เรื่อง : ตติยา แก้วจันทร์ ‘อายุเป็นเพียงตัวเลข’ ณิกษ์ อนุมานราชธน ชายหนุ่มใบหน้าคมเข้มบอกเราว่านี่คือสิ่งที่เขาเชื่อมาโดยตลอด หลังพิสูจน์ฝีมือด้วยการเปิด Vice Versa Cocktail ธุรกิจรับจัดงานเลี้ยงเกี่ยวกับเครื่องดื่มร่วมกับเพื่อนๆ ตั้งแต่อายุ 22 ปี ขณะกำลังเรียนชั้นปีที่ 4 ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันธุรกิจเขาขยายการเติบโตกลายเป็นบริษัท Vice Versa Company ที่นอกจากมีธุรกิจบาร์-ค็อกเทลทั่วกรุงเทพฯ แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นอะคาเดมี่ผลิตบาร์เทนเดอร์มีฝีมือดีรุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เมื่อราว 10 ปีก่อน ณิกษ์จับพลัดจับผลูไปทำงานเป็นเด็กยืนชงเหล้าหลังเคาน์เตอร์บาร์แบบงงๆ แต่เนื่องจากเป็นคนชื่นชอบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้ว เหตุการณ์ในครั้งนั้นจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นให้ก้าวเข้าสู่วงการบาร์เทนเดอร์ เขาได้ค้นพบเสน่ห์ของค็อกเทลว่าไม่ใช่เพียงเครื่องดื่มที่ทำให้มึนเมาเท่านั้น แต่ยังซ่อนเรื่องราวและวัฒนธรรมที่น่าหลงใหลไว้ภายใต้รสสัมผัสละมุนลิ้นนั้นอีกด้วย ค็อกเทลแต่ละรสชาติสามารถสะท้อนตัวตนและรสนิยมของผู้ดื่ม ซึ่งบาร์เทนเดอร์มีหน้าที่เนรมิตเมนูเหล่านั้นขึ้นมา หยิบสูตรคลาสสิกมาผสมคละเคล้ากับจินตนาการจนสามารถชงค็อกเทลรสชาติใหม่ๆ ออกมาให้ลิ้มลองกัน ศาสตร์แห่งการคิดค้นผสมผสานสูตรใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า ‘Mixology’ นี้ ทำให้ณิกษ์ตกหลุมรักศิลปะแห่งการชงอย่างถอนตัวไม่ขึ้น การทุ่มเทให้กับสิ่งที่รักอย่างจริงจังและทำงานร่วมกับทีมอย่างเป็นมืออาชีพ ทำให้ณิกษ์ต่อยอดธุรกิจด้านนี้ด้วยการเปิดบาร์ที่รองรับไลฟ์สไตล์ของผู้มีรสนิยมในการดื่มค็อกเทล เช่น Teens of Thailand Bar, Asia Today Bar, […]Read More
เรื่อง : สรรเสริญ พุทธรักษา ถึงผู้คนจะคุ้นเคยชายหนุ่มคนนี้ในฐานะ ‘สามี’ ของนางเอกคนดัง มิว-นิษฐา แต่หากข้ามจากแวดวงบันเทิงไป นี่คือผู้บริหารเลือดใหม่แห่งธุรกิจค้าทองที่ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย นามว่า โกลเบล็ก ธราภุชสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา ก่อนจะคว้ามาอีก 2 ใบ ปริญญาโท London in Master of Science in Investment Management จาก Cass Business School และ MBA in Finance and Management Strategy จาก Sasin Business School จากนั้นจึงกลับมาสานต่อธุรกิจครอบครัว ในฐานะทายาทรุ่นที่ 3 ผู้บริหารหนุ่มบอกว่า หลักในการบริหารงานของเขา คือการตัดสินใจที่รวดเร็ว และต้องรู้ว่าการบริหารงานของตัวเองขาดอะไร ก็ต้องเลือกสิ่งที่ขาดไปมาเติมเต็ม สำคัญที่สุดคือ ต้องรู้จักเลือก “ผมอาจไม่ใช่ผู้บริหารที่เก่งที่สุด แต่ผมรู้ว่าผมจะบริหารการใช้คนอย่างไร” เขาบอก การเข้ามารับไม้ต่อในฐานะทายาทรุ่นที่ […]Read More
เคยมีคำกล่าวโบราณบอกไว้ว่า ‘นักรบไม่ควรเปลี่ยนม้ากลางศึก’ เพราะจะทำให้พ่ายแพ้ต่อสงคราม และทำให้กลยุทธ์ที่วางไว้เกิดความเสียหาย แต่กับปัญหาไวรัสโควิด-19 ระบาดที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้ความหมายนี้ต้องกลับตาลปัตรไป เพราะช่วงที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ภาวการณ์ระบาดขั้นรุนแรงนั้น บิ๊กตู่ ก็ต้องตัดสินใจไปขอคำปรึกษา…เอ…จะเรียกว่าอัญเชิญปรมาจารย์หมอของประเทศเข้าร่วมประชุมเครียดเลยดีกว่า เพราะในที่ประชุมก่อนสถานะการระบาดจะลามไปถึงขั้น 3 นั้น เต็มไปด้วยบุคลากรทางแพทย์ขั้นเทพที่ระดับโลกต่างยอมรับ เข้ามาระดมหัวคิด จนบรรดาแพทย์หน้าสนามศึกต่างเป่าปากแบบโล่งอก เพราะมีทั้ง… ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทรช : อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร : สมาชิกวุฒิสภาไทย, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ : หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. นพ.อมร ลีลารัศมี อดีตประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และอดีตคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ศ. พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ : นายกแพทยสภา และอดีตหัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ […]Read More
เรื่อง : สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ อีกหนึ่งคนหนุ่มผู้ประสบความสำเร็จที่น่าจับตามอง เพราะด้วยวัยเพียง 42 ปี เขาสามารถก้าวขึ้นมาเป็น CEO ของแพลตฟอร์มหนังสือ eBook มูลค่าหลายพันล้านอย่าง Ookbee พร้อมทั้งเป็น Venture Partners ผู้ก่อตั้งกองทุน 500 TukTuks ที่ให้การสนับสนุนเหล่าคนรุ่นใหม่กับธุรกิจสาย Tech Startup ที่เราไม่อาจมองข้ามไปได้ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ จบการศึกษาปริญญาตรีด้าน Aerospace Engineering และปริญญาโทด้าน Industrial Engineering แต่สิ่งที่เขาสนใจและใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็ก คือการเป็นเจ้าของธุรกิจ และศาสตร์แห่งการเขียนโปรแกรม โดยเลือกเดินมาตามเส้นทางที่ไม่ธรรมดา เพราะเรียนจบมาก็เปิดบริษัทสร้างแอปพลิเคชันของตนเอง จนมาลงตัวกับ Ookbee เมื่อตลาดสมาร์ทโฟนอยู่ในช่วงขาขึ้น ส่งให้ธุรกิจของเขาทะยานไปสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว แม้อายุจะขึ้นเลขสี่นำหน้า แต่การบริหารงานของณัฐวุฒิก็เป็นไปในสไตล์คนรุ่นใหม่ ที่เน้นความรวดเร็วฉับไว กล้าที่จะลองผิดลองถูกในวิธีการต่างๆ เริ่มต้นจากสเกลเล็กที่สามารถควบคุมได้ (In Control) ที่เขาถือว่าเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละก้าว ค่อยๆ ปรับปรุง ไม่เคยเกี่ยงเรื่องการทำงานหนัก เพราะทุกสิ่งที่เขาทำคือสิ่งที่รัก และเป็นส่วนที่จำเป็นในชีวิตที่เขาเองก็วาดหวังใจเอาไว้ว่าอยากจะสามารถทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ต่อไปได้อีกนานๆ […]Read More
เรื่อง : สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ ถ้ากล่าวถึงตึกใจกลางเมืองที่สูงเป็นลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร หลายคนย่อมจะต้องนึกถึง ‘ตึกใบหยก’ เป็นชื่อแรกๆ เสมอ ซึ่งเครือใบหยกก็ยังทำธุรกิจอีกหลายอย่างควบคู่กันไป และหนึ่งในนั้นคือธุรกิจของ ปิยะเลิศ ใบหยก ลูกชายคนโต ที่ขึ้นมาเป็นมือขวาของ พันธ์เลิศ ใบหยก หัวเรือใหญ่ของเครือ ที่มุ่งหวังตามรอยคุณพ่อ สืบทอดกิจการให้รุดหน้าและรักษาต่อยอดให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ที่มีแนวคิดที่น่าสนใจ ด้วยโปรไฟล์ที่ไม่ธรรมดา ดีกรีปริญญาโทสาขา Master’s Degree of International Management จากมหาวิทยาลัย University of Exeter ประเทศอังกฤษ พ่วงด้วยประกาศนียบัตรด้านภาษาญี่ปุ่นจาก Kokusai Gakuyukai Nihongo Gakko กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปิยะเลิศ ใบหยก ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้บริหารรุ่นใหม่ ด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง และพร้อมรับฟังความคิดต่างของทีมงาน อันเป็นแก่นหลักสำคัญในการบริหารงานของเขา ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘มือเปิดโรงแรมใหม่’ เพราะมีหน้าที่ดูแลเชนโรงแรมทั้งหลายของเครือ แต่กว่าจะเดินทางมาถึงจุดนี้ เขาผ่านการทดสอบอย่างเข้มข้น โดยหลังจากสำเร็จการศึกษา งานแรกอย่าง สเตล่า […]Read More
เรื่อง : ชัชฎาพร จุ้ยจั่น ชายหนุ่มผู้เคยมีความฝันในวัยเด็กว่าอยากเป็นนักชีวภาพทางทะเลและนักการทูต เขาเกือบปักหลักในนิวยอร์ก สวมสูทแบบสุภาพบุรุษ White Collar เป็นนายธนาคารอนาคตไกล แต่ชีวิตพลิกผันเมื่อสูญเสียหัวเรือใหญ่อย่างบิดา จนต้องกลับมากู้วิกฤติของครอบครัวจนประสบความสำเร็จ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หรือ ‘ทิม’ คือเด็กชายจอมเฮี้ยวในโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน คุณพ่อพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ (อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) จึงส่งไปเรียนที่ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งไม่มีเพื่อนคนไทยเลยจนจบชั้นมัธยมศึกษา จากนั้นกลับมาเรียนปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ การเงิน-การธนาคาร (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนจบเกียรตินิยมอันดับ 1 ระหว่างนั้นเขาได้ทุนจากมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อที่รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจบปริญญาตรี พิธาตัดสินใจทำงานอยู่หลายปี ก่อนจะไปศึกษาต่อปริญญาโท ด้านการเมืองการปกครอง สาขาการบริหารภาครัฐ ที่ John F. Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ควบคู่กับปริญญาโท การบริหารธุรกิจ Sloan สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ซึ่งปีแรกนั้นเขาดร็อปเรียนกลับเมืองไทยมารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด บริษัทผลิตน้ำมันดิบรำข้าวรายใหญ่ของประเทศไทย เพื่อรับช่วงต่อบริหารกิจการแทนคุณพ่อที่เสียชีวิตจนสามารถพลิกธุรกิจกลับมาตั้งหลักได้ภายในเวลา 2 ปี ก่อนจะกลับไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาจนจบ […]Read More
เรื่อง : สรรเสริญ พุทธรักษา ให้สมญานามว่า ‘เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ไอทีเมืองไทย’ คงไม่ผิดไปนัก สำหรับพิธีกรและเจ้าของเว็บไซต์ชื่อดัง Beartai เพราะนอกจากทรงผมปาดเจลหวีเสยเรียบแปล้อันเป็นเอกลักษณ์แล้ว หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ยังถือเป็น ‘จอมเก๋า’ คนหนึ่งแห่งวงการไอทีเมืองไทย กว่า 20 ปีในแวดวงไอที พงศ์สุขสร้างสรรค์งานมาแล้วแทบทุกอย่าง ผ่านมาทั้งช่วงพีค ช่วงพับ ต่อสู้ในสมรภูมิการผลิตคอนเทนต์ในสื่อเก่า (Old Media) มาทุกแขนง จนมาถึงจุดพลิกผัน กับเงินลงทุนก้อนสุดท้ายที่เหลืออยู่แค่เพียง 2 ล้านบาท ถ้าหมด คือเจ๊ง เก็บของกลับบ้าน ทว่า โชคชะตาและกระแสโลกที่หมุนมาเข้าทางอย่างจัง ด้วยคำว่า Digital Transformation จึงทำให้เกิดแพลตฟอร์ม หรือช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ส่งให้ฐานที่มั่นของเขาที่ชื่อ ‘แบไต๋ (Beartai)’ กลายเป็นเวทีการปอกเปลือกเรื่องนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านของโลก ที่ทุกคนต้องเหลียวมอง! “ปัจจุบันผมทำ Original Content 20% อีก 80% เป็น Advertorial เป็นเรื่องของการทำรีวิวให้รู้สึกว่าน่าดู […]Read More
หากจะกล่าวกันถึงประวัติศาสตร์ของ ‘วันแรงงาน’ ของประเทศไทยแล้วนั้น สามารถสืบย้อนกลับไปได้เกือบร้อยปี เกี่ยวเนื่องกับการมีอยู่ของแรงงานในระดับสากล แต่กว่าที่สภาพการทำงานของเหล่าชนชั้น ‘แรงงาน’ ทั้งหลายจะเข้าที่เข้าทาง ก็ต้องอาศัยเวลาอยู่อีกไม่น้อยเช่นกัน ในการก่อร่างสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น ชนชั้นแรงงาน เป็นชนชั้นที่ถูกกดขี่และบีบบังคับจากเจ้าของกิจการในทุกมิติ การมีกฎหมายแรงงาน สร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ เป็นขั้นเป็นตอน และให้สิทธิ์อันพึงมีพึงได้แก่ชนชั้นที่เป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญของประเทศ ที่อาจจะถูกมองข้ามไป สิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ที่กล่าวไปนั้น อาจจะมาในรูปแบบของค่าจ้างล่วงเวลาทำงาน, จำนวนวันลา, สิทธิ์การลาคลอด, เงินประกันสังคม และวันหยุดตามประเพณีต่างๆ และถือว่าวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี คือวันที่เฉลิมฉลองความสำคัญของชนชั้นแรงงานทั้งหลาย หากแต่ ท่ามกลางวิกฤติของเชื้อร้าย COVID-19 ที่กำลังระบาดและแพร่กระจาย สร้างความเสียหายอย่างเป็นวงกว้างในทุกภาคส่วนนั้น กำลังก่อเป็นปัญหาสำคัญ ไม่เพียงแต่เฉพาะชนชั้นที่เหนือขึ้นไป แต่กระทบถึงภาคแรงงานส่วนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อภาคการผลิตจำต้องปิดตัว ภาคการบริการไม่สามารถดำเนินต่อไปท่ามกลางนโยบายการ Lockdown เมือง อันเป็นวิสัยทัศน์ของกลุ่มผู้นำประเทศ เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อร้าย นั่นส่งผลกระทบต่อเนื่องกันอย่างเป็นลูกโซ่ต่อภาคแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามไปด้วย เพราะเมื่อภาคการผลิตปิดตัวลง ความต้องการแรงงานก็ลดน้อยตาม นั่นทำให้ภาพของการต่อคิวรับข้าวสารอาหารแห้ง สิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องอุปโภคบริโภค กลายเป็นสิ่งที่เริ่มเห็นได้อย่างชินตา และความกดดันจากการขาดรายได้ ก็ตามมาด้วยอัตราการฆ่าตัวตายของภาคแรงงานที่เริ่มสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ซ้ำร้าย นโยบายของภาครัฐนั้น เกิดขึ้นเพียงมิติเดียวในการสกัดกั้น แต่ในมิติของการ […]Read More
แลกเปลี่ยนซึ่งความหลงใหลเดียวกันในงานฝีมือ ประเพณี และนวัตกรรม แบรนด์นาฬิกา แฮมิลตัน (Hamilton) ได้จับมือทำงานร่วมกับ นักบุกเบิกแห่งสไตล์จากญี่ปุ่น ฉายาว่า ป็อกกี้ (Poggy) เพื่อสร้างสรรค์นาฬิการุ่นใหม่ เวนทูรา ป็อกกี้เดอะแมน (Ventura POGGYTHEMAN) ที่นับเป็นความร่วมมืออันแสนพิเศษที่ผสมผสานระหว่างสไตล์สตรีทอันน่าทึ่ง เข้ากับต้นตำรับแห่งสไตล์ของแฮมิลตัน โดยทั้งคู่ได้จับมือกันเพื่อสื่อสารเอกลักษณ์ของตน ผ่านนาฬิกา Ventura คอลเลกชันซึ่งเป็นที่จดจำได้ทันที เช่นเดียวกับผลงานของPoggy สู่การตีความใหม่ที่นำเสนอ Hamilton Ventura ในเวอร์ชันตัวเรือนสีดำล้วน เข้ากับเครื่องหมายขีดบอกเวลาและรายละเอียดสีชมพูบนหน้าปัด และด้ายสีชมพูบนสายหนังสีดำ ที่นับเป็นอีกหนึ่งธีมสีโดดเด่นสะดุดตาและได้แรงบันดาลใจมาจากชุดสูทสีชมพูสดใสที่เอลวิส (Elvis) ซึ่งเคยสวมใส่บนเวที จับคู่มากับสีดำตามงานออกแบบดั้งเดิมในปี 1957 Hamilton Ventura POGGYTHEMAN รุ่นนี้จะผลิตขึ้นในจำนวนจำกัด 500 เรือน และเป็นนาฬิกาต้นตำรับแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง #GMLive #Life #watch #Hamilton #Ventura #Poggy #PoggyTheMan #NewDesign #inspiring #gmwmagazine Read More
จากมาตรการณ์กักตัวเพื่อชะลอการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายอาชีพไม่สามารถทำมาหากินได้เหมือนเดิม กลุ่มคนที่ลำบากสุดคงไม่พ้นชนชั้นแรงงาน หาเช้ากินค่ำ สถานการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งถ้าติดตามข่าวต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา โดยเฉพาะระยะหลังๆ มานี้จะได้ยินว่าชาวเมืองอเมริกันจำนวนมากเยียวยาปากท้องช่วงกระเป๋าแห้ง ด้วยการไปขอปันส่วนอาหารจาก Food Bank หรือ ธนาคารอาหาร Food Bank คืออะไร? อาหารฝากธนาคารหรือ? Food Bank หรือ ธนาคารอาหาร ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นแนวคิดในการสะสมหรือถนอมอาหารมาใช้ในยามยาก โดยแต่ละพื้นที่มีการพัฒนาและตีความ Food Bank แตกต่างกันไป ตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ธนาคารอาหารแห่งแรกของโลก ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1967 จากนั้นก็แพร่หลายไปทั่วโลก แต่ละประเทศมีการรวมกลุ่มและวิธีบริหารจัดการแตกต่างกันไป หลายๆ แห่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวโยงกัน เพียงแต่มีจุดร่วมเรื่องแนวคิดคล้ายกัน คือ ‘การแบ่งปันอาหาร’ หรือ ‘การสะสมอาหาร’ อย่างที่ธนาคารอาหารแห่งสหรัฐฯ นั้นเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เน้นช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและหิวโหยในอเมริกา รับบริจาคเงินจากมหาเศรษฐี หรือรับบริจาคอาหารเหลือจากร้านอาหาร ร้านค้าปลีก หรือโรงงาน นำมาจัดสรรปันส่วนแจกจ่ายให้กลุ่มเด็ก, คนแก่, ทหารผ่านศึก หรือคนไร้บ้าน โดยใช้ระบบอาสาแบบที่เราคุ้นๆ ตาบ้างในภาพยนตร์ ขณะที่ออสเตรเลีย ธนาคารอาหารส่วนใหญ่ดําเนินการในรูปแบบ […]Read More