ในประเทศไทยขณะนี้ กับแวดวงการแพทย์ ข่าวคราวของการขยายขอบเขตหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ ’30 บาทรักษาทุกโรค’ ให้ได้อีก 31 จังหวัดที่เหลือ ที่จะครบถ้วนทั้งประเทศ เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่า การเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างครอบคลุมนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งนำมาถึงการพูดคุยในประเด็น ‘การแพทย์ 3.0’ ที่เป็นนโยบายเชิงรุกครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ก่อนจะกล่าวกันถึงเรื่องการแพทย์ 3.0 นั้น อาจจะต้องอธิบายถึงรูปแบบและลักษณะการรักษาพยาบาลในยุคก่อนหน้า นั่นคือ -การแพทย์ 1.0: สังเกตลักษณะอาการที่เกิดขึ้น -การแพทย์ 2.0: การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งการแพทย์ 3.0 นั้น กล่าวโดยสรุป คือการรักษาในแบบเชิงรุก สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และป้องกันก่อนการเกิดโรค เน้นการดูแลสุขภาพจาก ‘การรักษาผู้ป่วยแบบเฉพาะโรค’ ไปสู่ ‘การป้องกันและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม’ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสองประการ คือ -ช่วยเวลาที่มีสุขภาพที่ดี (Healthspan) -อายุขัยที่ยืนยาว (Lifespan) สองประเด็นนี้แตกต่างกันอย่างมาก นั่นเพราะในการแพทย์ยุคก่อนที่รักษาตามอาการ ได้ขยายอายุขัยให้ยืนยาว แต่หลายครั้ง ช่วงเวลาที่มีสุขภาพที่ดี กลับไม่ยั่งยืนหรือยืนยาว เป็นรูปแบบของคุณภาพชีวิตที่ไม่เหมาะสม นอกจากนั้น แนวคิดนี้ยังให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่ละคน แทนที่จะใช้แนวทางเดียวกันสำหรับทุกคน […]Read More
ในชีวิตของคนวัยทำงาน แน่นอนว่าต้องพบเจอกับอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะทั้งทางกาย หรือทางใจ ความรุมเร้าของปัญหาที่ประดังเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน และแทบจะทุกวันในระยะเวลากว่า 8 ชั่วโมง/วัน (หรือมากกว่า….) สามารถทำให้พลังใจที่เคยมีอย่างท่วมท้นในช่วงเริ่มต้น ค่อยๆ มอดหมดไป จนอาจจะถึงระยะที่กลายเป็น ‘ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)’ อันเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการทางใจที่ไม่อาจมองข้าม ภาวะหมดไฟ หรือ Burnout Syndrome คือ ภาวะมลพิษทางอารมณ์ที่เกิดจากการสะสมความเครียดจากการทำงานมาในระยะหนึ่ง จนถึงที่สุดแล้ว ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าต่อกายและใจ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ขึ้นทะเบียนรองรับกลุ่มอาการดังกล่าว เป็นโรคใหม่ของคนยุคสมัยปัจจุบัน สาเหตุหลักของการหมดไฟและหมดใจ อาจจะสรุปเป็นกลุ่มสาเหตุได้ดังต่อไปนี้ เราสามารถสังเกตสภาวะของการหมดไฟได้จากอาการหลักๆ ที่เห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะความเหนื่อยล้าอ่อนแรง ไม่สดชื่น ไม่ตื่นตัวในการทำงาน เศร้าหดหู่ ท้อแท้ มีทัศนคติแง่ลบกับทั้งตนเองและคนที่อยู่รอบๆ ตัว และในระดับที่หนักหน่วงนั้น อาจจะถึงขั้นปลีกตัว หวาดระแวง อารมณ์แปรปรวน ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ปราศจากความสามารถในการบริหารจัดการ เป็นต้น อนึ่ง แม้ภาวะหมดไฟจะเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นทางใจ แต่ก็สามารถลุกลามส่งผลเสียต่อสุขภาพกายในระยะยาว และเป็นต้นเหตุของโรคไม่ติดต่อหลายชนิด ไม่ว่าจะทั้งการนอนที่ผิดปกติ น้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดอย่างมีนัยสำคัญ ความเครียด ความดัน […]Read More
ปัญหาสุขภาพ เป็นเรื่องที่รู้กันอยู่แล้วว่าปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาที่ต้องใส่ใจอย่างยิ่ง ซึ่งบางโรคได้แปรผันเป็นวงจรอันตรายที่วัยรุ่น-วัยทำงานควรระวังอย่างยิ่งนั่นคือ ‘ความเครียด’ ภัยเงียบกระตุ้นโรคเบาหวาน และนำไปสู่โรคอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ GM Live มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวจากนายแพทย์ ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล อายุรแพทย์ ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก โรงพยาบาลวิมุต ที่ได้อธิบายลักษณะของโรคเบาหวาน ความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดและโรคเบาหวาน พร้อมแนะนำวิธีจัดการความเครียดที่ป้องกันความเสี่ยงโรคเบาหวานในระยะยาว มานำเสนอต่อผู้อ่าน GM Live เพื่ออย่างน้อยจะได้เป็นข้อมูลเพื่อดูแลตัวในเบื้องต้น เพราะความเครียดกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานที่ต้องรับมือกับความเร่งรีบและแรงกดดันมากมาย และเนื่องจากหลายคนเลือกจัดการความเครียดด้วยการกินของหวาน เช่น ชานม ช็อกโกแลต โดนัท เพราะรสชาติอร่อย กินแล้วรู้สึกดี เยียวยาจิตใจ แต่การคลายเครียดด้วยของหวานบ่อย ๆ อาจเป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่ “โรคเบาหวาน” ได้เช่นกัน โดยสถิติของกรมควบคุมโรคชี้ว่า ในปี 2565 มีคนไทยป่วยเบาหวานสะสมถึง 3.3 ล้านคน และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 3 แสนคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง อ่อนเพลีย ตาพร่ามั่ว […]Read More
สุขภาพที่ดี 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ GM Live ให้ความใส่ใจเพราะเป็นเรื่องของสุขภาพที่ส่งผลโดยตรงต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งโรคนี้เป็นโรคยอดนิยมอันดับต้นๆ ของคนไทยเลยก็ว่าได้ ทั้งยังส่งผลต่อการเป็นโรคอื่นๆ ตามมาอีกด้วย การกำหนดวันนี้ขึ้นมาก็เพื่อสร้างความตระหนักและใส่ใจต่อการป้องกันโรคเบาหวาน ซึ่งริเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลกเพื่อสนองต่อการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจของเบาหวานทั่วโลก และวันนี้ยังตรงกับวันเกิดของเฟรเดอริก แบนติง (Frederick Banting) นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดา ผู้ร่วมกับนักศึกษาแพทย์ชาร์ลส์ เบสต์ (Charles H. Best) แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต ซึ่งเป็นคนแรกที่เข้าใจแนวคิดที่นำไปสู่การค้นพบอินซูลินใน พ.ศ. 2465 ทั้งนี้วันเบาหวานโลกยังเป็นการรณรงค์ภายใต้เน้นธีมใหม่ที่เลือกโดยสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติทุกปีเพื่อชี้ให้เห็นปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องเผชิญ โดยธีมในช่วงพ.ศ.2567- พศ.2569 จะเน้นไปที่โรคเบาหวานและความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแลและการสนับสนุนด้านความเป็นอยู่ที่ดีได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันโรคเบาหวานไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงมีอะไรบ้างนั้น GM Live ขอนำบทความ “ใครบ้าง ? เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน” โดย รศ. พญ.ฉัตรประอร งามอุโฆษ สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานได้ง่ายขึ้น […]Read More
ภาวะซึมเศร้า ว้าวุ่นกันเลยทีนี่..เมื่อ GM Liveได้รับข้อมูลว่าจิตแพทย์พบวัยรุ่นเครียดแซงวัยทำงาน 4 เท่า แนะพ่อแม่ต้องเป็นเซฟโซนให้ลูกหลังเด็กรุ่นใหม่เครียดหนัก เพราะความเครียดเป็นภาวะที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนเฉกเช่นการเกิดบาดแผลหรือบาดเจ็บบนร่างกาย และเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ในยุคที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดแรงกดดันในชีวิตประจำวันที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจจนก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่าความเครียด โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่นต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายด้าน ไม่ว่าจะเรียนการเรียน ครอบครัว เพื่อนฝูง และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ จนเกิดเป็นความเครียดสะสม ซึ่งบ่อยครั้งปัญหาเหล่านี้ของวัยรุ่นถูกมองข้ามจากครอบครัว เพราะผู้ใหญ่คิดว่าความเครียดของเด็กเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่รุนแรง ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นรู้สึกโดดเดี่ยวและเครียดมากกว่าเดิม จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ โดยในเรื่องนี้ GM Live มีบทความจากทางแพทย์หญิง เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช ศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุต ที่ได้ชวนผู้ใหญ่ให้มาทำความเข้าใจว่าความเครียดของวัยรุ่นก็เป็นเรื่องสำคัญไม่ต่างกับเรื่องของผู้ใหญ่เช่นกัน พร้อมทั้งแนะนำแนวทางที่ครอบครัวสามารถสนับสนุนวัยรุ่นให้มีสุขภาพจิตที่ดี ก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ความเครียด ปัญหาของวัยรุ่นที่ไม่ได้หายง่าย ๆ หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นคือ ความเครียด ภาวะอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด และไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่ง พญ.เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “บ่อยครั้งเวลาเราเจอปัญหาหรืออุปสรรคที่เข้ามาในชีวิต ก็เป็นเรื่องปกติที่ทำให้เรารู้สึกเครียด ซึ่งหลายคนพอเห็นว่าเด็ก ๆ เครียด ก็มักแนะนำให้ไปฟังเพลง […]Read More
นับว่าเป็นพฤติกรรมความคุ้นชินของหลายคนกับการหักนิ้วมือบ่อยๆ เพราะอาจทำให้รู้สึกว่าช่วยคลายเมื่อยนิ้ว เมื่อยมือได้ แต่ที่จริงแล้วพฤติกรรมเช่นนี้ส่งผลเสียอย่างมากแม้จะไม่ได้ส่งผลในทันที่ก็ตาม ทั้งนี้ GM Live ได้ไปเจอบทความของ ผศ. ดร. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากช่อง Rama Channel และเห็นว่ามีประโยชน์อย่างมาก เลยขอนำมาเผยแพร่ส่งต่อความรู้อีกช่องทางหนึ่ง หักนิ้ว แก้เมื่อย ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่ การหักนิ้วบ่อย ๆ ไม่ได้ส่งผลเสียหรืออันตรายโดยตรงกับข้อนิ้ว แต่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการข้อเสื่อมได้ ในคนที่เป็นโรคข้อเสื่อมอยู่แล้วการหักนิ้วจะทำให้ตัวข้อเสื่อมมากขึ้นหรือบางคนหักนิ้วแรงเกินไปอาจทำให้ข้อนิ้วอักเสบได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความหลวมของข้อทำให้เกิดอาการข้อหลวม เพราะว่าการหักนิ้วแต่ละครั้งมีการถูกยืดของปลอกหุ้มข้อหรือเส้นเอ็นต่าง ๆ ทำไมถึงชอบหักนิ้ว ? การหักนิ้วก่อให้เกิดความสบายและผ่อนคลาย ยิ่งกับคนที่ออกกำลังกายแล้วรู้สึกว่ามีข้อติดการหักนิ้วก็สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ส่วนใหญ่เกิดจากนิสัยและความเคยชิน หักนิ้ว แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ภายในข้อของกระดูกจะมีน้ำใส ๆ ที่มีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นข้อต่อต่าง ๆ ของกระดูกให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไหลลื่น ไม่ฝืดเคืองหรือเกิดการเสียดสีกันระหว่างกระดูก หากไปบิดหรือหักกระดูกนิ้วบ่อย ๆ ก็อาจจะเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างกระดูกให้เพิ่มมากขึ้นจนส่งผลให้แรงดันอากาศต่ำภายในข้อต่อเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้น้ำที่หล่อลื่นข้อต่ออยู่ไหลออกไปอยู่ในพื้นที่ช่องว่างนั้น ซึ่งเสียงที่ดังกร็อบแกร็บที่ได้ยินเป็นเสียงที่เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อไหลออกไปสู่พื้นที่ว่างที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ภายในข้อต่ออย่างรวดเร็ว ไม่ได้เป็นเสียงที่เกิดจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อ หักนิ้ว เสี่ยงนิ้วล็อกจริงหรือ การหักนิ้วบ่อย ๆ […]Read More
เรื่อง : ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์หัวใจ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก วันอัลไซเมอร์โลก เป็นอีกหนึ่งโรคที่ GM Live คิดว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะมีผู้ป่วยมากขึ้นทุกปี สำหรับภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งทางองค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ หรือ Alzheimer’s Disease International (ADI) ได้ประกาศให้วันที่ 21 กันยายน ของทุกปี เป็น‘วันอัลไซเมอร์โลก’ เพื่อรณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจถึงภัยเงียบของโรคนี้ และเพื่อเป็นการเพิ่มความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกต้องของภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ GM Live มีบทความดีๆ เกี่ยวกับ ออกกำลังกายอย่างไร..ในภาวะสมองเสื่อมและเป็นอัลไซเมอร์ จาก ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์หัวใจ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งมีประโยชน์ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย การออกกำลังกายกับภาวะสมองเสื่อม สมองเป็นอวัยวะที่เป็นศูนย์กลางการสั่งการต่างๆ ของชีวิตไว้ ตั้งแต่ควบคุมการ เคลื่อนไหวและความรู้สึกของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ตามแขนขาและลำตัวไปจนถึงกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ในเท้า มือ และใบหน้ารวมถึงการรับรู้ต่าง ๆ เช่นการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส และการสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย […]Read More
เมื่อพูดกันถึงเรื่อง ‘การออกกำลังกาย’ แล้วนั้น แน่นอนว่า เป้าหมายของการมีสุขภาพดี และมีรูปร่างที่สมส่วน คือปลายทางที่หลายคนต่างปรารถนา กระนั้นแล้ว หลายครั้งมักจะมีคำถามสำหรับคนที่ออกกำลังกายมาสักระยะหนึ่งที่ว่า ออกกำลังกายได้ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ หรือถ้าให้เจาะจงลงไปเฉพาะส่วน ก็คือ จะรู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายในตอนนี้ กำลังเผาผลาญไขมัน หรือดึงเอา กล้ามเนื้อ มาใช้? เราต้องมาทำความเข้าใจในเบื้องต้นกันก่อนว่า ทั้งไขมัน และกล้ามเนื้อ ต่างก็มี ‘น้ำหนัก’ ที่ไม่ต่างกัน แต่คุณสมบัติ การใช้งาน และผลลัพธ์ที่เห็นจากตาภายนอก แตกต่างกันอย่างมาก สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า น้ำหนักของเราในขณะนี้ เป็นน้ำหนักของกล้ามเนื้อ หรือไขมัน สามารถทำได้โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้เป็นเกณฑ์ประกอบ -ออกกำลังกายได้มากขึ้นหรือไม่ สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายมาเป็นเวลาระยะหนึ่ง จะเข้าใจได้ว่า การออกกำลังกายมีอยู่สองประเภทหลักๆ นั่นคือ การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน หรือ Weight Training และการออกกำลังกายเพื่อฝึกฝนกล้ามเนื้อหัวใจ หรือ Cardio ซึ่งทั้งสองแบบของการออกกำลังกายนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจขาดหรือละเลยอย่างใดอย่างหนึ่งไป นั่นเพราะการออกกำลังกายแบบแรงต้าน จะเป็นการฝึกฝนกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง และการออกกำลังกายแบบฝึกฝนหัวใจ จะช่วยเผาผลาญไขมันได้เป็นอย่างดีในระดับการเต้นหัวใจที่เหมาะสม คนที่มีกล้ามเนื้ออยู่มาก จะสามารถฝึกฝนทั้งสองรูปแบบได้อย่างเหมาะสม […]Read More
W9 Wellness Center เผยฝุ่นพิษ PM 2.5 ภัยเงียบสะสม คร่าชีวิตประชากรโลก 7 ล้านคนต่อปี พบประเทศไทยเผชิญฝุ่นพิษ อากาศแย่ติดอันดับ 5 ของเอเชีย และอันดับที่ 36 ของโลก ค่า PM 2.5 เฉลี่ย 23.3 ไมโครกรัม สูงกว่าค่าอากาศมาตรฐาน 4.7 เท่า WHO ชี้ค่า PM 2.5 อยู่ในกลุ่มฝุ่นพิษสารก่อมะเร็ง เป็นฉนวนกระตุ้นเกิดโรคภูมิแพ้ และโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ 5 กลุ่มเสี่ยง รับพิษจากฝุ่นจิ๋วเข้าสู่ร่างกาย นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญศึกหนักกับมลภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5 สารโลหะขนาดเล็กที่ลอยปนเปื้อนในอากาศแทบจะครอบคลุมทุกพื้นที่ เป็นภัยเงียบร้ายแรง ข้อมูลจาก IQAir Global ผู้ติดตามคุณภาพอากาศทั่วโลกรายงานว่า […]Read More
และแล้ว ประเทศไทยก็ย่างเข้าสู่เดือนเมษายน ที่อุณหภูมิความร้อน ทำท่าจะร้อนแรงมากยิ่งกว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะทะยานขึ้นไปสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสในหลายพื้นที่ แน่นอนว่า เมื่อสภาพอากาศร้อนแปรปรวนเช่นนี้ โรคภัยไข้เจ็บก็ย่อมถามหา GM Live และ นายแพทย์พงศ์ภากร ศรธนะรัตน์ แพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก จึงขอเชิญคุณให้มาเฝ้าระวัง ‘5 โรคที่มาพร้อมกับอากาศร้อน’ เพื่อให้สามารถป้องกันและดูแลตัวเอง ไม่ล้มหมอนนอนเสื่อในสภาวะอากาศเช่นนี้ไปเสียก่อน //โรคอาหารเป็นพิษ// เมื่อสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร สามารถเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดาย ทำให้อาหารบูดเน่าเสีย พบได้มากในอาหารที่ปรุงอย่างสุกๆ ดิบๆ และอาหารทะเลที่ต้องวางพักในสภาพอากาศปกติ อาการที่พบเห็นส่วนมาก มักจะเป็นอาการท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง หลังจากรับประทานอาหารปนเปื้อนในระยะ 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีอาการมาก จะมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะสีเข้ม หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมเวลาลุกนั่งเปลี่ยนท่า และอาจทำให้หมดสติได้ วิธีการป้องกันสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และอาหารที่ผ่านกระบวนการเก็บรักษาที่เหมาะสม รวมถึงการล้างมืดให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารด้วย //อหิวาตกโรค// เป็นอีกขั้นที่ต่อเนื่องจากอาหารเป็นพิษ เมื่อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่ปนเปื้อนในน้ำ อาหาร เกิดการปนเปื้อนในชุมชน […]Read More