‘5 ภาวะของผู้หญิง ที่ผู้ชายควรรู้’ กับ นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์
ธรรมชาติสร้างเพศสภาวะทางกายภาพเอาไว้แตกต่างกัน เป็น ‘ทวิลักษณ์’ ที่มีลักษณะเฉพาะ ที่มีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม จนถึง ‘อาการที่เกี่ยวกับเพศนั้นๆ’ เอาไว้ ที่แต่ละเพศต่างต้องเผชิญ ที่ส่งผลต่อด้านสุขภาวะ และการดำเนินชีวิตโดยรวมที่ไม่อาจมองข้ามได้

และแน่นอน การทำความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในเพศของตนเอง โดยเฉพาะ ‘อาการของเพศหญิง’ ที่ผู้ชายควรรู้ ก็จะช่วยให้รับมือ ป้องกัน และดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม ซึ่ง คุณหมอโอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะมาอธิบายถึง ‘5 ภาวะของผู้หญิง ที่ผู้ชายควรรู้’ ที่จะช่วยให้ทั้งสองเพศ ได้เข้าใจในสภาวะดังกล่าว และรับมือได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
–Pregnancy (ตั้งครรภ์)

การตั้งครรภ์หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องของผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียว แต่ความจริงแล้วบทบาทของว่าที่คุณพ่อ มีส่วนสำคัญมากในการประคับประคองการตั้งครรภ์ ไปจนถึงคลอด ให้ดีตลอดรอดฝั่ง เพราะเมื่อตั้งครรภ์แล้วผู้หญิงจะมีการปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ การลุกการนั่งจะขยับตัวทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา จากที่ร่างกายต้องรับน้ำหนักของการตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้อง กินไม่ได้ อาเจียน นอนไม่หลับ รวมถึงอารมณ์ที่เปลี่ยนเพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป หงุดหงิดง่ายขึ้น เสียใจง่ายกว่าเดิม ดังนั้นคุณผู้ชายจำเป็นรู้ถึงการเปลี่ยนแผลงเรื่องนี้
–Premenstraul Syndrome (ภาวะก่อนมีประจำเดือน)

ภาวะก่อนมีประจำเดือน หรือที่หลายคนเรียกชื่อว่าภาวะมนุษย์เมนส์ เป็นภาวะที่มีผู้หญิงส่วนใหญ่พบเจอ โดยจะมีอาการทั้งของร่างกายและจิตใจ เช่น อาการอืดแน่นท้อง รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลียง่าย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ทานเยอะกว่าปกติ และอื่นๆอีกมากมาย โดยมีรายงานพบว่าเจอได้ถึง 150 อาการ
อาการเหล่านี้นอกจากจะมีผลกับตัวผู้หญิงเองแล้ว คนรอบข้างก็ได้รับผลกระทบด้วย โดยเฉพาะคุณผู้ชายหากเจอแฟนมีอาการเหล่านี้ จำเป็นต้องหาวิธีการในการปรับตัว รวมถึงพาไปช่วยทำการรักษา
–Pelvic Inflammatory Disease (ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน)

การอักเสบในอุ้งเชิงกราน ส่วนมากเกิดจากโรคต่อต่อทางเพศสัมพันธ์ มักจะมาด้วยอาการปวดท้องน้อย ตกขาวปริมาณมาก และมีกลิ่นผิดปกติ มีไข้ หากทำการตรวจร่างกายจะมีอาการกดเจ็บบริเวณมดลูก เจ็บเวลาโยกปากมดลูก ภาวะนี้จะส่งผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากปวดท้องน้อยเรื้อรังในอนาคตได้สามารถป้องกันได้โดยการใช้ถุงยางอนามัย หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ช่วงที่มีประจำเดือน หรือการมีเพศสัมพันธ์เพียงคู่เดียว
–Dysmenorrhea (ปวดประจำเดือน)

ปวดประจำเดือนภาวะนี้พบได้บ่อยถึง 80% โดยปวดท้องน้อยแบบตรวจพบโรค หรือตรวจไม่พบก็ได้ มีการศึกษาวิจัยเมื่อมีอาการปวดประจำเดือนจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอารมณ์สมาธิของผู้หญิงช่วงนั้นอาจจะทำให้การเข้าสังคมมีปัญหามากขึ้นดังนั้นผู้ชายควรจะรู้ไว้ว่าเมื่อผู้หญิงมีประจำเดือนเขาอาจจะไม่เหมือนเดิม
Abnormal Vaginal Bleeding (เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด)

เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เลือดที่ออกมาทางช่องคลอดมีที่มาได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นจากในช่องคลอดปากมดลูกหรือในโพรงมดลูกการที่มีเลือดออกทางช่องคลอดอาจจะเป็นสัญญาณถึงโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หลายครั้งภาวะนี้เกิดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ (Postcoital bleeding) เพราะฉะนั้นผู้ชายต้องคอยสังเกตด้วย
ทั้งนี้ แม้อาการต่างๆ จะสามารถบรรเทาและปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ แต่การพบสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือความเจ็บป่วยที่มากจนเกินไป ก็เป็นแนวทางที่พึงปฏิบัติทันที เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุ รวมถึงอาการของโรคอื่นๆ ที่อาจจะซ่อนตัวอยู่ และเพื่อรับคำแนะนำในการรักษาตนเองเพื่อสุขภาวะที่ดีต่อไป
