fbpx

Recent News: สรุปข่าวประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2023

“ดีอี – ดีป้า” จุดพลุโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) มุ่งยกระดับชุมชนเกษตรไทยด้วยเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร

ดีอี – ดีป้า เปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) มุ่งพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้และซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรแก่ชุมชนและเกษตรกรทั่วประเทศ พร้อมส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านธุรกิจดั้งเดิมสู่ ศูนย์บริการซ่อมบำรุง ฉีดพ่น และจำหน่ายโดรนเพื่อการเกษตร คาดภายใน 1 ปีของการดำเนินโครงการจะเกิดศูนย์บริการฯ ทั่วประเทศ 50 ศูนย์ ผลักดันให้ชุมชนเกิดการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตร 500 ชุมชน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท ตอบสนองเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ ภายใต้แผนงานเครื่องยนต์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (รมว.ดีอี) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า พร้อมด้วย ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ และคณะผู้บริหารจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมในพิธีโดยพร้อมเพรียง ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายประเสริฐ กล่าวว่า กระทรวงดีอี พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ผ่านเครื่องยนต์ใหม่ของประเทศไทย (The Growth Engine of Thailand) ซึ่งถือเป็นแผนการดำเนินงานสำคัญที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness) การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Safety & Security) และการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศด้านดิจิทัล (Human Capital)

“สำหรับ โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ที่ดำเนินการโดย กระทรวงดีอี และ ดีป้า จะช่วยส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างรายได้และก้าวทันความเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นการสร้างสังคมดิจิทัลบนฐานความรู้ ทั่วถึง รู้ประยุกต์ใช้เป็น สนองตอบเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศตามแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลไทย” รัฐมนตรีดีอี กล่าว

นอกจากนี้ รมว.ดีอี ยังเป็นสักขีพยานในพิธีประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ใน 6 ด้าน ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล ความร่วมมือด้านการส่งเสริมและสนับสนุน
ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลกับกลุ่มชุมชนในห่วงโซ่การผลิต ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ
ความร่วมมือด้านการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร และความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ระหว่าง ดีป้า และเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรมวิชาการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุรนารี และผู้ประกอบการโดรนในประเทศ

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) เป็นการบูรณาการการทำงานระหว่าง ดีป้า และเครือข่ายพันธมิตร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล เพื่อการยกระดับชุมชนด้วยเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรผ่านการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบินและการซ่อมบำรุงโดรนแก่กลุ่มเกษตรกรและชุมชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านธุรกิจแบบดั้งเดิมไปสู่ ศูนย์บริการซ่อมบำรุง ฉีดพ่น จัดจำหน่ายโดรนการเกษตรที่ได้รับการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand: MiT) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมาตรฐาน dSURE จาก ดีป้า

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ภายใน 1 ปีของการดำเนินโครงการจะเกิดศูนย์บริการฯ ทั่วประเทศจำนวน 50 ศูนย์ ผลักดันให้ชุมชนเกิดการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตรจำนวน 500 ชุมชน คิดเป็นพื้นที่ทางการเกษตรรวมไม่น้อยกว่า 4 ล้านไร่ นอกจากนี้ ดีป้า และพันธมิตรจะเปิดอบรมหลักสูตรผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล และหลักสูตรการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งเนื้อหาของทั้งสองหลักสูตรได้รับการออกแบบโดย ดีป้า และผ่านการรับรองจากสถาบันการบินพลเรือน พร้อมตั้งเป้าผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินฯ 1,000 คน และหลักสูตรการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร 100 คน

“ดีป้า ประเมินว่า โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ลดการจ้างงานและระยะเวลาการทำงาน ลดอัตราการเจ็บป่วยจากการสูดดมและสัมผัสกับสารเคมี

ขณะเดียวกันจะช่วยสร้างเกษตรกรและช่างในชุมชนที่มีความรู้ความเข้าใจในทักษะรอบด้านเกี่ยวกับโดรนการเกษตร สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรและสมาชิกในชุมชน โดยโครงการดังกล่าวถือเป็นแนวทางการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างรายได้ ก้าวทัน
ความเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นการเร่งสร้างสังคมดิจิทัลบนฐานความรู้ ทั่วถึง รู้ประยุกต์ใช้เป็น ตอบสนองเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศตามแผนงาน The Growth Engine of Thailand ของ รมว.ดีอี และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

เกษตรกรและชุมชนที่สนใจ รวมถึงประชาชนทั่วไปสามารถร่วมอบรมผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินฯ และหลักสูตรทักษะการซ่อมบำรุงและดูแลรักษาโดรนเพื่อการเกษตรผ่านระบบ Online และ Onsite หรือร่วมกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรใน 5 ภูมิภาค รวมถึงการแข่งขันบินและซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรระดับภูมิภาคและชิงแชมป์ประเทศไทย โดยสามารถติดตามข่าวสารและศึกษารายละเอียดโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ได้ที่ Facebook Page: depa Thailand หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 08 5125 1340 และ 08 2516 6224

โออิชิ ฉลองก้าวสู่ปีที่ 25  ผนึกกำลัง 10 ยอดเชฟแนวหน้าของเมืองไทย

“โออิชิ” ฉลองก้าวสู่ปีที่ 25 ตอกย้ำความเป็นผู้นำและเจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่น จัดแคมเปญพิเศษ “โออิชิ 25 ปี ฉลองอย่างราชา” มอบประสบการณ์ใหม่ ที่ไม่ใช่แค่เสิร์ฟอาหาร แต่จะมามอบความ “โอ” ให้คุณร้อง โอโห ! กับอาหารจานพิเศษ โอ-ร่อย !! กับเมนูใหม่จาก 10 ยอดเชฟแนวหน้าของเมืองไทย เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย – ท็อปเชฟ ประเทศไทย – มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย และ โอเวอร์ !!! กับของขวัญเซอร์ไพรส์มากมาย จัดเต็มตลอดทั้งปี ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ* ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2566 – กันยายน 2567

นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า โออิชิ ในฐานะผู้นำและสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น สำหรับธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น เราให้ความสำคัญกับการนำเสนอประสบการณ์และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภคที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารญี่ปุ่น ด้วยการพัฒนาที่มีคุณภาพ ผสานการสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ ตรงใจ เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการให้ดีขึ้นอยู่เสมอ นับตั้งแต่วันแรกของการดำเนินธุรกิจเมื่อวันที่ 9 เดือน 9 ปี 1999 เป็นต้นมา วันนี้ ดำเนินธุรกิจและอยู่เคียงข้างผู้บริโภคฯ มาอย่างยาวนาน ก้าวเข้าสู่ปีที่ 25 เพื่อตอกย้ำความเป็นเจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่น ถือโอกาสสร้างสรรค์สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประสบการณ์ที่สุดยอดให้กับทุกคน ผ่านกิจกรรมทางการตลาด แคมเปญ โออิชิ 25 ปี ฉลองอย่างราชา พร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ ที่ไม่ใช่แค่เสิร์ฟอาหาร แต่จะมามอบความ “โอ” ให้คุณร้อง โอโห ! กับอาหารจานพิเศษฉลองก้าวสู่ปีที่ 25 โอ-ร่อย !! กับเมนูใหม่จากยอดเชฟแนวหน้าของเมืองไทย ทั้ง เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย, ท็อปเชฟ ประเทศไทย, และ มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย ภายใต้ เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป และ โอเวอร์ !!! กับของขวัญเซอร์ไพรส์มากมาย อาทิ อี – คูปอง ส่วนลดพิเศษต่าง ๆ จากแอปฯ BevFood เป็นต้น ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ ประกอบด้วย โออิชิ แกรนด์, โออิชิ อีทเทอเรียม, โออิชิ บุฟเฟต์, ชาบูชิ, และ โออิชิ ราเมน ทุกสาขาทั่วประเทศ จัดเต็มตลอดทั้งปี ตั้งแต่วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2566) เรื่อยไปจนถึง กันยายน ศกหน้า”

สำหรับแคมเปญพิเศษ โออิชิ 25 ปี ฉลองอย่างราชา พร้อมแล้ววันนี้ที่จะมอบประสบการณ์อาหารญี่ปุ่น และความ โอ-ร่อย กับเมนูใหม่ ชูจุดเด่นวัตถุดิบคุณภาพ สะอาด สดใหม่ คัดสรรเป็นอย่างดีจากร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ* ผสานการปรุงแต่งอย่างพิถีพิถัน โดย 10 ยอดเชฟแนวหน้าของเมืองไทย สู่เมนูอาหารญี่ปุ่นจานพิเศษ คาว – หวานครบครัน ประกอบด้วย 

  • โออิชิ แกรนด์ (OISHI GRAND) : ครั้งแรกของการผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง โออิชิ แกรนด์ กับยอดเชฟแนวหน้าของเมืองไทย (เชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์, เชฟพฤกษ์ – พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร, เชฟอาร์ – ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์, เชฟพลอย – ณัฐณิชา บุญเลิศ, และ เชฟบิ๊ก – อรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล) พร้อมมอบความ โอ-ร่อย ผ่านเมนูใหม่ในธีม “EAT LIKE A KING” ประเดิมด้วย 3 เมนูแรก ชูวัตถุดิบเนื้อวากิวชั้นยอด พลาดไม่ได้กับ (1) Hokkaido Rub A4 Striploin Wagyu (2) Spice Miso Carbonara Wagyu และ (3) Wagyu Tataki สร้างสรรค์โดย เชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ ที่ โออิชิ แกรนด์ สาขา สยามพารากอน (ชั้น 4 โซน ฟู้ดพาสสาจ) และสาขาใหม่ เมกาบางนา (ชั้น 2 โซน เมกาฟู้ดวอร์ค) ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน 2566 – 31 มกราคม 2567
  • โออิชิ อีทเทอเรียม (OISHI EATERIUM) และ โออิชิ บุฟเฟต์ (OISHI BUFFET) : ครั้งแรกของการผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง โออิชิ อีทเทอเรียม และ โออิชิ บุฟเฟต์ กับยอดเชฟแนวหน้าของเมืองไทย (เชฟแก้ว – ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร, เชฟอังกฤษ – อังศ์กฤษฏิ์ เชื้ออ่ำ, เชฟเป่าเป้ – เจสสิก้า หวัง, เชฟเฟิร์ส – ธนภัทร สุยาว, และ เชฟแมกซ์ – นันทวัฒน์ จรรยาลิขิต) พร้อมมอบความ โอ-ร่อย ผ่านเมนูใหม่ในธีม “JAPANESE SENSE & INSPIRATION” ประเดิมด้วย 3 เมนูแรก ชูวัตถุดิบโฮตาเตะ (หรือหอยเชลล์ญี่ปุ่น) พลาดไม่ได้กับ (1) Shinjuku Graffiti (2) Meiji Forest และ (3) Sakura Sky สร้างสรรค์โดย เชฟแก้ว – ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร ที่ โออิชิ อีทเทอเรียม และ โออิชิ บุฟเฟต์ ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2566 – 31 มกราคม 2567
  • ชาบูชิ (SHABUSHI) : ครั้งแรกของการผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง ชาบูชิ กับยอดเชฟแนวหน้าของเมืองไทย (เชฟอาร์ – ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ และ เชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์) พร้อมมอบความ โอ-ร่อย ผ่านเมนูใหม่ในธีม “ZAPP WITH JAPANESE TWIST” ประเดิมด้วย 4 เมนูแรก พลาดไม่ได้กับ (1) ซุปโชยุเล้งแซ่บ (2) ซูชิเล้งแซ่บ (3) ยำซี๊ดเกี๊ยวกรอบ และ (4) หมูเด้งแซ่บ สร้างสรรค์โดย เชฟอาร์ – ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ ที่ ชาบูชิ ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 29 กุมภาพันธ์ 2567
  • โออิชิ ราเมน (OISHI RAMEN) : ครั้งแรกของการผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง โออิชิ ราเมน กับยอดเชฟแนวหน้าของเมืองไทย (เชฟบิ๊ก – อรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล) พร้อมมอบความ โอ-ร่อย ผ่านเมนูใหม่ในธีม “TOUCH OF JAPANESE FLAVOR” ที่ โออิชิ ราเมน ทุกสาขาทั่วประเทศ ในเดือนเมษายน 2567

ร่วมฉลองและเพลิดเพลินไปด้วยกันกับแคมเปญพิเศษ โออิชิ 25 ปี ฉลองอย่างราชา ได้แล้ววันนี้ ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ ประกอบด้วย โออิชิ แกรนด์, โออิชิ อีทเทอเรียม, โออิชิ บุฟเฟต์, ชาบูชิ, และ โออิชิ ราเมน ทุกสาขาทั่วประเทศ ตลอดทั้งปี ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2566 – กันยายน 2567

ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม คลิกแฟนเพจโออิชิฟู้ดสเตชั่น : FACEBOOK.COM/OISHIFOODSTATION หรือค้นหาสาขาร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ สาขาใกล้ ๆ คุณ คลิกเว็บไซต์โออิชิฟู้ด : OISHIFOOD.COM

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ