ดร.วิชยุตม์ ทัพวงษ์ :กับมุมมองของคำถาม COVID-19…อยู่ให้รอด อยู่ให้ได้ อยู่อย่างไร ? เลือกได้ไหม?
คงไม่ต้องย้ำกันนะครับถึงความร้ายแรงของวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ในสภาวการณ์ปัจจุบันว่ากระทบต่อทุกภาคส่วน และการใช้ชีวิตมากน้อยเพียงใด…
ธุรกิจปิดตัว ยอดผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น การใช้ชีวิตที่เคยเป็น ‘New Normal’ ก็เริ่มกลายเป็น ‘Norm’ หรือเรื่อง ‘ปกติ’ ที่ไม่สิ้นสุด..
และเมื่อต้องอยู่ในสภาวะนี้ต่อไป อย่างน้อยที่สุดคงเป็นการดี ถ้าสามารถ ‘เท่าทัน’ และรู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยเฉพาะความรู้เรื่อง ‘วัคซีน’ ที่กำลังเป็นประเด็นในขณะนี้ เพราะคงต้องฉีดกันทุกปีต่อเนื่อง
ในครั้งนี้ ทาง GM Live Thought ขอนำเสนอมุมมองแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในสภาวะที่โรคร้ายกำลังแพร่ระบาด และแนวโน้มกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา กับ ดร. วิชยุตม์ ทัพวงษ์ นักวิชาการด้านพิษวิทยาและสิ่งแวดล้อม และนักเขียน คอลัมน์ Thought ในนิตยสาร GM ที่จะมาจุดประเด็นของคำถามว่า COVID-19…
อยู่ให้รอด อยู่ให้ได้ อยู่อย่างไร ? เลือกได้ไหม? ….. อย่างเพิ่งเครียดกันนะครับ
นิยามของคำว่า ‘วิกฤต‘ ในสภาวะ COVID-19?
วิกฤตครั้งนี้ เริ่มมาจาก มีเชื้อโรคที่เป็นเชื้อไวรัส สามารถติดต่อกันได้ทางระบบทางเดินหายใจ พื้นฐานของไวรัสมาจากเชื้อไวรัสแบบโรคไข้หวัดใหญ่ มีหลักฐานที่บอกชัดว่า เชื้อไวรัสตัวนี้ เกิดความรุณแรงเพราะมีการ ติดต่อจากสัตว์สู่คน และเมื่อคนมีพบปะไปมาหาสู่ติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา ก็เลยทำให้ไวรัสตัวนี้ แพร่ระบาดจากคนสู่คนไปโดยปริยาย จนรุนแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิตไปมากมาย
ที่สำคัญ เรา เหล่ามนุษยชาติไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดการกับเจ้าเชื้อไวรัสชนิดนี้มาก่อน ผลกระทบจากเหตุที่เกิดจึงไม่สามารถใช้วิธีจัดการหรือรับมือแบบเดิม ๆ ไม่ได้ จนส่งผลกระทบกับทุกคน ทุกระดับ หรือเรียกได้ว่า ถึงขั้น “วิกฤติ“
ร้ายแรงแค่ไหน เมื่อเทียบกับวิกฤติในอดีต?
ทั่วไปแล้ว ปัญหาที่เคยมีอยู่หรือเคยเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบกับระบบใดระบบหนึ่ง แบบไม่ลุกลาม และสามารถควบคุมได้ไว แต่หากปัญหาหรือวิกฤตอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สะเทือนถึงระบบเศรษฐกิจ แน่นอนว่าต้องร้ายแรงอย่างแน่นอน บางท่านที่ผ่านสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว และยังมีชีวิตอยู่จนได้เห็นวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสตัวนี้ แทบจะพูดเหมือนกันว่านี่เป็นวิกฤตที่มีความคล้ายกัน และเหมือนกับว่าความสูญเสียจะมีแนวโน้มมากกว่าด้วย
ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดเลย คือ เราไม่สามารถพบปะกันได้เหมือนเดิมอีกต่อไป เราสูญเสียธุรกิจ เราขาดความเชื่อมโยงกันผ่านการสังสรร เสวนา ด้วยอวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยคำพูด) เรามีอายุมากขึ้น โดยที่ขาดการเรียนรู้จากทักษะเดิม ๆ ที่เคยมี และก็ไม่รู้ว่าจะได้กลับไปในจุดนั้นเมื่อไร
หลายกูรูก็บอกว่า การควบคุมโรคด้วยวัคซีน คือคำตอบ แต่ ก็เกิดความลังเลสงสัยที่มาพร้อมกับคำถามมากมาย เพราะมีชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนจนเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อชีิวิตมากมาย จนเกิดความวิตกกังวลกันเข้าไปอีก
อย่างไรก็ตามถ้าเก็บข้อมูลทางสถิติแล้ว ก็จะพบว่า วัคซีนที่นำมาใช้นั้น มีระดับในการสร้างผลกระทบรุณแรงถึง ชิวิตอยู่ในอัตราต่ำมาก ทั้ง ๆ ที่วัคซีนเพื่อควบคุม ป้องกันไวรัสตัวนี้ มีลักษณะการอนุมัติให้ใช้ในรูปแบบที่เรียกว่า การอนุมัติเร่งด่วน และใช้ในภาวะฉุกเฉิน เท่านั้น
ทำไมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ถึงมีรูปแบบการอนุมัติแบบฉุกเฉิน
เหตุผลสำคัญคือ โดยปกติแล้วการวิจัย และการพัฒนาวัคซีนให้มีความปลอดภัยสูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทดลองใช้ตามขั้นตอนปกติโดยทั่วไป และให้แน่ใจว่ามีผลการทดลองในกลุ่มที่ทำการทดลองนั้น ได้ผลออกมาว่า วัคซีนที่อนุญาตให้ใช้นั้น มีผลสำเร็จในการป้องกันโรค หรือลดอันตรายเมื่อเกิดการติดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่สำหรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ตัวนี้ นับว่าเป็นไวรัสที่มีความรุณแรงสูง ส่งผลให้เสียชีวิตได้เร็ว แลพติดต่อระหว่างคนสู่คนด้วยกันได้ง่าย และค้นพบครั้งแรก เมื่อปี 2019 นี้เอง ทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19น้อยมาก จึงทำให้มีการสนับสนุนการคิดค้นพัฒนาวัคซีน ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และด้วยหลักการที่เป็นเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วน ทางองค์การอนามัยโลก จึงได้ให้การอนุมัติวัคซีนที่พัฒนาแล้ว แต่ยังไม่ได้วิจัยเพื่อให้มีข้อมูลเต็มขั้น ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน เท่านั้น
ถ้ามีโอกาสที่ได้รับวัคซีน จะฉีดดีหรือไม่
ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ …หลายคนคงลังเล แต่สถานะการณ์ตอนนี้ และภาพข่าวที่เห็นตามสื่อต่างๆ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการผมก็พอจะเดาคำตอบได้ครับ
ที่จริงวัคซีนที่ทางการอนุมัติให้ใช้ในประเทศไทย ล้วนแล้วแต่มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน แต่ทุกตัว ล้วนเป็นที่ยืนยันแน่ชัดแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นตัวไหน สำหรับผู้ที่ฉีดแล้ว เมื่อติดเชื้อ จะลดความรุณแรง และยังลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีความชัดเจนทางสถิติ ผมย้ำนะครับว่าทางสถิติ
ดังนั้นถ้าโอกาสในการรับวัคซีนมาถึงตัวเราแล้ว ณ เวลานี้ ขอให้ตอบรับการฉีดวัคซีน เพราะหลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ร่างกายจะค่อย ๆ สร้างความสามารถในการรับมือกับเชื้อโรค ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ต้องใช้ระยะเวลา และต้องใช้การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อีกหลายสัปดาห์ จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า ผู้ที่ได้รับการฉีดนั้นมีความสามารถในการป้องกัน และลดอันตรายเมื่อติดเชื้อได้
และเนื่องจากวัคซีนโควิด-19 นี้ ได้ถูกออกแบบลักษณะการทำงานให้ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รับมือกับไวรัสโควิด-19 ได้ นั่นย่อมหมายความว่า หลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว ร่างกายจะเริ่มเรียนรู้ และสร้างระบบ(ภูมิคุ้มกัน) ให้รับมือกับไวรัส จึงมีคำแนะนำก่อนการฉีดวัคซีน ซึ่งทำตามได้ไม่ยาก เช่น
พักผ่อนให้มาก ก่อน และหลังการเข้ารับวัคซีน เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมในการรับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เต็มที่ต่อเชื้อใหม่นี้
รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ทั้งช่วงก่อน และหลังฉีดวัคซีนไป ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง ไปตลอด1-2 วันแรก เมื่อได้รับวัคซีน
หมั่นสังเกตตัวเอง ว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง จดรายละเอียด และรีบพบแพทย์ เมื่ออาการเริ่มมีความรุณแรงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน 1-2 วันแรก หลังจากรับวัคซีนแล้ว
เข้ารับการกระตุ้น ตามกำหนดเวลาที่ได้รับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ได้สูงที่สุด
ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเสริมเข้าไปนอกจากการฉีดวัคซีน ก็ทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การพักผ่อนให้เพียงพอ การเลือกรับประทานอาหารที่สด สะอาด และเลือกความหลากหลายของอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง ต้านทานโรคได้อีกระดับหนึ่งเลย
ถ้าเลือกได้ รับวัคซีนตัวไหนดี
อย่างที่กล่าวไว้ ว่าวัคซีนทุกตัวในปี 2021 นี้ ได้รับอนุมัติให้ใช้ในรูปแบบฉุกเฉิน ดังนั้นถ้าได้สิทธิ์ในการรับตัวไหนก่อนนั้น รับไว้ก่อน เพื่อให้ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันให้เร็วที่สุด และเมื่อวัคซีนได้ดำเนินจัดหามาพอเพียงแล้ว ค่อยเลือกตัวที่มีการยืนยันว่าให้ประสิทธิภาพสูง หรือตัวที่สะดวกในการเข้ารับมากที่สุด อย่างไรก็ตามหากกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้มีความเสี่ยงสูงมาก ก็อาจรอเวลาในการรับเข็มกระตุ้นออกไปได้อีก เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับเข็มแรกได้รับให้ทั่วประเทศเสียก่อน เพราะสภาพการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ รีบฉีดเข็มแรก เมื่อมีโอกาส เป็นทางที่จะลดอันตรายได้มากที่สุด
ทำไมรับวัคซีนแล้วยังต้องการ์ดไม่ตก
เนื่องจากผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนยังมีจำนวนมาก การลดความเสี่ยงจากผู้อื่นยังคงเป็นเรื่องจำเป็น และรวมทั้งไวรัสโควิด-19 นี้เอง มีลักษณะเฉพาะตัวในการเกิดการกลายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ติดต่อกันง่ายขึ้น การที่การ์ดไม่ตกนี่เอง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการควบคุมโรคในภาพรวม
เมื่อไรถึงจะมีชีวิตได้เหมือนเดิม
จริงๆ แล้ว ประเทศที่เริ่มมีการอนุญาตให้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติก็มีอยู่หลายประเทศ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญของการพิจารณาอยู่ที่อัตราการฉีดวัคซีนของประชากรภายในประเทศนั้น และการควบคุมการเข้า-ออกของคนจากต่างประเทศ ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ อัตราการติดเชื้อ ก็ยังคงพบอยู่ เพียงแต่ความรุณแรง และอัตราการเสียชีวิตน้อยลงอย่างมาก ซึ่งแนวทางการพิจารณาแบบนี้ อาจนำมาใช้กับประเทศไทยก็ได้ ถ้ามีการควบคุม และพิจารณาเช่นเดียวกับประเทศตัวอย่างเหล่านั้น
ถ้ายังไม่มีโอกาสได้รับวัคซีน ควรทำตัวอย่างไร
การ์ดไม่ตกเลย เว้นระยะห่าง มีวินัยในการปฏิบัติตัวในแนวทางวิถีใหม่อย่างเคร่งครัด ลดการไปมาหาสู่ จะออกไปไหนวางแผนอย่างรอบคอบ ลดการเข้าพบผู้สูงอายุ และติดตามข่าวสารเรื่องการเข้ารับวัคซีนในช่องทางที่ใกล้ตัวที่สุด