขึ้น ประสิทธิภาพที่ทำได้ดีขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่นงานด้านการขนส่งจะเจอปัญหาที่เป็นปัญหาที่ตีรถเปล่าเยอะมาก ที่ตามมาคือคนไม่พอ วันนี้ต้องส่งไม่รู้กี่อย่างจนมันเยอะมาก แล้วก็ไปสัญญาลูกค้าแล้วว่ามันต้องได้วันนี้ยังไงก็โดนด่าอีก ซึ่งทางบริษัทผมก็เข้าไปช่วยทำตัว AI ที่ช่วยทำให้การขนส่งคือการเรียงว่ากล่องนี้ควรไปบ้านไหนมันทำได้ดีขึ้น มันจะได้ไม่ต้องวนเข้าไปในซอยลึกให้ได้ตรงเวลา และมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือหน้าที่ของ AI มันคือการทำสิ่งที่ค่อนข้างแคบ ให้เป็นระเบียบ

ซึ่งการจัดลำดับมีมูลค่ามหาศาลที่เราทำมานั้นช่วยลดค่าใช้จ่ายในการส่งของได้ประมาณ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเยอะมากนะครับ ตรงเวลามากขึ้น ลูกค้าพอใจ ส่งเจ้าเราต่อ ก็ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นถูกเราไปส่งปุ๊บเขาอยู่ ได้รับของ แล้วก็ประหยัดน้ำมัน สามารถวางเส้นทางได้ไหมว่าเส้นทางไหนรถติดไม่ติด มันดูด้วยว่าตรงไหนมันค่อนข้างติดแล้วมันปรับได้ตามเวลาจริง ก็คือ Order นี้มันบังเอิญมันส่งมาทุกอย่างให้ส่งภายใน 3 ชั่วโมง มันก็ดูแนวทางการความผิดของเราได้เลยเหมือนกัน ซึ่งตรงนี้ปกติแล้วที่มันคุยกันแล้วว่าคนนี้คนไหนจะไปยังไงวิธีทำปัจจุบันให้มีระบบเลยนะคือเราไปเลยว่าคนนี้ต้องไปรษณีย์เท่านั้นเลยมันก็ง่ายดีแต่ว่าเอาเข้าจริงแล้วมันไม่มีทางดีเท่ามีระบบมาช่วยวาง

อีกอย่างคืคนที่ทำงานส่งของจะทำงานหนักมากแล้วบางทีไม่ค่อยแฟร์ คนนี้ทำงาน 4 ชั่วโมงวันนี้ 5 ชั่วโมงแต่ถ้ามีระบบนี้มันจะช่วยเกลี่ยงานให้ทั้งคนทำ 8 ชั่วโมงเท่ากันเรายังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย รวมถึงสามารถกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ที่เป็นพิเศษ เช่น ไปวันนี้เวลานี้ ที่หมายปิดทุกวันนี้ เราสามารถเขียนเพื่อให้มันนำเข้ามาวิเคราะห์ได้อีกด้วย

-นอกจากด้านการขนส่งแล้ว AI ยังเข้าไปอยู่ในภาคธุรกิจอื่นใดอีกบ้าง?

ถ้าหลักๆ ตอนนี้ก็คือธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครับ อย่างธุรกิจค้าปลีกนี่เราเข้าไปทำตั้งแต่ต้นจนจบ มาถึงตั้งแต่ product มันยังไม่เป็นตัวเป็นตนจะทำอะไรดีอะไรไปจนถึงวันสุดท้ายเลย ไปส่งของ เมื่อกี้นี้ที่คุยกันตอนที่เราสร้างว่าเราจะขายอะไรดีนั้นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะว่าถ้าเกิดเราผลิตสิ่งที่คนไม่ได้อยากได้มันไม่ว่าจะทำอะไรต่อมานั้นมันจะกินเป็นบุญเก่ามันไม่มีแล้ว แต่เราต้องมองว่าเรามีของอยู่แล้ว และเราควรจะให้ใครซื้ออันนี้ แต่นี่คือ Step แรกเลยว่าต้องทำ มันมีวิธีดูเทรนด์ของเสื้อผ้าและแฟชั่น เอา AI ไปอ่านรีวิวรันเวย์ สีไหน สไตล์ไหนกำลังจะมา ให้อย่างน้อยๆ การออกแบบมันมีกรอบ ไม่มั่ว แต่เราไม่ทำเองกับมือเพราะว่ามันไม่ไหว

หรืออีกวิธีคือดูว่ายอดขายที่เราทำทุกอย่างแล้วดูว่าเวลาลูกค้าเข้ามานั้น ดูในเว็บเราเขาดูอะไรบ้างแต่สุดท้ายเขาซื้ออะไรกลับไป สร้างระบบที่ให้มันคำนวณย้อนกลับว่าเขาซื้อของอะไร ที่นี้เราจะรู้แล้วแหละว่าปากกาสีน้ำเงินที่เขาซื้อมันเป็นแบบไม่ต้องกดหรือเปล่ามันเป็นแบบวัสดุเป็นยังไง เขียนลื่น เจลหรือเปล่า หมึกแบบไหน ซึ่งโดยปกติแล้วในอดีตไม่มีใครรู้เลยคือเขาก็ออกมาแล้วก็ทำ survey ทั้งว่าคุณชอบไหมแล้วก็ดูยอดขายแต่นี้คือเราดูจริงๆ มันมีหลักฐานว่าคุณเลือกตั้ง 4-5 แบบแต่คุณเลือกที่จะเลือกซื้อโยเกิร์ตรสนี้ คราวหน้าเวลาเราผลิตใหม่แล้วก็โอเค คนไม่ค่อยชอบให้มันหวานนะ ไปลดน้ำตาลซะ หรือการออกแบบแพ็คเกจผลิตภัณฑ์รอบใหม่มันจะได้ไม่มั่ว

-เรียกว่าผมไม่สามารถทำให้เขาเรียกอะไรจะไปด้วยคุยไปเลยไม่ต้องไปให้นักวิจัยเก็บข้อมูลทางการตลาดแบบนี้?

คือวันนี้ถ้าเราวางแผนตั้งแต่ต้นเราจะเรียกอะไรมามันสามารถทำแบบนี้มาให้เราได้ครับ อันนี้เป็นกรณีที่ถ้าธุรกิจคุณใหญ่พอดี ต้องมีลูกค้าแล้วมีคนเยอะพอสมควรและคุณมีข้อมูล แต่ถ้าเป็นธุรกิจเล็กหรือพึ่งก่อตั้งก็คงต้องทำแบบเดิมไว้ก่อน ถ้ามียอดขายมีเว็บไซต์แล้วค่อยว่ากันอีกที แต่มันดีกว่าไปถามคือเขาซื้อไปเมื่อปีที่แล้วมันก็คงจำไม่ได้จริงๆ

-แสดงว่าในเกือบจะทุกขั้นตอน ทุกรายละเอียด จนถึงการกำหนดช่วงเวลาลดราคาสินค้า สามารถใช้ AI ช่วยได้?

สามารถทำได้ครับ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ผลิตออกมาแล้วเนี่ยเราดูแล้วมันก็ต้องดูทั้งเซลล์ทั้งการตลาด ทราบว่าราคาเท่าไหร่ถึงเหมาะสม ซึ่งการตั้งราคานั้นสำคัญมาก เพราะต้องใช้ประสบการณ์ มันสามารถประมาณได้ด้วยข้อมูลว่าจริงๆแล้วถ้าคุณเพิ่มราคาอีกนิดนึง ลดอีกนิดนึงนะ ผลตอบรับกลับมามันเป็นยังไง เราต้องการทราบราคาให้มันอยู่ในจุดที่มันดีที่สุดก็คือไม่มากไปไม่น้อยไปเพื่อให้กำไรเยอะที่สุดเพราะถ้าข้อมูลเยอะจริงๆ มันก็ทำได้ครับซึ่งควรทำอย่าง

-สรุปแล้ว AI มันคืออะไรกันแน่? โดยส่วนตัวก็รู้สึกว่ามันคือการเขียนโปรแกรมอย่างหนึ่ง

มันคือการเขียนข้อมูลครับ ถ้าไม่มีข้อมูลก็ไม่มี AI ลองให้นึกภาพ AI เป็นเด็กคนหนึ่ง ซึ่งเด็กจะเก่งหรือไม่เก่ง ก็ขึ้นกับว่าคุณป้อนข้อมูลหรือให้เขาได้เรียนรู้อะไร จัดเตรียมหนังสือนิทาน แบบฝึกหัด หรือกลุ่มตัวอย่างแบบไหนให้ทำอยู่เป็นประจำ พอเวลาผ่านไป ออกไปโลกกว้าง พอเขาไปเจอข้อมูลใหม่ มันก็จะเกิดการเชื่อมโยง จะเรียกว่าเป็นโปรแกรมดูดข้อมูลกลับเข้ามา และให้ผลลัพธ์กลับออกไป จริงๆ การจะบอกว่า AI เหมาะสมกับธุรกิจแบบไหน ข้อมูลคือสิ่งสำคัญ ถ้าบริษัทเล็กแต่ข้อมูลมีมาก มันก็คุ้ม หรือถ้าบริษัทใหญ่ แต่ข้อมูลมีน้อย ก็อาจจะไม่จำเป็น แต่มันก็มีบางกรณีเหมือนกัน ที่ AI ถูกสร้างขึ้นไว้ด้วยฐานข้อมูลบางอย่าง แล้วสามารถนำไปใช้กับบริการอื่นๆ ได้ เช่น AI ที่ทำการตรวจสอบใบหน้า เป็นต้น

-นี่มันชวนให้นึกถึงกรณีการใช้เทคโนโลยี AI เข้ากับธุรกิจประกันภัย ว่าน่าจะมีความเป็นไปได้

เป็นไปได้ครับ และเป็นหนึ่งในเรื่องที่กำลังจะเขียนถึงอยู่ และแน่นอน มันคือสิ่งที่อันตรายกับผู้บริโภคอย่างยิ่งด้วย ลองนึกภาพว่าในอนาคต ใบหน้าของเราจะไปโผล่ใน Device ต่างๆ แล้วข้อมูลใบหน้าของเรา จะถูกเชื่อมเข้ากับพฤติกรรมความเสี่ยงต่างๆ มันสามารถกำหนดได้เลยว่า คุณควรจะทำกรมธรรม์แบบไหน เบี้ยประกันเท่าไหร่ แบบไหนทำได้ทำไม่ได้ หรือเชื่อมโยงกับ DNA Bank ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชญากรรม เป็นต้น

-ด้านมืดของ AI ที่น่าเป็นห่วงขนาดนี้ ประเทศไทยเรามีแนวทางป้องกันเอาไว้อย่างไรบ้าง?

บ้านเราผมไม่ค่อยห่วงนะครับ เรามีกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลค่อนข้างแรงพอสมควร แต่ในทางหนึ่ง ผมก็ไม่ได้คิดว่าการใช้ AI มันจะโหดไปถึงจุดที่คุณเดินเข้าห้างสรรพสินค้า มี AI ทักชื่อคุณมา แบบนั้นมันก็เกินไป แต่ถ้าแบบ โอเค คุณเดินเข้ามา AI ส่งข้อมูลให้พนักงานขายว่า คุณชอบสินค้าแบบนี้ๆ นะ ผมว่ามันดีกับสังคม คือการค้าขายก็ทำได้ คุณเองก็ได้สินค้าที่ต้องการด้วย แต่วันที่ข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บเข้าไปอยู่ในฐานของ AI จะต้องมาถึง และในวันนั้น เราจะต้องมีการเซ็นยินยอม หรือทำข้อตกลงว่าข้อมูลเหล่านั้น เรามีสิทธิ์เต็มที่ เราคือเจ้าของ ใครจะเอาไปใช้ต้องขออนุญาตก่อน คือมันต้องมีเส้นแบ่งระหว่างความยินยอมและความเป็นส่วนตัว

-มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่ AI หรือ Big Data ต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจ

ผมว่ามันต้องมองถึงรูปแบบของธุรกิจและเป้าหมายที่จะไป ในระยะสั้น กลาง ยาว แบบ 3 ปี 5 ปี 10 ปี เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ว่าคุณจะมีหรือไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่มันอยู่ที่ว่าคุณจะมีมันไว้เพื่ออะไร และโปรเจ็กต์แรกสุดต่างหากที่จะเป็นตัวบอกว่าคุณจะพัฒนามันต่อไปในทิศทางไหน

-คุณณภัทรเปิดธุรกิจ Siametrics มากี่ปีแล้ว? และให้เวลากับครอบครัวอย่างไรบ้าง?   

เปิดมากี่ปีแล้วไม่อยากตอบเลยเพราะว่าเพิ่งเปิดประมาณ 2 ปีครับ (หัวเราะ) สนุกมากผมต้องให้เวลากับภรรยากับลูกกับครอบครัวมากระดับหนึ่ง แล้วเราก็เลี้ยงเองด้วยไม่มีพี่เลี้ยง คนที่บอกจะเลี้ยงหลาน(ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ก็ไม่เห็นมาเลย (หัวเราะ) แล้วก็จริงๆ คือมันก็มี Balance ครับผมเชื่อว่างานนี้มันต้องมีเวลาทำเยอะเกินไปก็ไม่ใช่ ผมจะออกพอดีผมอยู่ใน creative Industry ระดับนึงเลยคือมันไม่ใช่เราไม่ได้เป็นแผนภาพหรือแต่งเพลงหรือว่าอะไรอย่างมันเป็นปัญหาที่มันมีคนเคยแก้มาก่อนแล้วจะให้เธอๆรวยๆ เข้าไปทำดึกๆเ ข้าไปมันไม่ได้ตอบโจทย์จริงๆ เอาเวลาไปพักผ่อน รุ่งขึ้นเช้ามามีไอเดียดี ซึ่งผมก็คิดว่ามันค่อนข้างจะดีพอสมควร เพราะชีวิตเราก็ดี งานก็ลงตัว เพราะว่าชีวิตมันค่อนข้างสั้น แป๊บเดียวลูกก็โตแล้วตอนนี้ 3 ขวบครับวันนี้ขอคิดก่อนว่าเลี้ยงเองก็ทุ่มเททุ่มเทเยอะเหมือนกัน คือเราอยากให้เวลาเขาเยอะๆ แล้วก็โชคดีก็คือ ผมทำงานที่บ้านออฟฟิศอยู่ที่บ้านเขาจะมีเวลาเพิ่มขึ้นนิดหนึ่ง ทุกอย่างมันค่อนข้างจะคิดครับกับน้องๆ เราก็อยู่กับพวกเขาถึง 6 โมง 17:00 น 18:00 น ก็ผมก็กลับไปช่วยเลี้ยงหลานก็คือทำมาๆ กินข้าวป้อนข้าวอาบน้ำนอนนิทานก่อนนอนตอนเช้าก็อีกทีนึง

-เคยคิดอยากลงสนามการเมืองเหมือนคุณพ่อบ้างหรือไม่?

ต้องบอกว่า คุณพ่อเองก็เจอคนไม่ดีมาเยอะแล้ว แต่การทำดีมันต้องต้องเสียสละบ้าง แล้วก็ต้องมีเป้าที่แน่ชัดว่าอยากจะทำอะไร ที่นี่ได้เรียนรู้อย่างหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือเราช่วยชาติได้หลายทางไม่จำเป็นต้องเป็นการเมืองแล้วสำหรับบางคนก็อาจจะช่วยชาติในทางอื่นนอกเหนือจากทางการเมืองเพราะว่าอย่างที่เห็น อุปสรรคเยอะนะครับ แล้วผมก็เริ่มคิดได้ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นการเมือง ตอนเด็กๆ เพราะว่าอยากวางนโยบายเศรษฐกิจอย่างเร็วรอบให้มันบอกว่าน่าภูมิใจกับฝรั่งนอนแล้วก็เรียนรู้กับแกมาหลายครั้งละแบบคือมันต้องมีทั้ง 2 ขาต้องมีนักการเมืองต้องดีจะมานโยบายไม่ใช่แต่มันก็มันก็เสี่ยงพอสมควร มันทำผิดไป ไม่ทำยังดีกว่าเลย บางทีบางนโยบายเราก็คิดว่าด้วยสภาพแบบนี้ มันเป็นเรื่องยากมาก ผมนับถือคนที่โดนบังคับให้ไปรับตำแหน่งบางตำแหน่งมากเลยตอนนี้ ยากมากๆ ผมเลยมองว่าเป็นคนธรรมดาก็จริง แต่ก็ช่วยได้นะครับ หรือว่าเป็นบริษัทเป็นมูลนิธิทำ Research ทำอะไรที่มันช่วยเหลือได้ อีกเหตุผลที่ไม่เคยอยากทำอะไรอยู่กับการเมืองเลยคือมันมี Negative Energy เต็มไปหมด มันเสียเวลากับการเล่นการเมืองเยอะไป ไม่เล่นก็ไม่รอด เสียเวลาทำงานอีก มันไม่ได้สนุกเลย ส่วนตัวผมจึงชอบรูปแบบบริษัทที่ทุกคนมีความสุขอยากมาทำงาน แล้วก็มีงานก็ออกมาน่าสนใจทุกวันไม่มีใครทะเลาะกัน องค์กรดีๆ แบบนี้ใครก็อยากอยู่จริงไหมครับ  

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ