เกรตา ธุนเบิร์ก นักรณรงค์ภาวะโลกร้อนวัย 16 ปี ผู้มีอาการกลุ่มออทิสติก และผู้ทำให้วัยรุ่นหลายหมื่นคนจาก 119 ประเทศยอมหยุดเรียนเพื่อเดินขบวนประท้วงภาวะโลกร้อนเหมือนกับเธอ ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ภาวะโลกร้อนอาจเป็นคำที่หลายคนได้ยินกันบ่อยจนกลายเป็นเรื่องเดือดร้อนที่ฟังดูธรรมดา และอยู่ห่างจากความสนใจของหลายคนไปไกล แต่สำหรับ เกรตา ธุนเบิร์ก มองว่าปัญหานี้ต้องได้รับความสนใจและเร่งแก้ไข เพราะคนรุ่นต่อไปที่ต้องใช้ชีวิตบนโลกที่ถูกละเลยจากผู้ใหญ่ก็คือเด็กในวัยเดียวกันกับเธอนั่นเอง การประท้วงของเกรตาจุดประกายให้วัยรุ่นหลายหมื่นคนในหลายประเทศหันมาสนใจปัญหานี้และออกมาเดินขบวนรณรงค์เช่นเดียวกับเธอ สมาชิกรัฐสภานอร์เวย์จึงตัดสินใจเสนอชื่อเกรตาเข้าชิงรางวัลโนเบลสันติภาพ เกนตา ธุนเบิร์ก (Greta Thunberg) เป็นนักรณรงค์ภาวะโลกร้อนวัย 16 ปี เริ่มสนใจเกี่ยวกับปัญหานี้เมื่อได้เรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อตอน 9 ขวบ เกรตาบอกว่ามันเป็นเรื่องแปลกดีที่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ ทว่าไม่เห็นใครลงมือทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเลย เกรตาจึงเริ่มศึกษาเรื่องภาวะโลกร้อนอยู่นานถึง 6 ปี ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่เด็กอายุเพียงเท่านั้นจะสนใจสิ่งหนึ่งอย่างจริงจังและอยู่กับมันได้นานเช่นนี้ เกรตาบอกว่า นี่อาจเป็นข้อดีของการเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม หนึ่งในอาการกลุ่มออทิสติก ที่ทำให้เธอสามารถจดจ่อกับสิ่งหนึ่งได้นานหลายชั่วโมง และหลังจากศึกษาปัญหาโลกร้อนแล้ว เกรตาก็เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของตัวเองไปโดยสิ้นเชิง ด้วยการเลิกกินเนื้อสัตว์ ไม่ซื้อสิ่งของไม่จำเป็น เลิกขึ้นเครื่องบิน รวมถึงครอบครัวของเกรตาก็เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน โดยหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ขี่จักรยาน และปลูกพืชผักไว้กินเอง ความพยายามของเกรตาไม่หยุดเพียงเท่านั้น เพราะเธอพยายามทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ด้วยการโดดเรียนเพื่อไปนั่งประท้วงอย่างเงียบๆ เพียงคนเดียวบริเวณรัฐสภาช่วงก่อนถึงวันเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสวีเดนเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา เพื่อให้นักการเมืองรับรู้ถึงปัญหาโลกร้อนเข้าขั้นวิกฤตและควรได้รับการแก้ไข ช่วงแรกเกรตาโดดเรียนหลายวันเพื่อมานั่งประท้วงเงียบหน้ารัฐสภา […]Read More
แม้จะเป็นประเทศที่ (เคย) สงบสุขที่สุดในโลก แต่การครอบครองปืนในนิวซีแลนด์กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจำนวนอาวุธปืนของเอกชนเพิ่มขึ้นจากราว 900,000 กระบอก ในปี 2548 เป็นประมาณ 1.5 ล้านกระบอก ในปี 2560 Reasons to Read แม้จะเป็นประเทศที่ (เคย) สงบสุขที่สุดในโลก แต่การครอบครองปืนในนิวซีแลนด์กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจำนวนอาวุธปืนของเอกชนเพิ่มขึ้นจากราว 900,000 กระบอก ในปี 2548 เป็นประมาณ 1.5 ล้านกระบอก ในปี 2560 ที่น่าแปลกใจก็คือไม่มีข้อกำหนดในการลงทะเบียนอาวุธปืน ดังนั้น หลังจากได้รับใบอนุญาตแล้ว เจ้าของสามารถสั่งซื้อปืนออนไลน์ได้ ซึ่งข้อนี้ดูเหมือนจะเป็นที่มาของปืนที่ใช้ก่อเหตุในไครสต์เชิร์ช Jacinda Ardern นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ประกาศเปลี่ยนแปลงกฎหมายอาวุธปืนของประเทศ หลังเกิดเหตุกราดยิงมัสยิด 2 แห่งในเมืองไคร์สเชิร์ช ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 50 รายและบาดเจ็บอีก 50 ราย และจะประกาศให้ทราบภายใน 10 วัน นับจากนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศปลอดภัยยิ่งขึ้น ปัญหาอาวุธปืนในนิวซีแลนด์น่าเป็นห่วงแค่ไหน? ผู้เชี่ยวชาญ […]Read More
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีมูลค่าเป็น 1 ใน 5 ของเศรษฐกิจและเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ และปัจจุบันตลาด LGBT ได้กลายเป็นกุญแจสู่ความมั่งคั่งของการท่องเที่ยวไทย Reasons to Read อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีมูลค่าเป็น 1 ใน 5 ของเศรษฐกิจและเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ และปัจจุบันตลาด LGBT ได้กลายเป็นกุญแจสู่ความมั่งคั่งของการท่องเที่ยวไทย คาดว่ารายได้จากตลาดการท่องเที่ยวขาเข้าของกลุ่ม LGBT จะอยู่ที่ประมาณ 5.3 พันล้านดอลลาร์ซึ่งคิดเป็นประมาณ 8.4% ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ขณะที่กระทรวงการท่องเที่ยวของประเทศคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 41 ล้านคนในปีนี้ ในช่วงที่การท่องเที่ยวจากบางประเทศในยุโรปและตะวันออกกลางได้ชะลอตัวลง นักท่องเที่ยว LGBT จึงสามารถเพิ่มรายได้ให้กับการท่องเที่ยวของไทยได้ ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับความสัมพันธ์และสิทธิ์ของคนหลากหลายทางเพศ และหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอย่าง ‘การท่องเที่ยว’ ก็ได้ให้ความสนใจในประเด็นนี้เช่นกัน ท่ามกลางบรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งที่เข้มข้นขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต (พ.ร.บ.คู่ชีวิต) ที่จะให้สิทธิ์ทางฎหมายกับคนรักเพศเดียวกันมากขึ้น (แต่ยังไม่รองรับการสมรส) และเร่งเสนอไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แม้ว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะยังไม่กลายเป็นกฎหมายแต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในฐานะประเทศที่เป็นมิตรกับชาว LGBT โดย ‘ศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์’ รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า […]Read More
การบริหารทรัพย์สินแบบ Blind Trust คืออะไรเงื่อนไขในการโอนทรัพย์สินในกรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นแบบไหนนักการเมืองคนไหนเคยใช้บริการบริษัทจัดการหุ้นบ้าง ‘Blind Trust’ อาจจะไม่ค่อยเป็นที่คุ้นเคยของคนไทยจำนวนมาก กระทั่งวันนี้ (18 มีนาคม) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้แถลงข่าวถึงการจัดการทรัพย์สินของตนโดยการโอนทรัพย์สินให้ ‘บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (บลจ.ภัทร)’ จัดการแบบ Blind Trust เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำทางกฎหมาย และสร้างมาตรฐานจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใหม่ให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เงื่อนไขในการโอนทรัพย์สินครั้งนี้มีอยู่ว่า 1.นายธนาธรจะไม่สามารถกระทำการใดๆ ที่มีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหาร ครอบงำ หรือออกคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของตนเองได้ 2.เพื่อป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน บริษัทจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดให้นายธนาธรหรือบุคคลอื่นใดได้รับทราบถึงรายละเอียดการบริหารจัดการทรัพย์สินทั้งหมด และ 3.บริษัทจะต้องไม่เข้าไปลงทุนเป็นหุ้นส่วนในบริษัทที่เป็นคู่ค้ากับรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานรัฐใดๆ นอกจากนี้นายธนาธรยังได้ระบุถึงบางส่วนของเงื่อนไขที่อยู่ใน MOU ระหว่างตนกับ บลจ.ภัทร คือจะต้องไม่ซื้อหุ้นไทยทุกตัว และถ้าจะลงในหุ้น ต้องลงทุนในหุ้นต่างประเทศอย่างเดียว เพื่อจำกัดข้อครหาทุกกรณีว่านโยบายที่ออกไปนั้นจะเอื้อต่อผลประโยชน์ส่วนตน พร้อมระบุเงื่อนไขการได้กรรมสิทธิ์ในการบริหารจัดการทรัพย์สินกลับมาเป็นของตัวเองไว้ว่าจะต้องผ่านไปแล้ว 3 ปีหลังจากพ้นตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น สำหรับความหมายของการบริหารทรัพย์สินแบบ Blind Trust ก็คือการมอบให้นิติบุคคลหรือบริษัทจัดการทรัพย์สินที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ ซื้อขายหุ้น พันธบัตร […]Read More
ความหวาดกลัวเรื่องแม้หลังเลือกตั้งการเมืองก็จะยังไม่สงบ ยังคงอยู่ในความรู้สึกหวาดวิตกระแวงของประชาชน ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไร สัญญาณสำคัญที่ทำให้ความหวาดกลัวนั้นเกิดขึ้น 24 มีนาคมนี้ คือวันกาบัตรเลือกตั้ง ครั้งนี้มีการประเมินว่า จะมีผู้มาออกเสียงเลือกตั้งจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งก็มีหลายสาเหตุที่ทำให้คนสนใจเลือกตั้งเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งที่อยู่ในความรู้สึกหลายๆ คนก็คือครั้งนี้เป็นการเลือกระบบว่า จะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารต่อไป หรือจะเป็นรัฐบาลพลเรือน ที่จะเข้ามารื้อระบบที่รัฐบาลทหารได้วางไว้ ซึ่งเป็นนโยบายที่ฝ่ายนักการเมืองใช้หาเสียงว่า ระบบที่จะต้องสะสางคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การรื้อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไปจนถึงการปฏิรูปกองทัพ ซึ่งอาจมีเหตุผลแฝงไปถึงการป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหารซ้ำในอนาคต การรื้อสร้างระบบต่างๆ ที่รัฐบาลทหารอยู่ยาวเกือบ 5 ปีวางไว้นี่เอง ทำให้การเลือกตั้งเที่ยวนี้กลายเป็นการเลือกตั้งที่เดิมพันสูง เพราะฝ่ายไหนแพ้ก็อาจถูกเช็กบิลหรือลดทอนอำนาจและบทบาท ซึ่งฝั่งรัฐบาลทหารแม้ประกาศตัวบ่อยครั้งว่าไม่ต้องการสืบทอดอำนาจ (และสร้างวาทกรรมใหม่ว่าเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ทำเพื่อประชาชน ตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคพลังประชารัฐ พูดไว้ในวันที่ลงพื้นที่ตรวจราชการที่ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา ) แต่ก็มีการวางกลไกที่เอื้อต่อการได้รับการโหวตกลับเข้ามาเป็นนายกฯ ได้อย่างมีนัยสำคัญ คือการมีเสียงวุฒิสภาที่ร่วมโหวตตุนไว้ในมือ 250 เสียง (และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว. กลาโหม […]Read More
สองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเครื่องบิน Boeing 737 Max 8 ในเวลาไล่เลี่ยกัน สร้างความกังวลให้กับสายการบินทั่วโลกที่ทำการบินด้วยเครื่องบินรุ่นดังกล่าว กระทั่งมีการประกาศห้ามใช้และห้ามเครื่องบินรุ่นนี้บินผ่านน่านฟ้าในหลายประเทศทั่วโลก Reasons to Read สหรัฐฯ ยังคงมีท่าทีที่สวนทางกับนานาชาติ การตรวจสอบของ FAA ไม่พบปัญหาเกี่ยวกับสมรรถนะของระบบ จึงไม่มีเหตุผลที่จะสั่งให้จอดแช่เครื่องบินรุ่นนี้ กพท. ได้ออกคำสั่งด่วนไปยังสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ให้ทำการยุติการทำการบินโดยใช้เครื่องบิน Boeing 737 Max 9 ในทุกเส้นทาง จากเหตุการณ์เครื่องบิน Boeing 737 Max 8 ของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลนส์ ประสบอุบัติเหตุตกทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงแอดดิสอาบาบา เมืองหลวงของเอธิโอเปีย ขณะมุ่งหน้าไปยังประเทศเคนยา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา คร่าชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือ รวม 157 ชีวิต นับเป็นโศกนาฏกรรมทางการบินครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นกับเครื่องบิน Boeing 737 Max 8 ในรอบ 5 เดือน โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว กับสายการบินไลออนแอร์ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ […]Read More
กฏหมายข้อหนึ่งของอินเดียระบุว่าผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเกินกว่า 2 กิโลเมตร ทำให้มีการเคลื่อนย้ายคูหาฯ ไปทั่วประเทศ ตั้งแต่การใช้อูฐผ่านทะเลทรายธาร์ เดินเท้าในแถบเทือกเขาหิมาลัย ไปจนถึงการใช้เรือเร็วในแถบหมู่เกาะอันดามัน การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดียที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายนนี้จะมีขึ้นอีกครั้ง หลังจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้มาลงคะแนนเสียงมากถึง 900 ล้านคน นับเป็นการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้กินเวลานานถึง 6 สัปดาห์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศอินเดียคือ นายนเรนทระ โมดี นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 จากพรรคภารติยะ ชนะตะ หรือ บีเจพี เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 หลังชนะการเลือกตั้งที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงรวม 541 ล้านคน จากทั้งหมดราว 814.5 ล้านคน โดยการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้คู่แข่งคนสำคัญของนายโมดีคือ นายราหุล คานธี จากพรรคคองเกรส ที่มีคะแนนความนิยมสูสีกันอย่างน่าลุ้น แต่ก็คาดกันว่านายโมดีจะแซงขึ้นมาได้จากเหตุการณ์เปิดฉากโจมตีทางอากาศกับประเทศปากีสถานเมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งอาจเป็นการปลุกกระแสชาตินิยมของคนในประเทศ การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศอินเดียที่มีกำหนดจะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายนนี้ นอกจากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงจำนวนมหาศาลที่ทำให้ต้องใช้เวลานานแล้ว ก็มีกฏหมายข้อหนึ่งซึ่งระบุว่าผู้ลงคะแนนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปลงเสียงไกลเกินกว่า 2 กิโลเมตร ทั้งเพื่อความสะดวกต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความเรียบร้อย และง่ายต่อการใช้กฏหมายในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากประเทศอินเดียมีเขตการปกครองมากกว่า 29 รัฐ และ […]Read More
เมื่อกระบวนการผลิตทุกอย่างเสร็จสิ้น SLS จะเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลก จากนั้นมีเป้าหมายพาลูกเรือเดินทางรอบดวงจันทร์และกลับมายังโลกในภารกิจที่สอง Exploration Mission-2 (EM-2) ในปี 2566 องค์การนาซ่า (NASA) ประกาศความคืบหน้าการพัฒนาระบบปล่อยยานอวกาศรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Space Launch System หรือ SLS ด้วยการตั้งความหวังในการสร้างระบบการขนส่งเพื่อนำมนุษย์อวกาศในอนาคตไปสู่ดวงจันทร์และไกลกว่านั้นให้ได้ หลังจากที่ได้เริ่มดำเนินการออกแบบและผลิต SLS มาตั้งแต่ปีที่แล้ว สำหรับส่วนแรกของระบบใหม่คือแคปซูลลูกเรือที่ชื่อว่า ‘Orion’ วิศวกรกำลังอยู่ระหว่างทดสอบการทำงานของลูกเรือกับโมดูลบริการ (ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุม ขับเคลื่อน นำทาง แหล่งพลังงานไฟฟ้า) หากผลการทดสอบออกมาราบรื่น โมดูลจะถูกนำไปยังสถานี Plum Brook ขององค์การนาซ่า ในรัฐโอไฮโอ ของสหรัฐฯ จากนั้นจะทำการทดสอบในสุญญากาศ ความร้อน และการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า ก่อนจะส่งโมดูลกลับไปที่ Kennedy Space Center เพื่อทำการทดสอบขั้นสุดท้ายและนำไปรวมเข้ากับ SLS ส่วนที่สองของระบบคือ ‘จรวด SLS’ ซึ่งขณะนี้การผลิตจรวดท่อนกลางใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว และอีกส่วนหนึ่งของจรวดท่อนกลางที่กำลังดำเนินการอยู่คือส่วนของเครื่องยนต์ซึ่งอยู่ที่ด้านล่างของจรวดท่อนกลาง ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเชื้อเพลิงจรวดเข้าสู่เครื่องยนต์ RS-25 อันทรงพลังสี่ตัว เมื่อกระบวนการผลิตทุกอย่างเสร็จสิ้น SLS จะเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลก […]Read More
เอลล์ มิลส์ โพสต์วิดีโอชื่อตอน ‘Burn Out At 19’ บอกเล่าถึงความผิดหวังของตนเอง การเป็นยูทูเบอร์ไม่ใช่อาชีพในฝันของเธอ เพราะมันทำให้เธอเครียดและโดดเดี่ยว จนเกิดอาการหลอน และสติแตก “ฉันมีทุกอย่างที่ฉันเคยอยากได้อยากมี แต่ทำไมฉันกลับไม่มีความสุข?” Reasons to Read การอยู่หน้ากล้องให้ใครคอยเฝ้าดู ติดตาม สร้างผลกระทบทางจิตใจ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้แต่ดาราฮอลลีวูดเองก็มีปัญหา และต้องพึ่งพาจิตแพทย์ แต่เหล่า Influencer นับเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากว่าพวกเขาส่วนใหญ่ยังเป็นคนรุ่นหนุ่มสาว หลายคนอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องเผชิญกับการแข่งขัน ต้องกระชับความสัมพันธ์กับแฟนๆ ที่คอยตามติดแจ จนแทบไม่เหลือช่องว่างสำหรับความเป็นส่วนตัว จิตแพทย์ ครู นางแบบ… ล้วนเป็นอาชีพที่บรรดาเพื่อนๆ ของเธอใฝ่ฝันอยากเป็น ตรงข้ามกับ เอลล์ มิลส์ (Elle Mills) ที่รู้มาตั้งแต่เด็กแล้วว่า เธอใฝ่ฝันอยากเป็นยูทูเบอร์ ตอนอายุ 15 ปี หลังจากเรียนจบไฮสกูล สาวลูกครึ่งฟิลิปปินส์-แคนาเดียนก็เลือกการถ่ายวิดีโอเป็นงานจ๊อบ เธอถ่ายตัวเองเมื่อครั้งแรกที่เธอไปเที่ยวคลับ พยายามอัดลูกโป่งจำนวน 4,000 ลูกเข้าไปในบ้าน […]Read More
ทีมนักวิจัยจากเนเธอร์แลนด์ ได้รายงานผลการรักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีสำเร็จในผู้ป่วยรายที่ 3 ของของโลก ในนาม ‘ผู้ป่วยดุสเซลดอร์ฟ’ และยังบอกด้วยว่ามีโอกาสที่จะได้เห็นผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ได้รับการรักษาจนหายรายที่ 4 และ 5 ตามมาเร็วๆ นี้ Reasons to Read ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีอีกสองคน (ที่คาดว่าจะเป็นผู้ป่วยรายที่ 4 และ 5 ของโลกที่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้) ยังคงใช้ยาต้านไวรัสหลังจากได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเหมือนกับผู้ป่วย 3 รายแรก หากผู้ป่วย 2 รายนี้ตอบสนองในลักษณะเดียวกับผู้ป่วยอีกสามคน คือการกำจัดเชื้อไวรัสเอชไอวีอย่างเห็นได้ชัดเมื่อพวกเขาหยุดใช้ยาต้านไวรัส อาจทำให้พูดได้อย่างมั่นใจมากขึ้นว่า “โรคเอดส์รักษาได้” การรักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีสำเร็จในผู้ป่วยรายแรกของโลกได้รับการยืนยันหลังจากผู้ป่วยในนาม ‘ผู้ป่วยเบอร์ลิน’ เข้ารับการรักษาที่กรุงเบอร์ลินของเยอรมนี ระหว่างปี 2550-2551 โดยใช้วิธีปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ซึ่งได้รับจากผู้บริจาคที่มียีนกลายพันธุ์ ccr5 delta 32 หลังจากนั้นเป็นเวลานานถึง 12 ปี แวดวงการแพทย์ต้องฮือฮาอีกครั้ง เมื่อ Ravindra Gupta ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อไวรัสเอชไอวี/เอดส์ แห่ง University College London เปิดเผยผลการรักษาด้วยวิธีเดียวกันในผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีรายหนึ่งในนาม ‘ผู้ป่วยลอนดอน’ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ […]Read More