fbpx

เทศกาลกินเจ: ได้ศีล อิ่มบุญ ในวาระแห่งเทศกาลอาหารจากพืชผักนานาชนิด

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ใครเดินผ่านไปผ่านมาในร้านค้าย่านตลาด ก็น่าจะเห็นธงสีเหลืองสว่างสดใส ปักบนเมนูอาหารหลากหลายชนิดที่ทำจากพืชผักนานาชนิด อันเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงวาระของ ‘เทศกาลกินเจ’ ที่เวียนมาบรรจบอีกรอบในปีนี้ แน่นอน ด้วยระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ สำหรับคนที่ยึดถือในธรรมเนียมดังกล่าว นี่คือสิ่งที่พึงปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ขาดหย่อนไปเสียมิได้ และเป็นช่วงที่เราจะได้พบอาหารหลากหลาย ที่อาจจะไม่ได้เจอในเวลาปกติ

แต่เทศกาลกินเจมีต้นสายธารมาจากที่ใด? คนเชื้อสายจีนมีเทศกาลกินเจหรือไม่? เรื่องนี้ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่ซับซ้อน และชวนให้เข้าใจผิดอยู่ไม่น้อย แต่ก็มีประวัติความเป็นมาที่ไม่ธรรมดา อันบ่งบอกถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมจีน ที่แม้จะเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติของคนในบางท้องที่ แต่ก็มีพลังมากพอที่จะส่งผ่านมายังภูมิภาคอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน

แม้จะมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่เทศกาลกินเจ กลับไม่ใช่สิ่งที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติระดับประเทศอย่างเทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือเทศกาลตรุษจีน นั่นเพราะในสมัยโบราณ แผ่นดินจีนที่แบ่งเป็นมณฑล ก็มีวัฒนธรรม ความเชื่อ และประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ความกว้างขวางของแต่ละพื้นที่ สามารถสร้างความต่างของอัตลักษณ์ของมณฑลที่ติดกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ

และเทศกาลกินเจ ถือกำเนิดขึ้นจากมณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ที่ห่างจากไต้หวันเพียงช่องแคบทะเล ซึ่งมีความเป็นมาอันไม่ธรรมดา นั่นเพราะแต่เดิม เทศกาลกินเจ มีชื่อเรียกกันว่า เทศกาลเฉลิมฉลองของพระราชาธิราชทั้ง 9 หรือ 九皇大帝 อันเป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วันตามจันทรคติ แต่ก็เป็นธรรมเนียมที่ค่อนข้างที่จะหายากมากๆ

อนึ่ง ต้นทางของเทศกาลกินเจไม่ได้มีเพียงตำนานเดียว แต่ยังผูกเข้ากับความเชื่อเรื่องของงยุคสมัยแผ่นดินจีนถูกปกครองโดยราชวงศ์แมนจู และมีกลุ่มผู้ต่อต้าน โดยอาศัยหลักธรรมนำทาง นุ่มขาวห่มขาว ไม่แตะต้องเนื้อสัตว์ รักษาหลักธรรม เพราะเชื่อว่าจะนำชัย

เหล่าผู้กล้านี้ เรียกตนเองว่า ‘หงี่หั่วท้วง’

แต่กองกำลังเพียงหยิบมือ มิอาจต้านทานกองทัพแมนจูได้ ถูกตีแตกพ่าย พลีชีพล้มตายเป็นจำนวนมาก การต่อต้านประสบความล้มเหลว แต่วีรกรรมความกล้าหาญของพวกเขา ถูกเล่าขาน และสะท้อนไปยังเหล่าชาวจีนบางส่วน ที่จะถือทุกวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 9 เพื่อปฏิบัติตนตามเหล่าผู้กล้ากลุ่มนี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นสายธารของเทศกาลกินเจกำเนิดขึ้นจากมณฑลฝูเจี้ยน ที่ติดกับทะเลจีนใต้ ทำให้วัฒนธรรมการกินเจ ส่งต่อมากับลูกหลานชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานยังแถบปีนัง ภูเก็ต ก่อนจะผสานหลอมรวมเข้ากับความเชื่อท้องถิ่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ทำให้ประเพณีการกินเจ แพร่หลายในแผ่นดินสยามเป็นอย่างมาก

แต่ถ้าถามว่า ในจีนแผ่นดินใหญ่ ที่น่าจะมีการแพร่หลายของเทศกาล กลับไม่เหลือร่องรอย หรือการปฏิบัติของเทศกาลกินเจเลยนั้น สาเหตุที่พอจะเชื่อได้คือ การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสมัยพรรคคอมมิวนิสต์เรืองอำนาจ ที่มีการเผาทำลายตำราสายขงจื๊อ ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์หรือมีแนวทางที่ขัดกับพรรค มันคือการขุดรากถอนโคนที่หนักหน่วงจนทำให้หลายสิ่งที่เคยสืบสานกันมานับพันปี สูญหายไปอย่างไม่อาจกลับคืน และยังคงเป็นความสูญเสียที่ยังยากจะกู้กลับมาแม้ในปัจจุบัน

ส่วนในดินแดนอื่นๆ เช่นปีนัง มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง อินโดนีเซีย ก็ต้องเรียกว่าอิทธิพลของวัฒนธรรมจีน อาจจะไม่ได้แข็งแรงพอที่จะขึ้นมาให้เป็นแนวทางหลัก ทั้งจากการปกครองของเจ้าอาณานิคม จนถึงศาสนาหลักประจำชาติอย่างอิสลาม รวมถึงการพัฒนาในแนวทางสมัยใหม่ ที่ไม่ได้มองว่าเทศกาลกินเจเป็นสิ่งที่จำเป็นมากนัก ทำให้เราไม่ได้เห็นเทศกาลนี้ในประเทศที่มีเชื้อสายจีนอื่นๆ อย่างที่เข้าใจกัน

และด้วยเทศกาลกินเจที่ดำเนินไปอย่างแพร่หลายในเมืองไทย ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ “โออิชิ ราเมน” (OISHI Ramen) และ “คาคาชิ” (KAKASHI By OISHI) ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานเทศกาลกินเจ ประจำปี 2564 สร้างสรรค์เมนูอาหารเจสไตล์ญี่ปุ่น ที่มาพร้อมวัตถุดิบคัดสรร คุณภาพสูง ได้แก่ แพลนต์เบส (Plant-Based) หรือนวัตกรรมโปรตีนเกษตรแบบใหม่ โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ขอแนะนำ เมนูราเมนผัดแห้งจาก โออิชิ ราเมน “ราเมนผัดซอสโหระพาเจ” เสิร์ฟพร้อมน้ำซุปวากาเมะ รสชาติกลมกล่อม เพียงชุดละ 149 บาท และ เมนูดงบุริหรือข้าวหน้าญี่ปุ่นจาก คาคาชิ “ข้าวหน้ากะเพราเจ” รสชาติเข้มข้น…ถึงเครื่องกะเพรา เพียงชามละ 129 บาท พร้อมเสิร์ฟให้อิ่มเจ อิ่มใจ ตลอดเทศกาลถึง 19 ตุลาคม 2564 เท่านั้น

**ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

-แฟนเพจโออิชิฟู้ดสเตชั่น : www.facebook.com/OishiFoodStation

-เว็บไซต์: OishiFood.com

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ