‘Future Ready Economic:ปัจจัยที่ต้องมีสำหรับเศรษฐกิจในอนาคต และแนวคิดจากงาน BRANDi Great ImPRESSion’
หากมองภาพใหญ่ต่อไปในอนาคต เกี่ยวกับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ คุณคิดว่าสิ่งใดคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจหนึ่งๆ สามารถอยู่รอดได้?
ผลการดำเนินงาน? กำไรต่อรายไตรมาส? ขีดความสามารถในการแข่งขัน? ความสามารถในการไปถึงเป้าที่ประเมินไว้?
เหล่านี้ล้วนมีความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยม การขับเคลื่อนด้วยผลกำไรจะยังเป็นมาตรวัดที่สำคัญที่จะบ่งชี้ความอยู่รอดของธุรกิจหนึ่งๆ หากแต่ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลก การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ และแนวคิดเพื่อความเสมอภาคและการมองแรงงานในเชิงมหภาค ได้เพิ่มปัจจัยที่จะต้องถูกพิจารณาในการอยู่รอด และกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
ธุรกิจนั้นใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน? มีการกำหนดระดับ Carbon Footprints เอาไว้ที่ระดับใด? มีความพยายามที่จะ Transform กระบวนการเก่าๆ เพื่อเปิดรับสิ่งใหม่บ้างหรือไม่? พลังงานทางเลือกถูกนำมาใช้บ้างหรือไม่? มีความใส่ใจต่อสุขภาวะของแรงงานและคนในพื้นที่มากน้อยเพียงใด?
ไปจนถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่สร้างโลกทัศน์แบบใหม่ที่น่าตกใจ เมื่อทุกอย่างถูก ‘ตัดขาด’ และแต่ละประเทศจำเป็นต้อง ‘พึ่งพาตนเอง’ ในระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งหมด เคยเป็นเรื่องไกลตัว และยังดูเหมือนเป็นภาพที่ยังไม่ชัดเจนในความคิดของผู้ประกอบการยุคปัจจุบัน แต่เป็นหัวข้อที่มีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายและเปิดกว้างในเวทีด้านเศรษฐกิจสากลระดับโลก ไม่ว่าจะเพราะการเป็นเครื่องมือทางการค้าชนิดใหม่ หรือเพราะหลักฐานเชิงประจักษ์ของบางสิ่งเช่นปัญหาสภาพแวดล้อม ไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป
ธุรกิจ จำเป็นจะต้อง ‘พร้อม’ สำหรับ ‘อนาคต’ ที่กำลังไล่ล่าตามหลังมาด้วยอัตราเร็วทบต้นที่น่าตื่นตระหนกอย่างคาดไม่ถึง…
และ ‘ประเทศไทย’ กำลังยืนอยู่บนทางแยกสำคัญ ที่เวลาเริ่มนับถอยหลังลงไปแม้ในขณะนี้ ….
ความท้าทายที่กำลังรอคอยอยู่ในภาคธุรกิจและเศรษฐกิจไทยในเวลาข้างหน้า ทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนทรัพยากร การพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับเวทีโลก กฎระเบียบทางการค้าที่เก่าแก่และไม่อาจตามทันความเปลี่ยนแปลง จนถึงภาพของสังคมสูงวัย ที่คนแก่มีมากขึ้น คนทำงานมีน้อยลง และเด็ก…. แทบไม่ได้เกิดขึ้นมาทดแทนเลย
‘Future-Ready’ คือคำติดปากที่เริ่มใกล้ตัว และประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณา และลงมือเพื่อไปให้ถึงสิ่งนี้อย่างจริงจัง….
เพราะนี่ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นทางที่ ‘ต้องเลือก’ เพื่อ ‘อยู่รอด’ ของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจไทย….
กระนั้นแล้ว จะมีหน่วยงานใด ที่สามารถให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และปรับรูปแบบกระบวนทัศน์ของธุรกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจขนาดกลางหรือ SMEs ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ให้พร้อมกับความเป็น ‘Future-Ready’?
และนั่น คือสิ่งที่ บริษัท BRANDi and Companies ได้เข้ามาช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไป …
มากกว่า 11 ปีที่ BRANDi ได้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ระดับองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต และการเติบโตอย่างยั่งยืน ได้ทรานส์ฟอร์มองค์กรในมากกว่า 23 อุตสาหกรรม ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมพลังงาน การเงิน หรือการศึกษา ให้เปลี่ยนกลไกในการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการเติบโตเพียงอย่างเดียวไปสู่การให้ความสำคัญกับสังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อม ๆ กับการสร้างเติบโตของตัวเอง
และนอกจากศักยภาพที่เป็นที่ประจักษ์ในประเทศของ BRANDi แล้ว คุณอาร์ม – ปิยะชาติ อิศรภักดี เอง ก็ถือว่าเป็น Global Thought Leader ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก จากความร่วมมือกับนานาองค์กรระดับโลก ยกตัวอย่าง United Nations (UN), World Economic Forum (WEF), World Bank Group (WBG), International Monetary Fund (IMF) และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ครอบคลุมทั้งในมิติ Financial System, Economic Growth และ Sustainable Development
ด้วยองค์ความรู้ที่ครอบคลุมในทุกมิติ และการเห็นความเป็นไปของโลกครบทุกด้าน คุณอาร์มและ BRANDi จึงได้มองเห็นความเป็นไปได้ของสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น และได้ชี้แนะการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต หรือหมายถึงคำว่า “Future-ready” นั่นเอง
ในปัจจุบันนี้ มีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ส่งผลกระทบต่อโครงเศรษฐกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำ หรือการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมา การเติบโตอย่าง Resilience อาจไม่เพียงพออีกต่อไป แต่เศรษฐกิจสำหรับอนาคตต้องมีความเป็น Future-ready
และเมื่อมองในบริบทที่ใกล้ตัวมากขึ้น ซึ่งคือการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตของประเทศไทย หรือ Future-ready Thailand คุณอาร์มได้กล่าวว่า การที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการเติบโตที่เปราะบางหรือไม่แน่นอน ไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนนั้น สามารถทำได้อยู่สามระดับใหญ่ ๆ ได้แก่
- 1. การปรับจุดยืนของแบรนด์ หรือ Re-positioning : เปลี่ยนจากการ Capture Trend เป็นการ Capture Value
- 2. การปรับโมเดลของตลาด หรือ Re-modeling : เปลี่ยนจากการสร้างผลกำไร (Profitability Incentive) เป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวก (Impact Incentive)
- 3. การปรับระบบของเศรษฐกิจ หรือ Re-engineering : เปลี่ยนจากการเติบโตโดยพึ่งพาทรัพยากร (Natural Resource-dependent Growth) เป็นการเติบโตโดยพึ่งพาทุนมนุษย์ (Human Capital-dependent Growth)
ในช่วงท้ายของงาน BRANDi GREAT ImPRESSion ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2024 ณ BRANDi HopeQuarter 111 ประดิษฐ์มนูธรรม คุณอาร์ม ได้ฝากถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนว่า หัวใจสำคัญของการทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมต่ออนาคต คือโครงสร้างของเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และทุนมนุษย์ที่มีความสามารถ ซึ่งทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาชนเอง ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ให้ไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน