“เรารู้กันดีว่าเรื่องบนเตียง มักแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเสมอ แต่ทั้ง ๆ ที่ตกลงเริ่มกิจกรรมนี้ด้วยกัน แต่ทำไมความสุขที่พวกเขาได้รับกลับไม่เท่ากัน? โดย 86% ตอกย้ำว่าอยากให้คู่ของเธอเล้าโลมมากขึ้น และมากกว่า 72% ของผู้หญิงไม่ฟินกับเซ็กส์เท่าที่ให้ และ 57% ของผู้หญิงแกล้งถึงจุดสุดยอดขณะมีเซ็กส์” นับเป็นเสียงสะท้อนเล็กๆ ที่ทำให้เห็นถึงปัญหาเรื่องบนเตียงที่ถูกมองข้ามโดยไม่รู้ตัวและกลายเป็นปัญหาใหญ่ในความสัมพันธ์ ได้ในที่สุด เมื่อพูดถึง “ความไม่เท่าเทียม” คุณนึกถึงอะไร? ความไม่เท่าเทียมเรื่องเพศ ฐานะ หรือสังคม? แต่รู้หรือไม่ยังมีเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหามาตลอด แต่กลับไม่ได้รับการพูดถึงมาก นั่นก็คือ “ความสุขที่ไม่เท่าเทียมเรื่องเซ็กส์” โดย ดูเร็กซ์ “Durex” ได้รวบรวมผลการศึกษาและสำรวจความพึงพอใจกับเรื่องเซ็กส์และกิจกรรมบนเตียงของกลุ่มตัวอย่างคนไทยกว่า 500 คน ระหว่างช่วงอายุ 18-35 ปี พบว่า “ความสัมพันธ์และกิจกรรมบนเตียงนับเป็นเรื่องที่กระชับความสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีความต้องการบางเรื่องที่สามารถพัฒนาความสุขเพิ่มขึ้นได้ โดยพบว่า ผู้หญิงกว่า 86% ต้องการให้อีกฝ่ายสร้างบรรยากาศ และกระตุ้นอารมณ์ ผ่านการเล้าโลมเพื่อเพิ่มความสุขก่อนเริ่มกิจกรรมบนเตียงมากขึ้น และมากกว่า 90% ของผู้หญิงมีความสุขมากขึ้นจากการตอบสนองความต้องการของอีกฝ่าย สิ่งนี้ชี้วัดให้เห็นว่าเรื่องเล็กๆ อย่างการสร้างความรู้สึกร่วมและการกระตุ้นความสุขก่อนเริ่มทำกิจกรรมเป็นสิ่งสำคัญและควรให้ความใส่ใจมากกว่าขึ้น โดยผลการสำรวจยังพบประเด็นที่น่าตกใจว่า คนไทยส่วนมากแกล้งถึงจุดสุดยอดเพื่อให้อีกฝ่ายพึงพอใจ […]Read More
มลพิษทางเสียง หรือ Noise Pollution เป็นปัญหาที่แฝงอยู่ในสังคมไทยมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงในสังคมเมือง ทั้งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และเสียงที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่อาจทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดเสียงรบกวน หรือมลพิษทางเสียงได้ ซึ่งเสียงนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของมนุษย์ได้ ดังนั้นถ้าเรามีมีความรู้เกี่ยวกับเสียงรบกวนที่ถูกต้อง และตระหนักถึงความสำคัญของเสียง พร้อมที่จะป้องกัน และแก้ไขมลพิษทางเสียงร่วมกัน เสียงก็จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น ผศ. ดร.ณัชนันท์ ชิตานนท์ ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่าตามคำแนะนำของกรมควบคุมมลพิษ ระดับเสียงที่ปลอดภัยต่อหูในการรับเสียงต่อเนื่องไม่เกิน 24 ชั่วโมงนั้นไม่ควรเกิน 70 เดซิเบลเอ (dBA)และองค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะนำว่าเสียงที่ได้ยินต่อเนื่องนาน 8 ชั่วโมง ไม่ควรเกินที่ระดับ 85 เดซิเบล เอ (dBA) และระดับเสียงที่ต้องหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่งคือระดับความดังของเสียงตั้งแต่ 120 เดซิเบล เอ (dBA) เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อหูโดยตรง ทำให้สูญเสียการฟังอย่างถาวรได้ โดยความดังของเสียงในแต่ละระดับจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป อาทิ เสียงพูดโดยปกติทั่วไปของคนเราจะอยู่ที่ 50 – 60 เดซิเบล เอ […]Read More
โรงพยาบาลวิมุต (ViMUT) โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำใจกลางกรุงเทพฯ เดินเกมรุกตลาดบริการสุขภาพเต็มที่ ตอกย้ำวิสัยทัศน์สู่การเป็น“โรงพยาบาลแบบองค์รวม” เพื่อมอบบริการทางการแพทย์แบบครอบคลุม พร้อมรองรับตลาดบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย ในยุคที่เมืองไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ด้วยการเปิดตัวViMUT Life Link บริการแจ้งเตือนและช่วยเหลือฉุกเฉินจากบ้าน ตอบโจทย์ครอบครัวสมัยใหม่ที่ทุกคนต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เสมือนมีแพทย์และพยาบาลคอยดูแลผู้สูงวัยตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยค่าบริการเฉลี่ยเพียงเดือนละพันกว่าบาท มั่นใจได้รับความนิยมในกลุ่มคนเมืองที่ต้องการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน นพ.สันติ เอื้อนรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า “เราจะเร่งขยายระบบนิเวศการดำเนินงานทางด้านการแพทย์ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของสังคมไทย ที่จะมีเครือข่ายทั้งคลินิก ศูนย์กายภาพ ศูนย์ดูแลและบริบาลผู้สูงวัย รวมถึงบริการดูแลสุขภาพถึงบ้าน (Health to home) เพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่และตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบันได้อย่างครอบคลุม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันที่ทั่วโลกกำลังเข้าสู่สถานการณ์ผู้สูงวัยที่จะมาพร้อมกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวนมาก เราจึงมุ่งยกระดับสู่การเป็นโรงพยาบาลแบบองค์รวม เพื่อจับฐานลูกค้าสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยบริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพแบบครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ ครอบคลุมถึงการวินิจฉัยโรค การบําบัด และการปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี ” “นอกจากนี้ โรงพยาบาลวิมุตยังยกระดับความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาล บริษัทประกัน และสถาบันองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้วิทยาการทางการแพทย์ของเราก้าวหน้า ส่งผลถึงการพัฒนาบุคลากรที่ช่วยให้การกระจายตัวของบริการเป็นไปได้อย่างทั่วถึง” นพ.สันติ เอื้อนรเศรษฐ์ กล่าว ฝ่าย นพ. […]Read More
ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “รวย” ผู้คนส่วนใหญ่มักนึกถึงคนที่มีทรัพย์สินมาก หรือพูดง่ายๆ คือคนที่มีเงินหรือมีทรัพย์สินเยอะ ในขณะที่ความมั่งคั่งนั้น ถ้ามองกันให้ลึก ๆ แล้ว จะเป็นภาพที่กว้างกว่าและครอบคลุมมากกว่าเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง หลายครั้งมุมมองที่เกี่ยวข้องกับความมั่งคั่ง ผนวกรวมไปทั้งเรื่องทรัพย์สิน สุขภาพ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือครอบครัว คุณค่าของตัวเรา และทัศนคติของผู้นั้น ที่มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีความสุข ดังนั้น หากกล่าวรวม ๆ แล้วจะเห็นว่าคนที่มั่งคั่งนอกจากเป็นคนที่มีทรัพย์สินมากพอที่จะใช้ได้อย่างไม่ขัดสนแล้วยังรวมถึงการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง เป็นคนที่ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นเสมอ และมีเวลามากพอที่จะทำอะไรก็ได้อย่างที่อยากทำโดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งความมั่งคั่งนี่เองอาจมองได้ว่าเป็นภาพรวมของชีวิตที่มีความสุข แม้ว่าเงินจะเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยตั้งคำถาม หรือวางแผนว่า เมื่อถึงชวงอายุหนึ่งแล้วจะต้องมีเงินทองหรือทรัพย์สินเท่าไรในการเลี้ยงชีพ เช่น เมื่ออายุเข้าสู่สัย 50 ปี 60 ปี 70 ปี จนเลยไปถึง80 ปี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดแผนงานหรือแนวทางในการสร้างการออมให้กับตัวเอง สุขภาพ…. ปัจจัยสำคัญแห่งความมั่งคั่ง ธรรมชาติได้ออกแบบมาให้ร่างกายของมนุษย์ มีการเคลื่อนไหวในหลากหลายอิริยาบถอย่างสม่ำเสมอ การขยับร่างกายน้อยเกินไป ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ กล้ามเนื้ออักเสบ ภาวะไขมัน และน้ำตาลในเส้นเลือดสูง […]Read More
หากนิยามความเป็นนายแพทย์ โอฬาริก มุสิกวงศ์ สามคำนี้คงเหมาะที่สุด เพราะสำหรับคุณหมอหนุ่มคนรุ่นใหม่วัยเลข 4 ต้นๆ ท่านนี้ ไม่ได้มองการจับมีดผ่าตัด เป็นแค่เครื่องมือรักษาผู้ป่วย แต่เขามองไกลไปยิ่งกว่า คือทำอย่างไรจะสกัดกั้นหรือลดความเจ็บป่วยของผู้คน ก่อนที่จะเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยขึ้น เพื่อจะได้ไม่มีคนไข้มาหาหมออย่างเขาด้วยความคิดเช่นนี้จึงเป็นแรงผลักให้ นพ.โอฬาริก หรือ หมอโอ ที่คนไข้เรียกกันจนติดปาก ไม่หยุดอยู่แค่การทำหน้าที่แพทย์ แต่จุดประกายให้คิดนอกกรอบบูรณาการหลายๆ หนทาง หันไปสวมบทบาทนักการศึกษา, นักพัฒนา Health Tech, ไปจนถึงการเป็นนักพัฒนาเมือง เพื่อหวังยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดี จากตำแหน่งงานที่คุณหมอโอเข้าไปมีส่วนร่วมหลากหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลักอย่าง สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและเป็นตัวตั้งตัวตีโครงการรณรงค์ท้องไม่พร้อม และอีกหลากหลายโครงการ ไปจนถึงบทบาทประธานแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของแผนกสูติกรรม จังหวัดปราจีนบุรี, ประธานคณะอนุกรรมการการศึกษา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, คณะกรรมการการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ประเทศไทย, ที่ปรึกษาโครงการดิจิทัลฟอร์ไทยของเอไอเอส, ที่ปรึกษาสมาคม Health Tech Startup ประเทศไทย และยังไม่รวมตำแหน่งในองค์กรต่างประเทศการพาตัวเองเดินไปบนเส้นทางที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน แต่คุณหมอโอบอกว่าทุกบทบาทเกิดขึ้นจากแก่นแท้เพียงเรื่องเดียว คือ ทำอย่างไรให้คนสุขภาพดี ไม่ต้องมาเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล นั่นหมายถึงการยกระดับการดูแลความเป็นอยู่ด้านสุขภาพที่ดี (Healthcare) “หลังจบด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นไปต่อเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยมหิดล […]Read More
ในการใช้ชีวิตประจำวัน นอกเหนือจากสุขภาพร่างกายที่ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีแล้ว สุขภาพผิวและการบำบัดทางอารมณ์ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการฝ่าฟันสภาพแวดล้อม มลภาวะ บวกกับการเผชิญปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา ก่อให้เกิดความเครียดสะสมภายใน ส่งผลให้ผิวลดความอ่อนวัย หมองคล้ำ แก่ตัวลงอย่างน่าใจหาย ซึ่งการดูแลสุขภาพผิวและบำบัดทางอารมณ์ ก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่หนึ่งในรูปแบบที่นิยมเป็นอย่างมาก แม้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่บ้างนั่นคือ ‘การทำสปาทรีทเมนต์’ ที่ผู้เชี่ยวชาญ จะบำบัดทั้งผิวที่แก่ตัว และปลดเปลื้องความอ่อนล้าของอารมณ์ ให้กลับสู่ภาวะสงบ เป็นปกติ พร้อมสู้กับวันใหม่ได้ดังใจ การทำสปาทรีทเมนต์ในแต่ละที่ ต่างก็มีเอกลักษณ์ กระบวนการ และจุดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่ง ‘Valmont Spa’ หนึ่งในแฟรนไชส์สปาระดับโลก ก็มีเทคนิคในการบำรุงผิวและบำบัดความตึงเครียด ผ่อนคลายทางอารมณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ และผ่านการทดสอบว่ามีประสิทธิภาพจริง //การนวดหน้าแบบ ‘Butterfly Motion’// หากใครที่ได้สัมผัสกับการทำสปาทรีทเมนต์มาบ้าง ก็คงจะทราบกันดีว่า กระบวนการ ‘นวดหน้า’ จัดเป็นขั้นตอนที่ต้องมี และสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์แล้ว ยังเป็นส่วนที่ทำให้เนื้อครีม สามารถเข้าซึมลึกถึงชั้นผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ Valmont Spa ก็ได้พัฒนารูปแบบการนวดหน้า จนกลายมาเป็น ‘Butterfly Motion’ ที่ขับเน้นส่วนลำคอ ใบหน้า และส่วนที่มักจะลงเครื่องสำอางประทินผิว […]Read More
ข่าวการเสียชีวิตของศิลปินชื่อดังเมื่อไม่นานมานี้ คงทำให้เราได้ยินชื่อ “ไทรอยด์เป็นพิษ” บ่อยขึ้น แต่หลายคนก็ยังคิดว่า “มันไม่ใช่โรคที่พบกันได้บ่อย ๆ คงไม่เป็นอะไร” แต่รู้หรือไม่ว่า ไทรอยด์เป็นพิษเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับเราได้ทุกคน หลายคน ๆ อาจเคยมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้แล้ว แต่ไทรอยด์เป็นพิษกลับเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปยังอาจไม่เข้าใจว่ามันเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน หรือใครที่เสี่ยงต่อโรคนี้บ้าง วันนี้ นพ. ปริญญา สมัครการไถ อายุรแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลวิมุต จะมาอธิบายอย่างง่าย ๆ ให้เราเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น แถมวิธีสังเกตอาการที่น่าสงสัยซึ่งอาจนำไปสู่ไทรอยด์เป็นพิษได้ “ไทรอยด์ไม่เหมือนโรคทั่วไปที่เราจะรักษาตัวเองได้ ถ้าเรามีอาการที่น่าสงสัย สิ่งเดียวที่ทำได้และต้องทำทันทีก็คือรีบมาพบแพทย์เฉพาะทาง ทำการตรวจค่าไทรอยด์เพื่อค้นหาสาเหตุและทำการรักษาตามสาเหตุเท่านั้น” นี่คือสิ่งแรกที่ นพ. ปริญญา เตือนเกี่ยวกับโรคไทรอยด์เป็นพิษ แล้วไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร? “ง่าย ๆ ก็คือการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป หรือต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบจึงมีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาสูงผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไทรอยด์ ก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้น อีกปัจจัยก็คือเกี่ยวกับการแพ้ภูมิตัวเองหรือ Autoimmune ซึ่งร่างกายจะผลิตสารบางอย่างที่กระตุ้นให้ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนสูงขึ้น สรุปก็คือโรคนี้เป็นความผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้ และอย่างที่กล่าวไป โรคนี้ใคร ๆ ก็เป็นได้ – แต่ก็รักษาได้เช่นกัน” แม้โรคนี้จะมีสาเหตุหลัก ๆ […]Read More
ทำงานไม่พัก รักงานไม่หยุด ใครเป็นแบบนี้บ้าง แน่นอนว่าสำหรับหลายคน งานคือเครื่องพิสูจน์ความสามารถ ความสำเร็จ ความรับผิดชอบและคุณค่าทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง แต่อย่าลืมว่าถ้าโหมงานหนักเกินไปหรือจดจ่ออยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเกิด ‘ออฟฟิศซินโดรม’ (Office Syndrome) โรคยอดฮิตที่ได้ยินชื่อกันมานาน แต่คนรักงานไม่เคยสลัดให้หลุดได้ซักที แถมอาการก็ไม่ใช่เล่น ๆ เพราะอาจลามไปสู่ปัญหาใหญ่ได้ภายหลัง ก่อนจะสายไป เราลองมาทำความรู้จักโรคนี้ พร้อมวิธีป้องกันและผ่อนคลายให้ร่างกายกลับคืนสู่สมดุลกันดีกว่า ถึงไม่ได้ไปออฟฟิศก็เป็นออฟฟิศซินโดรมได้ ไม่ว่าตอนนี้ หลายคนจะเริ่มกลับไปทำงานที่ออฟฟิศหรือยังคงทำงานแบบ Work From Anywhere จะนอนอยู่บนเตียงหรือริมทะเล แต่รู้ไหมว่า สาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรมไม่ได้เกิดแค่จากการนั่งทำงานที่ออฟฟิศเท่านั้น แต่เป็นเพราะการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำนาน ๆ หรือใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการ การนั่งผิดท่า งอตัว ก้มหน้า ไขว่ห้าง ฯลฯ หากไลฟ์สไตล์หรืออุปนิสัยและความเคยชินของเราทำให้เกิดอิริยาบถเหล่านี้เป็นประจำก็จะทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมตามมาได้ไม่ยาก ปัญหานี้ไม่ได้กระทบแค่ คอ บ่า ไหล่สามจุดสำคัญที่ชาวสู้งานคุ้นเคยกันดี แต่ความจริงแล้วยังมีอาการอีกมากมายตามมา เช่น การปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดบริเวณหลัง เข่า ปวดตึงสะโพก รวมทั้งอาการของระบบประสาทอัตโนมัติและเส้นประสาทถูกกดทับ ทำให้ปวดหัวและไมเกรนกำเริบ นอนไม่หลับ ตาแห้ง ตาพร่ามัวและเหนื่อยล้า มึนงง […]Read More
Next Normal ของโลกยุคใหม่หลังผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของมนุษย์อย่างมหาศาล มนุษย์เห็นคุณค่าของการดูแลสุขภาพมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมดึงนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาสินค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ สร้างสุขอนามัย เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยให้เราได้ใช้ชีวิตทั้งการกิน การนอน และการออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจนเนอราลี่ ได้รวบรวม 7 เทรนด์สุขภาพที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มาแบ่งปันเป็นแนวทางการดูแลสุขภาพในอนาคตของเราให้ดียิ่งขึ้น เริ่มที่เทรนด์ยอดฮิตอย่าง Virtual Reality (VR) ที่ถูกนำมาปรับใช้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการรักษาสุขภาพและการออกกำลังกาย อย่างการจำลองห้องคลอดให้กลายเป็นบรรยากาศธรรมชาติทั้งภาพและเสียง เพื่อให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายในขณะคลอดบุตรแบบธรรมชาติ ลดความเจ็บปวดได้ดีขึ้นจากการคลอดในห้องคลอดปกติ รวมไปถึงการพัฒนาแว่นสำหรับการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้ออกกำลังกายมีความสนุกมากยิ่งขึ้น ต่อด้วยเทรนด์ หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วย กำลังจะกลายมาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญให้กับผู้ป่วยทั่วโลก เพราะด้วยนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาให้สามารถจดจำพฤติกรรมปกติของผู้ป่วย ช่วยเหลือผู้ป่วยหากเกิดเหตุฉุกเฉินพร้อมทำหน้าที่พยาบาลอย่างใกล้ชิด ทั้งการเสิร์ฟยา น้ำ และอาหาร อุปกรณ์สวมใส่ไฮเทค (Wearable Devices) ถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ยอดนิยม ทั้งอุปกรณ์หูฟัง รวมถึง Smart Watch ที่ช่วยเฝ้าสังเกตสุขภาพของเราแบบเรียลไทม์ เช่น การนอนหลับ การออกกำลังกาย การหายใจ เป็นต้น โดยมีมูลค่าตลาดรวมทั่วโลกกว่า 81.5 พันล้านดอลลาร์ (ข้อมูลจาก […]Read More
“กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ประโยคคุ้นหูที่ได้ยินอยู่เสมอ ทราบกันเป็นอย่างดีว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก แต่บ่อยครั้งที่มักได้ยินการเสียชีวิตกระทันหันขณะออกกำลังกาย ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือนักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด แนวทางการประเมินความเสี่ยง และการดูแลให้การช่วยเหลือเมื่อพบผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจและ หลอดเลือด เพื่อความปลอดภัย และลดการเกิดการเสียชีวิตกะทันหันขณะออกกำลังกาย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จึงได้เปิดหลักสูตร ‘การออกกำลังกายในผู้ที่มีความเสี่ยงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด การช่วยชีวิต และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น’ ขึ้น เพื่อฝึกอบรมให้เกิดความเข้าใจในศาสตร์การออกกำลังกาย และการปฐมพยาบาลผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะโรคหัวใจ เนื้อหาสำคัญของหลักสูตรประกอบด้วย – การประเมินความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดการเสียชีวิตกระทันหันขณะออกกำลังกาย และเพื่อความปลอดภัยในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง -การดูแลช่วยเหลือเมื่อเกิดอาการผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดขณะออกกำลังกาย -การช่วยฟื้นคืนชีพผู้หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น Q&A Q: หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร? A: ผู้ที่ดูแลผู้ออกกำลังกาย ผู้สอนการออกกำลังกาย ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือผู้ที่สนใจ Q: หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง? A: เนื้อหาสำคัญของหลักสูตรนี้ประกอบด้วย – การประเมินความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดการเสียชีวิตกระทันหันขณะออกกำลังกาย และเพื่อความปลอดภัยในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง – การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดขณะออกกำลังกาย – การช่วยฟื้นคืนชีพผู้หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น […]Read More